Posts

Beautiful Boy – เพราะชีวิตงดงามเสมอ

หลังจากคุ้นหน้าคุ้นตากันไปแล้วกับบทบาทเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ในภาพยนตร์เรื่อง Call Me by Your Name มาวันนี้ Timothé Chalamet กลับมารับบทบาทเด็กหนุ่มผู้ติดยาไอซ์ในภาพยนตร์เรื่อง Beautiful Boy ที่สร้างจากเรื่องจริงของเดวิด และนิค เชฟฟ์ สองพ่อลูกที่ร่วมมือกันต่อสู้กับอาการติดยาของลูกชายมาเกินทศวรรษ โดยบทพ่อนั้นนำแสดงโดย Steve Carrell จาก Foxcatcher

มาพูดคุยอุ่นเครื่องกับนักแสดงนำทั้งสอง ก่อนที่จะไปชมภาพยนตร์ได้ในโรงภาพยนตร์ชั้นนำทั่วประเทศ (เข้าฉายตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป)

พวกคุณเคยทราบเรื่องราวของ เดวิดและนิค ก่อนที่จะเข้าร่วมโปรเจกต์นี้หรือเปล่า?
สตีฟ
: ผมไม่เคยรู้เรื่องราวของทั้งสองเลยครับ จนกระทั่งทางเอเย่นต์ส่งบทหนังมาให้ผมอ่าน หลังจากที่ผมได้อ่านบท ผมก็ไปหาหนังสือมาอ่านและทำการศึกษาเรื่องราวของพวกเขาทันที และมันก็ทำให้ผมตอบตกลงรับงานชิ้นนี้ครับ

ทิโมธี: ผมรู้จักพวกเขาผ่านหนังสือครับ มันเป็นช่วงเมื่อประมาณ 8 หรือ 9 ปีที่แล้ว หนังสือเล่มนั้นเป็นหนังสือที่มีลายขวาง แถบหนาสีแดง และมีรูปหน้าของนิคที่ถูกเบลออยู่บนหน้าปก ผมจำได้ว่าผมเห็นมันที่ร้านหนังสือในเมืองนิวยอร์ก รู้สึกว่าจะเป็นร้าน The Source นี่ล่ะมั้งครับ ผมรู้สึกว่าสตีฟกับผมต่างรู้สึกไปในทางเดียวกัน เมื่อผมอ่านหนังสือจบผมก็รู้สึกว่าเราควรเผยแพร่เรื่องพวกนี้ให้ผู้คนรู้อย่างรวดเร็วที่สุด และอีกอย่างผมก็อยากจะทำงานร่วมกับสตีฟมาก หนังที่เล่นเล่นนั้นมันช่างสุดยอดจริงๆ ในมุมมองของนักแสดง ผมรู้สึกว่าโอกาสแบบนี้คือโอกาสที่หาได้ยากครับ

การศึกษาที่ว่านี่รวมถึงการพบกับครอบครัวเชฟฟ์ด้วยหรือเปล่า?

สตีฟ: แน่นอนครับ โดยเฉพาะเดวิด เขาเป็นเหมือนกับคนที่ผมเคยจินตนาการเอาไว้หลังจากที่ผมอ่านหนังสือของเขาจบเลย เขาเป็นคนอ่อนโยน โอบอ้อมอารี ฉลาด และมีใจที่เข้มแข็ง แต่เหนือสิ่งอื่นใด เขาเป็นคนที่กล้าแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวของเขาและยอมให้นำมันมาสร้างเป็นภาพยนตร์ ซึ่งผมเห็นว่ามันเป็นการกระทำที่กล้าหาญมาก เพราะเราเป็นแค่คนแปลกหน้าสำหรับพวกเขา แต่พวกเขากลับให้คนแปลกหน้าเหล่านี้เผยแผ่และตีความสิ่งที่พวกเขาเคยเผชิญ

ทิโมธี: ในแง่ของการศึกษานั้น ผมได้พยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของผู้ติดยาครับ ซึ่งเดี๋ยวนี้เราสามารถหาอ้างอิงได้ง่ายๆ ผ่านทางสื่อบนโลกออนไลน์ แต่เหนือสิ่งอื่นใด ผมอยากจะรู้ว่าผมจะรู้สึกอย่างไรถ้าการเข้ารับการบำบัดนั้นหมายถึงการถูกตัดขาดจากครอบครัวของคุณ ชีวิตของคุณ และคนที่คุณรัก ในขณะที่คุณพยายามเผชิญหน้ากับสถานการณ์ในช่วงที่คุณยังคงเป็นเด็กอยู่

พ่อลูกคู่นั้นมีปฏิกิริยาอย่างไรหลังจากที่ได้ดูเรื่องราวของพวกเขาบนจอภาพยนตร์?

ทิโมธี: ปฏิกิริยาของพวกเขานั้นเป็นภาพที่ทำให้พวกเราประทับใจมากครับ ผมไม่คิดว่าผมจะได้มีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศเช่นนั้น ผมมีความเห็นว่าหนังสือและภาพยนตร์มีองค์ประกอบของความเป็นมนุษย์อยู่เต็มไปหมด ันไม่ใช่ภาพยนตร์ที่ขับเคลื่อนด้วยซีจี มันเป็นการบอกเล่าประสบการณ์จริงๆ ของมนุษย์ และที่สำคัญที่สุด มันคือประสบการณ์ที่ผู้คนหลายล้านคนบนโลกใบนี้กำลังเผชิญหน้ากับมันอยู่ ดังนั้นผมจึงไม่แปลกใจเลยครับที่ได้เห็นทั้ง เดวิดและนิค ถึงกับหลั่งน้ำตาเมื่อพวกเขาได้รับชมภาพยนตร์ที่พวกเราสร้าง

สตีฟ: ผมนึกไม่ออกจริงๆ ว่าถ้าเป็นผม ผมจะรู้สึกอย่างไรหากมีคนนำเอาเรื่องของผมไปสร้างเป็นภาพยนตร์ที่เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกแบบนี้ พวกเขาแสดงให้เราเห็นถึงความกล้าหาญและความพยายามในการช่วยเหลือผู้อื่นครับ

สตีฟ ในฐานะที่คุณเป็นคุณพ่อลูกสอง คุณมีวิธีการเตรียมตัวอย่างไรในการรับมือกับอารมณ์ความรู้สึกของบท ความรู้สึกที่ว่าภัยจากยาเสพติดนั้นสามารถเข้าถึงได้ทุกครอบครัว?

สตีฟ: ผมบอกได้เลยว่า นั่นเป็นสถานการณ์ที่น่ากลัวที่สุดในฐานะของคนเป็นพ่อครับ และการเตรียมตัวรับมือกับมันก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะมันเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองอย่างพวกเราต้องเตรียมพร้อมรับมือกับมันตลอดเวลาอยู่แล้ว ทันทีที่คุณมีลูกของตัวเอง คุณก็จะเริ่มห่วงเริ่มกังวลเรื่องต่างๆ สิ่งเดียวที่คุณอยากจะทำในชีวิตก็คือการปกป้องลูกของคุณให้พ้นจากอันตราย การที่ผมได้พบกับเดวิดทำให้ผมได้รับรู้ว่า เขาเป็นสุดยอดคุณพ่อที่ทั้งดูแลและเอาใจใส่ลูกของเขาอย่างสุดความสามารถเลยครับ

ทิโมธี : ตัวละครทีคุณเล่นนั้นดูสมจริงจนน่ากลัวเลยทีเดียว มันเหมือนราวกับว่าคุณได้กลายเป็นตัวละครตัวนั้นไปแล้ว ในยุคสมัยนี้ ผู้คนมักจะไม่เอ่ยถึงอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับผู้คนที่ต้องการเลิกยา แต่หนังของคุณได้เล่ารายละเอียดในส่วนนี้อย่างชัดเจน

ทิโมธี: นี่คือภาพยนตร์เกี่ยวกับการใช้ยาเสพติด การเลิกใช้มัน และเรื่องราวของครอบครัวครับ ยาไอซ์นั้นอาจเปรียบเทียบได้กับยาเสพติดที่ร้ายแรงอย่างเฮโรอีน มันไม่เลือกเป้าหมาย มันจะเข้าไปทำลายทุกอย่างของคุณ มันเป็นอันตราย มันเป็นสิ่งที่ไม่มีข้อดี และการเลิกใช้มันก็ต้องอาศัยพลังใจเป็นอย่างมาก เมื่อคุณนำองค์ประกอบของวัยรุ่น วัยที่มนุษย์เรายังไม่เป็นผู้ใหญ่ ความยากนั้นก็ยิ่งมีมากขึ้นไปอีกครับ

Narcos: Mexico ซีรีส์สุดระทึกที่ครองใจแฟนๆทั่วโลกกับการกลับมาอีกครั้งบน Netflix

เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการกลับมาอย่างยิ่งใหญ่ของซีรีส์สุดระทึกอย่าง Narcos: Mexico ที่ Netflix นำมาสตรีมให้ดูพร้อมกันทั่วโลกในเดือนพฤศจิกายนนี้ เราชวนคุณมาคุยและทำความรู้จักกับ Michael Peña กับบทบาทตำรวจผู้แสนดีที่หลงเข้ามาท่ามกลางสงครามอันร้อนระอุของยาเสพติดในประเทศเม็กซิโก แล้วคุณจะหลงรักเขาเหมือนกับที่เราหลงรักมาแล้ว

NARCOS MEXICO

ในซีรีส์ชุด Narcos: Mexico นั้นไมเคิลรับบทเป็นนายตำรวจ Enrique ‘Kiki’ Camarena ที่เอาเข้าจริงนั้นถือว่าเป็นบทรองก็ว่าได้ เนื่องจากก็รู้กันทั่วโลกว่าในซีรีส์ชุด Narcos ที่ผ่านมานั้น ปาโบล เอสโกบาร์ ได้ใจแฟนๆ ทั่วโลกไปมากกว่านายตำรวจอย่างฮาเวียร์ เปนญา จนเราแอบใจเสียแทนเขาไม่ได้ อย่างไรก็ดีหลังจากได้มีโอกาสสัมภาษณ์เขาสั้นๆ เราก็อดไม่ได้ที่จะแอบเอาใจช่วยนายตำรวจเอนริเกอย่างเงียบๆ

เล่าให้ฟังหน่อยสิว่าคาแร็กเตอร์ของเอนริเกกิกิคามาเรญา ที่คุณแสดงเป็นอย่างไร

สวัสดีครับ ผมชื่อไมเคิล เปนญา ผมรับบทเป็นเอนริเกกิกิคามาเรญา ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ดีอีเอ เขาเพียงแค่อยากจะสร้างความแตกต่าง พอจะรู้ใช่ไหมครับว่าในประเทศเม็กซิโกสถานการณ์เรื่องการค้ายาเริ่มเข้าขั้นสงคราม กิกิอยากจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงตรงนั้น เขาอยากจะหยุดอาชญากรรม ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนั้นขึ้น ในท้ายที่สุดแล้วกิกิคือคนอึดที่มีจิตใจดีคนหนึ่งเท่านั้นเองครับ

รู้สึกอย่างไรที่ได้รับบทพระเอกในซีรีส์ที่ดูเหมือนว่าพระเอกจริงๆ จะเป็นตัวร้ายแบบนี้ล่ะ

ผมไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้เลยครับว่าบทของผมจะต้องเป็นคนดี ต้องกำจัดคนชั่ว เพราะท้ายที่สุดแล้วหน้าที่ของผมคือการรับบทบาทเป็นเจ้าหน้าที่ดีอีเอ เมื่อเข้าไปอยู่ตรงนั้นแล้วเขาก็ต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เท่านั้นเองครับ

NARCOS: MEXICO

การต้องเข้ามาแสดงในภาคต่อของซีรีส์ที่เคยประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามมาก่อนทำให้คุณกดดันมากไหม ?

ไม่นะครับ ผมคิดว่าความกดดันเหล่านั้นมันไปอยู่ที่คนที่เล่นเป็นปาโบล เอสโกบาร์ มากกว่า ซึ่งผมคิดว่าพวกเขาทำได้ดีมากทีเดียว ต้องขอยกความชอบให้พวกเขาล่ะครับ

เล่าเรื่องสนุกๆ ในกองถ่ายให้เราฟังหน่อยสิ

เรื่องหนึ่งที่ผมจำได้เป็นอย่างดีเลยครับ มีช่วงหนึ่งฝนตกหนักมากๆ เราติดอยู่ที่ไหนกันก็ไม่รู้ ปกติเราคงจะถ่ายทำกันต่อใช่มั้ยครับ แต่แล้วลูกเห็บก็ตกลงมา ผมถ่ายวิดีโอติดไว้ด้วย ตกหนักเลย มันจะเริ่มขึ้นทุกวันตอน 5 โมงเย็น เราต้องหยุดถ่ายทำกันไปเลย 2 วันเต็มๆ เพราะว่าพายุลูกเห็บที่ประเทศเม็กซิโกมันรุนแรงมาก ลูกเห็บขนาดใหญ่เท่าลูกกอล์ฟเลยครับ พวกเราหลบอยู่ใต้หลังคา แล้วก็เข้าไปในรถเทรลเลอร์ ลูกเห็บตกลงมาบนหลังคารถเสียงดังมากเลยครับ ผมพยายามจะหลับ แต่ลมมันแรงมาก หลับไม่ลงเลย ผมนี่แบบขอโทษนะครับ ใครขยับรถเหรอครับ ช่วยหยุดสักทีได้มั้ยเนี่ย มันสั่นจนเหมือนกับว่ามีคนมาเขย่ารถไปมา พอผมลองเปิดประตูออกดู ลมก็ตีจนมันเปิดออกกว้างมาก อย่างกับลมพายุที่บ้าระห่ำ ทำเอาผมเปียกโชกเหมือนใครเอาถังน้ำมาคว่ำใส่หัวผมเลยครับ

NARCOS: MEXICO

ฉันเป็นแฟนของ Narcos เลยนะ บอกหน่อยสิว่าฉันคาดหวังอะไรจาก Narcos: Mexico ได้บ้าง

คงไม่ได้มากนะครับ ถ้าเป็นผมจะดูแบบไม่หยุด 3 วันติดเลยครับ ประมาณว่าวันศุกร์ 2 ตอน วันเสาร์ 3 ตอน วันอาทิตย์อีกสัก 4 ตอน ผมคงจะดูจบภายใน 1 สัปดาห์ เพราะผมชอบวิธีการเล่าเรื่อง วิธีการที่พวกเขาตัดต่อและนำเรื่องราวทั้งหมดเข้ามาไว้ด้วยกันเป็นซีรีส์ ตัวบททุกตอนคือเซอร์ไพรส์ดีๆ นี่เองครับ

คุณใช้วิธีการใดในการเข้าถึงตัวละครอย่างเอนริเก มีคอนฟลิกต์เรื่องคุณธรรมใดๆ ในใจหรือเปล่า

ไม่ค่อยเท่าไรครับ ตอนแรกผมไม่ค่อยเข้าใจเท่าไรว่าทำไมเอนริเก (ตัวจริง) ถึงเลือกทำแบบนี้ แต่พอผมได้มีโอกาสคุยกับภรรยาของเขา เธอบอกผมว่าสิ่งที่เอนริเกต้องการทำคือการปราบอาชญากรรม กำจัดพวกคนไม่ดีให้หมดไป มันเหมือนกับเวลาที่เราอยากจะเก็บเงินเข้าบัญชี เราไปธนาคาร เจ้าหน้าที่ก็ช่วยเหลือเรา เหมือนกับพนักงานในร้านอาหารหรือคนขับรถที่ต่างก็ได้ทำหน้าที่ตามอาชีพของตัวเอง สำหรับเอนริเกแล้วการทำตามหน้าที่ก็คือการช่วยเหลือสังคม ปราบอาชญากรรม ไม่ใช่การช่วยเหลือเพียงแค่ตัวเอง แต่รวมถึงสังคมรอบข้างด้วยครับ

NARCOS: MEXICO

บอกอะไรกับแฟนๆ ชาวไทยที่รอซีรีส์เรื่องนี้หน่อยสิ

ก่อนอื่นเลยครับ ผมไม่เคยไปเที่ยวประเทศไทย แต่อยากไปมากๆ เลยครับ ผมชอบดูการต่อสู้ อย่างมวยไทย คุณบัวขาว แฟร์แฟ็กซ์ ผมก็ต่อยมวยบ้างนิดหน่อยนะ แต่คงเทียบไม่ได้กับระดับปรมาจารย์อย่างพวกเขาครับ ผมอ่านเรื่องเกี่ยวกับเมืองไทยเยอะมาก สักวันหนึ่งจะไปให้ได้ครับ ผมตั้งตารอที่จะให้เรื่องออนแอร์ อยากให้ทุกคนได้ดูกัน หวังว่าแฟนๆ ชาวไทยจะชอบกันนะครับ

NARCOS: MEXICO

หล่อให้สุดด้วยชุดสูทสไตล์ต่างๆ ของสายลับ 007

ถามว่าใครคือผู้ชายที่คนทั้งโลกเฝ้าใฝ่ฝันว่าจะเป็น หนึ่งในนั้นย่อมหนีไม่พ้นตัวละครจากนิยายสายลับสุดคลาสสิคอย่างเจมส์ บอนด์ 007 ซึ่งเป็นต้นแบบของชายหนุ่มมาดดี คารมเจ๋ง ฉลาดและแข็งแกร่ง มีเสน่ห์เหลือหลาย แถมยังกระเป๋าหนัก และที่สำคัญพยัคฆ์ร้าย 007 ยังดูดีเสมอในชุดสูทเนี้ยบกริบชนิดที่แผ่รังสีมาแต่ไกล แน่นอนว่าฝ่ายคอสตูมต้องทำการบ้านอย่างหนักเพื่อเลือกเฟ้นชุดสูทที่ใส่แล้ว ‘ส่งเสริม’ คาแร็กเตอร์ ไม่ใช่ทำลาย จึงไม่ผิดนักถ้าเราจะลองทำความรู้จักและเรียนรู้การใส่สูทต่างๆ จากบอนด์

พยัคฆ์ร้าย 007 ปรากฎบนจอหนังครั้งแรกในปี พ.ศ. 2505 โดยใช้ชื่อตอนว่า ‘Dr. No’ ภาพของนักแสดงหนุ่ม (ในตอนนั้น) ฌอน คอนเนอรี ยังตราตรึงในใจทุกคนอยู่ คอนเนอรีในบทบาทสายลับ 007 อยู่ในชุดสูท 3 ชิ้น รวมด้วยโค้ตตัวยาวจาก Anthony Sinclair (แอนโธนี ซินแคลร์) ทั้ง 6 ภาคที่คอนเนอรีแสดงนำ แต่งครบเซตทั้งสปอร์ตแวร์ ดินเนอร์ แจ๊กเก็ต และทักซิโด้

ให้ตายสิ จะมีใครใส่สูทสีขาวกลัดดอกไม้แดงได้เท่เท่าณอนอีก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 จอร์จ ลาเซนบี ปรากฎตัวในตอน ‘On Her Majesty’s Secret Service’ (และกลายเป็นตอนเดียวของเขา) ในชุดสูทของ Dimi Major (ดีมี เมเจอร์) ในสไตล์คลาสสิกอิงลิช ดินเนอร์ แจ๊กเก็ต ลุคเด่นได้แก่ชุดสูทผ้าลินินสีขาวและชุดสูทกระดุม 2 แถว

แม้โผล่มาตอนเดียวแต่ก็ยังไม่ทิ้งมาดสายลับ

 

การมาถึงของโรเจอร์ มัวร์ ในพ.ศ. 2516 กับตอน ‘Live and Let Die’ ก็ถึงตาของ Douglas Hayward (ดักลาส ฮาวาร์ด) ร้านตัดสูทเก่าแก่ของประเทศอังกฤษที่มัวร์มักจะปรากฎตัวในชุดสูท 3 ชิ้น ตัดเย็บจากผ้าขนสัตว์ลายทางทั้งแบบกระดุมแถวเดียวและแบบ 2 แถว รวมถึง Morning Coat ยังไม่นับเนคไทลายทะแยงสลับสีแดงที่แฟนพันธ์แท้ย่อมจำได้ไม่ลืม

หนึ่งในนักแสดงที่ได้รับบทเจมส์ บอนด์ ยาวนานถึง 7 ภาค

 

อีก 2 ปีต่อมา ทิโมธี ดาลตัน ได้รับบทเจมส์ บอนด์ ครั้งแรกในตอน ‘The Living Daylights’ ซึ่งเป็นสายลับเพียงคนเดียว ที่ไม่มีการบันทึกว่าดาลตันใส่ชุดสูทของแบรนด์อะไร แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าทั้ง 2 ตอน ที่ดาลตันแสดงนำ (The Living Daylights และ Licence to Kill) เป็นภาคที่บอนด์แต่งตัวลำลองมากที่สุดแล้ว (ไม่นับทรงผมที่ยุ่งเหยิงตลอดเวลา)

สายลับ 007 ที่ลำลองและผ่อนคลายมากที่สุด

เมื่อ เพียร์ซ บรอสแนน มารับบทสายลับใน ‘Golden Eyes’ ปีพ.ศ. 2538 บรอสแนนปรากฎตัวในชุดสูทคัตติ้งคมกริบของ Brioni (บริโอนี) ไม่ว่าจะชุดสูท 3 ชิ้น แจ๊กเก็ตตัวยาว แจ๊กเก็ตกระดุม 2 แถว ปกสไตล์ Peaked Lapels ทักซิโด้ รวมไปถึงสูทผ้าลินินในตอน ‘Die Another Day’ ส่วนตอนสุดท้ายของบรอสแมนอย่าง ‘The World Is Not Enough’ ก็ได้ชื่อว่าเป็นเจมส์ บอนด์ที่แต่งตัวดีที่สุด

เจมส์ บอนด์ ภาคนี้ได้รับการขนานามว่าแต่งตัวดีที่สุด

เจมส์ บอนด์คนล่าสุดได้แก่ แดเนียล เคร็ก ปรากฎตัวในชุดสูทของบริโอนีใน ‘Casino Royale’ ปี พ.ศ. 2549 เพียงตอนเดียว หลังจากนั้น บอนด์คนล่าสุดก็เปลี่ยนไปสวมชุดสูทของ Tom Ford (ทอม ฟอร์ด) ในแทบทุกภาค ไม่ว่าจะแจ๊กเก็ตทรง Regency กระดุม 2 เม็ด หรือแจ๊กเก็ตทรง O’ Connor กระดุม 3 เม็ด ที่ทอม ฟอร์ด ดูแลลุคให้ตั้งแต่หัวจรดเท้า

เมื่อทอม ฟอร์ด เริ่มเข้ามาคุมเจมส์ บอนด์ตั้งแต่หัวจรดปลายเท้า

คุยกับเลียม นีสัน ในวัย 65 ปีที่ยังคงบู๊ไม่เลิก

ไม่มีคำว่าแก่เกินสำหรับพระเอกบู๊ตลอดกาลอย่าง เลียม นีสัน แม้ครั้งหนึ่งเขาจะเคยร่ำๆ ว่าอายุอานามขนาดนี้จะให้บู๊ต่อไปคงไม่ไหว แต่สุดท้ายเลียมก็กลับมาอีกครั้งจนได้ในภาพยนต์แอ็คชั่นทริลเลอร์เรื่องล่าสุด ที่เขาเผยว่าเทียบเคียงกับผลงานสุดคลาสสิคของปรมาจารย์ฮิทช์ค็อกอย่าง Strangers on a Train หรือ North by Northwest

ตัวละครของคุณ ไมเคิล แม็คเคาเลย์ เขาเป็นใคร?

นีสัน:   ไมเคิล แม็คเคาเลย์ เป็นผู้จัดการระดับกลางของบริษัทประกันโนเนมแห่งหนึ่ง เขาอาศัยอยู่กับภรรยาและลูกชายที่เวสต์เชสเตอร์ในรัฐนิวยอร์ก เช่นเดียวกับแฟมิลี่แมนทำงานหนักทั่วไป เขากำลังเจอปัญหาด้านการเงิน ชักหน้าไม่ถึงหลัง ใช้ชีวิตเดือนต่อเดือน ลูกชายเขากำลังจะเข้ามหาลัยและภรรยาเขาไม่รู้เลยว่า ภาวะการเงินของครอบครัวกำลังถึงจุดวิกฤต

วันหนึ่งสถานการณ์ของเขาต้องแย่ลงไปอีกเมื่อเขาโดนไล่ออก เขาไม่รู้ว่าจะบอกเมียยังไง แถมยังขาดส่งบ้านไปสองงวด หลังจากดื่มที่บาร์แถวบ้านร่วมกับเพื่อนเก่าตอนเป็นตำรวจ เขาตัดใจนั่งรถไฟกลับบ้านไปสารภาพกับเมียและลูกชายที่กำลังจะไปเรียนต่อว่าเขาไม่เหลือเงินอีกแล้ว ในขบวนรถไฟนั้นเองที่หญิงสาวปริศนานั่งตรงข้ามเขาถามเขาว่า ‘จะลองทำอะไรนิดหน่อยเพื่อเงินหนึ่งแสนเหรียญไหมล่ะ’

เขาไม่แน่ใจแต่ผู้คนนั้นก็จูงใจเขาด้วยการให้เขาไปหากระเป่าที่มีเงินสองหมื่นห้าพันเหรียญอัดอยู่ข้างใน ในที่สุดเขาก็เจอเงินซึ่งนั่นจุดชนวนทุกอย่างขึ้น”

The Commuter เป็นผลงานอันดับที่สี่ของคุณกับผู้กำกับฯ โจเม่ คอลเลต-เซอร์ร่า การทำงานกับเขาเป็นอย่างไรบ้าง?

นีสัน: ผมชอบทำงานกับโจเม่ ผมรู้จักเขามา 6-7 ปีแล้วตอนที่เล่น Unknown เราเข้ากันได้ดีทันที เราไม่ต้องวิเคราะห์บทลึกเกินไป เราแค่ทำงานเข้าขากันจนสนิทกันมากขึ้น เขาทำให้งานของผมง่ายขึ้นเยอะและเขาก็บอกว่าผมทำให้งานของเขาง่ายขึ้นเหมือนกัน ซึ่งผมถือเป็นคำชมที่น่าภูมิใจมากเลยนะ โจเม่เป็นนักทำหนังตัวจริง เขาคิดถึงภาพรวมของงานเสมอว่ามันจะมุ่งหน้าไปทางไหน เขากิน ดื่ม นอน เป็นหนัง เขารู้ดีว่าควรทำให้แต่ละซีนออกมายังไง เขาทำให้ผมนึกถึง สตีเว่น สปีลเบิร์ก ผมเชื่อใจเขา เขาเป็นคนที่พิเศษมากๆ

ช่วยพูดถึง เวร่า ฟาร์มิกา หน่อยในการที่เธอรับบทเป็น โจอันนา ผู้กุมปริศนาของเรื่องไว้

นีสัน: เวร่า เล่นเป็นตัวละครที่มีความลึกลับ เธอเองเป็นนักแสดงที่เก่งมาก คุณเดาไม่ออกเลยว่าเธอจะถ่ายทอดมันออกมายังไง เธอเป็นตำรวจ? เธอเป็นเอฟบีไอ? เป็นตัวร้ายหรือไม่? เธอเป็นนักแสดงหญิงที่ผมอยากร่วมงานด้วยมาตลอด

 

                                                                                                  เวร่า ฟาร์มิกา เคยถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสก้าส์จาก Up in the Air และ The Conjuring

ได้ยินว่าทีมงานจำลองรถไฟขึ้นมาทั้งขบวนเพื่อใช้ถ่ายทำเรื่องนี้โดยเฉพาะ มันเหมือนจริงแค่ไหน?

นีสัน: รถไฟในเรื่องวิ่งผ่านบ้านผมในตอนบนของนิวยอร์ก ผมเองเคยนั่งขบวนนี้หลายครั้งตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ฉากของเรามันมีความยาวแค่โบกี้ครึ่งเท่านั้น ทำให้การถ่ายทำทุกวันค่อนข้างซับซ้อน มันต้องใช้แทนทุกโบกี้ในรถไฟ ปรับเปลี่ยนไปตามที่ควรจะเป็น ฉากสถานีที่ต้องเปลี่ยนไปทุกครั้งที่รถไฟหยุด ผมคุ้นเคยกับมันมาก ผมไม่รู้ว่าพวกเขาทำได้ยังไง แต่ฝ่ายศิลป์ของเราทำงานได้สุดยอดมาก แม้แต่รายละเอียดเล็กๆ อย่างกล่องมันบดแม็คโดนัลด์ที่ล้นมาจากทั้งขยะ

 

แม้ว่าคุณจะอายุ 60 กว่าแล้ว แต่ลีลาการบู๊ของคุณไม่ได้จืดจางไปตามวัยเลย คุณมีวิธีเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

นีสัน: ผมชอบการต่อสู้นะ ผมซ้อมกับมาร์คและทีมสตั๊นท์ คุณต้องซ้อมนะ ไม่งั้นคุณอาจจะเจ็บตัวได้ มันสนุกจริงๆ นะ แต่มันต้องอาศัยความฟิตพอสมควรเลยทีเดียว ผมเข้ายิมออกกำลังกาย 45 นาทีทุกเช้าก่อนมากองถ่าย

        ผู้กำกับฯ เรื่องนี้ขึ้นชื่อเรื่องการทำหนังให้ระทึกแม้อยู่ในพื้นที่จำกัด จึงไม่น่าแปลกใจที่หนังทั้งเรื่องจะถ่ายทำแต่ในโบกี้รถไฟ 

10 เหตุการณ์น่าจดจำตลอดกาลในเทศกาลหนังคานส์

1.เจ้าหญิงเกรซพบกับเจ้าชาย Rainier ที่ 3
ในฤดูร้อนปี 1954 เกรซ เคลลี่เข้าพักที่โรงแรมคาร์ลตัน กับ Cary Grant และ Hitchcock ระหว่างที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง ’To Catch a Thief’ และในช่วงนั้นในเดือนพฤษภาคมเธอต้องไปเป็นตัวแทนสมาคมภาพยนตร์แห่งเอเมริกาที่เมืองคานส์ และที่แห่งนี้นี่เองที่เกรซ เคลลี่ได้พบกับเจ้าชายที่ 3 แห่งโมนาโก เป็นครั้งแรก ในปี 1955 และหลังจากนั้นเธอก็ไม่เคยปรากฏตัวในภาพยนตร์อีกเลย

10

 

2.เมื่อเจ้าชายชาล์สและเจ้าหญิงไดอาน่าปรากฏตัว
เพราะเมื่อทันทีที่เจ้าชายชาล์สและเจ้าหญิงไดอาน่าปรากฏตัวเพื่อเป็นเกียรติในให้กับ ‘British Film Day’ ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ในปี 1987 ที่สายตาก็พร้อมจับจ้องไปที่ทั้งคู่ เจ้าชายชาล์สได้พูดถึงการไปเยือน Pinewood Studios เมื่อยังทรงพระเยาว์ที่เคียงข้างกับเจ้าหญิงไดอาน่าในชุดราตรีผ้าชีฟองสีฟ้าที่กลบรัศมีของทุกคนในบริเวณนั้น

9

 

3.มาดอนน่ากับชุดชั้นในจาก Jean Paul Gaultier
ในปี 1991 มาดอนน่าปรากฏตัวพร้อมกับชุดชั้นในซาตินทรงกรวยแหลมสีขาวที่เป็นอีกหนึ่งไอคอนนิคตลอดกาลจาก Jean Paul Gaultier ในภาพยนตร์สารคดีรอบปฐมทัศน์ของผู้กำกับ Alek Keshishian ที่เกี่ยวชีวประประวัติของมาดอนน่า ‘Madonna: Truth or Dare’

8

 

4.สุดยอดงานอาฟเตอร์ปาร์ตี้ในเทศกาลหนังเมืองคานส์
ในปี 2001 Baz Luhrmann เปิดตัวภาพยนตร์เรื่อง ‘Moulin Rouge’ พร้อมกับเป็นแม่ทัพในการจัดงานเลี้ยงอาฟเตอร์ปาร์ตี้ในครั้งนั้น ซึ่งแน่นอนว่ายกกองทัพเหล่าบรรดานักเต้นมูแรง รูจและออรินัลซาวแทร็คในภาพยนตร์มาเต็มพิกัด นั้นยังไม่นับรวมดีเจดังอย่าง Fat Boy Slim ตามด้วยนิโคล คิดแมนที่กระโดดเข้าร่วมขึ้นบูธดีเจ และนั้นก็เพียงพอที่ทำให้ค่ำคืนนั้นเป็นที่น่าจดจำมากที่สุดอีกหนึ่งคืน

 

5.ภาพยนตร์ที่ช็อคคนดูจนมีคนเดินออกและได้รับเสียงโห่
เชื่อว่าคานส์คือหนึ่งในเทศกาลหนังที่คนดูสามารถมีปฏิกิริยากับตัวหนังที่เรียกได้ว่า ‘มันส์’ ที่สุดเทศกาลหนึ่ง และ ‘Irreversible’ ก็ทำมันได้ในรอบปฐมทัศน์เริ่มตั้งแต่ฉากแรกที่แสดงถึงความรุนแรง ฉากข่มขื่นทางประตูหลังล องช็อตที่แสดงโดยโมนิก้า เบลลูชี่ ที่นานกว่า 10 นาที นั้นก้เพียงพอที่จะทำให้คนดูเดินออกจากโรงแทบทั้งหมดได้ (ส่วนตัวผู้เขียน ‘Irreversible’ เป็นหนังในดวงใจอีก 1 เรื่อง)

6

 

6.เรื่องราวโรแมนติกระหว่างไรอัน กลอสลิ่งกับ นิโคลัส ไวดิง รีฟิน
รสจูบสุดดูดดื่มของเขาทั้งคู่เกิดขึ้นในปี 2011 ระหว่างการเข้าฉายหนังรอบปฐมทัศน์เรื่อง ‘Drive’ ท่ามกลางสายตาของคนทั่วทั้งโลก โดย นิโคลัส วินดิ้ง เรฟเฟน คือผู้อำนวยการสร้างและผู้กำกับหนังเรื่องนี้นั้นเอง ส่วนจูบนั้นก็เป็นรางวัลที่ ไรอัน กลอสลิ่ง มอบให้กับนิโคลัสในฐานะที่เขาได้รับรางวัล Best Director (ผู้กำกับยอดเยี่ยม)

5

 

7.ปัญหาระหว่าง Netflix กับ เทศกาลหนังเมืองคานส์
ล่าสุดในปี 2017 นี้ Netflix ผู้ให้บริการวีดีโอสตรีมมิงชื่อดังจากอเมริกาได้เข้าชิงรางวัล แต่ก็อาจเป็นปีแรกและปีสุดท้ายด้วย เนื่องจาก Netflix ต้องเปลี่ยนนโยบายให้หนังของตัวเองเข้าฉายในโรงภาพบยตร์ด้วยแทนที่จะให้สมาชิกชมอยู่บ้านเพียงอย่างเดียว และตั้งกฎชัดเจนว่า ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไปภาพยนตร์ทุกเรื่องที่ต้องการร่วมแข่งขันในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ จะต้องเข้าฉายในโรงภาพยนตร์เท่านั้น

4

 

8.Olivia de Havilland ผู้หญิงคนแรกที่ขึ้นเป็นประธานตัดสินรางวัลเทศกาลหนังเมืองคานส์
นักแสดงหญิงชาวอังกฤษผู้นี้ก้าวขึ้นเป็นประธานกรรมการตัดสินรางวัลสำหรับเทศกาลหนังเมืองคานส์ในปี 1965 ซึ่งถือว่าสถานการณ์ ณ ตอนนั้นไม่ธรรมดาอย่างยิ่งสำหรับการก้าวขึ้นเป็นผู้ตัดสินเหนือเหล่ากรรมการคนอื่นที่เป็นสุภาพบุรุษ ซึ่งในขนาดนั้นมีหนังร่วมเข้าชิงทั้งหมด 26 เรื่อง และเธอกล่าวไว้ว่า “การขึ้นเป็นประธานในคณะลูกขุนชายทั้งหมดเป็นประสบการณ์ที่น่ารื่นรมย์ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นความรับผิดชอบที่น่ากลัว”

3

 

9.Milla Jovovich กับการเดินพรมแดงเปิดตัวภาพยนตร์เรื่อง ‘The Fifth Element
ในปี 1997 Milla Jovovich ควงคู่มากับ Luc Besson ผู้กำกับในพรมแดงเรียกแสงเฟลสจากเหล่าบรรดาช่างภาพได้อย่างล้นหลามกับชุดที่เรียกได้ว่ากึ่งเปลือยของเธอ ซึ่งเบื้องหลังก่อนเดินเข้างานไม่กี่นาทีชุดร้อยลูกปัดคริสตัลของเธอก็เกิดพังทลายขึ้นมา และเป็นช่วงเวลาที่เธอไม่สามารถถอยหลังกลับได้แล้ว แต่แล้วก็ได้เดมี่ มัวร์ นักแสดงสาวที่เดินมาพร้อมกันได้นำชุดเย็บผ้าเล็กๆ ที่ติดหยิบติดมาจากโรงแรมช่วยซ่อมเธอไว้ได้อย่างรวดเร็ว และชุดสวยที่เราเห็นนั้นใครจะคิดว่าเป็นฝีมือการออกแบบของเดมี่ มัวร์ นั่นเอง

French film director Luc Besson, left, arrives with U.S. actress Milla Jovovich and U.S. actor Chris Tucker at the Cannes Film Festival Palace in Cannes, France, Wednesday May 7, 1997 for the screening of Luc Besson's movie "The Fifth Element." Besson's film is being shown out of competition at the 50th International film festival. (AP Photo/Remy de la Mauviniere)

10.สงครามโลกครั้งที่สองทำให้เทศกาลหนังครั้งแรกเกิดขึ้นไม่ได้
เชื่อหรือไม่ว่างานเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์นี้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสองอาทิตย์ของเดือนกันยายน 1939 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อต่อกรกับเทศกาลภาพยนตร์เมืองเวนิสที่ถูกลัทธิฟาสซิสต์เข้าครอบงำอย่างเต็มตัวไปแล้ว โดยงานวันเปิดเทศกาล พวกเขาจัดฉายภาพยนตร์เรื่อง The Hunchback of Notre Dame โดยจัดฉากริมทะเลเป็นโบสถ์นอร์เธอร์ดาม แต่ฮิตเลอร์ตัดสินใจบุกโปแลนด์ในวันเปิดงานพอดี ดังนั้น Hunchback จึงเป็นภาพยนตร์เรื่องเดียวที่ได้ฉาย เพราะเทศกาลทั้งหมดถูกยกเลิกทันที ซึ่งพวกเขาไม่ได้กลับมาฉายอีกจนกระทั่งอีก 7 ปีถัดมาในค.ศ. 1946 หรือหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ

1

อย่างไรก็ดี … ในคืนเปิดงานเดือนกันยายน 1946 (ตอนนั้นเทศกาลนี้ชื่อว่า Grand Prix International du Festival) ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Berlin จากสหภาพโซเวียตฉายเปิดนิทรรศการ แต่ก็เกิดอาเพศว่าโปรเจ็กเตอร์เสีย ไฟดับทั้งเทศกาล นอกจากนั้น ม้วนภาพยนตร์เรื่อง Notorious ของเสด็จพ่อฮิทช์ฮ็อค (Alfred Hitchcock) พังก่อนงานประกวด ทำให้ภาพยนตร์ไม่ได้เข้าชิงในเทศกาลไปโดยปริยาย

ก็ยังรอดมาได้จนครบ 78 ปีในปีนี้เนอะ!!!!

9 ภาพยนตร์ที่ทำออกมาแล้ว(เราคิดว่า)ดีกว่าหนังสือ

ภาพยนตร์ที่เรายกๆ มานี่ส่วนมากจะขึ้นหิ้ง ‘คลาสสิก’ ในวงการภาพยนตร์ (แหงสิ!!) ซึ่งก็แอบไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมหนังสือถึงสู้ไม่ได้ ก็ถ้าจะพูดกันจริงๆ อารมณ์ด้านภาพที่ตัวอักษรไม่สามารถบรรยายได้เทียบเทียมนี่เป็นข้อได้เปรียบเสียจริง

JurassicPark.jpg

1. Jurassic Park
กำกับ: Steven Spielberg
เขียนบท: Michael Crichton และ David Koepp
หนังสือ: Jurassic Park (1990) เขียนโดย Michael Crichton
เราว่าดีกว่าเพราะ: ขอบอกว่าตอนที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกมาใหม่ๆ นี่ ดังระเบิดชนิดที่เด็กรุ่นใหม่จินตนาการไม่ออกแน่ๆ ว่ามันจะอะไรกันนักกันหนา (แต่มันก็ดังยาวนานมาจนบัดนี้ล่ะนะ) ขนาดเรานับถือจินตนาการของไครช์ตันในการสร้างเรื่องราวแบบนี้ออกมาแล้ว แต่บอกเลยว่าทีมภาพยนตร์สามารถสร้างไดโนเสาร์ทั้งตัวออกมาโลดแล่นบนจอได้แบบนั้น เอามงไปเลยดีกว่า!

FightClub.jpg

2. Fight Club (1999)
กำกับ: David Fincher
เขียนบท: Jim Uhls
หนังสือ: Fight Club (1996) เขียนโดย Chuck Palahniuk
เราว่าดีกว่าเพราะ: ตัวผู้เขียนหนังสือคอนเฟิร์มเองเลยจ้า เขาเคยให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อภาพยนตร์ออกมานั้น มันทำให้หนังสือกลายเป็น ‘เรื่องน่าอับกายที่ถูกตีพิมพ์’ อาจจะเพราะการถ่ายทอดอารมณ์ของตัวละคร รวมไปถึงการขยี้ปมความสัมพันธ์ของตัวเองอย่างตั้งใจ (และดันทำออกมาดี) ทำให้เราหลงรักภาพยนตร์จนเกือบจะลืมไปว่า เฮ้ย … มันเคยเป็นหนังสือนี่นา

Godfather.jpg

3. The Godfather (1972)
กำกับ: Francis Ford Coppola
เขียนบท: Mario Puzo และ Francis Ford Coppola
หนังสือ: The Godfather (1969) เขียนโดย Mario Puzo
เราว่าดีกว่าเพราะ: ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ดีที่สุดตลอดกาลมาแล้ว ดังนั้น เมื่อเทียบกับนวนิยาย ‘ธรรมดา’ แล้ว การที่คอปโปลาเข้ามามีบทบาทในศิลปะภาพยนตร์นี่ทำให้พูโซ่ควรจะกราบเขาเลยก็ว่าได้ ที่ทำให้ตัวละครทั้งหลายกลายเป็นอมตะบนแผ่นฟิล์ม แทนที่จะถูกลืมเลือนไปกับหน้ากระดาษ

The shark claims a victim on set of the film 'Jaws', 1975. (Photo by Universal/Getty Images)

4. Jaws (1975)
กำกับ: Steven Spielberg
เขียนบท: Peter Benchley และ Carl Gottlieb
หนังสือ: Jaws (1974) เขียนโดย Peter Benchley
เราว่าดีกว่าเพราะ: เอาเป็นว่าใครจำเพลงหลักของภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้บ้าง? บอกเลยว่านวนิยายเรื่องนี้เป็นแค่ทริลเลอร์เบๆ ในขณะที่ภาพยนตร์สามารถถ่ายทอดความน่าสะพรึงของปลาฉลามได้ออกมาโดยไม่ต้องมีภาพรุนแรง และตัวละครอื่นๆ ก็สามารถทำให้ผู้ชมอินไปได้กับภาพยนตร์ได้จริงๆ

Tim Robbins and Morgan Freeman sitting outside on the benches playing checkers and talking in a scene from the film 'The Shawshank Redemption', 1994. (Photo by Castle Rock Entertainment/Getty Images)

5. The Shawshank Redemption (1994)
กำกับ: Frank Darabont
เขียนบท: Frank Darabont
หนังสือ: Rita Hayworth และ Shawshank Redemption เขียนโดย Stphen King
เราว่าดีกว่าเพราะ: ซีรีส์นิยายของคิงนั้นเทียบอะไรไม่ได้เลยกับความลึก และนำหนักแห่งความรวดร้าวที่ตัวละครต้องเผชิญในภาพยนตร์ ยอมรับเถอนะคิง ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้กลายมาเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ดีที่สุดตลอดกาล ในขณะที่ซีรีส์ชุดนี้กลับเป็นหนังสือที่จิ๊บจ้อยและแทบจะไม่เคยถูกพูดถึงเลย เสียใจด้วยนะ

Psycho

6. Psycho (1960)
กำกับ: Alfred Hitchcock
เขียนบท: Joseph Stefano
หนังสือ: Psycho (1959) เขียนโดย Robert Bloch
เราว่าดีกว่าเพราะ: เรื่องแรกเลยนะ ภาพยนตร์ใช้การดำเนินเรื่องผ่านสายตาของ Marion Crane แทนที่จะเป็น Norman Bates และใช้ความตายของเธอมาสร้างความน่าติดตามให้กับภาพยนตร์แบบที่หนังสือตามไม่ติด … นี่ยังไม่นับถึงฉากสุดคลาสสิกหลายฉาก และแววตาอันแสนโรคจิตของ Anthony Perkins ที่รับบทนอร์แมนอีกด้วยนะ

ClockworkOrange.jpg

7. A Clockwork Orange (1971)
กำกับ: Stanley Kubrick
เขียนบท: Stanley Kubrick
หนังสือ: A Clockwork Orange (1962) เขียนโดย Anthony Burgess
เราว่าดีกว่าเพราะ: ตัวผู้กำกับล้วนๆ เลยขอบอก!!! ลายเซ็นอันโด่งดังและมุมมองสุดคัลท์ของคูบริกทำให้ภาพยนตร์ของเขาชนะเลิศอยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว นี่พอมาดัดแปลงตอนจบของนิยายให้ยิ่งดาร์ก แต่สมเหตุสมผลในแบบของมันอีกนี่ยิ่งขยี้ให้หนังสือถูกลืมไปได้ง่ายๆ เลย

OneFlewOvertheCuckoo_sNest.jpg

8. One Flew Over the Cuckoo’s Nest (1975)
กำกับ: Miloš Forman
เขียนบท: Laurence Hauben และ Bo Goldman
หนังสือ: One Flew Over the Cuckoo’s Nest (1962) เขียนโดย Ken Kesey
เราว่าดีกว่าเพราะ: อันนี้เราบอกเลยว่า เรายกเครดิตให้ Jack Nicholson เต็มๆ คนอะไรแสดงได้ ‘บ้า’ ขนาดนั้น และการที่ผู้กำกับเลือกการดำเนินเรื่องผ่านตัวละครของนิโคลสัน แทนที่จะเป็นจากฝั่งผู้คุม ก็ยิ่งทำให้เนื้อเรื่องเข้มข้นและ ‘บ้า’ มากพอที่จะติดอันดับภาพยนตร์ที่ดีที่สุดตลอดกาลไปได้ง่ายๆ

TheShining copy

9. The Shining (1980)
กำกับ: Stanley Kubrick
เขียนบท: Stanley Kubrick และ Diane Johnson
หนังสือ: The Shining (1977) เขียนโดย Stephen King
เราว่าดีกว่าเพราะ: อันนี้เรายกให้ทั้งฝีมือของคูบริกและนิโคลสันผสมกันเลย เราแอบรู้มาว่าคิง นักเขียนไม่ ‘ปลื้ม’ กับการตีความของผู้กำกับสักเท่าไหร่ เพราะเขาเลี่ยงที่จะพูดถึงเรื่องเหนือจริงไปเลย แต่ขอบอกนะว่า ตอนที่แจ๊ก (ตัวละครนำ) เกิดอาการจิตแตกขึ้นมานี่ ฝีมือการเขียนของคิงนี่สู้ฝีมือการกำกับและการเล่นของฝ่ายภาพยนตร์ไม่ได้เลยเถอะ

8 หนังที่ไม่ควรมีภาคต่อ

ภาพยนตร์หลายเรื่องโด่งดังเป็นพลุแตกเมื่อเปิดตัวด้วยความแปลกใหม่ในเนื้อหา เทคนิคการถ่ายทำ วิธีการเล่าเรื่อง หรือความว้าวอะไรบางอย่างในเนื้อเรื่องจนทำรายได้ถล่มทลาย มีแฟนๆ ติดตามเหนียวแน่น จนกระทั่งสตูดิโอผู้สร้างเห็นช่องทางทำมาหาเงินอย่างเป็นล่ำเป็นสัน จึงเข็นภาคสองออกมาเพราะเห็นว่ามีกลุ่มแฟนพันธุ์แท้อยู่แล้ว ไม่ต้องทำการตลาดมาก และไม่ต้องเสี่ยงหากลุ่มแฟนๆ กลุ่มใหม่ แต่เป็นที่น่าแปลกใจ (แต่ก็ไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่หรอก เอาเข้าจริง) ที่รายได้ของภาพยนตร์ภาคต่อหลายต่อหลายภาคเข้าขั้น “แป้ก” พ่วงด้วยเสียงก่นด่าสรรเสริญเยินยอของแฟนพันธุ์แท้ของภาพยนตร์นั้นๆ เรามาสำรวจกันดีกว่าภาพยนตร์เรื่องไหนควรที่จะหยุดการสร้างไว้ตั้งแต่ภาคแรก เพื่อยกให้กลายเป็นตำนานของวงการไปยาวๆ

1 Now You See Me (2013)

Now-You-See-Me-1-DI
เปิดตัวได้แบบว้าวสุดๆ กับภาพยนตร์มายากลสุดล้ำว่าด้วยการหักเหลี่ยมเฉือนคมกันระหว่างนักมายากลผู้ยิ่งใหญ่สองคน โดยมีการเปิดและปิดฉากภาพยนตร์ด้วยฉากกลสุดว้าวที่ทำให้คนดูต้องตื่นตะลึง ถือเป็นภาพยนตร์ว่าด้วยเรื่องมายากลที่ทำได้ดีอันดับต้นๆ ของภาพยนตร์แนวนี้ ดังนั้น เมื่อมันมีภาคสองอย่าง Now You See Me 2 (2016) กลฟินาเล่ของภาคสองจึงไม่สามารถสร้างปรากฏการณ์ “ว้าว” ให้กับคนดูได้เท่ากับภาคแรก และนี่ยังไม่รวมถึงเนื้อเรื่องหลักที่อาศัย “ความเป็นไปไม่ได้” เป็นเรื่องหลักโดยเน้นหนักยิ่งกว่าภาคแรก บอกได้คำเดียวว่า ความตื่นตะลึงที่คุณเคยสัมผัสจากภาคแรกนั้นจืดจางหายไปโดยสิ้นเชิง

2 Independence Day (1996)

Independence-Day-ไอดี-4-สงครามวันดับโลก
ถือเป็นภาพยนตร์เอเลี่ยนไซไฟยุคแรกๆ ของวงการ ซึ่งก็สร้างปรากฏการณ์เอเลี่ยนฟีเวอร์ไปทั่วโลก ณ เวลานั้น ทั้งฉากบุกโลกอันน่าตื่นตะลึง ภาพความประทับใจของฮีโร่ผู้เสียสละเพื่อปกป้องโลก เป็นภาพยนตร์ยุคแรกๆ ที่ทำให้เราคิดได้ว่า “ใครก็เป็นฮีโร่ได้” ถือว่าเป็นการทิ้งท้ายความประทับใจในวัยเด็กของใครหลายๆ คนได้ดี และเมื่อภาคใหม่ Independence Day: Resurgence (2016) นั้นเลือกที่จะดำเนินรอยตามสูตรเดิมเป๊ะๆ แบบยี่สิบปีผ่านไปไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง พูดกันตรงๆ ว่าถ้าดูย้อนอดีต ระลึกถึงวัยเยาว์ แบบเห็นตัวละครภาคแรกเติบโตขึ้น แก่ลง และล้มหายตายจากไป ก็คงจะเป็นหนังที่ดูเพลินๆ สนุกดี แต่เราก็แอบเสียดายเบาๆ ว่า ถ้าปล่อยให้ความทรงจำมันถูกแช่แข็งอยู่แบบนั้นบางทีมันอาจจะดีกว่าก็ได้

3 Psycho (1960)

norman-smiling-in-the-last-scence

ภาพยนตร์สุดโรคจิตของผู้กำกับไอคอนแห่งวงการอย่างอัลเฟรด ฮิทช์คอกที่ส่งให้แอนโธนี เพอร์คินส์ดังเปรี้ยงปร้างจากบทนอร์แมน เบทส์กับภาพลักษณ์สุดโรคจิต พร้อมฉากชวนสยองตอนจบที่กลายเป็นภาพจำถาวรของวงการภาพยนตร์ฮอลลีวูดไปแล้ว และเราเห็นตรงกันใช่ไหมว่า Psycho ภาคอื่นๆ ที่ตามมาหลังจากนั้น ไม่มีใครจดจำอะไรจากมันได้เลย แต่แฟรนช์ชายส์นี้อาจจะมาแก้ตัวได้นิดหนึ่งจากซีรีส์ชุด Bates Motel ที่ได้ดาราเจ้าบทบาทอย่างเฟรดดี้ ไฮมอร์มาสวมบทเป็นนอร์แมน เบตส์ตอนเด็กช่วงเวลาก่อนที่เขาจะกลายมาเป็นพระเอกในภาพยนตร์ในตำนาน แต่ก็อย่างว่า … ปล่อยไว้เป็นตำนานอาจจะดีกว่าก็ได้นะ เราว่า

4 Jurassic Park (1993)

jurassic-park-1993.15098
ปฏิเสธไม่ได้เลยกับมาสเตอร์พีซระดับตำนานของพ่อมดแห่งวงการฮอลลีวูดที่ปลุกไดโนเสาร์ขึ้นมาเดินโลดแล่นบนจอภาพยนตร์พร้อมด้วยเนื้อเรื่องสุดบรรเจิดอย่างสวนสัตว์ไดโนเสาร์ ซึ่งจูราสสิค ปาร์คนั้นขึ้นหิ้งไปอย่างไม่ต้องสงสัยทั้งเรื่องเทคนิคการถ่ายทำ เทคนิคซีจี การดำเนินเรื่องที่ตื่นเต้นเร้าใจ โอเค … เรายอมรับว่าเนื้อเรื่องและวัตถุดิบมันน่าจะเอาออกมาสร้างภาคแล้วภาคเล่าก็จริงอยู่ แต่เราก็ยังแอบเสียดายทุกครั้งที่เห็นจูราสสิคแฟรนไชส์ยุคหลังๆ ที่ออกมากี่ภาคต่อกี่ภาคก็ไม่ยักจะสนุกและน่าตื่นเต้นได้เท่ากับภาคแรกเลย

5 Zoolander (2001)

zoolander
ภาพยนตร์สุดฮาแบบฉุดไม่อยู่เรื่องนี้คงทำให้หลายต่อหลายคนหัวเราะท้องคัดท้อแข็งกันมาแล้ว แต่เราเชื่ออย่างหนึ่งนะ คุณลองเปิดดูครั้งที่สองสิ คุณคิดว่ามันจะขำเท่ากับครั้งแรกไหม … มันก็เหตุผลเดียวกับความแป้กของ Zoolander 2 (2016) นั่นล่ะ มันคือมุกที่เราเคยขำ เมื่อมันมารีรันซ้ำ ไอ้ที่เคยขำ มันก็ฝืด มุกใหม่ๆ ก็ใช่ว่าจะมี ถือเป็นภาพยนตร์คอมเมอดี้ที่เราแอบเสียใจจริงๆ ที่มีภาคสอง

6 The Hangover (2009)

(L-r) ZACH GALIFIANAKIS as Alan holds Baby Tyler, BRADLEY COOPER as Phil and ED HELMS as Stu in Warner Bros. Pictures’ and Legendary Pictures’ comedy “The Hangover,” distributed by Warner Bros. Pictures. PHOTOGRAPHS TO BE USED SOLELY FOR ADVERTISING, PROMOTION, PUBLICITY OR REVIEWS OF THIS SPECIFIC MOTION PICTURE AND TO REMAIN THE PROPERTY OF THE STUDIO. NOT FOR SALE OR REDISTRIBUTION.

แกงค์เพื่อนซี้สุดป่วนทำเรารักได้ไม่ยากจากปาร์ตี้สุดโฉดในภาคแรกและความเละเทะหยำเปของพวกเขา พฤติกรรมแบบนี้ทำเราอินได้ง่ายๆ เพราะเชื่อเถอะว่า หนุ่มๆ ลอปติมัมก็ล้วนแล้วแต่เคยผ่านประสบการณ์สุดๆ แบบนี้กันมาบ้างไม่มากก็น้อย แต่ก็อย่างว่า … อะไรที่มันมากไปก็ใช่ว่าจะดี The Hangover Part II (2001) และ The Hangover Part III (2013) ก็ดำเนินรอยตามสูตรเดิมเป๊ะๆ เปลี่ยนแค่เวลาและสถานที่ … เหมือนกับกินเหล้าเดิมในขวดเดิมเสียด้วยซ้ำ ถ้าปล่อยให้ความเรื้อนของแกงค์เพื่อนซี้ไว้ให้เป็นตำนานต่อไป จะดีกว่าหรือเปล่า เราแอบสงสัย

7 The Blair Witch Project (1999)

the-blair-witch-project
ภาพยนตร์ว่าด้วยเรื่องแม่มดถ่ายทำด้วยกล้องมือถือด้วยมุมมองที่แหวกแนว ลงทุนต่ำเรื่องนี้ได้รับการตอบรับอย่างถล่มทลายเพราะเทคนิคการถ่ายทำและการนำเสนอที่ถือว่าล้ำมากในขณะนั้น ถือเป็นภาพยนตร์สยองขวัญอินดี้ที่จับตลาดวงกว้างได้อย่างพลิกความคาดหมาย มันจึงเกิดปรากฏการณ์ Blair Witch หรือปรากฏการณ์กล้องส่ายกันทั่วบ้านทั่วเมือง และนั่นก็ทำให้ Book of Shadows: Blair Witch 2 (2000) ออกมาแป้กสนิท เพราะเหตุผลเหมือนที่กล่าวมา คือมุกเดิมๆ ที่ไม่สามารถสร้างความว้าวได้เท่ากับภาคแรกแล้วนั่นเอง และแว่วมาว่าตอนนี้กำลังจะมี The Blair Witch Project III ออกมาอีกด้วยนะ … พอเถอะ … เราแอบขอร้องดังๆ

8 Finding Nemo (2003)

finding-nemo-large-picture
ภาพยนตร์สุดน่ารักสำหรับเด็กน้อยเรื่องนี้หลุดเข้ามาติดโผเราด้วยก็เพราะว่า ภาคแรกนั้นให้ความอบอุ่นในใจได้อย่างครบถ้วน มันเป็นภาพยนตร์ที่น่ารัก น่าเอ็นดู และทำให้เราลุ้นไปกับชะตากรรมของเจ้านีโม่ตัวน้อยและครอบครัวได้จนจบเรื่อง และเมื่อ Finding Dory (2006) ออกมานั้น ก็เหมือนกับเรานั่งดูเทปม้วนเดิมที่ถูกกรอกลับเท่านั้นเอง … เปล่านะ … เราไม่ได้บอกว่าการตามหาดอรี่ไม่สนุก มันก็สนุก น่ารัก สดใสเหมือนเดิม แต่มันเหมือนเดิมไง … หาอะไรใหม่ๆ มาหลอกเงินในกระเป๋าเราเถอะ ขอร้องล่ะ

Content by Maya