Posts

บุกถิ่นกำเนิด Gibson กีตาร์ชื่อดังกระฉ่อนโลก

A Century of Perfect Guitars

ในวงการเครื่องดนตรีนั้น เครื่องหมายแสดงความชั้นเลิศก่อนที่จะได้ฟังการบรรเลงก็คือแบรนด์ที่ประทับอยู่บนเครื่องดนตรีจำเพาะชิ้นนั้นๆ นั่นเอง ในส่วนของเปียโนก็คงไม่มีใครสู้ Pleyel (เพลย์เยล) ได้ ในขณะที่กีตาร์เองนั้น Gibson (กิ๊บสัน) ก็ครองตำแหน่งแชมป์มานานกว่าศตวรรษแล้ว และเราก็ได้ไปเยือนเมืองแนชวิลล์ แหล่งผลิตเครื่องดนตรีในตำนานของชาวร็อก และถิ่นกำเนิดของแบรนด์ Gibson นั่นเอง

เดือนธันวาคม อากาศหนาวเย็นและท้องฟ้าแจ่มใส ณ เมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี รถเปิดประทุนคันเก่าของผมแล่นผ่านย่านโรงงานบนถนนหินกรวดที่หลุดร่อนและเต็มไปด้วยรอยแตกจากน้ำหนักมหาศาลของรถบรรทุกและรถไฟที่วิ่งผ่านมาหลายสิบปี รอบๆ มีโกดังตั้งเรียงรายกันอยู่ ผมมองเห็นป้ายเล็กๆ ที่มีรูปโลโก้อันเป็นเอกลักษณ์ของ Gibson อยู่บนคำคำหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจน “Custom” ทำให้รู้ว่าผมได้มาถึงสถานที่ที่ผลิตกีตาร์ที่แพงและเป็นที่ต้องการมากที่สุดในโลกแล้ว

Gibson Custom ทำฝันของคนรักกีตาร์ให้เป็นจริง เนื่องจากกีตาร์ที่ผลิตโดย Gibson ระหว่างช่วงต้น ’20s จนถึงกลางยุค ’60s กลายเป็นสุดยอดผลงานของช่างทำเครื่องดนตรีอเมริกัน ทั้งในแง่ของคุณภาพและเทคโนโลยี กีตาร์บางรุ่น อย่าง Les Paul Standard นั้นออกมาแล้วก็แป้กในทันที เพราะผู้คนตามไม่ทันผลงานที่ล้ำสมัยไปมากของ Gibson จึงเป็นที่น่าตกใจและไม่คาดคิดเมื่อบรรดาวงดนตรีร็อกในยุค ’70s ต่างหันมาฮิตใช้กีตาร์รุ่นนี้กันอย่างถล่มทลาย ดังนั้น บรรดากีตาร์รุ่นนี้จำนวน 1,700 ตัวที่ถูกผลิตในระหว่างปีค.ศ. 1958 – 1960 จึงกลายมาเป็นของวินเทจราคาแพงลิ่ว ซึ่งก็รอดชีวิตมาถึงปัจจุบันเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น

ทุกวันนี้ กีตาร์ Les Paul เป็นกีตาร์วินเทจที่มีมูลค่าสูงที่สุดในตลาด โดยเฉพาะรุ่นปี 1959 ซึ่งเป็นรุ่นที่ Jimmy Page (จิมมี่ เพจ) แห่ง Led Zepplin และ Billy Gibbons (บิลลี่ กิบบอนส์) แห่ง ZZ Top ใช้นั้น มีราคาสูงถึง 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในปัจจุบัน Gibson Custom รับหน้าที่ผลิตกีตาร์รุ่นใหม่ที่มีต้นแบบมาจากรุ่น Les Paul ในยุคทองนั้น และทำออกมาได้เหมือนจนน่าตกใจ Mal Koehler (มาล เคอห์เลอร์) ต้อนรับผมที่ประตูทางเข้าสตูดิโอทำกีตาร์ เขาตัวสูง ผอม และใส่แว่น ชื่อตำแหน่งของเขาคือ “ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์” ซึ่งเขาอธิบายว่าเป็น “ภาษาหรูๆ ที่แปลว่าผมคลั่งไคล้กีตาร์แบบสุดๆ” สำหรับนักกีตาร์หลายคน งานของเขาเป็นงานในฝันจริงๆ เขาพาผมเดินผ่านโรงเก็บไม้ ที่นี่เป็นที่ที่กีตาร์แต่ละตัวถือกำเนิดขึ้น
มีกองไม้มะฮอกกานีซึ่งต่อไปจะกลายเป็นตัวของกีตาร์รุ่น Les Paul ในไม่ช้า “เราทุ่มเงินซื้อไม้ชนิดนี้มากกว่าที่ไหนๆ” มาลกล่าว “ไม้มะฮอกกานีของเรามาจากฟิจิ เป็นพันธุ์เดียวกับมะฮอกกานีฮอนดูรัสที่เราใช้ทำรุ่นดั้งเดิม” ไม้มะฮอกกานีชนิดนี้ทำให้กีตาร์มีน้ำหนักเบากว่าและให้เสียงก้องกว่า น้ำหนักของไม้ถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมาก จึงถือเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการคัดชิ้นไม้ที่จะนำมาผลิตเป็นกีตาร์

หลังจากนั้น ลูกค้าก็จะเลือกสีและน้ำหนักของไม้ได้ตามใจชอบ โดยเนื้อไม้ที่ผลิตตัวกีตาร์อาจจะเป็นสีเดียวกัน หรือคนละสีกับไม้ที่ผลิตคอกีตาร์ สำหรับ Les Paul รุ่นพื้นฐาน รุ่นจูเนียร์ และรุ่นพิเศษ จะติดไม้เมเปิ้ลเข้ากับไม้มะฮอกกานีในส่วนบนของกีตาร์ การเลือกไม้เมเปิ้ลก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน “Edwin Wilson (เอ็ดวิน วิลสัน) เขาได้ชื่อว่าเป็นผู้ชุบชีวิตให้กับกีตาร์รุ่นนี้ในช่วงยุค ’80s ออกเดินทางไปทั่วสหรัฐอเมริกาเพื่อหาไม้เมเปิ้ลชนิดพิเศษโดยเฉพาะ” มาลกล่าว “เวลามีเจ้าหน้าที่ป่าไม้โทรมาบอกว่าเจอไม้อย่างที่เขาอยากได้ เขาจะรีบบึ่งไปขึ้นเครื่องบินเที่ยวแรกที่หาได้” ลูกค้าส่วนใหญ่มักสั่งให้เขาทำกีตาร์ให้เหมือนกับตัวที่เป็นประวัติศาสตร์ หรือทำตามรุ่นที่นักดนตรีคนใดคนหนึ่งใช้ และแบรนด์ก็ต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้กีตาร์ตัวใหม่นี้เหมือนรุ่นดั้งเดิมมากที่สุด โดยมีการสแกนกีตาร์อย่างละเอียดลออเพื่อวิเคราะห์ทุกส่วน ตั้งแต่ขนาดไปจนถึงคุณสมบัติเฉพาะต่างๆ “เราศึกษาและวิเคราะห์กีตาร์ของเราอย่างละเอียดถี่ถ้วน” เขาอธิบาย “ตอนนี้เรากำลังศึกษากีตาร์รุ่น Slash (ของวง Guns N’ Roses) ตัวที่ผลิตในปีค.ศ. 1958 อยู่อย่างละเอียดลออ เราเอากีตาร์เข้าเครื่องสแกนเลเซอร์และดูวิวัฒนาการตามธรรมชาติของไม้” กีตาร์รุ่น Slash เป็นตัวอย่างศึกษาที่ดี การที่ Les Paul ประสบความสำเร็จจนกลายเป็นกีตาร์ที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดในโลกนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีศิลปินคนดังนำออกแสดงในปลายยุค ’80s ทุกวันนี้ Les Paul เป็นกีตาร์รุ่นที่ผลิตมากที่สุดในบริษัท ตามด้วยแมนโดลิน หรือเครื่องดนตรีที่ทำให้บริษัท Gibson เป็นที่รู้จักกันในฐานะผู้ผลิตเครื่องดนตรี

เราเดินผ่านช่างที่กำลังทำแมนโดลินอยู่ ก่อนจะหยุดหน้าเครื่องจักรขนาดใหญ่สองเครื่อง “เครื่องพวกนี้ใช้แกะไม้ เป็นเครื่องที่ใช้ที่เมืองคาลามาซูในยุค ’30s ใช้ผลิตกีตาร์รุ่น Byrdland ทุกตัวที่แบรนด์เคยผลิตมา ไม่ว่าจะเป็นตัวที่ Billy Byrd (บิลลี่ เบิร์ด) Hank Garland (แฮงค์ การ์แลนด์) หรือ Ted Nugent (เท็ด นูเก็นต์) ใช้เล่น ล้วนแล้วแต่ผ่านเครื่องนี้มาทั้งนั้น รวมไปถึงรุ่น L5 อย่างที่ Wes Montgomery (เวส มอนท์โกเมอร์รี่) ใช้ด้วยนะ สุดยอดไปเลยว่าไหม” มาลพูดเสียงดังแข่งกับเสียงเครื่องแกะไม้รุ่นใหม่กว่าที่ตั้งอยู่ข้างๆ เครื่องนี้เรียกว่าเครื่อง CNC ซึ่งในขณะนั้นกำลังแกะไม้เพื่อทำกีตาร์รุ่น Les Paul อยู่พอดี เจ้าเครื่องตัวนี้สามารถผสมผสานระหว่างความสมบูรณ์แบบของเครื่องจักรเข้ากับความละเอียดอ่อน ของช่างฝีมือไว้ได้อย่างลงตัว และที่สำคัญ สามารถทำตามแผ่นสแกนกีตาร์ต้นแบบได้แบบไม่ตกรายละเอียดใดๆ เลย “ในช่วงยุค ’50s กีตาร์ทุกตัวทำด้วยมือ แต่ละตัวจึงมีเอกลักษณ์ของตัวเอง บางคนอาจจะบอกว่า การใช้เครื่องจักรผลิตกีตาร์ทำให้เสน่ห์ตรงนี้ขาดหายไป แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าเครื่องนี้ทำให้เราได้ชิ้นงานที่ออกมาใกล้เคียงกับกีตาร์ทำมือในยุคนั้นจริงๆ” หลังจากใช้เครื่องขัดตัวกีตาร์ให้เรียบกริบแล้ว (ซึ่งเครื่องจักรนี้ก็ควบคุมด้วยคน ทำให้ต้องอาศัยประสบการณ์สูงในการควบคุมให้เครื่องจักรขัดออกมาให้เรียบที่สุด) ก็เป็นหน้าที่ของช่างในการประกอบมือทั้งหมด ตั้งแต่ส่วนคอ ไปจนถึงส่วนหัว “พวกเราก็ช่างไม้ดีๆ นี่แหละ” มาลพูดแข่งกับเสียงเครื่องควบคุมความชื้นในอากาศ เพื่อรักษาความชื้นสัมพัทธ์ให้เหมาะสมกับเนื้อไม้ และป้องกันฝุ่นเกาะผิวหน้าไม้ “พนักงานทุกคนที่นี่ก็คือช่างไม้ฝีมือเยี่ยม”

หลังจากทาสีและลงแล็กเกอร์แล้ว กีตาร์ส่วนใหญ่ต้องผ่านกระบวนการที่ทำให้ดูเก่าขึ้นอีกเป็นสิบๆ ปี ขั้นตอนนี้ถือเป็นความลับในการผลิต ผมจึงไม่มีโอกาสได้เข้าไปดู แต่เดาได้ว่าคงต้องเป็นกระบวนการที่รุนแรงไม่น้อย ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งที่หลังจากแต่ละขั้นตอนที่บรรจงทำอย่างประณีตเพื่อสรรสร้างกีตาร์ที่สมบูรณ์แบบที่สุดต้องมาจบที่ขั้นตอนอะไรอย่างนี้ “ก็ตกใจกันทุกคนนั่นแหละ” มาลหัวเราะชอบใจ และการทำให้เก่านั้นมีหลายระดับ ตั้งแต่ริ้วรอยที่เกิดขึ้นบนสีและแล็กเกอร์ที่ลงไว้ ไปจนถึงส่วนที่เป็นโลหะอย่างปิ๊กอัพหรือลูกบิดที่ถูกทำให้เป็นรอย หรือทำให้เป็นเหมือนสนิม เขาชี้ให้ดูกีตาร์ของ Mike McCready (ไมค์ แม็คครีดี้) มือกีตาร์วง Pearl Jam ที่เขาสั่งทำให้ชิ้นส่วนบางชิ้นเป็นสนิมอย่างตั้งใจเพราะเหตุผลส่วนตัวด้านจิตใจ ดังนั้น ทุกส่วนของกีตาร์ไม่ว่าจะชิ้นเล็กแค่ไหนต่างก็มีความสำคัญ และส่งผลต่อคุณภาพและเสียงของกีตาร์ทั้งสิ้น ทั้งปิ๊กอัพตัวเล็กที่ต้องทำตามกีตาร์ต้นแบบ (แต่อาจจะปรับตามความต้องการของลูกค้าได้) ตัวพ็อตขนาดจิ๋วที่ใช้คุมเสียงก็มาจากแหล่งเดียวกับที่ใช้ในการผลิตยุค ’50s ในขณะที่ส่วนประกอบอื่นๆ ก็ถูกผลิตขึ้นเป็นพิเศษเพื่อให้เหมือนกีตาร์ต้นแบบ แม้กระทั่งกาวที่ใช้เชื่อมชิ้นส่วนก็เช่นกัน “เราใช้กาวหนังสัตว์แบบโบราณที่ใช้กันมาตั้งแต่เริ่มผลิตกีตาร์ตัวแรกๆ เพราะเป็นกาวที่แข็ง ยึดติดแน่น แต่มีความยืดหยุ่น ทำให้ได้เสียงที่มีพลังมากขึ้น”

ในที่สุด เราก็เดินมาจนบริเวณที่พิเศษที่สุดในสตูดิโอนี้ นั่นคือ โต๊ะทำงานของ Bruce Kunkel (บรูซ แคนเคล) ดีไซเนอร์ของโปรเจ็กต์ อาร์ทิสติก เขาเป็นช่างฝีมือตัวจริง ตอนที่เขาอายุได้แปดขวบ เขาทำเบนโจเป็นชิ้นแรกในชีวิต เขาเป็นช่างทำกีตาร์มาเกือบ 50 ปีแล้ว และเมื่อผมเดินไปถึงโต๊ะทำงานของเขา เขาก็อวดกีตาร์ที่เขาเพิ่งทำเสร็จให้ผมดู มีทั้งรุ่น Super 400 ที่มีเอกลักษณ์แบบยุค ’20s และรุ่น Les Paul ที่มีรูป Les Paul พร้อมลายเซ็นและคำนิยมสลักไว้ว่า “ขอบคุณทุกอย่างที่ทำให้มี Les Paul”

ปิดท้ายด้วยเรื่องที่น่าประทับใจที่สุดของวัน เมื่อมาลกับบรูซนำกีตาร์ Les Paul True Historic ปี 1959 ที่ผลิตใหม่มาให้ผมลองสัมผัส ซึ่งกีตาร์ตัวนี้ราคาแพงกว่ากีตาร์ของผมกว่าสิบเท่า ผมใช้เวลาสักพักกว่าจะชินมือ และผมก็สัมผัสได้ถึงความละเอียดอ่อน ความทุ้มลึกของเสียง และสัมผัสที่เบาสบาย ผมรู้สึกได้ทันทีว่าวิถีการเล่นของผมเปลี่ยนไปอย่างมหาศาล

เพลย์ลิสต์สุดหลอนที่ CIA ใช้ทรมานนักโทษช่วงสงคราม

ทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนนะว่า เพลงเหล่านี้ที่ใช้ ‘ว่ากันว่า’ ใช้ในการทรมานนักโทษนี้คือเพลงที่จะถูกเปิดวนไปวนมาเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมงขึ้นไป ด้วยเสียงดังกว่าปกติ ให้นักโทษที่ใส่หูฟังและถูกจำกัดการเคลื่อนไหว คือ พวกเขาไม่สามารถถอดหูฟัง หรือหนีไปไหนได้ โดยเนื้อหาจะแบ่งออกเป็นสองส่วนแยกจากกันโดยสิ้นเชิง นั่นคือเพลงเหล่านั้นไม่ 1)มีเนื้อหาที่ต่อต้านความเชื่อหรือศาสนาของนักโทษอย่างชัดเจน 2)มีเนื้อหาที่มีความสุขจนเกินไปเพื่อกระตุ้นเร้าให้เกิดความรำคาญใจ

Sgt. Mark Hadsell ผู้ที่เป็นหัวหน้าเรือใหญ่ของ U.S. Psychological Operations เคยพูดถึงกลยุทธ์นี้ไว้ว่า “ถ้าคุณเปิดเพลงซ้ำๆ เป็นระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงหรือมากกว่า สมองและร่างกายของคุณจะอ่อนล้า และสั่งการผิดพลาดได้ง่าย ความคิดคุณจะตอบสนองช้าลง ความตั้งมั่นจะเสื่อมถอย และนั่นก็เป็นจังหวะที่เราจะเริ่มสอบสวนและล้วงความลับของนักโทษได้แล้ว”metallica-announce-2016-tour-dates-01

สิ่งหนึ่งที่ทริกกี้เกี่ยวกับการทรมานนักโทษแบบนี้ก็คือ สังคมดูเหมือนจะให้การยอมรับได้(บ้าง)ไม่มากก็น้อย เพราะดูจะมี ‘อารยะ’ มากกว่าการใช้ตะปูตอกมือหรือการลงหวายลงแส้อยู่เยอะเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ดี ลองจินตนาการว่าคุณถูกจับขังไว้ในห้องมืดๆ มือและเท้าใส่กุญแจมือ มีถุงผ้าสีดำคลุมหัว ใส่หูฟังที่มีเพลงดังสนั่นเปิดซ้ำไปซ้ำมา นั่นก็ถือว่าเป็นการทรมานแล้ว ไม่ว่าคุณจะเปิดเพลงไหนก็ตาม

อย่างไรก็ดี ไม่ใช่นักดนตรีทุกคนจะโอเคกับการใช้เพลงของพวกเขาในการนี้ มีข่าวว่า David Gray ขอร้องให้ถอดเพลง Babylon ของเขาออกจากการทำงานของ CIA นี้

slide_345696_3620636_free

เอาล่ะ เรามาดูตัวอย่างเพลย์ลิสต์สุดหลอนกันดีกว่า … เราว่าคุณอาจจะแอบเถียงในใจเบาๆ ว่า เพลงเหล่านี้ทำอะไรฉันไม่ได้หรอก มาเปิดให้ฉันฟัง ฉันก็เต้นตามสิ … แต่ลองจินตนาการว่าคุณต้อง ‘ทน’ ฟังเพลงเหล่านี้ในสถานการณ์ที่ถูกจับเป็นนักโทษมัดมือมัดเท่า และฟังวนไปกว่า 24 ชั่วโมง … ถ้าคุณไม่บ้าตายไปก่อนโดนสอบสวน คุณก็สอบผ่านการเป็นผู้ก่อการร้ายแล้วล่ะ เราว่า

1 The Real Slim Shady โดย Eminem

2 Dirty โดย Christina Aguilera ft. Reman

3 Take Your Best Shot โดย Dope

4 Zikarayati โดย Mohamed el-Qasabgi

5 Babylon โดย David Gray

6 Barney Theme Song: I Love You Song

7 Saturday Night Fever โดย Bee Gees

8 Meow Mix Commercial Theme

10 The Beautiful People โดย Marilyn Manson

11 Fuck Your God โดย Deicide

12 We Are the Champions โดย Queen

13 Sesame Street Theme Song

14 Enter Sandman โดย Metallica

15 These Boots Are Made for Walkin’ โดย Nancy Sinatra

16 Californication โดย Red Hot Chili Peppers

17 All Eyez on Me โดย Tupac

18 Baby One More Time โดย Britney Spears

19 Bodies โดย Drowning Pool

20 Shoot to Thrill โดย AC/DC

21 America โดย Neil Diamond

คุณล่ะ มีเพลงทรมานหูอะไรบ้าง มาแชร์กันมั้ย?

อ่านแล้วคุณจะรู้ว่าดนตรีคือสิ่งสำคัญในชีวิตมนุษย์จริงๆ

Music is My Life

ทำความรู้จักกับผู้หลงใหลในเสียงดนตรีและเครื่องดนตรี ทั้งนักดนตรี ผู้สะสมเครื่องดนตรี ผู้หลงใหล
ในแผ่นเสียง และครูสอนดนตรี แล้วคุณจะเข้าใจจริงๆ ว่า ดนตรีคือสิ่งสำคัญในชีวิตมนุษย์จริงๆ

006

นริศร จารุภวงศ์

ผู้สะสมกีตาร์ด้วยความรัก

นักธุรกิจรุ่นใหม่อย่างจิม – นริศร จารุภวงศ์ ผู้รับตำแหน่ง General Manager ของบริษัท Thai-Inter Molasses Co., Ltd. คนนี้มีเรื่องที่เขาหลงใหลอย่างหมดใจนั่นคือ กีตาร์ ผมเริ่มเล่นกีตาร์โปร่งมาตั้งแต่ป. 6 แล้วครับ พอม. 2 ก็เริ่มเล่นกีตาร์ไฟฟ้าเป็นครั้งแรก ต่อมาช่วงม. 3 – ม. 6 ก็ตั้งวงดนตรีเล่นกับเพื่อนๆ มีประกวดดนตรีที่โรงเรียนบ้างประปราย ต่อมาเมื่อเก้าปีที่แล้ว ผมได้ทำวง The Little Match Girl และออกอัลบั้มสไตล์บริทป็อปชื่อ The Sheep Story มีเพลงติดชาร์ตของ Fat Radio สองเพลงด้วยครับ” แม้ว่าในปัจจุบันจิมจะต้องกลับมารับหน้าที่ดูแลกิจการของครอบครัว แต่เขายังเจียดเวลาทุกวันเสาร์ไปซ้อมดนตรีกับเพื่อนๆ เพื่อผ่อนคลายอีกด้วย

สำหรับจิมแล้ว กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีที่มีเสน่ห์ ด้วยรูปลักษณ์ภายนอกทำให้มันสามารถแปลงร่างเป็นของแต่งบ้านได้อีกด้วย นอกจากนั้น หากตัวใดมีประวัติ ผลิตจำนวนจำกัด หรือเป็นโมเดลที่ศิลปินชื่อดังใช้ ก็จะแปลงร่างจากของสะสมธรรมดากลายเป็นของสะสมล้ำค่าไปในทันที สำหรับผมแล้ว กีตาร์แบ่งออกเป็นสองประเภท นั่นคือ กีตาร์สำหรับเล่น และกีตาร์สำหรับสะสม ถ้าเป็นกีตาร์ประเภทเล่น ผมจะชอบกีตาร์บูติคอย่าง James Tyler, John Suhr และ Tom Anderson เพราะผลิตโดยช่างฝีมือระดับต้นของโลกจากอเมริกาที่เคยมีตำแหน่ง Masterbuilders ของแบรนด์กีตาร์ดังๆ ก่อนจะมาสร้างแบรนด์ตัวเองนะครับ เสียงและสัมผัสดีมาก แต่ละตัวก็มีเอกลักษณ์ชัดเจน เห็นแว้บเดียวก็รู้ว่าเป็นยี่ห้ออะไร ส่วนกีตาร์สะสม ผมเน้นยี่ห้อ Gibson และ Fender เพราะมีกีตาร์หายาก ประวัติน่าสนใจให้เลือกสะสมเยอะครับ”

กีตาร์ตัวที่จิมรักและหวงมากที่สุด ณ ปัจจุบันก็ได้แก่ Gibson Custom Slash Les Paul Snakepit ที่ผลิตเพียง 100 ตัวในโลก จิมได้ครอบครองตัวที่ 5 โดยตัวที่ 1-4 นั้นอยู่กับ Slash มือกีตาร์วง Guns N’ Roses ซึ่งราคาก็สูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน แต่อย่างไรก็ดี Charvette Made in Japan หรือกีตาร์ไฟฟ้า
ตัวแรกของเขาที่คุณพ่อคุณแม่ซื้อให้ตอนมัธยมนั้นก็ถือว่าเป็นกีตาร์ที่มีคุณค่าทางจิตใจสูงมาก กีตาร์ตัวนี้ทำให้เขาเล่นกีตาร์ไฟฟ้าต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

จิมยืนยันว่าสำหรับเขาแล้ว ดนตรีคือชีวิต และเขาก็คงจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้หากโลกนี้ปราศจากเสียงกีตาร์ สำหรับคนที่จะเริ่มสะสมกีตาร์ ถามตัวเองว่าคุณชอบเพราะอะไร ความต้องการของแต่ละคนไม่เหมือนกันครับ ผมแค่อยากจะแนะนำสั้นๆ ว่า ก่อนจะตัดสินใจซื้อกีตาร์ ควรทำการบ้านให้ดี เช็คราคาและประวัติกีตาร์ให้ถี่ถ้วน ถ้ามีโอกาส ก็ควรลองเล่นก่อนซื้อจริงนะครับ แล้วคุณจะมีความสุขเหมือนกับผม”

004

My Life as Ali Thomas
วงดนตรีอินดี้

My Life as Ali Thomas ถือว่าเป็นหนึ่งในศิลปินอินดี้ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในยุคนี้ เพลงของพวกเขาติดชาร์ตของ Cat Radio อย่าง
ต่อเนื่อง และก็ได้ทำเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง The Moment อีกด้วย ตอนที่เราทำเพลง เหมือนกับว่าเราอยู่ในโลกส่วนตัวของเรา ตัดขาดออกจากทุกอย่าง มีแค่ตัวเราเอง มีคนชอบถามว่า Ali Thomas นิสัยอย่างไร เขาก็คือเรานั่นแหละ แต่เป็นเราในอีกตัวตนหนึ่ง เป็นโลกส่วนตัวที่อยู่แล้วสงบคนเดียว” พาย – กัญญภัค วุธรา

นักร้องนำ มือกีตาร์ และนักแต่งเพลงประจำวงกล่าว พอทำงานกับคนอื่น ก็เหมือนกับว่าเรากำลังวาดภาพหนึ่งอยู่ แล้วก็มีคนอื่นมาช่วยวาดด้วย เราก็แค่ไปบอกเพื่อนๆ ในวงว่า เราอยากได้แบบนี้นะ และบางครั้งเราก็อาจจะได้ไอเดียอื่นเพิ่มขึ้นจากการทำงานกับเพื่อนอีกด้วยซ้ำ อาจจะได้ภาพใหม่ๆ ที่แปลกไป เป็นการวาดร่วมกันของหลายๆ คน”

สำหรับผมที่ทำงานในภาคดนตรี พอมีเนื้อร้อง มีเมโลดี้มา ผมก็เอามาดีไซน์ว่าอารมณ์ของเพลงจะ
ออกมาในทิศทางไหน” ตาว – วรรณพงศ์ แจงบำรุง มือกลองและผู้แต่งทำนองกล่าว สำหรับผม ชินกับการทำงานโฆษณา ถูกบังคับด้วยโจทย์ทุกวัน” แร็ก – วิภาต เลิศปัญญา มือกีตาร์เสริม ดังนั้น การทำเพลงประกอบภาพยนตร์ คือเราต้องหาว่าอะไรคือความพอดีระหว่างอารมณ์ของเพลง และโจทย์
ซึ่งไม่เหมือนการทำงานอัลบั้ม”

วงนี้เป็นหนึ่งในวงอินดี้ชาวไทยไทยที่ได้เข้าร่วมงาน Music Matters ที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อปีที่ผ่านมา  เป็นประสบการณ์ที่ดีมากเลยครับ พอเล่นเพลงจบ วงที่ดูอยู่หลังเวทีเขาก็เฮ เรารู้สึกดีที่เขาเคารพในผลงานของเรา ทั้งๆ ที่ไม่รู้จักกันด้วยซ้ำ” ตาวกล่าวทิ้งท้าย แต่ถึงแม้ว่าจะไม่รู้จักกัน แต่ทุกคนก็พูดภาษาดนตรีเหมือนๆ กันนั่นเอง

FB: My Life as Ali Thomas

001

Jonas Dept

ศิลปินและนักเปียโน

นักเปียโนสัญชาติเบลเยี่ยมคนนี้ทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศไทยมาได้สิบปีแล้ว ผมตกหลุมรักประเทศนี้เมื่อสิบปีที่แล้วครับ ตอนมาใหม่ๆ ผมเป็นครูสอนเปียโนให้กับโรงเรียนเปียโนเล็กๆ ในเชียงใหม่ และพอได้งานประจำเป็นนักเปียโนที่ Royal Academy of Dance ผมก็เลยอยู่ที่นี่ยาวเลยครับ” โจนัสเปิดบทสนทนากับเรา ผมเห็นโอกาสในการทำงานในฐานะศิลปินและนักเปียโนในประเทศไทยครับ ทุกครั้งที่ผมแสดงคอนเสิร์ตคลาสสิกที่เชียงใหม่ บัตรจะขายหมดตลอดเลยครับ อาจจะเพราะว่ามีชาวต่างชาติที่มาทำงานที่เมืองไทย รวมไปถึงชาวไทยที่เรียนดนตรีคลาสสิก แต่ไม่ได้มีโอกาสได้ฟังคอนเสิร์ตก็ได้นะครับ”

โจนัสบอกกับเราว่า โอกาสในการทำงานในฐานะ ศิลปิน’ ที่ประเทศบรัสเซลล์นั้นน้อยกว่าที่ประเทศไทยมาก เพราะข้อจำกัดหลายๆ อย่างรวมไปถึงการเปิดจองสถานที่สำหรับแสดงที่ต้องจองกันล่วงหน้า ทำให้เพื่อนๆ นักดนตรีของเขาที่ใช้ชีวิตที่บ้านเกิดนั้นต่างก็ผันตัวเองไปทำอาชีพครูสอนเปียโนกันเกือบหมด มีเพื่อนผมคนเดียวเท่านั้นครับที่ได้ทำอาชีพศิลปิน แต่เขาก็ย้ายไปอยู่ที่กรุงนิวยอร์กไงครับ” โจนัสหัวเราะ แต่ในเมืองไทย ผมพยายามที่จะหาสถานที่แสดงคอนเสิร์ตที่จะหลอมรวมเอาประสบการณ์การฟังดนตรีเข้าไป ให้คนฟังจำประสบการณ์ครั้งนั้นได้ แม้ว่าพวกเขาจะจำเพลงทั้งหมดไม่ได้ก็ตาม”

โจนัสเคยจัดแสดงคอนเสิร์ตที่ดาดฟ้าของศูนย์การค้าเมญ่า และเชียงใหม่ ซู อควาเรียม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งบัตรขายหมดอย่างรวดเร็ว ในตอนนี้ โจนัสกำลังหาพื้นที่ใหม่ๆ ในการจัดแสดงคอนเสิร์ตในกรุงเทพมหานคร

FB: Jonas Dept The Pianologist

002

กีรตินันท์ สดประเสริฐ

ครูอ้วน แห่งโรงเรียนดนตรีคีตะนันท์

โรงเรียนดนตรีขนาดเล็กตั้งอยู่ในเอกมัยซอยสองแห่งนี้เปิดทำการมาได้ 29 ปีแล้ว โดยฝีมือของครูอ้วนผู้หลงใหลกีตาร์คลาสสิกมาตั้งแต่อายุ 11 ขวบ ตอนเด็กๆ ผมไปเดินเล่นที่ห้างเซ็นทรัล สีลม จู่ๆ ก็ได้ยินเพลงจากแผ่นเสียง และติดใจจนไปขอซื้อมา นั่นคือแผ่น Classic Guitar by John William เป็นกีตาร์โซโล่ครับ นั่นเป็นจุดเริ่มต้นครับ” ครูอ้วนเปิดบทสนทนากับเรา และหลังจากนั้น ผมก็ซ้อมหนักมาก บางวันซ้อมถึง 16 ชั่วโมง ถึงขนาดที่คุณพ่อเอาน้ำมาสาดเพื่อให้เลิกเลยครับ”

ครูอ้วนทุ่มเทให้กับการเรียนกีตาร์คลาสสิกจนกระทั่งเขาตัดสินใจเดินไปบอกกับคุณพ่อว่า เขาจะไม่เรียนหนังสือแล้ว ผมจำได้ว่าคุณพ่อเรียกมาคุยว่าเอาจริงเหรอ ชีวิตนักดนตรีนี่จนมากเลยนะ” ครูอ้วนเล่าด้วยเสียงกลั้วหัวเราะ แต่ผมก็คิดว่าไม่เกี่ยวกัน ผมชอบนี่นา ตายเป็นตาย ให้ผมตายไปกับดนตรีที่ผมรักนี่แหละ”

และด้วยความตั้งใจจริงของครูอ้วน ทำให้เขายึดอาชีพครูสอนกีตาร์คลาสสิกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเราก็เห็นได้จากแววตาและอารมณ์ของเพลงที่เขาเล่นให้เราฟังตลอดการสัมภาษณ์นั้นว่าเขามีความสุขกับดนตรีที่เขารักจริงๆ การเล่นดนตรีไม่มีทางลัด จำคำนี้ไว้เลยครับ ทุกคนต้องฝึกซ้อมกันทั้งนั้น ผมเองก็เคยมีท้อครับ แต่ต้องดื้อ ฝึกต่อไปให้ได้ ดนตรีน่ะครับ พื้นฐานยาก ต้องอัดให้แน่น ทนลำบากตรงนี้ สักสี่ห้าปี ทนจนยืนให้ได้นะครับ พอฐานแน่นปุ๊บ ความสนุกก็เริ่มมา ทีนี้จะหยุดไม่อยู่แน่นอนครับ ผมออกจากโรงเรียนก็ตรงนี้ล่ะครับ” ครูอ้วนทิ้งท้าย

โรงเรียนดนตรีคีตะนันท์
โทร. 02-714-2388 / 081-581-9597

007

ตรีรัตน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์

แห่ง 1TO5 Piano Active
Music Therapy

ผมสอนเปียโนในรูปแบบเก่ามาตั้งแต่อายุสิบสี่ครับ สอนแล้วเครียด คนเรียนก็เครียด ผมก็เครียดตามไปด้วย และถ้าเรียนเครียดเรื่อยๆ ก็ไม่สนุกแล้วครับ และคนเรา เมื่อเครียดมากๆ ก็ต้องหาทางออก” และทางออกของครูตรีรัตน์ก็คือการสอนเปียโนโดยใช้ระบบตัวเลข เขาเชื่อว่าการเล่นดนตรีแบบนี้คือการอ่านหนังสือ และใครๆ ก็สามารถเล่นเปียโนได้ภายในครั้งแรกที่มาเรียนกับเขา

คนตั้งแต่สามขวบยันเก้าสิบปีที่มาเรียนกับผม เพลงหนึ่งใช้เวลาไม่ถึงห้านาที และผมก็เป็นคนกำหนดเองในเพลง เวลาเขียนโน้ต ก็เหมือนกับเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตัดตัวไม่จำเป็นออกไป เหลือแต่เนื้อๆ เลยทั้งหมด” ครูตรีรัตน์อธิบาย คนที่มาเรียนกับผม คือ เขาต้องการอยากเล่นเป็น ผมใช้คำว่า อยากจะเล่นให้เหมือนกับที่เราได้ยินจากทีวีนั่นแหละ”

ดนตรีของครูตรีรัตน์เป็นดนตรีของศตวรรษที่ 21 ไม่ต้องซ้อม ก็เหมือนกับคนเล่นฟิตเนสนั่นล่ะครับ ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องฟิตเนสที่บ้านก็สามารถออกกำลังกายได้” และหลังจากที่ลองเรียนเปียโนตามแบบนี้ ก็พบว่าเราสามารถเล่นเพลงสั้นๆ ได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ จริงๆ

1TO5 Piano โทร. 081-668-9800 / 02-295-2236 www.triratfoundation.com

005

จิรภัทร อังศุมาลี
นักเขียนเจ้าของนามปากกา

สิเหร่’ ผู้สะสมเป็นเสียงเป็นชีวิตพี่โอ๋เป็นมากกว่าลูกค้าครับ เขาคือเพื่อน คือครูผู้ประสิทประสาทวิชาดนตรี ทำให้ผมมีวันนี้ได้” นกแห่งร้านแผ่นเสียงบอก โอ๋เป็นนักเขียนรุ่นเก๋าที่ใช้นามปากกาว่า สิเหร่’ เขาเป็นผู้คร่ำหวอดทั้งในวงการนักเขียนและวงการดนตรีมาอย่างยาวนาน หนังสือ ผีเพลง’ ที่เขาแต่งนั้นกลายมาเป็นคัมภีร์สำคัญให้กับผู้คนในวงการแจ๊ซ

ฉายาผู้ยิ่งใหญ่แห่งวงการนั้นไม่ได้มาเล่นๆ ความคิดและข้อเขียนของโอ๋มีผลต่อวงการแผ่นเสียงในประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะเขาสามารถแนะนำได้เป็นอย่างดีว่าวงไหนมีชื่อเสียงติดในระดับท็อปของแต่ละยุค และยังสามารถแจกแจงถึงประวัตินักดนตรี และความสำคัญของดนตรีในแต่ละยุค
ซึ่งทำให้นักฟังเพลงรุ่นใหม่สามารถยึดเป็นแนวทาง และนำไปต่อยอดความชอบทางดนตรีได้ไม่ยาก

นอกจากนั้น โอ๋ยังเคยออกแบบปกแผ่นเสียงให้กับวงดนตรีเพื่อชีวิตคนสำคัญอย่างวงคาราวาน เป็นผู้ทรงอิทธิพล และได้รับการยอมรับจากคนรุ่นหลังอย่างกว้างขวาง ความเก๋าเลียนแบบกันยากจริงๆ

003

พงศกร ดิถีเพ็ง

เจ้าของ ร้านแผ่นเสียง’

ผมเกิดในยุคแผ่นเสียง พ่อแม่ผมฟังแผ่นเสียง จึงเริ่มต้นจากความผูกพันกับแผ่นเสียง ถ้าจะถามผมว่าทำไมถึงแผ่นเสียง เพราะผมคิดว่าแผ่นเสียงมีเสน่ห์ คล้ายกับดนตรีสดที่สุด” นก หรือ พี่นก’ แห่ง ร้านแผ่นเสียง’ หรือผู้จัดจำหน่ายแผ่นเสียงคนสำคัญในประเทศไทยเล่าย้อนความหลัง “เริ่มต้นจากการที่พี่วิทย์เขาเปิดร้านแผ่นเสียงที่ฟอร์จูน แล้วผมได้มีโอกาสเข้าไปกรีดๆ แผ่นเสียงแล้วรู้สึกเหมือนได้เจอเพื่อนเก่าครับ เลยรู้สึกว่านี่คือตัวเรา”

นอกจากจะพบเพื่อนเก่าแล้ว นกยังได้ทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่มากมายจากยุค ’60s – ’70s “ตอนที่ได้รู้จักเพลงแจ๊ซจากยุคนั้น ผมก็ติดการเล่นแผ่นเสียงไปเลย ในตอนนั้นผมคิดว่าตลาดแผ่นเสียงจะเป็นตลาดที่อยู่ในกลุ่มเล็กๆ อยู่กันอย่างเจียมเนื้อเจียมตัว แต่กลายเป็นว่าตลาดค่อยๆ โตขึ้น กลุ่มคนซื้อก็อายุน้อยลงเรื่อยๆ ถือว่าเป็นไปในทิศทางที่ดีครับ”

นกถือเป็นคนกลุ่มแรกๆ ที่กล้าลงทุนกับการทำแผ่นเสียงของศิลปินไทย ซึ่งก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ตอนที่ผู้บริหารของโซนี่มาชวนทำแผ่นเสียงของแสตมป์ ผมก็ไม่คิดว่าจะขายดีขนาดนี้หรอกครับ แต่หมดภายในเก้าสิบวันเท่านั้นเอง หลังจากนั้นมาก็เลยทำวงอื่นๆ ตามมาอีกหลายวง ก็ประสบความสำเร็จทีเดียวครับ” เสน่ห์ของแผ่นเสียงนอกเหนือไปจากเสียงที่ไพเราะแล้ว งานบนปกก็ถือเป็นศิลปะ และบางแผ่นก็สามารถกลายเป็นของสะสมราคาแพงได้อีกด้วย

FB: Nok Bangkok Hifi Lp

ร้านแผ่นเสียง ซ.ประดิพัทธ์ 19

โทร. 081-875-5888

ยุคที่อะไรๆ ก็ไปดิจิตอลกันหมด สิ่งที่น่าสนใจคือยอดขายแผ่นไวนิลและเทปที่เพิ่มขึ้นจนน่าตกใจ

The Future is Analogue

เปิดปีค.ศ. 2017 มาได้ยังไม่ทันครบไตรมาส คุณคงทราบดีแล้วว่า เศรษฐกิจไม่ได้กระเตื้องขึ้นไปกว่าปีที่ผ่านมาเลย อย่างน้อยก็ในภาพรวมที่เราเองก็รู้อยู่แก่ใจ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากนี่แทบจะไม่มีประโยชน์อะไรอีกแล้ว สำหรับคนทำงานออฟฟิศกินเงินเดือน ข้าราชการ หรือพ่อค้าแม่ค้าทั่วไป จะเอาเงินเดือนที่ได้ไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่เขาว่าผลตอบแทนดีที่สุดแล้ว ก็คงจะมืดหม่นพอสมควร เพราะคอนโดมิเนียม ห้องพัก บ้านจัดสรร หรือแม้แต่อาคารพาณิชย์นั้นก็เกิดภาวะ Over Supply เฟ้อเต็มท้องตลาดแบบน่ากลัวมาก

Rhythm collage_w1

ผมไม่ได้จะมาวิเคราะห์เศรษฐกิจของประเทศให้ชาวลอปติมัมฟังกันหรอกครับ เพราะผมคิดว่าคุณผู้อ่านลอปติมัมน่าจะเชี่ยวชาญด้านนี้กันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่ส่วนตัวผมอยากจะนำเสนอการลงทุนแนวใหม่ที่มาแรงในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก จะได้เป็นทางเลือกให้กับคุณผู้อ่านที่พอมีสตางค์เหลือใช้ ไม่อยากฝากแบงค์ให้เงินเฟ้อกินไปเปล่าๆ หรือซื้อสลากออมสินซึ่งโอกาสถูกมีสเกลต่ำม้าก(เสียงสูง)

ปีนี้ถือเป็นปีแห่งแผ่นเสียง หรือแผ่นไวนิลครับ โดยเฉพาะแผ่นเสียงของศิลปินชาวไทย ใช่ครับ … คุณอ่านไม่ผิดหรอก แผ่นเสียงเพลงไทยมาแรงจริงๆ ครับ ผมยอมรับเลยนะครับว่าส่วนตัว ผมไม่ค่อยจะอินกับเพลงไทยสักเท่าไหร่ แต่ก็ต้องบอกข้อเท็จจริงนะครับว่า แผ่นไวนิลเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเราเลือกเป็น โดยเลือกวงที่มีทิศทางชัดเจน มีความเป็นตำนาน หรือเป็นแผ่นไวนิลที่ผลิตมาจำนวนจำกัด อย่างแผ่นไวนิลของวงดนตรีสตริงไทยสากลในยุค ’60s – ’70s นี่ก็ราคาแพงลิ่วแล้วในยุคนี้ นักสะสมชาวญี่ปุ่นและอเมริกันก็มาตามไล่ล่าของในบ้านเรากันอย่างจริงจัง ราคายกเซ็ตนี่ถึงหลักหมื่นและหลักแสน อย่างว่าครับ แผ่นไวนิลเพลงไทยในยุคนั้นจะผลิตที่ประเทศอเมริกาหรือประเทศญี่ปุ่นทั้งหมด คุณภาพก็ระดับโลกครับ แต่พอมาถึงช่วงยุค ’80s ก็ไม่ค่อยผลิตในต่างประเทศแล้ว เพราะสามารถผลิตในประเทศได้ แต่ก็แลกกับคุณภาพเสียงที่แย่มาก ย้ำว่าแย่มากนะครับ คือคนละเรื่องกับแผ่นที่ผลิตต่างประเทศเลยทีเดียว แต่ในปีนี้ศิลปินรุ่นใหญ่ระดับตำนานของบ้านเราที่คนไทยทุกคนน่าจะรู้จักกันหมดก็ทยอยออกแผ่นไวนิลแบบรีมาสเตอร์กันมาอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นที่คุณภาพเสียง และวัสดุในการผลิต ไปจนถึงงานอาร์ตเวิร์กบนปกที่นำมาผลิตใหม่ ส่วนตัวผมเห็นว่าชุดที่น่าจับตามองได้ออกมาแล้วสองศิลปิน ได้แก่ อัสนี-วสันต์ และเต๋อ – เรวัต พุทธินันทน์

เริ่มต้นแนะนำกันที่แผ่นไวนิลของป๋าอัสนี-วสันต์ ขาร็อกขวัญใจคุณลุงคุณอาคุณน้าที่เราๆ รู้จักกันดี ทั้งคู่คือศิลปินต้นแบบวงร็อกในประเทศไทย มีรากเหง้ามาจากเพลงร็อกในยุค ’70s งานของพวกเขาน่าศึกษา และน่าลงทุนเพื่อเก็บประดับตู้เก็บแผ่นไวนิลที่บ้านเราเป็นอย่างยิ่ง บ็อกซ์เซ็ตไวนิลฉลองครบรอบ 30 ปีอัสนี-วสันต์เพิ่งจะถูกนำมารีมาสเตอร์เพื่อจัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการในจำนวนที่จำกัดมากๆ (ย้ำว่าจำกัดจริงๆ ครับ) สิ่งที่น่าสนใจคือ บ็อกซ์เซ็ตมีทั้งหมด 7 อัลบั้ม โดยทุกอัลบั้มนั้นมีการมาสเตอร์ซาวด์ใหม่หมด ให้เสียงไดนามิก เหมาะกับขาร็อกที่ชอบฟังเพลงร็อกแบบออริจินอล โดยบ็อกซ์เซ็ตชุดนี้ควบคุมการผลิตและทำมาสเตอร์โดยซาวด์เอ็นจิเนียร์ระดับโลกที่เคยได้รับงวัลแกรมมี่อวอร์ดส์มาแล้ว สารภาพเลยว่าตอนที่ผมเห็นชื่อ Bernie Grundman (เบอร์นี่ กรุนด์แมน) ในหน้าเครดิตของแผ่น ผมถึงกับร้องเฮ้ยเลยทีเดียว เบอร์นี่มีสตูดิโอทำมาสเตอร์ให้ศิลปินระดับโลกที่ประเทศอเมริกาและญี่ปุ่น เขาเคยทำมาสเตอร์ให้กับ Dr. Dre (ด็อกเตอร์เดร) Donna Summer (ดอนน่า ซัมเมอร์) Michael Jackson (ไมเคิล แจ็กสัน) และศิลปินอื่นๆ อีกมากมาย ฟังแค่นี้ก็สุดแล้วครับ แผ่นชุดนี้ผมได้ลองฟังตั้งแต่ตัวแผ่นมาสเตอร์ที่ทางโรงงานผลิตเป็นแผ่นแรกเพื่อให้ผู้จัดจำหน่ายได้เทสต์เสียงก่อนว่าได้ถึงอรรถรสระดับเวิลด์คลาสไหม ต้องบอกว่าผมเป่าปากร้องอู้หูกันเลยทีเดียว เสียงไม่บาง มีไดนามิก ขนาดหูผมไม่เทพนะ ยังฟังได้ขนาดนี้ ส่วนงานอาร์ตเวิร์กก็สวยมากครัว เป็นงานมาสเตอร์พีซเลยทีเดียว ควรค่าแก่การเก็งกำไร … เอ๊ย … แก่การเก็บสะสมเป็นอย่างยิ่ง

ส่วนไวนิลเซ็ตของพี่เต๋อ – เรวัตนั้นเปิดจองกันข้ามปี คาดว่าตอนนี้ไม่น่าจะหาได้ในท้องตลาดง่ายๆ นะครับ งานของพี่เต๋อนั้นถือเป็นบรมครูแห่งการเปิดโลกเพลงป็อปร็อกยุคใหม่ในประเทศไทย พี่แกเป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปินและวงการเพลงไทยเป็นอย่างมาก ไวนิลบ็อกซ์เซ็ตชุดนี้ผลิตในประเทศอเมริกา นำมามาสเตอร์ใหม่ระดับเวิลด์คลาส แผ่นเก่าของพี่แกนี่ราคาแผ่นละเกินสองหมื่นบาทไปแล้ว แต่รุ่นเรากลับมีโอกาสได้เก็บสะสมใหม่ในราคาที่ถูกลง และเสียงระดับไฮเดฟ ครบทุกชุดที่พี่แกเคยออกมา มีออกมาในแบบลิมิเต็ดเหมือนกัน ลองตามกันดูครับ

และมีคนเคยถามผมว่าถ้าไม่ไปซื้อแผ่นไวนิลหิ้วเองที่ประเทศญี่ปุ่น (ผมเคยเขียนแนะนำคลังแสงในโตเกียวไว้ในลอปติมัมฉบับเดือนเมษายน 2016 ที่ผ่านมา ไปลองเปิดหาอ่านกันได้ครับ) แล้วจะซื้อได้ที่ไหนในสยามประเทศ ร้านที่ผมไว้ใจมามากกว่าสิบปีมีเพียงร้านเดียวครับ ผมขอเรียกร้านนี้ว่า ‘บ้าน’ น่าจะตรงมากกว่าครับ ร้านชื่อว่า ‘ร้านแผ่นเสียง’ ตรงๆ แบบนี้เลยครับ เรียกง่ายจำง่าย อยู่แถวประดิพัทธ์ ร้านนี้มีเพลงสากลทุกสไตล์จากทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็นเพลงอินดี้ แจ๊ซ ร็อกทุกยุค แดนซ์ สายย่ออะไรมีหมดครับ อยากได้อะไร ขอบอกว่ามีหมดจริงๆ ราคาก็น่าจะพอๆ กับซื้อผ่านเว็บ amazon.com คือ แทบจะไม่ต่างเลยครับ แถมได้ลองสินค้าอีกด้วย ถ้าจะหาเพลงไทยมาสเตอร์ ที่นี่ก็มีหมด จะเก่าหรือจะใหม่ เพราะเป็นผู้จัดจำหน่ายที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ ส่วนตัวผม เวลาไปแวะที่นี่ ผมจะซื้อแผ่นแนวอิเลกทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็น Justice ชุดใหม่ ซาวด์แทร็กของภาพยนตร์เรื่อง La La Land ผมก็ได้จากที่นี่ ถือว่าเป็นคลังแสงแผ่นไวนิลส่วนตัวของผมเลยก็ว่าได้ครับ บรรยากาศกิ๊บเก๋า ถ้าคุณผู้อ่านสนใจลองไปแวะดูบรรยากาศในเพจเฟซบุคของร้านดูก่อนก็ได้ครับ (www.facebook.com/NokBangkokHifi)

แอบกระซิบดังๆ อีกครั้งก่อนจบครับ เพลงไทยน่าสะสมที่กำลังจะทยอยออกมาให้เสียเงินก็มีทั้งบ็อกซ์เซ็ตของโมเดิร์นด็อก สครับบ์ และพอส เตรียมกระเป๋าสตางค์กันไว้ให้ดีๆ นะครับสำหรับคอลงทุน เพราะนี่ถือเป็นการลงทุนในรูปแบบใหม่เลยครับ สนุกตรงนี้เลยนะครับ และอย่าลืมซื้อเครื่องเล่นแผ่นเสียงคุณภาพดีด้วยนะครับ อย่าเอาแบบสวยอย่างเดียว เราจะได้อรรถรสในการฟังแผ่นเสียงเต็มรูปแบบคุ้มค่า สมราคาฟอร์แมตต์ที่ดีที่สุดในโลก แบบเทคโนโลยีดิจิตอลก็เอาชนะไม่ได้ครับ ผมเชื่อเสมอครับว่า ‘Vinyl is Forever.’

7 วงดนตรีชื่อคุ้นๆ เพราะดัดแปลงมาจากวรรณกรรมคลาสสิก

1 My Chemical Romance
(พวก)เขาคือ: วงดนตรีร็อกอเมริกันจากนิวเจอร์ซี่ พวกเขาโด่งดังจากแนวเพลงร็อกดาร์กๆ แต่ก็บวกความเป็นป็อปทำให้เข้าถึงคนได้ง่าย และด้วยสไตล์การพรีเซนต์ตัวตนที่ชัดเจน พวกเขาก็เข้ามาสู่ในใจวัยรุ่นยุค 2000s ตอนต้นได้ไม่ยาก

MyChemicalRomance

โด่งดังจาก: อัลบั้มแรก I Brought You My Bullets, You Brought Me Your Love เป็นที่รู้จักในเพลง Skylines and Turnstiles ที่พูดถึงเรื่องเหตุการณ์ 911 ก็ทำให้พวกเขาโด่งดังมากแล้ว แต่ส่วนตัวเราชอบเพลง Welcome to the Black Parade จากอัลบั้ม The Black Parade ที่ออกมาเมื่อปีค.ศ. 2006 มากกว่า

ชื่อวงได้รับอิทธิพลมาจาก: ตอนที่ไมกี้ มือเบสของวง (ที่เป็นน้องของเจอราร์ด นักร้องนำ) ต้องทำงานเป็นพนักงานขายหนังสือในร้าน Barnes & Noble และเขาก็ประทับใจหนังสือเรื่อง Ecstasy: Tree Tales of Chemical Romance ของ Irvine Welsh นักเขียนชาวสก็อตต์แลนด์เจ้าของบทประพันธ์อันโด่งดังอย่าง Trainspotting นั่นเอง

ความคิดเห็นของเรา: ตอนรู้เรื่องเบื้องหลังของชื่อวงนี้ ทำให้เราคิดว่า แม้กระทั่งในช่วงที่รอเวลาความฝันสุกงอม (อย่างที่ไมกี้ต้องไปทำงานในร้านหนังสือก่อนที่เขาจะเป็นนักดนตรีเต็มตัว) เราก็สามารถอาศัยช่วงเวลานั้นเก็บเสี้ยวของความฝัน เพื่อรอวันที่ประกอบมันให้เป็นรูปเป็นร่างได้ในอนาคต … ก็ไม่ใช่เรื่องเสียเวลาอะไรนะ หรือคุณว่าไง?

2 The Doors
(พวก)เขาคือ: วงดนตรีร็อกชาวอเมริกันที่มีนักร้องนำอย่าง Jim Morrison ถือว่าเป็นอีกหนึ่งในวงดนตรีที่ทรงอิทธิพลต่อวงการดนตรีร็อกในช่วงยุค ’60s และเป็นแรงบันดาลใจให้กับวงรุ่นน้องอีกหลายต่อหลายวง ถ้าไม่ติดว่าจิมตายตั้งแต่อายุเพียง 27 ปี เราคาดว่าวงนี้จะส่งอิทธิพลกันข้ามทศวรรษอย่างแน่นอน

The Doors at London Airport in 1968. Left to right: John Densmore, Robby Krieger, Jim Morrison and Ray Manzarek. Manzarek died May 20 of bile-duct cancer.

โด่งดังจากเพลง: พูดยากเป็นอย่างยิ่ง เพราะอัลบั้มทั้งหมดแปดอัลบั้มที่วงทำขณะที่มีจิมเป็นนักร้องนำนั้นกลายเป็นอัลบั้มที่ติดท็อปเท็นใน Billboard 200 ทั้งสิ้น และด้วยยอดขายรวมกว่า 100 ล้านอัลบั้มทั่วโลก ทำให้พวกเขากลายเป็นหนึ่งในวงร็อกที่ขายดีที่สุดตลอดกาล และได้รับการเสนอชื่อให้กลายมาเป็นหนึ่งในศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลจากหลายสถาบัน

ชื่อวงได้รับอิทธิพลมาจาก: จิมเลือกชื่อนี้่โดยได้แรงบันดาลใจมาจากหนังสือเรื่อง The Doors of Perception ของ Aldoux Huxley (คุ้นๆ ชื่อไหม? เขาคือผู้แต่ง Brave New World ที่ต่อมาเป็นแรงบันดาลใจให้ George Orwell แต่งเรื่อง 1984 ไงล่ะ) ซึ่งก็เป็นโคว้ตของ William Blake มาอีกทีหนึ่ง นี่เป็นแรงบันดาลใจซ้อนแรงบันดาลใจกันเลยทีเดียว

ความคิดเห็นของเรา: แค่ชื่อวงสั้นๆ ทำให้เราซึ้งถึงคำว่า ‘ศิลปะส่องทางให้แก่กัน’ ได้จริงๆ และก็ทำให้เราคิดได้อีกอย่างหนึ่งว่า บนโลกแห่งการสร้างสรรค์นี้ แทบจะไม่มีอะไรเป็นออริจินัลอีกแล้วล่ะมั้ง ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องไม่ดีนะ ออกจะดีที่โลกของศิลปะสามารถต่อยอดกันและกันได้แบบนี้

3 Joy Division
(พวก)เขาคือ: วงพังก์ร็อกจากฝั่งอังกฤษ

โด่งดังจากเพลง: เอาจริงๆ คือ ดังเป็นพลุแตกหลังจากไปเล่นเป็นวงเปิดให้กับ Sex Pistols สองครั้งติด และวงก็เลยตัดสินใจยึดแนวทางพังก์ในแบบที่ตัวเองถนัด โดยอัลบั้มสุดอื้อฉาวอย่าง Unknown Pleasure นี่ออกมาทีเดียวเปรี้ยง แต่อย่างว่า … ด้วยแรงกดดันต่างๆ นานาทั้งสุขภาพ เรื่องครอบครัว และแฟนเพลง ทำให้เคอร์ติส นักร้องนำฆ่าตัวตายตอนออกคอนเสิร์ตทั่วที่อเมริกา และเมื่ออัลบั้มที่สองถูกปล่อยมาหลังจากนั้นสองเดือน Joy Division ก็กลายเป็นตำนานไป

JoyDivision

ชื่อวงได้รับอิทธิพลมาจาก: นวนิยายเรื่อง House of Dolls ของ Yahiel Feiner นักเขียนชาวยิวที่ใช้นามปากกาว่า Ka-tzetnik 135633 ซึ่งเป็นหมายเลขนักโทษของเขาที่ค่ายกักกันเอาทซ์วิทซ์ ซึ่งนวนิยายเรื่องนี้เกี่ยวกับ Jewish Joy Divisions ซึ่งเป็นกลุ่มหญิงสาวชาวยิวที่ถูกใช้เป็นทาสเซ็กซ์ให้กับทหารพรรคนาซีช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

ความคิดเห็นของเรา: เดิมทีวงนี้ตั้งชื่อว่า Warsaw แต่เคอร์ติสกลัวแฟนเพลงสับสนกับวงพังก์ Warsaw Pakt จากลอนดอน เขาเลยตัดสินใจใช้ชื่อนี้แทน … ซึ่งที่มาของชื่อ และจุดจบของวงนั้น … บอกยากว่าอะไรเศร้ากว่ากัน

4 Belle & Sebastian
(พวก)เขาคือ: วงดนตรีจากเมืองกลาสโกว์ ประเทศสก็อตแลนด์ ที่มีผลงานอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าพวกเขาจะได้รับการตอบรับเป็นอันดีจากนักวิจารณ์ แต่ก็ไม่ได้โด่งดังเป็นวงกว้างเท่าใดนัก

โด่งดังจากเพลง: เพลง The Boy with the Arab Strap ได้รับเสียงตอบรับด้านบวกเป็นอย่างมาก ต่อมาพวกเขาได้รับรางวัล Best Newcomer จาก BRIT Awards แซงหน้าวงป็อปใสๆ อย่าง Steps และ 5ive ไปอย่างขาดลอย

Belle_and_Sebastian_British_Band

ชื่อวงได้รับอิทธิพลมาจาก: หนังสือสำหรับเด็กภาษาฝรั่งเศสที่ชื่อว่า Belle et Sébastien แต่งโดย Cécile Aubry ซึ่ง Stuart Murdoch นักร้องนำและผู้ก่อตั้งวงเป็นผู้เลือก หนังสือเรื่องนี้โด่งดังจนถึงขั้นได้รับการดัดแปลงเป็นทีวีซีรี่ส์ในช่วงยุคเจ็ดศูนย์ และต่อมาในช่วงยุคแปดศูนย์ มันก็ได้รับการดัดแปลงเป็นซีรีส์การ์ตูนญี่ปุ่นอีกด้วย

ความคิดเห็นของเรา: เราเข้าใจนะว่า บางครั้งคุณก็รู้สึกว่า ‘อิน’ กับหนังสือบางเล่มมากเสียจนคุณอยากจะเอาชื่อหรือเนื้อหามาทำอะไรสักอย่าง แต่การเอามาโต้งๆ แบบนี้ก็กลายเป็นวิธีการคลาสสิกได้เช่นกันนะ คุณว่าไหม

5 Artful Dodger
(พวก)เขาคือ: วงร็อกการาจจากเกาะอังกฤษ ที่อาจจะไม่โด่งดังนัก แต่เราก็ชอบที่มาของชื่อนี้จนเลือกมาพูดถึงโด่งดังจากเพลง: TwentyFourSeven คือซิงเกิ้ลที่ดังที่สุดในชีวิตนักดนตรีของพวกเขาแล้วมั้ง เพราะเพลงส่วนใหญ่ของพวกเขาจะพบในอัลบั้มรวมฮิตสไตล์การาจของอังกฤษอยู่เรื่อยๆ

Artful-Dodger

ชื่อวงได้รับอิทธิพลมาจาก: ตัวละครที่เป็นหัวหน้าแกงค์ล้วงกระเป๋าจากวรรณกรรมสุดคลาสสิกอย่าง Oliver Twist แต่งโดย Charles Dickens ซึ่ง Mark Hill และ Pete Devereux สองผู้ก่อตั้งวงเลือกใช้ชื่อนี้เพราะบรรดาเพลงก็อปปี้ทั้งหลายที่พวกเขาเริ่มทำตอนเข้าวงการดนตรีใหม่ๆ นั่นเอง

ความคิดเห็นของเรา: ไอเดียดีนะ ไม่แปลกใจเลยว่าเป็น One Hit Wonder แล้วก็หายไป

6 Sixpence None the Richer
(พวก)เขาคือ: วงร็อกคริสเตียนจากเท็กซัส

โด่งดังจากเพลง: คงไม่มีใครไม่รู้จักเพลง Kiss Mee และ Don’t Dream It’s Over ล่ะมั้ง?

SixPenceNonTheRicher

ชื่อวงได้รับอิทธิพลมาจาก: แมสเสจจากหนังสือเรื่อง Mere Christianity แต่งโดย C.S. Lewis ที่ตัวละครผู้เป็นลูกชายขอเงินพ่อจำนวนหกเพนนีเพื่อซื้อของขวัญให้พ่อ “พอพ่อได้รับของขวัญชิ้นนั้น เขาก็ไม่ได้รวยขึ้นเพราะเขาได้ให้เงินหกเพนนีกับลูกชายไปตั้งแต่แรกแล้ว” Leigh Nash นักร้องนำได้ให้สัมภาษณ์ไว้ในรายการ The Late Show with David Letterman “เปรียบได้กับพระเจ้าที่ให้ของขวัญกับพวกเราเพื่อให้ยกย่องสรรเสริมพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งท่านก็ไม่ได้รวยขึ้นจากของถวายเหล่านั้น เพราะเขาเองก็เป็นคนมอบของเหล่านั้นมาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว”

ความคิดเห็นของเรา: เฉี่ยวเข้าใกล้ศาสนามากจนเราขออนุญาติไม่มีความคิดเห็นละกันนะ นอกจากคำชมว่านักร้องนำเสียงเพราะมากเลย

7 Moby
(พวก)เขาคือ: นักร้อง นักดนตรี ดีเจ ช่างภาพ และนักเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิสัตว์ ใครเป็นคอเพลงอิเลกทรอนิกส์นี่คงจะรู้จักเขาดีเป็นอย่างยิ่งละนะ

Moby

โด่งดังจากเพลง: ในช่วงต้นยุคเก้าศูนย์ที่เพลงอิเลกทรอนิกส์แดนซ์โด่งดังไปทั่วโลกนั้น Moby ถือว่าเป็นนักดนตรีที่ทรงอิทธิพลมากในยุคนั้น และได้กลายเป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกยกย่องว่าเป็นคนที่นำเพลงแดนซ์เข้ามาในดนตรีกระแสหลักได้สำเร็จ

ชื่อวงได้รับอิทธิพลมาจาก: เขาชื่อจริงว่า Richard Melville Hall ซึ่งเขาเลือกใช้ชื่อ Moby ในวงการเพราะแม่เขาบอกว่า Hermann Merville ผู้แต่งวรรณกรรมคลาสสิกอย่าง Moby Dick เป็นญาติของเขา (ทวดของทวดของทวดของทวด อะไรประมาณนั้น) เลยเอามาใช้ซะเลย

ความคิดเห็นของเรา: อันนี้ไม่เรียกได้รับแรงบันดาลใจนะ เรียกว่าความพยายามที่จะไม่ลืมรากเหง้ากันเลยดีกว่า

เมื่อโลกของแฟชั่น ต้องหันไปดูบทเรียนของวงการอุตสาหกรรมดนตรี

การปรับตัวเพื่ออยู่รอดถือเป็นพฤติกรรมที่ฝังอยู่ในดีเอ็นเอของมนุษย์ และเมื่อพฤติกรรมการผู้บริโภคเปลี่ยนไป ใครที่หยุดนิ่งอยู่กับที่นั้นหมายความถึง ‘ความตาย’

cb-nyfw

เมื่อไม่กี่ฤดูกาลมานี้โลกแห่งแฟชั่นของเหล่าไฮแบรนด์ทั้งหลายได้รู้จักกับศัพท์ใหม่คำว่า ‘See Now, But Now’ และนั่นก็ไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไปเพราะเหล่าแบรนด์หัวเรือหลักต่างต้องปรับตัวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป สินค้าไฮแฟชั่นพยายามนำเสนอทางเลือกและวิธีการให้คุณได้จับจองสินค้าคุณภาพดีได้ในระยะเวลาเพียงแค่ไม่เกินสองเดือนนับจากแฟชั่นโชว์ โดยนำเสนอประสบการณ์ที่เรียกว่า ‘Trunk Show’ คือการนำคอลเลกชั่นบนรันเวย์ที่คุณเห็นให้คุณได้สัมผัส เลือกซื้อ และสั่งจองล่วงหน้าก่อน เสมือนเป็นการ ‘Pre-order’ ก่อนที่สินค้าเหล่านั้นจะถึงมือคุณในเดือนถัดไป ซึ่งสำหรับผู้บริโภคไฮแบรนด์แล้ว ความ ‘เก๋’ นั้นก็อยู่ที่การได้ใส่ ‘ก่อน’ ใครในความเร็วที่สูสีกับสินค้าฟาสต์แฟชั่น

470864577LV008_VALENTINO_RU

เช่นเดียวกับเมื่อหลายปีก่อนที่วงการดนตรีประสบปัญหาคล้ายคลึงกัน เมื่อเพลงที่ศิลปินต่างเฝ้าฟูมฟักนั้นเจอวิกฤติเทปผีซีดีเถื่อนวางขายเกลื่อน ก่อนที่แผ่นซีดีจะออกขายจริงบนแผง ซึ่งการปราบปรามเทปผีซีดีเถื่อนนั้นก็ยังไม่สามารถหยุดยั้งการโจรกรรมทางความคิดนี้ได้ วงการดนตรีจึงปรับกลยุทธ์ใหม่โดยการปล่อยซิงเกิ้ลทีละเพลงดาวน์โหลดออนไลน์แทนที่จะรอปล่อยหมดทีเดียวทั้งอัลบั้ม ซึ่งก็กลายเป็นตัวแปรสำคัญในการตัดช่องทางการทำมาหากินของเหล่ามิจฉาชีพทางปัญญาได้อย่างเห็นผลชัดเจน ธุรกิจการให้บริการดาวน์โหลดเพลงและบริการสตรีมมิ่งอย่างถูกกฎหมายจึงเป็นช่องทางทำมาหากินของเหล่าศิลปินนักร้องจึงผุดขึ้นมาราวกับดอกเห็ด อย่างเช่น Apple Music, Tidal, JOOX Music, Deezer และ Spotify เป็นต้น นี่จึงเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างว่าทุกวันนี้โลกหมุนเร็วขึ้นเพียงไร เพียงแค่เราหยุดนิ่งอยู่กับที่ จึงไม่ต่างอะไรกับการที่เรากำลังเดินถอยหลังอยู่

04carasnapchat-master768

การหวนกลับมาของภาพยนต์ไซ-ไฟขวัญใจจากวัยเด็ก และบทเพลงประกอบอันยอดเยี่ยม

The Force Awakens

เดือนสุดท้ายของปี นอกจาก จะเป็นเดือนมหามงคลของพี่น้องชาวไทยเเล้ว ยังเป็นเดือนที่พี่น้อง  ชาวออฟฟิศ มนุษย์เงินเดือนอย่าง เราๆ ท่านๆ รอคอย ไม่ว่าจะเป็น  โบนัสที่คาดว่าจะคงน้อยมาก  (ด้วยเหตุผลที่ได้ยินตั้งเเต่จำความได้ว่า ปีนี้เศรษฐกิจไม่ดี ตั้งเเต่เกิดมามองตาดูโลกใบนี้ ผมได้ยิน คำนี้บ่อย พอๆ กับการเดินเข้าร้านสะดวกซื้อ เเล้วถูกถามว่ารับซาลาเปาเพิ่มไหมคะ?)

ANAHEIM, CA - AUGUST 15: (L-R) Actors Oscar Isaac, John Boyega, Lupita Nyong'o, Daisy Ridley, director J.J. Abrams of STAR WARS: THE FORCE AWAKENS and Chairman of the Walt Disney Studios Alan Horn took part today in "Worlds, Galaxies, and Universes: Live Action at The Walt Disney Studios" presentation at Disney's D23 EXPO 2015 in Anaheim, Calif. (Photo by Jesse Grant/Getty Images for Disney)

เดือนที่ถ้าเป็นราชการก็เเทบไม่ต้องทำงาน ลายาว เจอกัน  อีกทีหลังปีใหม่ หลาย ๆ ท่านคงวางแผนการไปเที่ยวประเทศใกล้เคียงเรียบร้อยเเล้ว คาดว่า เราคงจะยกคนกรุงเทพฯ ไปอยู่ที่โตเกียวเเละ โซลแน่นอน นอกจากวันหยุดเทศกาลเเห่งความสุขบ้างไม่สุขบ้างที่จะเกิดขึ้นในเดือนนี้ สำหรับผมกลางเดือนนี้คอหนังเด็กยุค 80 คนโบราณอย่างผมตั้งตารอก็คือ ไตรภาคสุดท้ายของมหากาพย์ สงครามดวงดาว สตาร์วอร์ ภาคล่าสุด The Force Awakens ชื่อไทยใช้ได้สุดทีนส์ นั่นก็คือ ‘อุบัติการเเห่งพลัง’ เเหมต้องขอชม กอปปี้ไรท์เตอร์ คิดได้ไง ซึ่งภาคนี้จะเป็นภาค 7 เเละเป็นการสรุป ปลายสมัยของมหากาพย์ทั้งหมด ที่สำคัญดิสนีย์ใช้ผู้กำกับที่ผมว่าไม่เลวเลย คือ เจเจ เเอบเเรมย์ (J.J. Abrams) จากซีรีย์ส์สุดดังเรื่อง Lost น่าจะทำให้โทนหนังออกมาสนุกกว่าภาค 1 2 3 ที่ผมคิดว่า ไม่ค่อยเท่าไหร่ หนังเรียบเกินไป

IMG_2944-W1

เป็นที่ทราบกันว่า จอร์จ ลูคัส ขายลิขสิทธิ์ภาพยนตร์เรื่องนี้ให้กับทาง วอลท์ ดิสนีย์ ไปเมื่อหลายปีก่อน ดิสนีย์นำโครงการ ภาคต่อ 7 8 9 มาปัดฝุ่นใหม่ เเละที่สำคัญ คือไม่ใช้เค้าโครงเดิม จากพลอตที่ลูคัสเขียนไว้ ถ้าใช้คง เเค่ตัวละครหลัก ซื่งผมว่า เป็นเรื่องดีนะ เพราะสตาร์วอร์กลายเป็นสิ่งที่เชยในวัยรุ่นยุคใหม่พวกเจเนอเรชัน Z นี้เเน่ๆ จำได้ว่าเวลาผมสอนหนังสือ น้องๆ ระดับมัธยมศึกษานี่มีไม่กี่คนที่ชอบนะ คือเขาจำตัวละครได้ เช่น เวเดอร์ เเต่ไม่รู้จักเรื่องราว ส่วนระดับอุดมศืกษาที่สอนอยู่ก็ 50/50 ครับ ส่วนใหญ่เยาวชนไทยรุ่นนี้ ถ้าไม่รวมเด็กโรงเรียนนานาชาติ จะจมอยู่กับเอนิเมะ หรือไม่ก็เป็นพวกค่ายมาร์เวลไปเลย เจเนอเรชันเเฮร์รี่ พอตเตอร์ พอเถอะ… พอเถอะ ขอย้ำ  ก็ยังมีอีกมาก คือพวกเขายอมที่จะชื่นชอบที่จะร่ายเวทมนต์ ขี่ไม้กวาดเเม่มด มากกว่าดาบเลเซอร์

BERLIN, GERMANY - MAY 08: A wax figure of the Star Wars characters Darth Vader (C) and two Stormtroopers are displayed on the occasion of Madame Tussauds Berlin Presents New Star Wars Wax Figures at Madame Tussauds on May 8, 2015 in Berlin, Germany. (Photo by Clemens Bilan/Getty Images)

สตาร์วอร์คือ Pop Culture ที่ยังคงฝังรากลึก เพียงเเต่จะต้องหาคนนำเสนอที่เก่งเเละเข้าใจผู้บริโภครุ่นใหม่ ไม่ใช่เพียงเเต่ตัวละครที่เอามาผลิตเป็นสินค้า เเต่เนื้อเรื่องที่อิงปรัชญาเเละข้อคิดตะวันออก โดยเฉพาะ ภาค 4-5-6 อาทิ เช่น พลัง หรือ เดอะ ฟอร์ซ ที่เราชอบพูดติดปาก มันก็คือปราณ หรือลมปราณนั่นเอง ดูได้จากชื่อของตัวละครในภาคเเรกที่เป็นคนเจอ อนาคิน สกาย วอล์เกอร์ ดาร์ท เวเดอร์ ชื่อตัวละครตนนั้น คือ ไกว ควอน จิน มาจากภาษาจีนเเปลว่า พลังเเห่งปราณ เป็นต้น เอาเข้าจริง สำหรับคุณผู้อ่านที่อายุเกิน 30 อาจรู้จักนิยายกำลังภายในมังกรหยก มีคนกล่าวว่า ตัวละครมากมายในมหากาพย์สตาร์วอร์ อิงมาจากเรื่องของกิมย้ง ผู้เเต่ง เท็จจริงอย่างไร ต้องไปหาข้อมูลเพิ่ม เเต่ผมว่ามีส่วนคล้าย

LONDON, ENGLAND - JULY 27: The London Symphony Orchestra perform during the Opening Ceremony of the London 2012 Olympic Games at the Olympic Stadium on July 27, 2012 in London, England. (Photo by Ronald Martinez/Getty Images)

เข้าเรื่องเพลงประกอบสตาร์วอร์ภาคล่าสุด วอลท์ ดิสนีย์ยังคงใช้ จอห์น วิลเลี่ยมส์ (John Williams) เเละลอนดอน ซิมโฟนี่ ออเคสตร้า (London Symphony Orchestra) ซื่งสตาร์วอร์ในทุกภาคที่ผ่านมาตั้งเเต่ปีค.ศ. 1977-2015 ปู่วิลเลี่ยมควบคุมดูเเลทั้งหมด ธีมภาพยนตร์เราคงคุ้นหูกันอย่างดี เเต่สำหรับผมธีมที่กระเเทกใจ เเละน่าจะอยู่ในหัวใจคอหนัง คอเพลงประกอบฯ หลายๆ ท่านก็คือ ธีมจากภาพยนตร์ชุดนี้ในภาค 5 นั้นก็คือธีม The Imperial March จาก The Empire Strikes Back ธีมนี้ ทุกคนต้องร้องอ๋อเมื่อได้ยิน หากคิดไม่ออกตอนอ่านคอลัมน์นี้ แนะนำให้กดยูทูปเลยครับ พิมพ์ตามชื่อเลย มีให้ฟังมากมาย เพลงประกอบของไตรภาคชุดนี้ ผมว่าที่สุดเเล้ว วิลเลี่ยมอยู่ในยุคเรเนซองของผลงานตัวเอง Imperial March ธีมกลายเป็นตัวเเทนของการใช้เพลงนี้ประกอบในสถานการณ์ต่างๆ ที่ออกเเนวเผด็จการชั่วร้าย ระบอบการเมือง ศาสนา ที่ถูกครอบงำเเละกดขี่ ชุดนี้ทั้งซีดีฟอร์เเมทเเละเเผ่นเสียงออกมาเป็นเเผ่นคู่ทั้งสองรูปเเบบ ภาค The Empire Strikes back นอกจากจะมีธีมที่สุดคูลเเล้ว ยังเป็นตอนที่ทำรายได้มหาศาล เเละมีโทนหนังมืดมนที่สุด เเอบคิดว่ายุคนั้นถ้าเอาสองพี่น้องโคเฮน หรือไม่ก็คริสโตเฟอร์ โนเเลนด์ มากำกับ จะดาร์คขนาดไหน ภาคนี้ นอกจากเพลงเพราะฟังเพลิน มีถึง 18 องก์ (Act) ยังเป็นการเดินเรื่องที่กระเเทกใจคนดู ตรงที่มีการเฉลยตอนท้ายเรื่องกับคำพูดสุดฮิตตลอดกาลที่ถูกนำมาใช้ทุกยุคทุกสมัยนั่นก็คือ “I am Your father” ฉากที่ ลุค สกายวอล์คเกอร์ โดน ลอร์ด เวเดอร์ ตัดเเขนขวาขาดกระจุยเเล้วยื่นมือมาหาลุคพร้อมทั้งพูดประโยคเด็ดดังกล่าว เเถมมีต่อว่า “Join me, Together we can rule the Galaxy as father as son !” ที่สุดครับ พ่อลูกตัดไม่ขาด ลุคถึงขั้นหงายเงิบ สตั๊นท์ 10 วิฯ เเละโดดลงปล่องขนาดใหญ่ไปทันที เป็น ฉากคลาสสิก ตลอดกาล มากกว่าฉากเเฮร์รี่ พอเถอะ ทั้งหมดทั้งปวง ทำไมเด็กรุ่นนั้นกับเด็กรุ่นเราซึมซับไม่เหมือนกัน คุณผู้อ่านคิดเห็นว่าอย่างไรครับ กลับไปเรื่องเพลงประกอบ ถ้าพูดถึงซาวด์เเทรคภาคล่าสุดที่อยู่ในการดูเเลของจอห์น วิลเลี่ยมส์ เเละใช้วงเดิมในการบรรเลง ทางโซนี่เเละดิสนีย์จะมีการนำเพลงประกอบของทุกภาค รวมถึงภาคใหม่ด้วยมาจัดจำหน่ายมาสเตอร์ซาวด์อีกครั้งในรูปเเบบ Boxset เเผ่นเสียง เเถมซีดี เเละดิจิตัลดาวน์โหลด ห้ามพลาดนะครับ คุณจะได้อรรถรสในการฟังเเบบ Hi fidelity มีมิติทุกฟอร์เเมท งานปกอาร์ทเวิร์คก็คุ้มค่าเเต่ราคาไม่กล้าบอกลองไปค้นดูจากอเมซอนนะครับ เผื่อจะเป็นของเทศกาลคริสต์มาสให้ตัวเอง เเม้ปีนี้โบนัส อาจเบาบางก็ตาม (ฮา) ส่วนเเฟนเกมส์ไม่ต้องห่วง PS4 ออกมาเเล้ว กับ Star Wars – Battle Front จากค่าย EA ที่กินเนื้อที่ในเครื่องเพลย์ของคุณถึง 50GB ชมหนังเเล้ว ลองมาวิจารณ์ดูนะครับ ว่าชอบมากน้อยเพียงใด เพลงเพราะอยู่เเล้วผมไม่ห่วง กลัวหนังจะคาดไว้สูงเกินเหมือนเจมส์ บอนด์ Spectre ในเดือนที่ผ่านมา ขอบอกว่า หลับคาโรง! เเมร์รี่คริสมาสต์ มีความสุขมากๆ ครับผม

Content by Patrick C., Photography by Getty Images