Posts

The Chase for Carrera

ครั้งแรกของโลก! กับภาพยนตร์สั้นแนวแอ็คชั่น-คอมเมดี้ของ Ryan Gosling เพื่อร่วมฉลองวาระครบรอบ 60 ปี Carrera (คาร์เรรา) นาฬิกาเรือนไอคอนิกของ TAG Heuer

เพื่อฉลองครบรอบ 60 ปีของ TAG Heuer Carrera แบรนด์นาฬิกาชั้นสูงของสวิตเซอร์แลนด์ ได้สร้างปรากฏการณ์ที่กล้าหาญและไม่เคยมีใครทำมาก่อน เช่นเดียวกับการออกแบบนาฬิกาของพวกเขา นั่นก็คือ การเปิดตัวภาพยนตร์แนวแอ็คชั่นคอมเมดี้ของฮอลลีวูด นำแสดงโดย Ryan Gosling แบรนด์แอมบาสเดอร์ของ TAG Heuer (นักแสดงจากภาพยนตร์เรื่อง Drive และ The Gray Man) และ Vanessa Bayer (วาเนสซ่า เบเยอร์) (จากภาพยนตร์เรื่อง I Love That For you และ Saturday Night Live) หนังระทึกขวัญไล่ล่าสุดแหวกแนวกับเรื่องราวการหนีของ Gosling จาก Prop Master หรือผู้ออกแบบและจัดหาอุปกรณ์ประกอบฉากที่นำแสดงโดย Bayer ซึ่งพยายามที่จะถอดนาฬิกา TAG Heuer Carrera เรือนอันเป็นที่รักของเขาออกจากข้อมือ และเป็นสิ่งที่เขาไม่ได้วางแผนที่จะให้เธอทำเช่นนั้น

อำนวยการสร้างโดย 87 North ของ David Leitch ผู้รับผิดชอบภาพยนตร์แนวแอ็คชั่นที่โด่งดังที่สุดในทศวรรษที่ผ่านมา ตั้งแต่ John Wick (จอห์น วิค) จนถึง Deadpool 2 (เดดพูล 2) และเมื่อปีที่แล้วกับเรื่อง Bullet Train (บูลเล็ท เทรน) ซึ่งกำกับโดย Nash Edgerton (แนช เอ็ดเกอร์ตัน) (ภาพยนตร์เรื่อง Mr. Inbetween) Gosling ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง The Chase for Carrera ในขณะที่ร่วมงานกับ Leitch ในภาพยนตร์เรื่อง The Fall Guy ในประเทศออสเตรเลีย ทั้ง Gosling และ Leitch ต่างมีส่วนร่วมในผลงานสร้างสรรค์ของ The Chase for Carrera และผลลัพธ์ที่ได้คือภาพยนตร์ระดับบ็อกซ์ออฟฟิศอย่างแท้จริง

ในภาพยนตร์เรื่องนี้ จะได้เห็น Gosling และ Bayer ดวลกันในรูปแบบไฮ-ออกเทน เมื่อทุกอย่างตั้งแต่รถสปอร์ตรุ่นดังไปจนถึงรถบรรทุกขนาดใหญ่ และรถบั๊กกี้ไฟฟ้าที่ใช้ในกองถ่ายวิ่งผ่านฉากภาพยนตร์ต่างๆ ในมุมมองของสัดส่วนหนังระดับบล็อกบัสเตอร์หรือหนังที่ประสบความสำเร็จสูง ด้วยความรอบรู้ในการจัดฉากภาพยนตร์ในภาพยนตร์ที่ Leitch รับบทเป็นผู้กำกับในหนังด้วย

การเฉลิมฉลองที่เป็นเกียรติสำหรับนาฬิกาเรือนไอคอนิกที่ถือกำเนิดจากสนามแข่ง เมื่อได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นครั้งแรกในปี 1963 โดย Jack Heuer (แจ็ค ฮอยเออร์) อดีต CEO ในตำนานของ TAG Heuer ตั้งชื่อตามการแข่งขัน Carrera Panamericana (คาร์เรรา แพนอเมริกานา) ที่โด่งดังและอันตราย ได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงความเรียบง่ายและการอ่านค่าได้อย่างชัดเจนที่สุด ซึ่งจำเป็นสำหรับผู้ขับขี่ในขณะเข้าโค้งด้วยความเร็วสูง ผลลัพธ์ที่ได้คือ ผลงานระดับไอคอน ที่สง่างามและสวมใส่สะดวกสบาย ในดีไซน์ที่สะท้อนความกล้าและความเป็นสปอร์ตสุดเท่ สื่อถึงความรักของ Heuer ที่มีต่อการออกแบบในช่วงกลางศตวรรษซึ่งยังคงความเป็นอมตะตลอด 60 ปีที่ผ่านมา

@TAGHeuer
#TAGHeuerCarrera60

TAG Heuer คว้ารางวัลสุดยิ่งใหญ่ Iconic Watch Prize จากรุ่น TAG Heuer Monaco Gulf Special Edition ที่งาน Grand Prixd’Horlogerie de Genève ประจำปีนี้

แบรนด์ผู้ผลิตนาฬิกาชั้นนำของโลกสัญชาติสวิส TAG Heuer ได้รับรางวัล Iconic Watch Prize สำหรับ TAG Heuer Monaco Gulf Special Edition ที่งาน Grand Prixd’Horlogerie de Genève พิธีประจำปีอันทรงเกียรติที่ถูกจัดขึ้นเพื่อยกย่องและเชิดชูนาฬิกาที่มีความโดดเด่นที่สุดแห่งปี

ด้วยการได้รับรางวัล GPHG award เป็นครั้งที่ 10 ของ TAG Heuer ตั้งแต่ปี 2002 TAG Heuer ตอกย้ำถึงความเชี่ยวชาญและความเป็นเลิศในด้านการออกแบบและการผลิตนาฬิกา

เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ TAG Heuer  ได้รับรางวัล ‘Iconic Watch Prize’ ในรุ่น TAG Heuer Monaco Gulf Special Edition” 

Frédéric Arnault (เฟรเดริก อาร์โนลต์) ซีอีโอของ TAG Heuer กล่าว “นี่เป็นข้อพิสูจน์ที่แท้จริงถึงประวัติศาสตร์มรดกอันงดงามของเรา การผสมผสานระหว่างความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และตอกย้ำถึงการเป็นแบรนด์ที่ก้าวนำสมัยมากว่า 162 ปี” เราขอขอบคุณสถาบัน GPHG สำหรับการสนับสนุนและความมุ่งมั่นในการส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดที่ก้าวล้ำให้ยิ่งใหญ่มากขึ้นในอุตสาหกรรมของเรา”

ในด้านของตัวเรือนและดีไซน์หนึ่งในนาฬิกา TAG Heuer ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด TAG Heuer Monaco ได้รับการออกแบบใหม่ร่วมกับพันธมิตร “Gulf (กัลฟ์) ” ตั้งแต่ปี 2007  ทั้งสองได้ร่วมสร้างสรรค์นาฬิการุ่นที่มีความประณีตสูง ซึ่งรวมไปถึง Heuer 02 ซึ่งเป็นกลไก in-house (อิน เฮาส์) โครโนกราฟอัตโนมัติที่เป็นรุ่นไอคอนิค

แบรนด์กัลฟ์ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการแข่งรถ ด้วยการตกแต่งด้วยสีน้ำเงินสดใสตัดกับสีส้มซึ่งประดับประดาทีมที่ให้การสนับสนุน 
ในช่วงยุคทองของการแข่งรถช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 1970 Heuer, Gulf, Porsche, Joe Siffert และ Steve McQueen ได้รวมตัวกันในหลายครั้งบนสนามแข่ง ทำให้เกิดความร่วมมือของตำนานในปัจจุบัน

สำหรับรุ่นปี 2022 TAG Heuer Monaco Gulf Special Edition เป็นที่สะดุดตาอย่างแท้จริง ด้วยตัวเรือนเหล็กขัดเงาขนาด 39 มม. โดดเด่นด้วยสามสีอันเป็นเอกลักษณ์ของ Gulf บนหน้าปัด แต่ในครั้งนี้เป็นการผสมผสานสีที่มีความร่วมสมัยมากขึ้น ได้แก่ สีน้ำเงินเข้มเทอร์ควอยซ์และสีส้มที่มีความพิเศษเฉพาะตัว ทั้งสามสีปรากฏบนหน้าจอรองบริเวณ 3 นาฬิกา รวมทั้งโลโก้ Gulf สีขาวล้วนบนหน้าปัด และสุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ที่บริเวณตำแหน่ง 12 นาฬิกาจะถูกแทนที่ด้วยหมายเลข “60” เพื่อระลึกถึงหมายเลขของการแข่งขันบนรถแข่ง 

ที่ด้านหลังของ TAG Heuer Monaco Gulf Special Edition นักออกแบบของ TAG Heuer ได้ออกแบบเป็นพิเศษด้วยการเพิ่มลักษณะเฉพาะของล้อ กลไกแบบสั่นและคอลัมน์ที่มีการแกะสลักสีพิเศษเพื่อให้เข้ากับ Pantone สีส้มกัลฟ์

เพื่อเติมเต็มลุคสปอร์ตแต่ยังคงความหรูหราให้กับนาฬิกา ด้วยสายนาฬิกาที่ทำจากหนังคาร์ฟสกินเจาะรูสีน้ำเงินตัดกับสายด้านในสีส้ม ตัวสายมีรูเจาะที่ทำขึ้นสำหรับ TAG Heuer Monaco Gulf Editions โดยเฉพาะ แต่ในปัจจุบันได้เพิ่มรูเจาะที่มีขนาดต่างจากต้นตำรับ 

ซึ่งสะท้อนถึงการออกแบบดั้งเดิมของรุ่น Heuer Monaco ในช่วงปี 1970 ทำให้ได้สัมผัสความรู้สึกของอดีตมาสู่นาฬิการุ่นพิเศษนี้


rhunrun เรียบเรียง

TAG HEUER X BAMFORD นาฬิกา Aquaracer รุ่นพิเศษที่มาพร้อมกับกลไก Calibre 5 Automatic มีจำนวนจำกัด เพียง 1,500 ชิ้น

แทค ฮอยเออร์ นาฬิกาหรูจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์และ Bamford Watch Department ผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับแต่งนาฬิกาจากประเทศอังกฤษ ได้มาร่วมออกแบบนาฬิการุ่นพิเศษลิมิเต็ด อิดิชั่น และครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 2  The Aquaracer Bamford Limited Edition ความพิถีพิถันในการเลือกวัสดุ อย่างการนำไทเทเนียมที่สะดุดตามาใช้ ตกแต่งด้วยสีส้มอันโดดเด่น นาฬิการุ่นพิเศษนี้คือความผสมผสานที่ลงตัวของงานออกแบบของ TAG Heuer และ Bamford Watch Department ที่มอบความใหม่และน่าตื่นเต้นลงในเรือนนาฬิกานี้  ในปี 2018, TAG Heuer และ George Bamford ได้เคยร่วมกันมาแล้ว ในการออกแบบนาฬิการุ่นโมนาโค (Monaco) รุ่นพิเศษซึ่งได้รับเสียงยกย่องและชื่นชมมากมาย การกลับมาร่วมมือกันของทั้งสองจึงเป็นที่คาดหวัง และถูกจับจ้องในด้านการออกแบบของ Bamford Watch Department ที่นำเอาจินตนาการและมรดกที่โดดเด่นของ TAG Heuer มากลั่นออกมาเป็นเรือนนาฬิการุ่นพี่พิเศษในครั้งนี้ ที่ตอบโจทย์ผู้ที่รักและหลงในในเรือนนาฬิกา

“การออกแบบ Aquaracer รุ่นลิมิเต็ด เอดิชั่นนี้ เราศึกษาจากโมเดลของ TAG Heuer ในอดีต มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ องค์ประกอบการออกแบบ โดยนำสีส้มและขอบหน้าปัดแบบสปอร์ตชวนให้นึกถึงงานดีไซน์ของ TAG Heuer ที่มีอิทธิพลในช่วงปี 1979 ถึง 1994 จนกลายมาเป็น Aquaracer ที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 2004”- George Bamford ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Bamford Watch Department.

TAG Heuer Aquaracer Bamford embraces the ultra-modern

การออกแบบอันเป็นเอกลักษณ์เห็นชัดในทุกการออกแบบของ Bamford Watch Department นั่นก็คือหน้าปัดสีดำอันหรูหรา พร้อมกับชื่อ Bamford ปรากฏอยู่ ณ 6 นาฬิกา โดยนำสีส้มมาใช้แต่งแต้มบริเวณ เข็มนาฬิกาบอกชั่วโมง นาที และ วินาที รวมถึงรอบหน้าปัดนาฬิกา  ตัวเรือนมีขนาด 43 มม.  กรอบตัวเรือนมาพร้อมตัวเลข 60 นาที หมุนได้ทิศเดียวและสายนาฬิกาแบบ 3 แถว โดยใช้ไททาเนียมเกรด 2 ที่มีความยืดหยุ่นสูง ผ่านกระบวนการแบบ แซนบลาสหรือการพ่นทรายมาใช้กับสายนาฬิกานี้

โลหะไทเทเนียมที่มีน้ำหนักเบาและทนทานเป็นพิเศษ ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้และ ทนต่อการกัดกร่อน ซึ่งเป็นวัสดุเดียวกับสร้างเครื่องบิน และการผลิตอุปกรณ์กีฬา ถือว่าเป็นวัสดุที่เหมาะแก่การมาใช้เพื่อสรรค์สร้างเป็น Aquaracer รุ่นพิเศษนี้ ซึ่งเป็นนาฬิกาที่ขึ้นชื่อเรื่องความแข็งแกร่งและพร้อมที่เผชิญทุกความท้าทาย

เข็มนาฬิกาทองถูกเคลือบสีดำ พร้อมแล็คเกอร์สีส้มเคลือบด้วย Super-LumiNova® สีขาวและ Super-LumiNova® ยังถูกนำมาใช้อินเด็กซ์บอกเวลา เพื่อให้อ่านค่าได้อย่างง่ายขึ้น เหมาะสำหรับทุกสภาพแสงและทุกระดับความลึก ให้สมกับเป็นเรือนนาฬิกาที่เหมาะกับทุกการใช้งาน มาพร้อมคุณสมบัติกันน้ำได้ลึกถึง 300 ม. ตัวเรือนทำจากไททาเนียมเกรด 2 พร้อมสลักคำว่า “ LIMITED ONE OF 1,500” กลไกการทำงานของนาฬิกาอัตโนมัติรุ่นนี้คือ Calibre 5 

เปิดกรุของสะสมปราสาท วิทยาภัทร์คอลเล็กเตอร์นาฬิกาวินเทจอันดับต้นๆ ของประเทศไทย

ปราสาท วิทยาภัทร์ เจ้าของพิพิธภัณฑ์นาฬิกาข้อมือวินเทจ ปากกา และนาฬิกาพก รวมไปถึงนาฬิกาตั้งโต๊ะ และเครื่องมือช่างวินเทจหลากหลายรายการนั้น จริงๆ แล้วเขาเป็นประธานกรรมการบริหาร บริษัท อิทเทลเลคท์ จำกัด ผู้ผลิตเครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาเรียนรู้ เรียกได้ว่าเขาไม่มีธุรกิจอะไรเกี่ยวข้องกับวงการนาฬิกาเลย นอกเหนือไปจาก ‘ความรัก’ เท่านั้น

เพราะรักจึงสะสม

“ปกติเวลาใครเข้ามาในห้องนี้จะคิดว่าผมขายนาฬิกา ซึ่งจริงๆ แล้ว ผมไม่ได้มีอาชีพเกี่ยวข้องกับนาฬิกาเลย” ปราสาทเปิดบทสนทนากับเราพร้อมกับมองไปรอบพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อมที่เต็มไปด้วยเรือนเวลาวินเทจด้วยแววตาแห่งความรัก “ผมทำอาชีพเป็นผู้ผลิตเครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา เป็นนายกสมาคมผู้ผลิตฯ สื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษามาหลายสมัย ส่วนนาฬิกานี้ทำเพราะรัก เพราะชอบเท่านั้น ผมจึงจะบอกทุกคนที่เข้ามาในห้องนี้ว่า อย่าขอ หรืออย่าขอซื้อเลย ไม่อย่างนั้นผมจะลำบากใจมาก” ไม่น่าแปลกใจเลยที่ใครๆ จะคิดว่านาฬิกาในห้องนี้มีไว้เพื่อขาย หรือเก็งกำไร เพราะทั้งห้องนั้นเต็มไปด้วยนาฬิกาวินเทจสารพัดรุ่น หลากหลายยี่ห้อ บางรุ่นเก่าเก็บหายากมากเสียจนพิพิธภัณฑ์ของแบรนด์เองก็ยังไม่เคยเห็น “ผมเลือกเก็บเฉพาะนาฬิกาวินเทจ เพราะแต่ละเรือนจะมีเรื่องเล่า 
มีเรื่องราว เก็บสนุกกว่านาฬิกาใหม่ซึ่งใครมีเงินก็ซื้อได้ และบาง
แบรนด์ก็ผูกพันกับตัวผมมากๆ อย่างเช่น Omega นี่ถือว่าผูกพันมาก 
เพราะเป็นนาฬิกาในฝันของผมสมัยเด็กๆ คือ แบบอยากได้ตั้งแต่ตอนเป็นหนุ่มๆ แล้วไม่มีเงินซื้อไง ก็เริ่มต้นซื้อ Seiko ไปก่อน 
ช่วงประมาณยุค ’70s Omega Dynamic ราคาอยู่ที่สามพันสองร้อยบาท ในขณะที่ Seiko M88 ราคาเรือนละสองร้อยบาท ผมอยากได้ ไปขอเขาผ่อน เขาคิดสามร้อยยี่สิบบาท ผ่อนเดือนละร้อย ก็ยังต้องผ่อนไปตั้งสามเดือน แล้วพอเริ่มมีรายได้ ก็เลยเก็บมาเรื่อยๆ จนกลายมาเป็นคอลเลกชั่นใหญ่ในปัจจุบัน”

ปราสาทเล่าว่า เขาเริ่มเก็บนาฬิกาเป็นเรื่องเป็นราวจริงๆ ก็เมื่อกว่าสี่สิบปีที่แล้ว ช่วงชีวิตที่เขาตกงาน ไม่มีอะไรทำ ก็หยิบจับของเก่าภายในบ้านมาลูบคลำเล่น เอานาฬิกาโบราณของน้าชายมาขัด เปลี่ยนสาย นำมาใส่ “เพราะไม่มีเงินซื้อใหม่ไงครับ” ปราสาทพูดติดตลก​ “แต่พอเอามา
ใส่จริงๆ ก็รู้สึกหลงรัก รู้สึกว่าสวยมาก เลยเริ่มเห็นของเก่าสวย มีคุณค่า 
ในสมัยนั้นคนไทยไม่ค่อยเล่นของเก่าเท่าไหร่นะ ยุคแรกๆ ที่ผมไปเดินดูนาฬิกา Rolex Bubble Back สองกษัตริย์สภาพสวยๆ นี่ ราคาเรือนละ
ไม่ถึงสองพันนะครับ ผมก็อาศัยเก็บตามมีตามเกิด ไม่ได้เน้นของแพงครับ เน้นของที่ชอบ ผมคิดว่า แค่ซื้อมาเพราะชอบ คุณก็ได้กำไรไปแล้วครับ”

คุณค่าอยู่ที่จิตใจไม่ใช่ราคา!

ดังที่ปราสาทเล่าให้เราฟังว่า เขาไม่ได้ให้คุณค่าของนาฬิกาในคอลเลกชั่นผ่านราคาค่าตัว แต่ให้คุณค่าทางด้านความพึงพอใจของตัวเองเป็นหลัก เขาจึงให้คำแนะนำแก่คอลเลกเตอร์รุ่นใหม่ๆ เสมอว่า อย่าได้ไปคิดจะ
เก็บนาฬิกาเพื่อเก็งกำไร แต่ให้คิดเก็บนาฬิกาที่ชอบ แล้วกำไรจะตามมาเอง “ถ้าพูดกันตรงๆ นะครับ กำไรที่ได้จากการหมุนเวียนนาฬิกานั้น
ส่วนมากตกไปอยู่ที่พ่อค้า ไม่ใช่นักสะสม คุณต้องมองให้ออกว่า นาฬิการุ่นใหม่ๆ นั้น โอกาสที่จะได้ราคามากกว่าตอนซื้อนี่น้อยมาก แต่นาฬิกาวินเทจ
นี่อีกเรื่องหนึ่งนะ เพราะอันนี้อาศัยความยาวนานในการเก็บ คือ ถ้าคุณซื้อนาฬิกามาวันนี้ แล้วรอขายต่ออีกสี่สิบปีให้หลัง ราคาอาจจะขึ้นหลายเท่า แต่คุณจะอยู่ถึงวันนั้นไหมล่ะ” ปราสาทถามด้วยเสียงหัวเราะ “ดังนั้น ถ้าคิดจะเป็นคอลเลกเตอร์นะ ให้เก็บด้วยความรัก รับประกันได้กำไรแน่นอน อย่างแรกก็มีความสุข ได้ชื่นชมของที่ชอบที่อยากได้ อย่าเก็บด้วยความคาดหวังว่าจะทำกำไร เพราะถ้าไม่เป็นอย่างที่คาดหวัง 
ก็จะทำให้ชีวิตเป็นทุกข์นะครับ”

ปรัชญาการเก็บนาฬิกาด้วยความรักที่ปราสาทยึดมั่นนั้นทำให้เขาไม่ตกเป็น ‘ทาส’ ของของสะสมชุดใหญ่ภายในพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อมนี้  เมื่อเราถามเขาถึงวิธีการดูแลรักษานาฬิกาจำนวนมหาศาลเหล่านี้ เขาตอบสั้นๆ ว่า “ผม ‘ดู’ เขา แต่ไม่ได้ไปคอยระวังรักษาเขาครับ ไม่อย่างนั้น
ผมจะตกเป็นทาสของนาฬิกา คือ ผมซื้อนาฬิกามาดู ผมก็มีความสุขแล้ว ถ้าผมต้องมานั่งระมัดระวังนาฬิกาทุกเรือน ชีวิตผมคงจะลำบากแย่ บางครั้งผมหยิบนาฬิกามาใส่ก็ลืมไขลานด้วยซ้ำ สำหรับผมแล้ว นาฬิกาจะเดินตรงหรือไม่ตรง ไม่ค่อยเป็นประเด็นสำคัญนัก ผมแค่มองว่า ผมชอบดีไซน์นี้ ใส่แล้วสวย อยากใส่ก็ใส่เลย ดังนั้น คำตอบของผมก็คือ ผมไม่ได้ดูแลนาฬิกา ผมแค่เดินดูนาฬิกาแล้วมีความสุขก็เท่านั้น ไม่ได้กังวลจนต้องคอยเช็คว่านาฬิกาแต่ละเรือนเดินตรงหรือไม่”

งานศิลปะที่สวมใส่ได้

“ผมชอบงานศิลปะครับ” ปราสาทตอบเมื่อเราถามว่าเขาชอบนาฬิกาอื่นๆ ที่ไม่ใช่นาฬิกาข้อมือด้วยใช่หรือไม่ “ในห้องนี้จะมีงานศิลปะอื่นๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับนาฬิกาผสมอยู่ด้วย คือ ผมมองงานศิลปะแล้วรู้สึกว่าสวย ผมก็จะเก็บไว้ แต่งานศิลปะชิ้นใหญ่ๆ แบบภาพวาด หรือนาฬิกาติดผนังนั้น ผมมีพื้นที่จำกัด เพราะไม่มีผนังให้ติด ไม่รู้จะไปเก็บที่ไหน ผมจึงเลือกที่จะเก็บงานศิลปะขนาดเล็กลง ก็ได้แก่นาฬิกาข้อมือ นาฬิกาพก นาฬิกาตั้งโต๊ะขนาดเล็ก และปากกาแนววินเทจแต่ในขณะเดียวกัน ผมทำงานเกี่ยวกับช่าง ก็เลยมองเครื่องมือวิทยาศาสตร์โบราณเป็นงานศิลปะไปด้วยครับ”

นอกเหนือไปจากนาฬิกาข้อมือ และของสะสมอื่นๆ แล้ว สิ่งหนึ่งที่ทำให้คอลเลกชั่นในห้องนี้สมบูรณ์แบบขึ้นอีกหลายเท่าตัว ก็ได้แก่
แอ็กเซสเซอรี่ต่างๆ เกี่ยวกับนาฬิกา ไม่ว่าจะเป็นถาด ฐานตั้ง กล่อง ใบรับประกัน และอุปกรณ์อื่นๆ ซึ่งปราสาทเองก็บอกว่า บางครั้ง การ ‘เสาะ’ แสวงหาของเหล่านี้นั้นก็ต้องอาศัยความบังเอิญและพรหมลิขิตเป็นตัวชักพา “การเก็บของเหล่านี้ทำให้เราสนุกขึ้น เพราะการที่เราเอานาฬิกา Rolex ไปใส่บนฐาน Rolex ที่ถูกยุคถูกสมัย ทำให้นาฬิกาดูดีขึ้น และก็ดีต่อจิตใจเราด้วย อย่างฐานของ TAG Heuer แบบโบราณผมก็มีอยู่สองสามชิ้นเท่านั้น ถ้ามีโอกาสเจอ ผมจะซื้อเสมอ นี่รวมถึงกล่องโบราณ ใบรับประกันโบราณ และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ด้วยนะครับ เพราะทำให้การสะสมของผมนั้นสนุก และมีเรื่องราวมากขึ้น”

เรื่องราวแห่งความผูกพัน

“นาฬิกาเรือนแรกที่ผมเก็บนี่ ไม่มีชื่อหรือเป็นที่รู้จักเลยครับ ยี่ห้อ Prely ซึ่งในปัจจุบันก็ไม่มีแล้ว เป็นนาฬิกาของน้าชายที่ยกให้พี่ชายผม เมื่อพี่ชายผมซื้อเรือนใหม่ ก็ทิ้งเรือนนี้ไว้ ผมก็เอามาใส่เล่นช่วงตกงาน ก็รู้สึกชอบทันที หน้าปัดแตกลายงา และขึ้นราตามอายุ ดูสวย และคลาสสิกสุดๆ ครับ” และด้วยความผูกพันดังกล่าวนั้น ทำให้ปราสาทเริ่มต้นการสะสมนาฬิกาด้วยความรักอย่างจริงจัง และดังที่เขาเน้นย้ำไว้หลายต่อหลายครั้งว่า การเก็บสะสมของเขานั้นเริ่มต้นจากความรัก ดังนั้น ความรักจึงกลายเป็นแรงผลักดันให้เขาเก็บสะสมมาจนถึงทุกวันนี้ “มีคนถามผมเสมอว่า มีอะไรค้างคาใจไหมกับการสะสม ผมตอบได้เลยว่า ไม่มีแล้ว เมื่อก่อนผมมี
ความฝันที่จะได้ Omega, Rolex และ TAG Heuer บางรุ่นซึ่งในปัจจุบันผมก็ตามเก็บได้หมดแล้ว Rolex Bubble Back ตัวที่ผมคิดว่าสวยที่สุด
ในประเทศไทยก็อยู่กับผมแล้ว  Corum Saddam Hussein เรือนเดียวในโลกก็ยังโคจรมาเจอผมจนได้ ส่วน Corum Rolls-Royce นี่นายช่างใหญ่ของ Corum จากสวิตเซอร์แลนด์ก็บอกให้มาดูของจริงที่ผม  เรียกได้ว่าผมมีครบหมดแล้วล่ะ แต่ในกรณีที่เดินไปเจอบางเรือนแล้วอยากได้ อันนี้ถือเป็นเรื่องไม่คาดคิด ไม่นับนะครับ” ปราสาทจบบทสนทนาด้วยรอยยิ้ม

แม้จะออกตัวว่าไม่มีอะไรค้างคาในใจแล้ว แต่ปราสาทก็ยืนยันว่าเขาจะไม่หยุดสะสมนาฬิกา “ก็หยุดไม่ได้จริงๆ นะครับ ทุกครั้งที่เห็นก็จะคิดว่า เอาไปเพิ่มอีกสักนิดแล้วกัน บางทีซื้อมาเพิ่ม เอามาวางในตู้นาฬิกานี่ก็กลืนหายไปเลย ไม่ได้รู้สึกว่ามีอะไรเพิ่มขึ้น ผมก็เข้าใจปรัชญาตัวนี้
จนถึงขั้นเขียนติดไว้ที่โต๊ะทำงานว่า ถ้ามีนาฬิกาอีกสักเรือนหรือสองเรือนเพิ่มขึ้น จะทำให้สถานภาพเราแตกต่างไปจากวันนี้ไหม คำตอบก็คือ
ไม่หรอก ก็เท่านี้แหละ สถานภาพก็เท่านี้แหละไม่มากไม่น้อยไปกว่านี้แล้ว แต่ก็อย่างที่บอก เป้าหมายของผมไม่ใช่การทำกำไรจากนาฬิกา 
แต่คือความสุขที่ได้จากการสะสม ผมเลือกสะสมสิ่งที่ผมมีความสุข และนั่นก็เป็นกำไรสูงสุดของชีวิตแล้วครับ”

ชมการเปิดตัว TAG Heuer Connected Watch Modular 45 ก่อนใครที่นี่

เยือนโรงงานผลิตนาฬิกา TAG Heuer เบื้องหลังเครื่องจักรผลิตนาฬิกาอันล้ำสมัย

Modern Mechanics

เยือนโรงงานผลิตนาฬิกา TAG Heuer (แทค ฮอยเออร์) ชมเบื้องหลังเครื่องจักรผลิตนาฬิกาอันล้ำสมัยและฝีมือของช่างผลิตนาฬิกาชั้นครูที่ทำงานกันอย่างขยันขันแข็งอยู่ในโรงงาน

lcdf_facade_w1

“สายการผลิต” นั้นคืออะไรกันแน่ ดูเหมือนว่ามันจะไม่มีนิยามที่สั้นๆ อธิบายได้ง่าย แต่ตามความเข้าใจของทุกคนแล้ว อุตสาหกรรมการผลิตนาฬิกาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์จะมอบรางวัลอันสูงค่าให้กับ
บริษัทนาฬิกาที่มีเครื่องเป็นของตัวเอง และสามารถผลิตแท่นเครื่อง สะพานจักร และสะพานจักรกรอกได้ด้วยตัวเอง ในขณะที่ส่วนประกอบอื่นๆ นั้นก็พอจะอะลุ่มอล่วยได้ เพราะมีผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่มีประสบการณ์ยาวนานกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่สามารถสรรค์สร้างอุปกรณ์สำหรับการผลิตและอะไรต่อมิอะไรในเรือนเวลาได้อย่างไม่จำกัด คุณสามารถวางใจในฝีมือของพวกเขาโดยไม่จำเป็นต้องผลิตชิ้นส่วนทุกชิ้นด้วยตัวเองทั้งหมดก็ได้

cornol_four_w1

ภายใต้เงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้ TAG Heuer เริ่มต้นก้าวแรกที่สำคัญของแบรนด์โดยการเข้าสู่วงจร “สายการผลิต” อย่างเต็มตัวเมื่อปีค.ศ. 2010 โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้เกิดขึ้นเมื่อบริษัทซัพพลายอะไหล่คนสำคัญอย่าง ETA ตัดสินใจที่จะกำหนดข้อจำกัดครั้งยิ่งใหญ่ในการซัพพลายชิ้นส่วนต่างๆ ให้กับโรงงานนาฬิกา ซึ่งก็ประจวบเหมาะกับการตัดสินใจเปิดแผนกพัฒนาและทดลองผลิตเครื่องภายในที่ TAG Heuer ตัดสินใจอนุมัติเมื่อหลายปีก่อนหน้านี้ เพราะมันจำเป็นต้องอาศัยเวลายาวนานในการวิจัยและพัฒนาเครื่องนาฬิกาที่เที่ยงตรง ไว้ใจได้ และอยู่ในต้นทุนการผลิตที่เหมาะสมเพื่อที่จะสามารถผลิตจำนวนมากได้แม้ในยุคศตวรรษที่ 21 ที่ทุกอย่างต้องพึ่งคอมพิวเตอร์แล้วก็ตาม และในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านนาฬิกาที่มากับฟังก์ชั่นจับเวลาแบบดั้งเดิมนั้น TAG Heuer จึงจำต้องเก็บอัตลักษณ์ของแบรนด์ไว้แบบทิ้งไม่ได้ และก็เป็นที่แน่นอนว่า ฟังก์ชั่นจับเวลานั้นถือเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของศิลปะในการผลิตนาฬิกาแบบดั้งเดิม ถึงแม้ว่าจะมีตัวเครื่องอัตโนมัติอย่าง Caliber ETA 7750 มาทดแทนได้แล้วก็ตาม แต่อย่างไรก็ตาม กลไกอันซับซ้อนในเรือนเวลานั้น ถึงแม้ว่าจะดูมีขนาดเล็กจิ๋วไม่สลักสำคัญมากนักก็ตาม แต่ละชิ้นส่วนนั้นจำเป็นต้องอาศัยทั้งเวลาและความเชี่ยวชาญทั้งจากวิศวกรและช่างฝีมือเป็นอย่างมากในการศึกษาและพัฒนา และด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เครื่องอัตโนมัติเครื่องแรก Caliber 1887 ที่ออกมาในปีค.ศ. 2010 นั้นก็ถือเป็นเครื่องจับเวลาที่มีความเที่ยงตรงสูงที่ผลิตโดย TAG Heuer เอง ซึ่งก็ส่งผลให้เครื่องนาฬิการุ่นใหม่เอี่ยมอย่าง Heuer 02 T (ที่เปิดตัวในงาน Baselworld 2016) นั้นมีระบบขึ้นลานอัตโนมัติ ฟังก์ชั่นจับเวลา และฟังก์ชั่นตูร์บิญงพร้อมกรงที่ทำจากคาร์บอนน้ำหนักเบาแต่เหนียวและยืดหยุ่นได้ดี ซึ่งผลลัพธ์แห่งความเที่ยงตรงของเครื่องนี้ก็ได้รับการยืนยันด้วยประกาศนียบัตรรับรองความเที่ยงตรงที่แบรนด์ได้รับ และก็เป็นประกาศนียบัตรที่ไม่ใคร่จะมอบให้กับนาฬิกาตูร์บิญงเท่าใดนัก

lcdf_etancheite_w1

จาก T0 จนถึง T3

วงการนาฬิกา โดยเฉพาะสายการผลิตแบบใช้เครื่องจักรอุตสาหกรรมขนาดใหญ่นั้นต้องการโครงสร้างการผลิตที่ชัดเจน ในโรงงานการผลิตจึงแบ่งลำดับขั้นตอนในการผลิตแยกส่วนอย่างชัดเจน เริ่มตั้งแต่ชิ้นส่วนโลหะพื้นฐานไล่เรียงไปจนถึงขั้นตอนที่นาฬิกาเสร็จสมบูรณ์ เป็นที่แน่นอนว่า
ในตอนต้นนั้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะประกอบไปด้วย ผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ วิศวกร และดีไซเนอร์ที่ทำงานร่วมกันที่เมือง La Chaux-de-Fonds ซึ่งก็มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องพื้นฐานทั้งหมดของนาฬิการุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครื่อง ตัวเรือน หน้าปัด เข็ม หรือสาย วิศวกรผู้ออกแบบตัวต้นแบบนั้นจะทำงานร่วมกับสำนักงานใหญ่เป็นเสมือนผู้แปลงทฤษฎีที่ออกแบบโดยคอมพิวเตอร์ให้ออกมาเป็นนาฬิกาเรือนจริงที่ใช้การได้ หลังจากการทดสอบต่างๆ ในห้องทดลองที่ถูกเรียกกันติดปากว่า “ห้องเชือด” และปรับปรุงแก้ไขจนกระทั่งนาฬิกาเรือนนั้นเสร็จสมบูรณ์แล้ว จึงค่อยส่งไปผลิตในสายการผลิตเพื่อนำออกขายในท้องตลาด

cornol_usinage_w1

ในช่วงต้นๆ ของการพัฒนาและผลิตส่วนประกอบเครื่องนั้น จะมีธรรมเนียมเรียกขั้นตอนนี้ว่า T0 ซึ่งก็จะตามมาด้วยขั้นตอน T1 ซึ่งหมายถึงกระบวนการทดลองประกอบชิ้นส่วนกลไกภายในหลายชิ้น เพื่อที่จะ
ให้ออกมาเป็นเครื่องนาฬิกาที่สมบูรณ์ สำหรับ TAG Heuer นั้น ทั้งสองขั้นตอนผลิตที่เมือง Chevenez เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ติดชายแดนประเทศฝรั่งเศส ซึ่งการตัดสินใจก่อตั้งโรงงานผลิตเครื่องนาฬิกาที่เมืองนี้นั้นถือเป็นการตัดสินใจที่ผ่านการคิดมาแล้วอย่างถี่ถ้วน เพราะมันสามารถดึงดูดช่างทำนาฬิกามีฝีมือจากอีกฟากชายแดนให้เข้ามามีส่วนร่วมได้ไม่ยากนัก ในปัจจุบันนี้ โรงงานผลิตแห่งนี้มีพนักงานผู้เชี่ยวชาญเรื่องเครื่องนาฬิกาอยู่กว่า 40 ชีวิต

lcdf_constructeurmouvement_w1

กระบวนการผลิตและสร้างสรรค์แท่นเครื่องและสะพานจักรนั้นเกิดขึ้นในตึกหน้าตาทันสมัยในเมือง Fleury ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส โดยเครื่องจักรเหล่านี้นั้นสามารถทำงานได้หลากหลายและสามารถทำงานต่อเนื่องกันได้โดยไม่สะดุด หลังจากที่มันจบงานขั้นตอนหนึ่งแล้ว มันก็จะส่งชิ้นงานนั้นไปยังเครื่องจักรตัวถัดไปเพื่อเริ่มกระบวนการต่อไปได้ทันที กระบวนการจักรกลที่แม่นยำแบบนี้นั้นเป็นปัจจัยสำคัญในเรื่องของความแม่นยำที่เครื่องนาฬิกาที่มีฟังก์ชั่นจับเวลาต้องการ หลังจากที่ผิวของตัวเรือนเสร็จสิ้นกระบวนการฟินิชชิ่งแล้ว เครื่องจักรเหล่านี้ยังสามารถทำหน้าที่ฝังเพชรบนตัวเรือนต่อได้อีกด้วย และมันก็สามารถทำงานละเอียดอ่อนเหล่านี้ได้อย่างเที่ยงตรงและแม่นยำ ไม่มีปัจจัยเรื่องความเหน็ดเหนื่อย
เมื่อยล้าแบบแรงงานมนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด

artecad_posesln_w1

และในตึก Atelier T1 ที่อยู่ไม่ไกลกันนัก กว่า 100 ขั้นตอนกระบวนการเกิดขึ้นเพื่อประกอบชิ้นส่วนคุณภาพสูงต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อให้กลายมาเป็นเครื่องนาฬิกาที่เที่ยงตรงที่สุด อุปกรณ์หลักๆ นั้นไปอยู่ที่สายการผลิตของโรงงาน Lecureux ซึ่งกำหนดมาตรฐานการผลิตทั้งหมดโดย TAG Heuer มีจอฉายภาพกระบวนการทุกขั้นตอนให้กับผู้เชี่ยวชาญที่คุมเครื่องจักรได้เห็น กระบวนการหล่อลื่นโดยใช้คนหยอดน้ำมันแบบดั้งเดิมนั้นถูกยกเลิกไป แต่ใช้เครื่องจักรที่มีความแม่นยำคำนวณปริมาณน้ำมันและหยอดลงไปในแต่ละขั้นตอน ซึ่งก็เป็นการจำกัดความผิดพลาด
ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความใส่ใจและความละเอียดอ่อนนั้นถือเป็นกระบวนการสำคัญในการผลิตช่วงนี้ และเมื่อกระบวนการผลิตสิ้นสุดลง ก็จะมีกระบวนการตรวจเช็คและแยกคุณภาพอย่างระมัดระวัง ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเครื่อง 1887 และ Heuer 01 จะเป็นผู้เข้ามาจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองทีละเคส

lcdf_emboitage_w1

เมื่อเครื่องเดินทางมาถึงเมือง La Chaux-de-Fonds แล้ว 
ก็มีการตรวจสอบซ้ำอีกครั้งหนึ่ง หลังจากการปรับโครงสร้างภายในองค์กรครั้งใหญ่ที่เมือง Chevenez ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สายพานการผลิตนั้น
ก็มีคุณภาพสูงขึ้น และอัตราการผิดพลาดก็ลดน้อยลงแบบเห็นได้ชัดเจน หลังจากนั้นแผนก T2 และ T3 ก็รับหน้าที่ดำเนินการต่อ พวกเขารับผิดชอบเรื่องการประกอบชิ้นส่วนหน้าปัด เข็ม การเข้าตัวเรือน และการใส่สาย ไปจนถึงเรื่องการตีตราและออกเอกสารรับรอง จนสิ้นสุดที่การตรวจสอบคุณภาพครั้งสุดท้าย Jean-Claude Biver (ฌ็อง-คล็อด บีเวอร์) ให้ความสำคัญกับความพึงพอใจของลูกค้าเป็นที่หนึ่งเสมอ

lcdf_labo_chocs_w1

เรื่องเล่ารอบตัวเรือน

ไม่ไกลจากเมือง Chevenez คือที่ตั้งของเมือง Cornol ที่ซึ่งผู้เชี่ยวชาญกว่า 140 ชีวิตได้ร่วมมือกันผลิตตัวเรือนด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย ตัวเรือนหลากหลายวัสดุถูกผลิตขึ้นเพื่อเรือนเวลาของ TAG Heuer ตั้งแต่รุ่น Aquaracer ไปจนถึงรุ่น Monaco ซึ่งเครื่องจักรหน้าตาดุดันเหล่านี้
ก็ทำงานกันอย่างต่อเนื่องเข้มแข็ง

เริ่มต้นการผลิตด้วยเครื่องจักรขนาดใหญ่ ในการที่จะผลิตตัวเรือนอันซับซ้อนจากแผ่นสเตนเลสสตีลหนึ่งแผ่นนั้น ต้องอาศัยกระบวนการปั๊มขึ้นรูปถึงสิบครั้ง โดยใช้เครื่องปั๊มหลายรูปแบบซึ่งควบคุมโดยคอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยำสูงสุด และในแวดวงการสรรค์สร้างกลไกนาฬิกา ผู้เชี่ยวชาญด้านตัวเรือนก็จะจัดการตัด ตกแต่ง และเจียรชิ้นส่วนแต่ละชิ้นอย่างประณีตบรรจงจนกระทั่งได้ชิ้นส่วนตัวเรือนที่สมบูรณ์แบบมาประกอบเป็นตัวเรือน

artecad_frappe_w1

หลังจากขั้นตอนการปั๊มเสร็จสิ้นแล้ว เครื่องจักรอีกส่วนก็จะเจาะรูและประกอบเดือยต่างๆ จัดการลบเหลี่ยมมุม และดำเนินการจนกระทั่งกระบวนการตัวเรือนเสร็จสิ้น อีกครั้งหนึ่งที่มนุษย์และเครื่องจักรจะต้องรับผิดชอบร่วมกันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด งานบางส่วนจำต้องอาศัยความแม่นยำไม่ผิดพลาดของหุ่นยนต์ ในขณะที่มนุษย์มีหน้าที่จบงานละเอียดที่เครื่องจักรอาจจะไม่แม่นยำเท่า ทุกขั้นตอนมีกระบวนการตรวจสอบคุณภาพอย่างละเอียดเพื่อให้ได้ตัวเรือนที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งก็หมายรวมถึงฝาหลังและขอบตัวเรือนด้วย

กระบวนการถัดไปต้องอาศัยห้องปลอดฝุ่น เพราะมันคือกระบวนการประกอบกระจกแซฟไฟร์ป้องกันหน้าปัด และการประกอบตัวเรือนทั้งหมดเพื่อให้นาฬิกากันน้ำได้อย่างสมบูรณ์ การทดสอบแรงกด และการเช็คคุณภาพโดยรวมอีกครั้งหนึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ห้ามมีข้อผิดพลาด
เกิดขึ้นเป็นอันขาด และการทดสอบตัวเรือนนั้นก็โหดหินไม่ต่างจากการทดสอบเครื่องที่เกิดขึ้น ณ เมือง La Chaux-de-Fonds เพราะทุกอย่างจะต้องถูกตรวจสอบอย่างชัดเจนตามมาตรฐานอันสูงส่ง เพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพสูงสุดเท่านั้น

artecad_galvano_w1

หน้าปัดนาฬิกา

เบื้องหลังความพยายามและเทคนิคอันซับซ้อนในการผลิตหน้าปัดนาฬิกานั้นสามารถวัดได้จากอารมณ์ที่คุณสัมผัสได้ยามวางหน้าปัดอันสุดแสนจะสมบูรณ์แบบนั้นลงบนข้อมือของคุณและรัดสายนาฬิการอบข้อมือนั่นเอง ArteCad บริษัทลูกของ TAG Heuer (ที่ตั้งอยู่ในเขต Tramelan ทางตะวันตกของประเทศสวิตเซอร์แลนด์) นั้นมีขีดความสามารถในการผลิตหน้าปัดทุกประเภท และใช้เทคนิคการผลิตอันซับซ้อนที่เชื่อกันว่าหายสาบสูญไปแล้วได้อย่างคล่องแคล่ว แม้กระทั่งการทำงานร่วมกับดีไซเนอร์ที่โดยปกติจะทำงานอยู่ที่เมือง La Chaux-de-Fonds นั้น เหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านหน้าปัดที่นี่ก็จะสามารถหาทางออกให้กับสถานการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการนำหน้าปัดนาฬิการุ่นเก่ามาปัดฝุ่นใหม่ หรือมาเพิ่มเติมออกแบบใหม่ให้ทันสมัยก็ตาม

lcdf_prototypage_w1

ความสลับซับซ้อนของหน้าปัดแบบใหม่ ยกตัวอย่างให้ชัดเจนก็รุ่น Carrera Heuer 01 และ Carrera Heuer 02T นั้นดูจะเพิ่มมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีให้หลังมานี่ หน้าปัดแบบสามมิตินั้นเมื่อก่อนก็มีแค่เพียงปั๊มตรานูน หรือมีกรอบนูนขึ้นมาล้อมรอบหน้าต่างบอกวันที่บนหน้าปัดเท่านั้น แต่
ในปัจจุบันนั้น หน้าปัดส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้น และฝีมือในการผลิตนั้นก็ต้องถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแสดงถึงทักษะในการประกอบงานแต่ละชิ้นให้ลงล็อกพอดีกัน ArteCad นั้นถนัดในเรื่องการประกอบชิ้นงานทองเหลืองที่ผ่านการปั๊ม ขัดเงา เคลือบเงา ปั๊มจมและปั๊มนูน รวมไปถึงการใช้ไข่มุกมาทำหน้าปัดสำหรับนาฬิกาสุภาพสตรีเพื่อเพิ่มความหรูหราและมูลค่าให้กับตัวเรือนอีกด้วย

การปั๊มนูนเล็กๆ บางอย่างนั้นต้องอาศัยทักษะอันชำนาญการของช่างผู้เชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก เครื่องจักรจะตัดมันออกมาจากชิ้นส่วนโลหะใหญ่ หลังจากนั้นก็จะขัดและเคลือบให้เรียบร้อย ArteCad นั้นก็เชี่ยวชาญเรื่องการเคลือบสารซูเปอร์ลูมิโนวา และผ่านความร้อนในเตาสั่งทำพิเศษ และการติดเครื่องหมายเหล่านั้นลงบนหน้าปัดนั้นก็ไม่ใช่ศาสตร์ที่ทำได้ง่ายนัก เพราะการประกอบติดนั้นคือการเจาะรูขนาดเล็กจิ๋วลงบนหน้าปัดก่อนประกอบให้เรียบที่สุด และเมื่อผู้ตรวจงานขั้นสุดท้ายจบงานนั้น ก็เท่ากับว่านาฬิกาข้อมือเรือนนี้ได้ผ่านกระบวนการผลิตมามากกว่า 100 ขั้นตอน ความพยายามทั้งหลายที่มันได้ผ่านมานั้นถือว่าคุ้มค่า เพราะเรือนเวลาเหล่านี้นั้นถือเป็น “หน้าฉากแห่งกาลเวลา” ที่จะคงทั้ง
ความคลาสสิกและเทคโนโลยีไว้ในตัวมันตราบนานเท่านาน

lcdf_labo_w1

เครื่อง ตัวเรือน และหน้าปัดนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการประกอบสร้างเป็นเรือนเวลาสุดคลาสสิกของ TAG Heuer เท่านั้น ผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์หลากหลายสาขาที่ร่วมมือกันผลิตเรือนเวลาอันล้ำค่านั้นถือว่าเป็นผู้ร่วมสรรค์สร้างประวัติศาสตร์แห่งเรือนเวลาไปพร้อมกับเทคโนโลยีอันทันสมัยอีกด้วย

‘อีบิซ่า’ เกาะสวรรค์แห่งการปาร์ตี้ที่กระหึ่มด้วยเสียงเพลงตลอดคืน เราเชื่อว่านักท่องเที่ยวทุกคนใฝ่ฝันว่าสักครั้งหนึ่งในชีวิตจะต้องไปเยือนแน่นอน

Road To IBIZA

IBIZA, SPAIN - MAY 29:  A plane flies over sun loungers on Playa D'En Bossa on May 29, 2007 in Ibiza, Spain. Ibiza remains one of the world's top holiday destinations for young people from around the world. For the last decade or so the island has been a mecca for clubbers with some of the bigger clubs drawing crowds of up to four thousand in peak season. The interior of the island remains a place of solitude and unspoilt natural beauty whilst coastal resorts cater for the masses of the package holiday industry  (Photo by Chris Jackson/Getty Images)

ช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาลอปติมัม ไทยแลนด์ได้รับเชิญจาก TAG Heuer (แท็ก ฮอยเออร์) ไปร่วมงาน Global Launch เปิดตัวนาฬิการุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง Aquaracer Black Titanium ที่อีบิซ่า เกาะสวรรค์ของคนรักดนตรีและปาร์ตี้ที่คุณจะได้ตื่นเต้นและตาลุกวาวเหมือนกับเราตั้งแต่อยู่บนเครื่องบินแน่ๆ เพราะก่อนที่เครื่องบินจะแตะรันเวย์นั้นคุณจะได้ชมทัศนียภาพของอีบิซ่าทั้งเกาะในมุมกว้างโดยไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มแต่อย่างใด เพราะระหว่างทางที่เครื่องบินมุ่งหน้าไปยังสนามบินนั้นคุณจะได้เห็นตั้งแต่อ่าวจอดเรือยอร์ชสำหรับปาร์ตี้ส่วนตัวของเหล่าเศรษฐี ชายหาดสีที่มีทรายสีขาวนวลและน้ำทะเลสีครามมองทะลุลงไปเห็นพื้นด้วยตาเปล่าโดยไม่ต้องเพ่ง แต่นี่เป็นเพียงแค่เริ่มต้นสำหรับการเดินทางมาอีบิซ่าของเราครั้งนี้เท่านั้น

dsc01644_w1

เมื่อเราถึงสนามบินก็ต้องพบกับความอลังการของทุกเสาในสนามบิน เพราะมันถูกห่อหุ้มด้วยโฆษณานาฬิกา TAG Heuer หลากหลายรุ่น เรารู้ได้ทันทีที่เหยียบสนามบินเลยว่าจะต้องมีอะไรตื่นเต้นรอเราอยู่ที่นี่แน่ๆ พ้นจากประตูสนามบินมาก็สัมผัสได้ทันทีว่าอากาศที่อีบิซ่านั้นร้อนระอุถึง 36 องศาเซลเซียส ไม่ต่างอะไรกับเตาไมโครเวฟเลย แต่ก็ถือว่าชดเชยกันได้อย่างลงตัวกับสาวผมบลอนด์ที่สวยระดับนางแบบวิกตอเรียซีเคร็ตที่เดินขวักไขว่ไปมาเป็นเรื่องธรรมดาในชุดสบายๆ จนเราอยากจะมุ่งหน้าไปเก็บของที่โรงแรมแล้วเปลี่ยนเป็นเสื้อยืดบางๆ พร้อมกางเกงขาสั้นเพื่อกระโดดลงทะเลในทันที แต่พอถึงโรงแรม Hard Rock Ibiza สถานที่พักพิงของเราในครั้งนี้นั้น ความคิดที่สนามบินก็เปลี่ยนไปในทันที 
เพราะปาร์ตี้ในสระน้ำของโรงแรมนั้นเริ่มตั้งแต่เที่ยงวันจนกระทั่ง 6 โมงเย็นโดยที่คุณไม่ต้องเดินไปไหนไกลจากห้องพัก หลังจากที่ปาร์ตี้ริมสระกันอย่างสนุกสนานก็ถึงเวลาที่จะอาบน้ำแต่งตัวรีเฟรชตัวเองให้พร้อมเพื่อที่จะไปพบกับ David Guetta (เดวิด เก็ตต้า) แบรนด์แอมบาสเดอร์คนสำคัญของ TAG Heuer ในปาร์ตี้ F*** Me I’m Famous ณ Pacha Ibiza ไนท์คลับที่ดังที่สุดในอีบิซ่า แต่ถ้าคุณได้เดินทางไปเยือนเกาะอีบิซ่า ไม่ต้องตกใจเพราะเวลาเที่ยวราตรีที่นี่นั้นแตกต่างกับที่อื่นโดยสิ้นเชิง ไนท์คลับจะเปิดเที่ยงคืนถึง 7 โมงเช้า แต่ก่อนหน้านั้นคุณจะต้องไปอุ่นเครื่องตามโรงแรมหรือบาร์ที่เปิดเวลา 6 โมงเย็นถึงเที่ยงคืน นั่นหมายความว่าคุณจะเริ่มต้นเที่ยวได้ตอนที่พระอาทิตย์กำลังจะลับฟ้า และเสร็จสิ้นเมื่อพระอาทิตย์กำลังโผล่ขึ้นรับวันใหม่ และคืนแรกในการมาเยือนอีบิซ่าของเรานั้น เดวิด เก็ตต้าก็เริ่มเล่นตั้งแต่ช่วงตี 3 และก็ไม่ผิดหวังด้วยดนตรีอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์เอกลักษณ์ของเขาที่ขับเคลื่อนให้นักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้ามาในคลับนั้นต้องเต้นตามและระเบิดความมันกันแบบเต็มที่ และตามสเตจที่เล่นระดับขึ้นมารอบๆ คลับจะมีสาวสวยในชุดวาบหวิวที่คุณสามารถมองเธอเต้นได้โดยเธอจะไม่ว่าคุณสักคำ

dsc01538_w1

วันที่สองของเรานั้นมีนาฬิกาปลุกชนิดพิเศษนั่นก็คือเสียงเพลงจากปาร์ตี้ริมสระน้ำที่ลอยเข้ามากระแทกแก้วหูจนต้องตื่นเองแบบอัตโนมัติ ทำให้เราต้องรีเฟรชตัวเองและหาอาหารมื้อรวบรัดที่มัดรวมเอามื้อเช้าที่ได้ผ่านไปแล้วและมื้อกลางวันที่มาถึงพอดีเข้าด้วยกันพร้อมกับชมวิวหาดทรายสีขาวน้ำทะเลสีฟ้าที่เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวที่มาพักผ่อนเช่นกัน จากนั้นก็ถึงเวลาที่จะต้องแต่งตัวให้เรียบร้อยกันสักนิด เพราะนี่คือเป้าหมายสำคัญในการเดินทางมาอีบิซ่าครั้งนี้เพื่อร่วมงานเปิดตัว TAG Heuer Aquaracer Black Titanium ที่จัดขึ้นในวิลล่าตากอากาศส่วนตัวและพบกับสองแบรนด์แอมบาสเดอร์ด้านดนตรีอย่าง Martin Garrix (มาร์ติน แกร์ริกซ์) และ David Guetta (เดวิด เก็ตต้า) และเราก็ได้รับโอกาสพิเศษให้สัมภาษณ์ Jean-Claude Biver (ฌ็อง-คล็อด บีเวอร์) ซีอีโอของ TAG Heuer และตัวเดวิด เก็ตต้าด้วย

dsc08387_w1

ทำไมถึงเลือกมาร์ติน แกร์ริกซ์และเดวิด เก็ตต้ามาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์

เพราะว่าทั้งคู่คือตัวแทนของ TAG Heuer ที่ตรงกับคอนเซ็ปต์ “Don’t Crack Under Pressure” พวกเขาคือคนที่เชื่อมเด็กรุ่นใหม่เข้ากับ TAG Heuer ผ่านการแสดงตัวตนและภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้เด็กรุ่นใหม่ๆ ได้เข้าใจว่าอะไรคือตัวตนที่แท้จริงของพวกเขาและของ TAG Heuer

คุณเข้ามาบริหาร TAG Heuer แล้วจะเปลี่ยนแปลงแบรนด์เยอะแค่ไหน

ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอะไรเยอะแยะ เพราะ TAG Heuer นั้นมีเอกลักษณ์ของตัวเองที่ชัดเจนอยู่แล้ว และนาฬิกาแต่ละรุ่นนั้นก็มีเรื่องราวในตำนานของตัวเองโดยที่เราไม่ต้องเพิ่มอะไรเข้าไปใหม่เลย

ใครๆ ก็บอกว่าคุณเป็นมือทองในการปั้นแบรนด์นาฬิกา แล้วจับแบรนด์ไหนก็สำเร็จไปทุกแบรนด์จริงไหม

ผมก็ไม่อยากพูดอย่างนั้น แต่ถ้ามันเป็นไปได้ก็คงดี แต่ผมเชื่อว่าทุกแบรนด์นั้นมีวิธีการทำการตลาดที่แตกต่างกัน เราต้องเอาลูกเล่นและเอกลักษณ์ของแบรนด์นั้นออกมาให้ได้ และต้องถูกกลุ่มเป้าหมาย แต่ตอนนี้ผมได้ทำให้แบรนด์ที่เคยผ่านมือของผมไปนั้นสำเร็จมาแล้ว ผมก็ยังคงอยากจะให้เป็นอย่างนั้น

รู้สึกอย่างไรกับการที่ได้มาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ของ TAG Heuer

เป็นอะไรที่วิเศษมาก เพราะ TAG Heuer ก็เป็นเหมือนตัวตนของผม มีนาฬิกาหลายรุ่นที่ผมชอบมาก และผมก็รู้สึกยินดีมากที่ได้ทำงาน กับฌ็อง-คล็อด บีเวอร์ เขาเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ดีมาก ทำงานกับเขาผมรู้สึกสนุกมากเลย

นาฬิกา TAG Heuer รุ่นไหนที่คุณชอบมากที่สุด

ผมชอบอยู่สองรุ่นนะ รุ่นแรกคือ Carrera Calibre Heuer 01 เป็นรุ่นที่ผมชอบมาก ดีไซน์มันสวยและสปอร์ตโดนใจ ผมเพิ่งขอฌ็อง-คล็อดไป แต่ของขายหมดเกลี้ยงผมเองก็ยังไม่มีใส่เหมือนกัน (หัวเราะ) และอีกรุ่นคือ Monaco มันน่าหลงใหลมากทั้งประวัติอันยาวนานและดีไซน์ของตัวเรือนที่มีเอกลักษณ์

คิดอย่างไรกับทิศทางของดนตรี EDM ที่กำลังเปลี่ยนไป คุณคิดว่าจะเปลี่ยนแนวเพลงไหม

มันก็เป็นเรื่องปกตินะ ดนตรีก็จะหมุนเวียนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จริงๆ ผมเองก็มีดนตรีแนวอื่นที่ชอบแถมมันก็ไม่ใช่แนวอิเล็กทรอนิกส์ด้วย แต่ทำอย่างไรได้แฟนๆ อยากจะฟังเพลงแดนซ์ และพวกเขาก็อยากให้ผมเล่นให้ฟัง แต่อย่างไรก็ตามผมคิดว่า EDM ตอนนี้มันก็คงช้าลงบ้าง เร็วขึ้นบ้างตามจังหวะเวลาของมัน

_rcz8511_w1

หลังจบจากสัมภาษณ์ซีอีโอและดีเจชื่อก้องโลก ก็ถึงคิวที่มาร์ติน แกร์ริกซ์และเดวิด เก็ตต้าจะไปร่วมเตะฟุตบอลกับอดีตนักฟุตบอลชื่อดังของลาลีกาลีกประกอบไปด้วย Albert Luque (อัลเบิร์ต ลูเก้), Michel Salgado (มิเชล ซัลกาโด้), Joan Capdevila (โจน แคปเดวิญา), Aitor Ocio (ไอตอร์ โอซิโอ), Fernando Morientes (เฟอร์นันโด มอริเอนเตส), Fernando Sanz (เฟอร์นันโด แซงส์), Gaizka Mendieta (ไกซ์กา เมนเดียตต้า) และ Marcos Senna (มาร์กอส เซนน่า) เพราะเมื่อเร็วๆ นี้ TAG Heuer เพิ่งจะเข้าเป็น Official Timekeeper ของลาลีกา ลีกฟุตบอลสูงสุดของประเทศสเปนฤดูกาล 2016/2017 อย่างเป็นทางการ ฌ็อง-คล็อด บีเวอร์ให้เกียรติรับหน้าที่เป็นท่านเปาตัดสินการแข่งขันด้วยตัวเอง หลังจากผู้เล่นทั้งสองฝั่งได้โชว์ทักษะที่ไม่ได้เห็นกันมานาน แต่ผลออกมาสองทีมเสมอกันจึงต้องตัดสินกันด้วยการเตะลูกฟุตบอลเข้าไปที่แผ่นกระดาน Carrera Calibre Heuer 01 Chronograph เพื่อวัดผลการตัดสิน ก่อนจะปิดฉากงานเปิดตัวด้วยดนตรี EDM สุดฮ็อตจากมาร์ติน แกร์ริกซ์ให้แขกผู้มีเกียรติและเหล่าเซเลบริตี้ได้ร่วมสังสรรค์ พร้อมปาร์ตี้ค็อกเทลกันแบบเต็มที่ และที่จะลืมไม่ได้เลยคือชีสสุดพิเศษจากฌ็อง-คล็อด บีเวอร์ที่นำมาให้แขกทุกท่านได้ร่วมลิ้มลองกันโดยเฉพาะ

_rcz9542_w1

ค่ำคืนสุดท้ายเราส่งท้ายด้วยการไปปาร์ตี้ที่โรงแรม Ushuaia Ibiza ใจกลางของโรงแรมนั้นจะเป็นไนท์คลับแบบเปิดโล่ง ซึ่งคิว
ของมาร์ติน แกร์ริกซ์นั้นจะเริ่ม 4 ทุ่ม ทำให้เราได้วอร์มอัพกับ
ดีเจ Marshmello ที่แต่งกายมาในชุดมาร์ชเมลโลว์มาตามชื่อกันไปพลางๆ ก่อนและช่วงใกล้ที่จะจบนั้นเราก็รู้สึกได้ว่าคนในคลับนั้น
เริ่มแน่นมากขึ้น ทุกคนมาเพื่อดูมาร์ติน แกร์ริกซ์โดยเฉพาะ และ
เมื่อเขาปรากฏตัว ทุกคนก็พร้อมที่จะระเบิดความมันไปพร้อมกับเขา 
นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาปาร์ตี้นั้นก็อย่างถึก เพราะหลังจากงานจบพวกเขายังสามารถไปต่อที่อื่นกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ มันช่างเข้ากับคอนเซ็ปต์ #DontCrackUnderPressure ตามสไตล์ TAG Heuer จริงๆ ซึ่งทำให้เรารู้แล้วเข้าใจเลยว่าหนึ่งในตัวตนของ TAG Heuer 
ที่ฌ็อง-คล็อด บีเวอร์ต้องการจะสื่อให้แฟนๆ นาฬิกาของเขาได้รู้นั้นคืออะไร และเราก็แนะนำว่าสักครั้งหนึ่งในชีวิตคุณน่าจะลองบินลัดฟ้าข้ามประเทศมาปาร์ตี้ที่อีบิซ่าดูสักครั้ง จะได้รู้ว่าอะไรคือตัวตนของ TAG Heuer และรู้ว่าเหตุใดอีบิซ่าจึงเป็นสวรรค์แห่งการปาร์ตี้ที่ทุกคนใฝ่ฝัน

_mg_3965_w1

TAG Heuer จัดเต็มเปิดตัวนาฬิกา รุ่น Aquaracer Black Titanium กันที่เกาะอีบิซ่าแหล่งกำเนิดเพลงอีดีเอ็ม

เมื่อช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา TAG Heuer ได้จัดงาน Global Launch เปิดตัวนาฬิการุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง Aquaracer Black Titanium ในวิลล่าส่วนตัวสุดหรู ณ เกาะอีบิซ่า ซึ่งก็มีเหล่าเซเลบริตี้และแบรนด์แอมบาสเดอร์ตบเท้าเข้าร่วมงานกันเพียบ นำทีมโดย 2 ดีเจชื่อดังอย่าง David Guetta และ Martin Garrix ที่เป็นคีย์แมนของงานครั้งนี้

ทาง Jean-Claude Biver ซีอีโอของแบรนด์ก็ได้เปิดงานอย่างยิ้มแย้มแจ่มใส และได้ร่วมพูดคุยกับ David Guetta และ Martin Garrix แบรนด์แอมบาสเดอร์ทั้ง 2 คนถึงเรื่องราวความผูกพันระหว่างพวกเขากับ TAG Heuer และอะไรคือสิ่งที่ทำให้ Jean-Claude Biver เลือกทั้งสองคนเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ ซึ่งเป็นเพราะว่า ทั้งคู่คือตัวแทนของ TAG Heuer ที่ตรงกับตอนเซ็ปต์ “Don’t Crack Under Pressure” พวกเขาคือคนที่เชื่อมเด็กรุ่นใหม่เข้ากับ TAG Heuer ผ่านการแสดงตัวตนและภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้เด็กรุ่นใหม่ๆ ได้เข้าใจว่าอะไรคือตัวตนที่แท้จริงของพวกเขาและของ TAG Heuer
 4
ภายในงาน TAG Heuer ยังได้เปิดตัวเรื่องการเข้าเป็น Official Timekeeper ของบอลลาลีกา ประเทศสเปน ฤดูกาล 2016/2017 อย่างเป็นทางการด้วยการขนทัพนักเตะในตำนานลาลีกา หรือลีกสูงสุดของสเปนอย่าง Albert Luque, Michel Salgado, Joan Capdevila, Aitor Ocio, Fernando Morientes, Gaizka Mendieta และ Marcos Senna มาร่วมเตะฟุตบอลโดยมี David Guetta และ Martin Garrix เป็นผู้รักษาประตู ส่วน Jean-Claude Biver ให้เกียรติรับหน้าที่เป็นท่านเปาตัดสินการแข่งขันด้วยตัวเอง หลังจากผู้เล่นทั้งสองฝั่งได้โชว์ทักษะที่ไม่ได้เห็นกันมานาน แต่ผลออกมาสองทีมเสมอกันจึงต้องตัดสินกันด้วยการเตะลูกฟุตบอลเข้าไปที่แผ่นกระดาน Carrera Heuer 01 Chronograph เพื่อวัดผลการตัดสิน

ก่อนจะปิดฉากงาน Global Launch ด้วยดนตรี EDM สุดฮ็อตจาก Martin Garrix ให้แขกผู้มีเกียรติและเหล่าเซเลบริตี้ได้ร่วมสังสรรค์ พร้อมปาร์ตี้ค็อกเทลกันแบบเต็มที่ และที่จะลืมไม่ได้เลยคือชีสสุดพิเศษจาก Jean-Claude Biver ได้นำมาให้แขกทุกท่านได้ร่วมลิ้มลองกันโดยเฉพาะ

Content by Poramin T.

เชื่อมต่อนาฬิกาเรือนโปรดสู่ไลฟ์สไตล์ไร้ขีดจำกัดกับ TAG Heuer Connected

TIME AND TIDE WAIT FOR NO MAN 

กระแสกาลเวลาที่แปรเปลี่ยน ไม่ได้ต่างจากคลื่นมหาสมุทรที่พัดผ่านอย่างไม่เคยรีรอ ในปัจจุบันวงการนาฬิกาให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีเป็นอย่างมากจนสามารถก้าวขึ้นเทียบเคียงวงการโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนเลยทีเดียว จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ยักษ์ใหญ่แห่งวงการเรือนเวลาสัญชาติสวิสอย่าง TAG Heuer (แท็ค ฮอยเออร์) จะรังสรรค์เรือนเวลาแห่งศตวรรตที่ 21 ขึ้นมาฟาดฟันกับเหล่าสมาร์ทวอทช์ในตลาดตอนนี้

TAG Heuer สร้างเสียงฮือฮาอย่างน่าตกตะลึงในงาน BaselWorld 2016 (บาเซลเวิลด์ 2016) ที่ผ่านมา ด้วยการเปิดตัวสมาร์ทวอทช์ไฮเอนเรือนแรกของแบรนด์ ที่ผลิตออกจำหน่ายเพียงหนึ่งพันเรือนเท่านั้น ซึ่งคือรุ่น Connected ที่มาพร้อมตัวเรือนแบบฉบับของ TAG Heuer ดูหรูหราและคลาสสิคมีลักษณะภายนอกคล้ายนาฬิกาเครื่องกลทั่วไป สร้างตัวเรือนด้วยวัสดุที่คงทนอย่าง ไทเทเนียมเกรด 2 มีหน้าจอแสดงผล LED ขนาด 1.5 นิ้ว บนตัวเรือนขนาด 46 มิลลิเมตร ซึ่งนอกจากระบบสัมผัสด้วยนิ้วแล้ว ยังรับคำสั่งด้วยเสียงได้อีกด้วย ตัวเรือนมาพร้อมความบางที่ 12.8 มิลลิเมตร สามารรองรับระบบ Android ได้อย่างดีเยี่ยมและยังปรับกลับมาใช้เป็นหน้าปัดนาฬิกาแบบเดิมได้ ระบบประมวลผลอินเทลอะตอม ที่มีทั้งแอปพลิเคชันเพื่อการฟังเพลง ออกกำลังกาย แผนที่นำทางด้วยกูเกิ้ล แม็ปส์ แสดงสภาพอากาศ และปฏิทินงาน ด้วยขนาดความจุ 4 GB มาพร้อมสายรัดข้อมือที่ใช้วัสดุยางเพื่อความเบาสบาย มีทั้งสีเขียว ส้ม แดง ขาว และเหลือง โดยตั้งราคาไว้ที่ประมาณ 1,500 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 53,000 บาท แน่นอนว่าสมาร์ทวอทช์สัญชาติสวิสเรือนนี้ต้องเป็นเรือนเวลาที่น่าจับจ้องที่สุด และหากท่านผู้อ่านมีโอกาสคว้ามาประดับข้อมือ เราขอแนะนำว่าอย่าพลาดเชียวล่ะ


TEXT : Suwicha Sangkayoolakul

สุดยอดตำนานเรือนเวลาที่กลับมามีชีวิตอีกครั้ง และยังคงความคลาสสิกในทุกอณู

BORN AGAIN
ในยุคสมัยที่นวัตกรรมต่างๆ พัฒนาไปแบบก้าวกระโดดนั้น วงการนาฬิกาเองก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กันเพราะนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นก็ล้วนแล้วแต่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาตัวเรือนนาฬิกาทั้งในเรื่องของวัสดุตัวเรือน รายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ รวมไปถึงเทคโนโลยีระบบขับเคลื่อนในตัวเรือนและการดีไซน์อันสดใหม่ให้ทันยุคทันสมัย แต่อย่างไรก็ดี แม้ว่าวันเวลาจะผันเปลี่ยนแปรไปมากแค่ไหนแต่ความคลาสสิกดั้งเดิมของทรงตัวเรือน หรือเอกลักษณ์ในการออกแบบดั้งเดิมนั้นก็ยังคงปรากฏให้เห็นในนาฬิกาต่างเจเนอเรชั่นที่ลอปติมัม ไทยแลนด์รวบรวมมาเทียบกันแบบรุ่นต่อรุ่นให้ผู้อ่านที่หลงใหลคลั่งไคล้นาฬิกาทั้งรุ่นวินเทจและรุ่นใหม่ได้ชื่นชมซาบซึ้งกับความคลาสสิกอันไร้กาลเวลาของเรือนเวลาเหล่านี้แล้วคุณจะเข้าใจว่า “ความอมตะ” นั้นมีอยู่จริงบนข้อมือของคุณเอง

1_021-W1

Bvlgari Daniel Roth Carillon Tourbillon
Daniel Roth นั้นไม่ได้สูญสลายไปอย่างสิ้นเชิงแต่กลับมาเกิดใหม่อีกครั้งเป็นหนึ่ง ในคอลเลกชั่นของ Bvlgari โดย Carillon Tourbillon นี้เป็นการสานต่อความละเอียดในการผลิตนาฬิกาของ Daniel Roth ดั้งเดิม บนตัวเรือนโรสโกลด์ขนาด 48 มิลลิเมตร ขับเคลื่อนด้วยเครื่องระบบไขลาน Caliber DR 3300 มีกลไลทูร์บิญงช่วยให้นาฬิกาเดินเที่ยงตรงที่สุด และฟังก์ชั่นมินิทรีพีตเตอร์แบบ 3 ฆ้องสำหรับตีบอกเวลาเมื่อคุณสไลด์สลักด้านข้างตัวเรือน ผลิตเพียง 50 เรือนทั่วโลกเท่านั้น แต่การันตีได้เลยว่าเสียงของ 3 ฆ้องนั้นไพเราะสะดุดหูแน่นอน

Daniel Roth Asprey Tourbillon Numero 81
อดีตแบรนด์นาฬิกาที่เคยมีโรงงานผลิตตัวเรือนและกลไกทูร์บิญงเป็นของตัวเอง อย่าง Daniel Roth นั้นมีรุ่น Asprey Toubillon เป็นไฮไลท์สำคัญด้วยตัวเรือน เยลโลว์โกลด์ หน้าปัดสลักลายกิโยเช่ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เข็มนาฬิกาสีน้ำเงิน ขับเคลื่อนด้วยเครื่องระบบไขลาน Numero 81 มีฟังก์ชั่นบอกเวลา วินาทีแบบ 3 แถวและกลไกทูร์บิญงอยู่ที่ด้านหน้า ฟังก์ชั่นบอกวันที่แบบ Retrograde และบอกอัตราการสำรองพลังงานที่ด้านหลัง ปัจจุบันเลิกผลิตไปแล้วและกลายมาเป็นของหายากในท้องตลาดไปโดยปริยาย

1_340-W1

Rolex Daytona (Ref. 6263)
Rolex รุ่น Daytona นั้นถูกผลิตขึ้นเพื่อตอบโจทย์นักแข่งรถมืออาชีพอย่างแท้จริง เรือนวินเทจแท้ๆ เรือนนี้นั้นหายากมากในปัจจุบัน ด้วยตัวเรือน สเตนเลสสตีลขนาด 38 มิลลิเมตร ขอบหน้าปัด Tachymetric แบล็คไลท์ สีดำ กระจกหน้าปัดเป็นพลาสติกดั้งเดิม หน้าปัดหลักสีเงิน พื้นหน้าปัดใน วงโครโนกราฟสีดำ ขับเคลื่อนด้วยเครื่องระบบไขลาน Vlajoux 727 มีฟังก์ชั่น โครโนกราฟจับเวลา สวมใส่ด้วยสายสเตนเลสสตีลพร้อมบานพับแบบ ชั้นเดียว ความคลาสสิกอยู่ที่เข็มวินาทีที่ตำแหน่งเลขเก้า ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ สำคัญของ Rolex รุ่นคลาสสิกก่อนที่จะเปลี่ยนเครื่องเป็น Rolex ถาวร

Rolex Daytona (Ref. 116520)
ความคลาสสิกของรุ่น Daytona ยังปรากฏอย่างชัดเจนในรุ่นล่าสุดนี้ ด้วยตัวเรือนสเตนเลสสตีลขนาด 40 มิลลิเมตร ขอบหน้าปัด Tachymetric สเตนเลสสตีล (โดยสเกลบนขอบเพิ่มจาก 200 Units per Hours ในรุ่นโบราณเป็น 400 Units per Hours ในรุ่นนี้) หน้าปัดสีดำ ปกป้องหน้าปัดด้วยกระจกแซฟไฟร์ป้องกันรอยขีดข่วน ขับเคลื่อนด้วยเครื่องระบบอัตโนมัติ Calibre 4130 จากโรงงาน Rolex ซึ่งสังเกตได้ง่ายจากตำแหน่งของ เข็มวินาทีที่หกนาฬิกาอันเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่บ่งบอกถึงเครื่องภายใน ที่เปลี่ยนจาก Vlajoux กลายมาเป็นเครื่อง Rolex แล้ว

1_155-W1

Tornek-Rayville TR-900
Tornek-Reyville เป็นแบรนด์ที่แยกตัวออกไปจาก Blancpain ในทศวรรษ 30s และผลิต TR-900 นี้ขึ้นมาเพียง 1,000 เรือนโดยใช้ Fity Fathoms เป็นต้นแบบ เพื่อให้ทหารอเมริกันใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และปัจจุบันเหลือที่ยังคงทำงานได้อยู่ราว 300 เรือนเท่านั้น ด้วยตัวเรือนสเตนเลสสตีลขนาด 40 มิลลิเมตร หน้าปัดสีดำ ขอบหมุนสีดำ มีมาตรวัดบอกความชื้นบนหน้าปัด ฝาหลังสองชั้น มีคุณสมบัติป้องกันสนามแม่เหล็ก ขับเคลื่อนด้วยเครื่องระบบอัตโนมัติ เป็นรุ่นที่ไม่มีขายตามท้องตลาด มีเพียงทหารอเมริกันที่ไปร่วมรบในสงครามโลก เท่านั้นที่เป็นผู้ครอบครอง

Blancpain Fifty Fathoms
สร้างขึ้นโดยยึดเอาเอกลักษณ์จาก Fifty Fathoms วินเทจรุ่นปี 1953 โดยรุ่นใหม่ นี้มาพร้อมตัวเรือนสเตนเลสสตีลขนาด 45 มิลลิเมตร มีคุณสมบัติป้องกันสนามแม่เหล็ก หน้าปัดสีดำ ขอบหมุนสีดำหมุนไปฝั่งซ้ายได้ด้านเดียว ด้านข้าง ตัวเรือนฝั่งเก้านาฬิกาสลักชื่อรุ่น กันน้ำได้ลึกถึง 300 เมตร ขับเคลื่อนด้วยเครื่องระบบอัตโนมัติ Calibre 1315 มีฟังก์ชั่นบอกวันที่ สามารถสำรองพลังงานได้นานสูงสุดถึง 120 ชั่วโมง ซึ่งความแตกต่างระหว่างตัวใหม่กับ ตัวโบราณนั้น มีเพียงวัสดุที่เปลี่ยนไปและฟังก์ชั่นวันที่ที่เพิ่มเข้ามาเท่านั้น โดยรวม แล้ว Blancpain ยังคงรักษาเอกลักษณ์ไว้ได้อย่างครบถ้วน

1_126-W1

Jaeger-LeCoultre Memovox
ตระกูล Memovox คือนาฬิกาข้อมือวินเทจที่ตั้งปลุกครั้งใดก็ต้องตกใจทุกครั้ง และนี่คือ Memovox เจเนอเรชั่นแรก ตัวเรือนเยลโลว์โกลด์ หน้าปัดสีขาว หลักชั่วโมงแบบขีดสีทอง ปกป้องหน้าปัดด้วยพลาสติก ทรงโดม ขับเคลื่อนด้วยเครื่องอัตโนมัติแบบโรเตอร์ครึ่งรอบ (มีรุ่นที่ใช้เครื่องแบบไขลานด้วย แต่ตัวบางกว่า และเสียงไม่เพราะเท่าเครื่องอัตโนมัติ) ซึ่งในตัวหลังๆ ถูกพัฒนาเป็นโรเตอร์แบบเต็มรอบ มีเม็ดมะยมสองเม็ดสำหรับตั้งเวลาและสำหรับตั้งปลุก เป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมในกลุ่มคนเล่น Jaeger-LeCoultre พอสมควร

Jaeger-LeCoultre Master Memovox
เป็นรุ่นพิเศษที่ Jaeger-LeCoultre ต้องการสื่อให้เห็นถึงเจตนารมณ์ ในการเปิดตัว Memovox ในปี 1956 บนตัวเรือนสเตนเลสสตีลขนาด 40 มิลลิเมตร หน้าปัดสีเงิน มีตัวอักษรบอกรุ่น Memovox บนหน้าปัด ขับเคลื่อนด้วยเครื่องระบบอัตโนมัติ Caliber 956 จากโรงงาน Jaeger-LeCoultre มีฟังก์ชั่นวันที่เพิ่มเติมจากตัวโบราณ สามารถสำรองพลังงานได้นานสูงสุดถึง 45 ชั่วโมง กันน้ำได้ลึกสูงสุดถึง 50 เมตร สวมใส่ด้วยสายหนังจระเข้พร้อมบานพับ 2 ชั้น คลาสสิกถึงขั้นเรียกได้ว่าแทบจะแกะมาจากแม่พิมพ์เดียวกัน เพิ่มเติมฟังก์ชั่นใหม่ๆ ให้ทันกาลเวลาที่หมุนไปเท่านั้น

1_218 1-W1

TAG Heuer Monaco
ตำนานของนาฬิการุ่น Monaco ยังคงสืบสานต่อมาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันนั้นใช้เครื่องระบบอัตโนมัติ Caliber 12 ซึ่งพัฒนามาจาก Caliber 11 สำรองพลังงานได้นานสูงสุดถึง 40 ชั่วโมง สิ่งที่ต่างไปจากตัวโบราณคือรุ่นนี้ไม่มี หน้าปัดสีเทา มีเพียงหน้าปัดสีน้ำเงินและสีดำ หากใครอยากเก็บคอลเลกชั่นให้สีหน้าปัดตรงกันเป๊ะๆ คงต้องเสาะหารุ่นโบราณที่สีหน้าปัดตรงกับรุ่นใหม่เอาเอง แต่สำหรับนักสะสมรุ่นใหม่ที่เพิ่งเริ่มเล่นรุ่นนี้ ปีนี้เป็นโอกาสดีที่จะจับคู่คอลเลกชั่นให้สมบูรณ์แบบ เนื่องจาก TAG Heuer เพิ่งตัดสินใจนำ Caliber 11 ดีไซน์เดิมกลับมาทำใหม่สำหรับคนที่พลาดโอกาสสะสมเรือนเวลาคลาสสิกเรือนนี้

Heuer Monaco
ก่อนที่ Heuer จะรวมกับบริษัท Techniques d’Avant Garde ซึ่งเป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์สำหรับรถฟอร์มูล่าวันนั้น คอลเลกชั่น Monaco คือรุ่นที่ฮิตติดตลาดมากที่สุด และผู้สวมใส่ก็คือนักแข่งรถในตำนานอย่างสตีฟ แมคควีนนั่นเอง ด้านในของ Heuer Monaco ตัวนี้ใช้เครื่อง Caliber 11 ที่พัฒนาร่วมกับ Brietling Hamilton Seiko และ Zenith ซึ่งเป็นการร่วมมือกันผลิตเครื่อง โครโนกราฟระบบอัตโนมัติ และได้ฤกษ์ประจำการอยู่ในรุ่นนี้เป็นรุ่นแรก Monaco เรือนนี้เป็นนาฬิกาสำหรับคนถนัดซ้าย เพราะเม็ดมะยมอยู่ที่ตำแหน่ง 9 นาฬิกา ปัจจุบันหายากมาก ส่วนใหญ่แฟนๆ TAG Heuer จะเก็บสะสมเข้ากรุกันไปหมดแล้ว

1_177-W1

Bulova Accutron II
ภาคต่อของนาฬิกานี้นั้นได้เครื่องแบบ Ultra High Frequency ที่ทำงานบนความถี่สูงถึง 262 kHz (เครื่องควอตช์ทั่วไปทำงานบนความถี่ประมาณ 32 kHz) เพื่อการเดินที่เที่ยงตรงที่สุด ตัวเรือนสเตนเลสสตีลขนาด 42 มิลลิเมตร มีชื่อรุ่นสลักบนกระจก ภายในหน้าปัดถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือส่วนสีเขียวรอบนอกแสดงหลักชั่วโมง และกลางหน้าปัดโชว์เครื่องภายใน เม็ดมะยมอยู่ทางด้าน 3 นาฬิกาต่างกับรุ่นเก่าที่มีเม็ดมะยมอยู่ที่ฝาหลัง เข็มวินาทีเดินแบบต่อเนื่องต่างจากเครื่องควอตช์ทั่วไป แม้รูปทรงตัวเรือนเปลี่ยนไป แต่เครื่องภายในก็ยังคงคล้ายตัวโบราณเช่นเดิม

Bulova Accutron
ย้อนกลับไปเมื่อปี 1960 ตอนที่ NASA คัดเลือกนาฬิกาเพื่อที่จะให้ นักบินใส่ขึ้นไปบนอวกาศ เรือนเวลาเรือนนี้คือคู่แข่งสำคัญของ Omega Moonwatch ตัวเครื่องพลังงานผ่าน Electromagnetic Coils (หรือขดลวดทองแดง) สองอันบนหน้าปัด ทำให้เดินได้แม่นยำกว่าเครื่องควอตช์ในสมัยนั้นมาก ตัวเรือนไวท์โกลด์ 14K รุ่นนี้ไม่มีเม็ดมะยมข้างตัวเรือน แต่ตั้งเวลาจากสลักด้านหลัง ความพิเศษของเรือนนี้อยู่ที่การสลักโลโก้แบรนด์และสัญลักษณ์บอกชั่วโมงลงไปบนกระจกหน้าปัด ทำให้หาอะไหล่ ในการซ่อมได้ยากมาก จึงหาเครื่องที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ได้น้อยเต็มที

1_208-W1

Cartier Tank Américaine
ความคลาสสิกของ Cartier รุ่น Tank Amricaine ที่ผลิตออกมาตั้งแต่ ปี 1919 นั้น จะผลิตซ้ำแค่ไหนก็ยังคงความคลาสสิกอันเป็นเอกลักษณ์ไม่เปลี่ยนแปลง รุ่นใหม่นี้ได้ตัวเรือนไวท์โกลด์กว้าง 26.6 มิลลิเมตร ยาว 45.1 มิลลิเมตร บางเพียง 8.85 มิลลิเมตร หน้าปัดสีขาวครีม ขับเคลื่อนด้วยเครื่องระบบอัตโนมัติ มีฟังก์ชั่นวันที่ (ที่ไม่มีในรุ่นโบราณ) กันน้ำได้ลึกสูงสุดถึง 30 เมตร สวมใส่ด้วยสายหนังจระเข้สีดำพร้อมบานพับไวท์โกลด์ รุ่นนี้เป็นที่คุ้นตาเหล่า นักสะสมมากที่สุดเ พราะเป็นหนึ่งในรุ่นที่ออกวางขายมาอย่างยาวนานพอกับรุ่น Tank Franaise เลยทีเดียว

Cartier Tank Américaine Thai Royal Crest
เรือนเวลาเรือนนี้ถือเป็นเรือนสำคัญที่จะต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทยเลยก็ว่าได้ เพราะ Cartier ผลิตออกมาเพื่อร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 50 ปีในปีค.ศ. 1996 โดยผลิตจำนวนจำกัดเพียง 50 เรือนเท่านั้น ตัวเรือนแพลตินัม ปกป้องหน้าปัดด้วยกระจกแซฟไฟร์กันรอยขีดข่วน หน้าปัดสีทองแดงขัดลาย Sunburst หลักชั่วโมงสไตล์โรมัน ขับเคลื่อนด้วยเครื่องระบบไขลานเอกลักษณ์จาก Cartier สวมใส่ด้วยสายหนังจระเข้พร้อมบานพับแพลตินัม นับเป็นเรือนเวลาคลาสสิก ที่ถูกเลือกมาเฉลิมฉลองความยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี

Content by Poramin T., Photography by Sompoch T.