Posts

คุยกับวิคเตอร์ บรอนหัวเรือใหญ่แห่งแผนกบีสโป๊คของโรลส์-รอยซ์

As your wish

เชื่อเราเถอะว่า Rolls-Royce เป็นแบรนด์รถยนต์ที่ตามใจคุณมากที่สุดบนโลกนี้แล้ว เพราะเขามีนักออกแบบเฉพาะถึงสี่คนมาตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณ เรามาพูดคุยกับหนึ่งในทีมกันดีกว่า

บรรดาเศรษฐีที่มียอดเงินในบัญชีธนาคารเกินคาดนั้น ก็ชอบทำอะไรที่เกินคาดเช่นกัน คอลเลกชั่นรถยนต์ส่วนตัวของพวกเขาก็ต้องเกินธรรมดากว่าใคร Rolls-Royce (โรลส์-รอยซ์) เองก็มีหน้าที่ทำการบ้านหนักทุกครั้งที่ได้รับคำสั่งซื้อรถยนต์ผ่านบริการ BeSpoke ลอปติมัมได้มีโอกาสพูดคุยกับ Victor Braun (วิคเตอร์ บรอน) หนึ่งในสี่หัวเรือใหญ่แห่ง Rolls-Royce Bespoke ที่ทำหน้าที่ออกแบบรถยนต์ตามความต้องการที่แตกต่างและเฉพาะของลูกค้า

8L1A8006

เขามีดีกรีปริญญาโทด้านการออกแบบยานยนต์จาก Strate School of Design และได้ผ่านการร่วมงานกับแบรนด์แฟชั่นระดับไฮเอนด์มาแล้วทั้ง Hermes (แอร์เมส) และแบรนด์อื่นๆ ที่มีชื่อเสียง และเขาก็เป็นหนึ่งในทีมผู้ออกแบบคอลเลกชั่นกระเป๋าเดินทางให้กับ BMW i8 ที่ผลิตจากเส้นใยคาร์บอน เป็นหนึ่งในการผสมผสานดีไซน์ล้ำยุคเข้ากับวัสดุอันล้ำสมัย ก่อนที่จะเข้ามาร่วมทีม Rolls-Royce อย่างเป็นทางการอีกด้วยหากคุณยังจำ Rolls-Royce Ghost รุ่นฐานล้อยาว ‘คชมงคล’ สีขาวนวลคาดด้วยเส้นโค้ชไลน์รูปช้างเผือกอยู่ข้างตัวรถ ที่ปรากฏโฉมในงานมอเตอร์โชว์ครั้งที่ 37 ประจำปี 2016 และรุ่น Opus ที่ครองใจมหาเศรษฐีทั่วโลกทั้งสองคันกันได้ นั่นคือผลงานการออกแบบของเขาคนนี้นี่ล่ะ

เริ่มต้นการ Bespoke 

ผมต้องพูดคุยกับลูกค้าถึงความต้องการของพวกเขาก่อน หลังจากนั้นก็จะให้ลูกค้าได้ดูแบบร่างและขึ้นรูปตัวอย่างก่อนว่าตรงกับความต้องการไหม และหลังจากนั้นเราถึงจะผลิตออกมาให้ตรงกับความต้องการในใจของลูกค้ามากที่สุด

8L1A8036

แต่ละคันใช้เวลานานไหม

รุ่นทั่วไปจะใช้เวลาอยู่ที่ประมาณ 6 เดือน แต่สำหรับรุ่น Bespoke ที่ทำขึ้นพิเศษ นั้นอาจจะ 1 ปีหรือมากกว่านั้น เพราะแต่ละคันจะมีรายละเอียดความยากที่แตกต่างกัน ยิ่งถ้ามีรายละเอียดในแต่ละจุดมากก็จะใช้เวลามากขึ้นตามไปด้วย รุ่นคชมงคลเองก็ใช้เวลาผลิตประมาณหนึ่งปีเช่นกัน

คันที่เสร็จไปแล้วและคิดว่ายากที่สุด

คงหนีไม่พ้นเจ้า Opus เพราะการนำแรงบันดาลใจในเรื่องของดนตรีมาใส่เป็นรายละเอียดในรถนั้นต้องคำนึงทั้งเรื่องสีและความสวยงาม รายละเอียดของไม้ ขั้นตอนในการทำ เลเยอร์ของไม้แต่ละชิ้น และสิ่งที่เราจะสื่อให้รู้สึกได้ถึงว่าใช้เปียโนมาเป็นแรงบันดาลใจ

8L1A7975

ส่วนใหญ่ลูกค้าสนใจรุ่น Bespoke หรือ
รุ่นธรรมดามากกว่ากันเวลาเลือกซื้ออาจจะฟังดูน่าประหลาดใจแต่เปอร์เซ็นต์ของลูกค้าทั้งหมดที่ซื้อ Rolls-Royce นั้นเลือกซื้อรุ่น Bespoke มากถึง 95 เปอร์เซ็นต์ ส่วนรุ่นมาตรฐานนั้นจะมีสัดส่วนเพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เป็นเพราะว่าลูกค้าส่วนใหญ่ก็มีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน และอยากจะครอบครองรถยนต์ที่ไม่เหมือนใครเช่นกัน

กุญแจแห่งความสำเร็จในการ Bespoke

การรับโจทย์ที่ลูกค้าส่งมาให้ ตีความหมายแล้วทำให้สำเร็จตามความต้องการก็คือความสำเร็จแล้วครับ เพราะถ้าลูกค้าถูกใจกับการออกแบบที่เราเสนอไปตั้งแต่เริ่มต้นจนออกมาเป็นรถจริง ก็ไม่มีอะไรที่จะต้องกังวลอีกต่อไป

8L1A7974

การพัฒนาการออกแบบ Rolls-Royce ในอนาคต

เรามองถึงการใช้วัสดุใหม่ๆ แรงบันดาลใจใหม่ๆ และการเข้าถึงวัฒนธรรมของแต่ละประเทศเพื่อจะตอบโจทย์ลูกค้า และการร่วมมือกับศิลปินเพื่อที่จะเพิ่มความหรูหราเข้าไปในชิ้นงานแต่ละชิ้น และเร็วๆ นี้เราก็กำลังจะเปิดตัวรุ่นที่ทำงานร่วมกับศิลปินด้วยครับ

เมื่อพิพิธภัณฑ์หัวแถวในประเทศฝรั่งเศสร่วมใจกันจัดนิทรรศการระลึกนักออกแบบอุตสาหกรรมคนสำคัญ

form follows money
โดยที่ Centre Pompidou จัดนิทรรศการระลึกถึง Pierre Paulin (ปิแยร์ โปแลง) และที่ Musee des Arts decoratifs ก็อุทิศพื้นที่ให้ Roger Tallon (โรแฌร์ ตาลง) ลอปติมัมจึงขอเกาะกระแสโดยการนำคุณผู้อ่านไปรู้จักกับเฟอร์นิเจอร์ประมูลห้าชิ้นที่เปรี้ยงที่สุดในโลกอินดัสเตรียลดีไซน์สมัยใหม่

การจัดนิทรรศการนั้นนอกจากจะทำให้เกิดกระแสต่างๆ ในวงการศิลปะอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว มันยังเป็นเครื่องมืออันทรงพลัง
ในการสื่อสารตัวตนของศิลปินผู้รังสรรค์งานเหล่านั้นอีกด้วย อาจกล่าวได้ว่า การจัดนิทรรศการงานศิลป์นั้นคืออีกวิธีการหนึ่งในการประเมินค่า (อันหมายถึงมูลค่าหรือราคา) และความหมาย (อันหมายถึงคุณค่าในเชิงศิลปะ) ที่ซ่อนไว้ในงานศิลปะชิ้นนั้นๆ อย่างเป็นรูปธรรม และในบริบทที่เราจะกล่าวถึงนั้น “งานศิลปะ” ในที่นี้ก็คือเฟอร์นิเจอร์วินเทจและลิมิเต็ดอีดิชั่นต่างๆ ที่ถูกนำออกมาสู่ตลาดและสายตาประชาชนอีกครั้งหนึ่ง และมันก็ไม่ได้มาเดี่ยวๆ แต่มาพร้อมกับประวัติและความสามารถของดีไซเนอร์ที่ออกแบบพวกมันอีกด้วย เฟอร์นิเจอร์ประเภทที่เป็นงานศิลปะด้วยนี้ได้รับความนิยมมากในช่วงก่อนยุคมิลเลนเนียม ซึ่งในยุคนั้นมีการจัดงานประมูลสินค้ากันอย่างแพร่หลาย ถือเป็นกลยุทธ์ในการขายอันแยบยล เพราะมันคือการเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อมีโอกาสกำหนดราคาด้วยตัวเอง และการจัดประมูลนั้นคือการรวบรวมสินค้าคอลเลกชั่นพิเศษต่างๆ พร้อมกำหนดหัวข้อการประมูลสุดแนวเพื่อดึงดูดกลุ่มผู้ซื้อ ไม่ว่าจะเป็นธีม Light is More หรือ Black in Domestic Landscape ที่จัดขึ้นที่โรงประมูล Artcurial (ที่สร้างขึ้นอย่างใหญ่โตในปีค.ศ. 2002 ไว้สำหรับประมูลสินค้าแนวๆ นี้โดยเฉพาะ) นอกจากนั้นยังมีการจัดนิทรรศการงานศิลป์และจัดประมูลเฟอร์นิเจอร์งานศิลป์มูลค่าสูงอย่างงาน PAD Paris ที่เพิ่งเฉลิมฉลองครบรอบปีที่ 20 ไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และงาน PAD London ที่กำลังจะฉลองครบรอบ 10 ปีในฤดูใบไม้ผลิหน้า รวมไปถึงเทศกาลแสดงงานออกแบบอย่างเทศกาล D’Days ครั้งที่ 16 จัดขึ้นตั้งแต่ 30 พฤษภาคม – 5 มิถุนายนในธีม “R/Evolution”หรือถ้าจะมองในแง่ของการตลาด การจัดงาน Art Basel

ที่เมืองบาเซล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดีอย่างหนึ่ง โดยงานจัดสองครั้งในหนึ่งปี คือในเดือนธันวาคมและเดือนมิถุนายน ถือเป็นงานที่นักสะสมทั่วโลกเดินทางไปเสาะแสวงหางานศิลปะที่ตนชื่นชอบ นอกจากนั้นยังเป็นงานรวมตัวพ่อค้า กรรมการตัดสินงานศิลป์และนักวิจารณ์ และผู้จัดเดียวกันก็จัดงาน Design Miami ที่เมืองไมอามี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา (เพื่อรองรับนักสะสมชาวอเมริกาและอเมริกาใต้) และปีค.ศ. 2013 ก็ยังจัดงาน Art Basel พิเศษขึ้นที่ประเทศฮ่องกง เพื่อรองรับนักสะสมในภูมิภาคนี้อีกด้วย และก็เป็นที่แน่นอนว่าบรรดานักสะสมต่างก็มุ่งหน้าไปที่งานนี้กันอย่างคึกคัก “สำหรับนักสะสมผลงานศิลปะแล้ว พวกเขาคงไม่อยากได้เฟอร์นิเจอร์หน้าตาธรรมดาที่หาได้ตามท้องตลาดหรอก พวกเขาก็อยากจะได้เฟอร์นิเจอร์ที่มีค่าเทียบเท่ากับคอลเลกชั่นงานศิลปะของพวกเขานั่นล่ะ” Cédric Morisset (เซดริก โมริเซ) ให้สัมภาษณ์ เขาเคยเป็นที่ปรึกษา และทำพีอาร์ให้กับดีไซเนอร์ชื่อดังอย่าง Noé Duchaufour-Lawrance (โนเอ ดูโชฟูร์-โลรองซ์) และ Paco Rabanne (ปาโก ราบาน) ในโปรเจ็กต์การออกแบบขวดน้ำหอมชุด ‘1 Million’ และเคยเป็นทำงานด้านดีไซน์ให้กับ Piasa ในปัจจุบันเซดริกเป็นผู้บริหารร่วมของแกเลอรี Carpenters Workshop ที่ตั้งขึ้นในปีค.ศ. 2006 โดยมีคอนเซ็ปต์คือ ‘ห้องที่ตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบโดยศิลปินเท่านั้น’ ปัจจุบันแกเลอรีนี้รับจัดงานนิทรรศการทั้งที่กรุงลอนดอน กรุงปารีส และกรุงนิวยอร์ก

ในขณะที่ Fabien Naudan (ฟาเบียง โนดอง) รองประธานโรงประมูล Artcurial ได้ออกความเห็นในเรื่องการได้รับการยอมรับในสังคมปัจจุบันไว้ว่า “สำหรับคนสมัยใหม่นั้น การได้เป็นเจ้าของผลงานศิลปะร่วมสมัยสักชิ้น หรือหลายๆ ชิ้นต่างก็เป็นภาพลักษณ์ที่ทุกคนยินดีที่จะแสดงให้คนรอบข้างเห็น ผู้คนที่คลุกคลีในวงการอินดัสเตรียลดีไซน์ หรือวงการศิลปะร่วมสมัยนั้นต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่า ราคาและคุณค่าของงานศิลป์เหล่านี้นั้นมีแต่จะสูงขึ้นทั้งจากปัจจัยด้านคุณค่าในตัวของมันเอง และปัจจัยแวดล้อมของสังคม” ประจักษ์พยานที่ชัดเจนนั้นก็ได้แก่ การประมูลภาพวาด “Les Femmes d’Alger” ของ Pablo Picasso (ปาโบล ปิคาสโซ) ที่ Christie’s New York เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2015 นั้นเคาะราคาไปที่ 179.365 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการทำลายสถิติการประมูลภาพ “Three Studies of Lucian Freud” โดยFrancis Bacon (ฟรานซิส เบคอน) ที่ประมูลไปเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2013 ที่ราคา 142.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และสถิติการประมูลสูงสุดในโลกของเฟอร์นิเจอร์คอลเลกชั่น “Lockheed Lounge” โดย Marc Newson (มาร์ก นิวสัน) ที่จัดประมูลที่ Phillips London ในวันที่ 28 เมษายน 2015 ในราคาถึง 4.69 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และราคาของเฟอร์นิเจอร์และงานศิลปะเหล่านี้นั้นก็รังแต่จะพุ่งสูงขึ้นไปตามวันเวลาที่ผ่านไปเซดริกสรุปจบท้ายไว้ว่า “ราคาของงานพวกนี้ไม่มีคำว่า ‘สูงเกินไป’ เพราะมันสามารถวัดได้จริงๆ ว่าราคาเหล่านั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร เพราะเรารู้กระบวนการผลิต ต้นทุนทั้งค่าวัสดุและแรงงาน ซึ่งก็รวมไปถึงคุณภาพของการผลิตชิ้นงานนั้นๆ ด้วย ยกตัวอย่างงานที่ผลิตจากแก้วมูราโน (Murano) ในยุค ’50s หรือคอลเลกชั่นเฟอร์นิเจอร์ทองสัมฤทธิ์ของ Vincent Dubourg (แวงซองต์ ดูบูรก์) ก็คงเห็นได้ชัดเจน และผมบอกได้เลยว่า นี่เป็นเพียงเสี้ยวเดียวของวงการประมูลงานศิลป์เท่านั้น และวงการนี้ก็เพิ่งจะเริ่มต้น เราคงต้องจับตากันต่อไปในระยะยาว”

226_001.pdf

-10 ชิ้นที่ผลิตจริง + 4 AP (Artist’s Proofs) และต้นแบบอีกหนึ่งชิ้น

-เคาะราคาที่ £2,434,500 เมื่อ 28 เมษายน 2015  ที่ Phillips London

-1990 ปีที่ผลิตผลงาน

MARC NEWSON (ชาวออสเตรเลีย เกิดที่ซิดนีย์ ในปีค.ศ. 1963)

เขาเป็นหนึ่งใน “100 ผู้ทรงอิทธิพลในโลก” ที่จัดอันดับโดยนิตยสาร Time

เก้าอี้เลาจน์รุ่น “Lockheed Lounge”

ทำจากแผ่นอะลูมิเนียม เชื่อมติดกันด้วยหมุดโลหะ

jean-prouve-unique-table-trapeze-dite-table-centrale-1956-artcurial-6

เคาะราคาที่ €1,241,300 เมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 ที่ Artcurial Paris

ความยาว 3.30 ม.

1956 ปีก่อตั้งมหาวิทยาลัย Antony

JEAN PROUVÉ  (ชาวฝรั่งเศส เกิดที่ปารีส ในปีค.ศ. 1901 เสียชีวิต ที่นองซีในปีค.ศ. 1984)

โต๊ะอเนกประสงค์รุ่น The “Trapéze Table” หรือ “Table Centrale”

ขาทำจากเหล็กกล้าเคลือบแล็กเกอร์ สีดำ ท็อปทำจากไม้เนื้อแข็ง

23972148_fb_a

เคาะราคาที่ $3,824,000 เมื่อ 9 มิถุนายน 2005 ที่ Christie’s New York

ขนาด 157.20 x 86 ซม.

1949 ปีที่ผลิตผลงาน

CARLO MOLLINO (ชาวอิตาเลียน เกิดที่ตูริน ในปีค.ศ. 1905 เสียชีวิต ในปีค.ศ. 1973)

UNIQUE OAK AND  GLASS TABLE

ออกแบบให้กับ Casa Orengo (เมืองตูริน)

ron-arad-bibliotheque-restless-bis-artcurial-2

เคาะราคาที่ € 373,800 เมื่อ 27 ตุลาคม 2014 ที่ Artcurial Paris

2007 ปีที่ผลิตผลงาน

ขนาด 188 x 246.40 x 43.20 ซม.

RON ARAD (ชาวอิสราเอล เกิดที่เทลอาวีฟ ในปีค.ศ. 1951)

ชั้นวางหนังสือรุ่น “RESTLESS” ทำจากเหล็กกล้าที่ไม่ขึ้นสนิม

เก็บตกจากงานสถาปนิก 59 กับเรื่องราวของสถาปนิกระดับโลก ที่มาเยือนไทย และผลงานคนไทยที่ไปยืนในเวทีโลก

architect expo 59

งานสถาปนิก 59 ปีนี้ก็น่าสนใจเหมือนเช่นเคย เป็นงานที่ได้พบกับนวัตกรรมและสัมผัสแนวคิดสร้างสรรค์มากมาย แต่สิ่งที่ผมอยากหยิบยกมาพูดถึงเป็นพิเศษก็คือการเชิญสถาปนิกต่างประเทศ
มาใน ASA International Forum ซึ่งก็มีทุกปีนะครับ แต่ปีนี้มีสถาปนิกญี่ปุ่นที่มีชื่อชั้นระดับโลกมาพูด เป็นอีกคนหนึ่งที่สถาปนิกไทยหลายคนชื่นชมผลงาน นอกเหนือจากชื่อที่เราคุ้นกันอย่างทาดาโอะ อันโดะ ในขณะที่เราเชิญระดับโลกมาได้ งานของสถาปนิกไทยก็ได้รับการยอมรับในเวทีโลกเช่นกัน ที่สำคัญเป็นโปรเจ็คต์ขนาดเล็ก แต่มีความหมายยิ่งใหญ่มาก

s03-0169-W1

SANAA

human-nature_sanaa-grace-farms-connecticut-walkways-the-river-W1

ใน ASA International Forum ครั้งนี้ ได้เชิญคู่หูสถาปนิกจาก SANAA บริษัทสถาปัตย์ญี่ปุ่นซึ่งก่อตั้งโดย 2 สถาปนิก คือคาซุโย่   เซจิม่า (Kazuyo Sejima) และ เรียว นิชาซาว่า (Ryue Nishizawa) ผู้เคยได้รับรางวัล Pritzker Prize (ซึ่งเทียบเท่ารางวัลโนเบลในวงการสถาปัตยกรรม) มาแล้ว และเป็นผู้ที่มีอายุน้อยที่สุดที่รับ รางวัลนี้ด้วย ฟังดูยิ่งใหญ่มากใช่ไหมครับ แต่ผมว่าคนไทยหลายคนน่าจะคุ้นเคยกับงานออกแบบของพวกเขาดี ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยไปเที่ยวย่านช้อปปิ้งอย่างโอโมเตะซันโดะมาแล้ว ก็ตึก Christian Dior ยังไงล่ะครับ ตึกนี้คือหนึ่งในงานสร้างชื่อของพวกเขาเลยครับ

SANAA เป็นสถาปนิกญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับใน
ระดับสากล ได้รับการว่าจ้างไปออกแบบงานที่ต่างประเทศหลายครั้ง   และส่วนใหญ่ก็ประสบความสำเร็จสูงด้วย เช่นที่ New Museum   ในนิวยอร์ก หรือ Rolex Learning Center ในโลซานน์ รวมถึงงานที่ได้รับเชิญไปออกแบบอย่างที่ Serpentine Pavilion ในลอนดอน ซึ่งจะเชื้อเชิญสถาปนิกที่กำลังมาแรงให้มาออกแบบงานในพื้นที่ เพื่อให้ ผู้คนได้เข้ามาชม สำรวจ และเรียนรู้จากผลงาน ในปี 2009 นั้น SANAA ก็ได้นำเสนอภาพสะท้อนของท้องฟ้าที่ราวกับจำลองเมฆมาไว้
ในสวน ทั้งยังดูเหมือนกับสระน้ำลอยได้ในขณะเดียวกัน ด้วยการใช้วัสดุสะท้อนเงารอบข้างให้เข้ามาอยู่ในฟอร์มอิสระเหมือนจะเคลื่อนที่ได้ 
ทำให้ผู้คนที่มาเยือนได้รับประสบการณ์ที่ดีจากงานสถาปัตยกรรม 
นี่ก็เป็น อีกงานหนึ่งที่หลายคนจดจำความเป็น SANAA

ผลงานล่าสุดของพวกเขาคือ River Building ที่ Grace Farm ซึ่งเป็น อาคารสาธารณะอยู่ในเนินเขา งานออกแบบนี้สร้างความฮือฮาด้วยฟอร์มที่เลื่อนไหลเหมือนสายน้ำ ดูเผินๆ คล้ายว่าแนวทางของพวกเขาคือการเล่น กับรูปทรงอิสระ แต่จริงๆ แล้วเขามีวิธีการเข้าถึงโจทย์ที่แตกต่างกันในแต่ละงาน ในมุมมองของผม ผมคิดว่าแก่นการออกแบบของพวกเขาคือการทำงานให้กลมกลืนเข้าหาพื้นที่ตั้ง ไม่ออกแบบข่มสภาพแวดล้อม 
แต่ให้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ ในขณะเดียวกันก็ตรึงสายตาด้วยกระบวนการ  บางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกับความต่อเนื่อง หรือการเลือกวัสดุเฉพาะสำหรับงานนั้นๆ หลายครั้งมักใช้วัสดุที่โปร่งใส โปร่งแสง หรือสะท้อนเงา ซึ่งให้ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งรอบตัว แต่ดูสะดุดตาไปพร้อมๆ กัน นี่คือเสน่ห์และตัวตนของ SANAA ที่ทำให้งานออกแบบ
ของพวกเขาเป็นมากกว่า Modern Japanese และมีความเป็นสากลมาก ผมว่าใครที่ไม่พลาดฟอรัมของ SANAA จะได้วิธีคิดและแรงบันดาลใจกลับไปมากมายเลยครับ ผมก็เช่นกัน

โรงเรียนพอดี พอดี

School por-d-W1

สถาปัตยกรรมนั้นไม่เพียงตอบโจทย์ความต้องการส่วนบุคคล 
แต่สถาปัตยกรรมจะยิ่งทวีความสำคัญยิ่งขึ้น ถ้าได้ตอบโจทย์สังคม 
เช่นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงรายเมื่อปี 2557 ซึ่งนอกจาก
บ้านเรือนจะเสียหายแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อโรงเรียนอีกหลายแห่งด้วย จึงทำให้กลุ่ม Design for Disasters จุดประกายความคิดที่จะทำโครงการ
สร้างโรงเรียนที่สามารถรับมือกับแผ่นดินไหวได้ เกิดเป็นความร่วมมือระหว่างหลายองค์กรด้วยกัน เช่น Design for Disasters สมาคมสถาปนิก
สยามในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมวิศวกรรมสถานในพระบรมราชูปถัมภ์ เอกชนต่างๆ และที่สำคัญคือสถาปนิก 9 คนที่เต็มใจมาออกแบบให้
โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด โครงการนี้วางแผนก่อสร้างโรงเรียนทั้งหมด 9 แห่ง  ในจังหวัดเชียงราย ซึ่งได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ขณะนี้ก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านห้วยส้านยาว ซึ่งเป็นผลงาน
ของ Vin Varavarn Architects และโรงเรียนบ้านหนองบัว ผลงานของ junsekinoarchitect แต่ละแห่งนั้นทีมงานได้ลงพื้นที่ไปพูดคุยถึงปัญหา การออกแบบโครงสร้างเพื่อรับมือกับแผ่นดินไหว รวมทั้งหาวัสดุในพื้นที่นำมาใช้ผสมผสานกัน ทำให้เกิดดีไซน์ที่ลงตัว ใช้การได้ดี และยั่งยืนอีกด้วย

โครงการที่มีแนวคิดเพื่อสังคมและทำออกมาได้ดีแบบนี้ ก็ได้รับ
คัดเลือกไปร่วมแสดงในนิทรรศการที่ Venice Biennale 2016 ด้วย 
ซึ่งจะเริ่มต้น 28 พฤษภาคมนี้ยาวไปถึงเดือนพฤศจิกายนเลย โดยจะนำดีไซน์ของโรงเรียนพอดี พอดีทั้ง 9 แห่งก็จะนำมาแสดงในงานที่นั่นครับ ซึ่งถ้าใครมีโอกาสก็น่าไปชมนะครับ ปีนี้มี Alejandro Aravena สถาปนิกชาวชิลีเป็นคิวเรเตอร์ ซึ่งเขาตั้งกรอบหัวข้อในปีนี้ว่า “Reporting from the Front’ ผมว่าโครงการนี้ก็สามารถตีความเข้ากับหัวข้อนี้ได้สบายๆ เลย

School por-d 2-W1

นอกจากนี้ผลงานออกแบบโรงเรียนบ้านห้วยส้านยาว ยังได้เข้ารอบเป็น Finalist สาขา Educational Architecture จาก 2016 Archdaily Building of the Year Awards ซึ่งทางเว็บไซต์ Archdaily.com จัดเป็นประจำทุกปี แม้จะไม่ได้เป็น The Winner แต่ก็น่าภูมิใจอยู่ดี เพราะเป็นโครงการเล็กๆ โครงการเดียว ท่ามกลางโครงการใหญ่ๆ อีก 4 โครงการ แสดงว่าสาระของที่นี่ก็ต้องสูสีกับโครงการที่มีสถาปนิกระดับโลกรับผิดชอบอยู่เลยทีเดียว ผมรู้สึกว่าโครงการนี้ดีมาก และจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าไม่มีความร่วมมือจากหลากหลายองค์กรแบบนี้ ซึ่งจริงๆ แล้ว วงการสถาปัตยกรรมเราก็ต้องการผู้ริเริ่ม ไม่ใช่แต่เฉพาะคนในวงการ เช่น   กลุ่ม Design for Disasters ซึ่งทำให้เกิดการรวมตัวของทุกคนขึ้นมา ผมขอชื่นชมจากใจเลยครับ

ไม่ว่าจะเป็นงานของสถาปนิกระดับโลกอย่าง SANAA หรือโครงการเล็กๆ ของกลุ่มคนไทยเราต่างก็มีคุณค่าและได้รับการยอมรับระดับสากล เช่นกัน ผมว่าทั้งหมดอยู่ที่การใส่ใจในแก่นของการออกแบบที่แสดงทั้งตัวตนของสถาปนิก และความพยายามคลี่คลายโจทย์ของแต่ละพื้นที่ให้ดีที่สุดครับ

Content by Vasu V.

The Twelve Beards of Christmas

เดือน November ถือเป็นเดือนรณรงค์ให้ผู้ชายตระหนักถึงภัยของมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลูกอัณฑะและสุขภาพจิตของผู้ชาย ผู้ชายส่วนใหญ่จึงไว้หนวดเพื่อแสดงตนว่าสนับสนุนโครงการนี้ หรือที่เรียกว่า Movember ทางเว็ปไซต์ Etsy จึงมีไอเดียชวนหนุ่มๆที่เคยถ่ายภาพรณรงค์ให้โครงการนี้มาจัดแต่งเคราซ่ะใหม่ ให้เข้ากับเทศกาลคริสต์มาส ตามคอนเซ็ปต์ December คือเดือนของ Decembeard!

LOPTIMUM CM3

LOPTIMUM CM1

และนี่คือไอเดียบรรเจิดจากเว็ปไซต์ Etsy จับหนุ่มเครางาม 12 มาเนรมิตเคราใหม่ให้เข้ากับเทศกาลคริสต์มาสที่กำลังจะมาถึงนี้ มีทั้งการติดกระดิ่ง ผูกโบว์ ประดับดาว ผูกถุงเท้าไว้กับเคราก็มี ติดหลอดไฟหลากสีก็เจ๋ง และที่ได้ใจสุดคือพ่นสีเคราเป็นสีเขียวราวกับว่าเป็นต้นคริสต์มาสเคลื่อนที่อย่างไงอย่างงั้น

The-Twelve-Beards-of-Christmas4__880

beard-1-21__880

The-Twelve-Beards-of-Christmas5__880

The-Twelve-Beards-of-Christmas6__880

The-Twelve-Beards-of-Christmas7__880

The-Twelve-Beards-of-Christmas11__880

The-Twelve-Beards-of-Christmas8__880

The-Twelve-Beards-of-Christmas9__880

The-Twelve-Beards-of-Christmas10__880

The-Twelve-Beards-of-Christmas12__880

The-Twelve-Beards-of-Christmas__880

The-Twelve-Beards-of-Christmas3__880

หากสนใจรูปเพื่อเป็นโปสการ์ดส่งให้เพื่อนๆในเทศกาลนี้สามารถติดต่อทางเว็ปไซต์ Etsy ได้เลย แต่ถ้าอยากทำตามก็ไม่มีใครว่าอะไร…