Posts

ยอดเติบโตสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ถึง 13% แม้ในช่วงโควิด Burberry การันตีว่า Riccardo Tisci จะอยู่กับแบรนด์ต่อไปอีกอย่างแน่นอน

Burberry ได้เปิดเผยรายงานการประกอบการประจำไตรมาสแรก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการกลับมาสู่ระดับการเติบโตเท่ากับตอนก่อนเกิดการระบาดของ Covid แล้วและยังทำได้ดีกว่าที่กว่าที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้กว่าถึง 13% นอกจากนั้นแบรนด์สัญชาติอังกฤษยังได้ออกมาพูดถึงเกี่ยวกับอนาคตของแบรนด์ภายใต้การนำของ Creative Director ชาวอิตาลีคนปัจจุบันอย่าง Riccardo Tisci ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนี้อีกด้วย

ตามรายงานของ Business of Fashion CFO ของ Burberry อย่าง Julie Brown เปิดเผยว่าทางแบรนด์มีความมั่นใจอย่างสูงว่า Tisci จะยังคงอยู่ในตำแหน่งแม้ว่า Marco Gobbetti ผู้เป็น CEO ของ Burberry มากว่า 5 ปีจะย้ายไป Ferragamo อย่างกะทันหัน. Tisci ยังคง “ตื่นเต้น” กับโปรเจกต์ของเขาที่ Burberry แต่ทั้งนี้ Brown ไม่ได้เปิดเผยเกี่ยวกับระยะเวลาที่เหลือของสัญญาที่ Tisci มีกับแบรนด์. และในปีที่แล้ว Tisci ก็มีข่าวลือว่าจะย้ายไปยัง Versace แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ข่าวดังกล่าวถูกปฏิเสธอย่างรวดเร็ว

ถ้าเปรียบเทียบอย่างละเอียดเป็ยอดขายของ Burberry เพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปี 2019 โดยทำเงินได้ 664 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในไตรมาสที่ผ่านมา(สิ้นสุดเมื่อ 26 มิถุนายน). แม้ว่าจะเป็นการเพิ่มเพียงเล็กน้อยแต่การที่ยอดขายเพิ่มทั้งๆที่ต้องเจอกับการแพร่กระจายของโควิดก็ถือว่าทำได้ดีมากๆแล้ว

Brown ยังเผยกับนักข่าวอีกว่า “เรามีกลยุทธ์ที่ชัดเจน เรามีทีมผู้บริหารระดับสูงที่มีความสามารถ เรามีความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้า

เรื่อง Teeratat Somudomsup

เรียบเรียง  rhunrun 

ไม่เกิน 5 ปีเท่านั้น! Bernstein เผยผลวิจัยถึงช่วงเวลาความสำเร็จที่ creative director 1 คนจะสามารถสร้างให้กับแบรนด์ได้

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้มีข่าวว่าดีไซเนอร์ชาวอเมริกันชื่อดัง Matthew Williams จะก้าวเข้าสู่ Givenchy ในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ (creative director) คนใหม่ และในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาก็มีการเปลี่ยนแปลงตัว creative director ในแบรนด์ต่าง ๆ เช่น Dior และ Prada แต่เร็ว ๆ นี้ มีรายงานออกมาเผยว่า พวกเขาจะสร้างความสำเร็จและยอดขายที่น่าประทับใจให้แก่แบรนด์ได้เป็นเวลาเพียง 5 ปีครับ

ดูโพสต์นี้บน Instagram

A message from @givenchyofficial on my new appointment | The House of Givenchy, is pleased to announce the appointment of Matthew M. Williams as Creative Director, effective June 16th, 2020. | Matthew M. Williams will take on all creative responsibilities for Women’s and Men’s collections. | Sidney Toledano, Chairman and CEO of LVMH Fashion Group, declares: “I am very happy to see Matthew M. Williams join the LVMH Group. Since he took part in the LVMH Prize, we have had the pleasure of watching him develop into the great talent he is today. I believe his singular vision of modernity will be a great opportunity for Givenchy to write its new chapter with strength and success.” | Renaud de Lesquen, CEO and President of Givenchy, states: “I want to warmly welcome Matthew M. Williams to the beautiful Maison Givenchy. I am convinced that, with his unapologetic approach to design and creativity and in great collaboration with the Maison's exceptional ateliers and teams, Matthew will help Givenchy reach its full potential.”

โพสต์ที่แชร์โดย Matthew M Williams (@matthewmwilliams) เมื่อ

เว็บไซต์ Quartz ได้รายงานผลการศึกษาของสถาบันการลงทุน Bernstein ว่า creative director ในแบรนด์แฟชั่นหรูจะมีอายุการทำงานที่ประสบความสำเร็จในบริษัทนั้น ๆ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5 ปี โดย Bernstein ได้วิเคราะห์ถึงการทำกำไรของบริษัท ราคาหุ้น และมูลค่าของบริษัทเมื่อเทียบกับความสามารถของ creative director ในแต่ละแบรนด์ อีกทั้ง creative director รายใหม่นั้นช่วยส่งเสริมยอดขายให้แก่แบรนด์ได้ในระยะแรก นอกจากนี้ ยังมีอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อความสำเร็จของแบรนด์ นั่นคือ ระยะการดำรงตำแหน่งของ CEO ยิ่ง CEO ของบริษัท ๆ หนึ่งดำรงตำแหน่งได้นานเท่าไหร่ กำไรและมูลค่าของบริษัทนั้นก็จะมีเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย 

ดูโพสต์นี้บน Instagram

“Last Time I Met The Met”

โพสต์ที่แชร์โดย Alessandro Michele (@alessandro_michele) เมื่อ

น่าสนใจว่า หลังจากผ่านช่วงเวลาการทำงาน 5 ปีของ creative director นั้น ความมั่งคั่งของบริษัทจะลดลงไปด้วย ด้วยเหตุนี้จึงอธิบายได้ว่าทำไมกลุ่มบริษัทชื่อดังอย่าง LVMH และ Kering ถึงได้เปลี่ยนตัวผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์บ่อยครั้ง แม้ว่าเขาหรือเธอจะสร้างความสำเร็จหรือผลงานให้แบรนด์ก็ตาม หรืออย่าง Gucci ที่ตอนนี้มียอดขายเติบโตช้าลงในช่วงการทำงานปีที่ 5 ของ Alessandro Michele creative director คนเก่งชาวอิตาลีพอดิบพอดี 

น้ำหอมกลิ่นโปรดของหนุ่มๆจาก Chanel

อย่างไรก็ตาม การศึกษาของ Bernstein ได้สำรวจตัวอย่างจาก creative director ยุคปัจจุบันเพียง 18 รายเท่านั้น และไม่ได้เชื่อมโยงแหล่งรายได้ของบริษัทกับตัวผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ อย่างเช่น Hermès และ Chanel ยังคงทำรายได้จากแอสแซสเซอรี่ กระเป๋า น้ำหอม และรองเท้าได้มากโดยไม่คำนึงว่าใครเป็นครีเอทีฟ อีกทั้ง creative director บางคนนั้นเป็นหน้าใหม่และบางแบรนด์นั้นก็มีขนาดเล็กเสียจนไม่ได้นำมาพิจารณาในการศึกษาครั้งนี้  

กระเป๋า Hermes Birkin สุดไอคอนิกที่ตั้งชื่อตาม Jane Birkin นักร้องนักแสดงมากความสามารถชาวอังกฤษ

เพราะฉะนั้นต้องจับตาดูกันไปยาว ๆ ครับว่า ผลการศึกษาของ Bernstein จะเป็นจริงต่อความมั่งคั่งในแบรนด์ต่าง ๆ มากน้อยเพียงใด ใครแอบเชียร์หรือเป็นแฟนของดีไซน?เนอร์คนเก่งคนไหนพิมเล่าให้เราฟังได้เลยครับ!  

เรื่อง Peerachai Pasutan

เรียบเรียง rhunrun

จับเข่าคุยกับชาคริต จันทร์รุ่งสกุล หรือที่รู้จักในวงการว่า ‘ไวท์’ ผู้ก่อตั้งบริษัท FireOneOne

Change Agent
ชาคริต จันทร์รุ่งสกุล 
ครีเอทีฟเอเจนซี่ที่เชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยี ให้บริการปรึกษาด้านแบรนด์ และการออกแบบ จะมีสักกี่คนที่หลงใหลทั้งเรื่องเทคโนโลยีและการออกแบบพร้อมทั้งสามารถนำทั้งสองสิ่งที่รักมาประยุกต์ทำเป็นอาชีพ และประสบความสำเร็จในระดับใหญ่ได้  คุณชาคริตคือคนที่ทำได้ ดีเสียด้วย

Low_8L1A0884

Prologue

เราไม่ค่อยแน่ใจว่านี่คือบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีหรือสำนักงานออกแบบ เพราะไม่บ่อยครั้งนักที่เราจะเจอเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเด็ดของ Moooi อยู่ในออฟฟิศคนทำงานด้านเทคโนโลยี แมกกาซีนดีไซน์วางเป็นตั้งๆ อาจเพราะชาคริต จันทร์รุ่งสกุล หรือที่รู้จักในวงการว่าไวท์ผู้ก่อตั้ง FireOneOne บริษัทดาวรุ่งเนื้อหอมที่เรามาเยือนแห่งนี้ มีความชื่นชอบเรื่องดีไซน์เป็นการส่วนตัว นอกจากนี้เขาเป็นทั้งครีเอทีฟ นักคิด นักปฏิบัติ นักลงทุน (Venture Capitalist) และผู้เชี่ยวชาญด้านอัญมณี ที่เป็นแฟนคลับของ Steve Jobs (สตีฟ จอปส์)  คงเพราะที่เป็นสาวกคอมพิวเตอร์แมคอินทอชมาตั้งแต่ยุคแรกๆ ทำให้เขาหลงใหลทั้งเรื่องเทคโนโลยีและการออกแบบไปพร้อมๆ กัน

จุดเริ่มต้นของ FireOneOne เริ่มต้นด้วยความบังเอิญ
วันหนึ่งชาคริตได้พูดคุยกับพนักงานในร้านแอปเปิ้ลตามประสาคนสนิทสนม พนักงานปรับทุกข์กับเขาว่า รีสอร์ตสุดหรูแห่งหนึ่งเพิ่งสั่ง Apple TV ไปใช้ในวิลล่าเกือบร้อยเครื่อง แต่เกิดปัญหาคือคนซื้อเข้าใจว่า Apple TV แต่ละเครื่องนั้นสามารถเชื่อมต่อเป็นเน็ตเวิร์กเดียวกัน แต่จริงๆ แล้ว Apple TV รุ่นแรก นั้นเป็นระบบสแตนอโลน ซึ่งขัดกับวัตถุประสงค์ของโรงแรมที่ต้องการให้บริการหนังนับพันเรื่องให้แขกแบบไม่อั้น หลังจากที่ได้ฟัง ชาคริตได้เสนอตัวเข้าไปลองแก้ปัญหา เขาบายพาสระบบเดิมของ Apple ทั้งหมด แล้วใช้ซอฟท์แวร์ (Open Source) เข้ามาเป็นระบบปฏิบัติการใหม่ สุดท้ายก็ได้ระบบเอ็นเตอร์เทนเมนต์ในแบบที่เจ้าของต้องการ ทั้งหมดนี้ใช้เวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง! ไม่เพียงเท่านั้น เขายังทำให้ระบบใหม่สามารถเชื่อมโยงกับเซอร์วิสของโรงแรมได้ เช่นการใส่วิดีโอการทำอาหาร ระบบคอมเมนต์ และเรตติ้งเชฟก็สนุก ทำคลิปใส่เข้ามาในระบบกันใหญ่ ผลคือยอดขายรูมเซอร์วิสของโรงแรมเพิ่มขึ้นชาคริตเล่าถึงความหลัง ปรากฏว่าทำให้เจ้าของเครือโรงแรมดังกล่าวต้องการซื้อเทคโนโลยีนี้ไปใช้กับโรงแรมในเครือทั่วโลก จากโปรเจ็กต์ที่ทำเอามันกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งบริษัท FireOneOne (ได้แรงบันดาลใจมาจากหมายเลขฉุกเฉิน 911)

เมื่อเราเริ่มบทสนทนา ชาคริตเล่าถึงจุดเปลี่ยนสำคัญของเทคโนโลยีครั้งสำคัญ คือตอนที่ iPhone รุ่นแรกออกวางตลาดในปีค.. 2007 เขามองว่านี่คือนวัตกรรมเปลี่ยนโลก (ตอนนั้น) ชาคริตเชื่อว่าในอนาคต ธุรกิจต่างๆ ก็จะต้องถ่ายโอนไปยังสมาร์ทโฟน จะเป็น
การย้าย (Migration) ครั้งสำคัญจาก 50  ปีที่แล้ว เราย้ายจากกระดาษไปยังคอมพิวเตอร์[ตั้งโต๊ะ] และคราวนี้ก็จากคอมพิวเตอร์
ตั้งโต๊ะ มายังสมาร์ทโฟนที่คนสามารถถือไปไหนมาไหนได้ตลอดเวลา

Next Innovation

อย่างไรก็ดี ชาคริตเชื่อว่าสมาร์ทโฟนถึงจุดสูงสุดแล้ว อะไรคือนวัตกรรมเปลี่ยนโลกชิ้นต่อไป? หรือจะเป็น Apple Watch ตามที่ Tim Cook (ทิม คุก) ซีอีโอของแอปเปิ้ลหมายมั่นหรือไม่ผมมองว่าคอนเซ็ปต์น่ะใช่ แต่อาจจะไม่ใช่ Apple Watch รุ่นแรกที่ครองโลกชาคริตมองว่า แนวคิดนั้นมาถูกทาง แต่ยังไม่ถึงจุดเปลี่ยนพฤติกรรม เขามองยาวๆ ว่าสุดท้ายแล้ว นาฬิกาทุกยี่ห้อจะมีบลูทูธที่เชื่อมกับโทรศัพท์มือถือเป็นอย่างต่ำสุดท้ายแล้วก็เป็นเรื่องความจำเป็นเริ่มมีแบรนด์หลายแบรนด์ที่ทำ อย่าง Bulgari หรือ IWC ก็เริ่มพัฒนาสมาร์ทวอตช์ของตัวเองนาฬิกาลักชัวรีตัวท็อปสุด ผมคิดว่า ยังไงก็จะยังเป็นเรื่องกลไกแบบเดิม แต่เชื่อว่าทุกแบรนด์จะมีรุ่นที่เป็นสมาร์ทวอตช์ ผมว่า TAG Heuer ฉลาด ที่ลองออกรุ่น Connected มาลองตลาด ซึ่งก็ขายได้ เป็นการสร้างลูกค้าอีกกลุ่มขึ้นมา

Next Chapter

ลูกค้าของ FireOneOne มีทั้งบริษัทยักษ์ใหญ่หลายหมื่นล้าน แบรนด์ระดับโลก ไปจนถึงธุรกิจ SME เราได้ทราบมาสักพักใหญ่ๆ แล้วว่าชาคริตทำงานให้กับ แสนสิริ บริษัทอสังหารายใหญ่ของเมืองไทย และแสนสิริต้องการซื้อกิจการของ FireOneOne ให้ชาคริตเข้าไปช่วยดูแลเรื่องนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัยของแสนสิริทั้งหมด หลังจากที่คุยอยู่นาน ชาคริตก็ตัดสินใจขายธุรกิจบางส่วนให้ นั่นก็คือส่วนที่เรียกว่า Property Tech ที่ FireOneOne ทำมากว่า  7 ปี โดยมีข้อตกลงว่า ชาคริตจะเข้าไปนั่งเป็นซีอีโอของบริษัท ดูแลกองทุนมูลค่ากว่า 200 ล้านบาทที่เป็นการร่วมทุนระหว่าง แสนสิริ และ ธนาคารไทยพาณิชย์ โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะขยายเป็นขนาดหมื่นล้านบาทภายในห้าปี ซึ่งกองทุนนี้จะเข้าไปลงทุนในสตาร์ทอัพที่เกี่ยวกับเรื่องที่อยู่อาศัย เช่น สมาร์ทโฮม, Internet of Things, AI (ปัญญาประดิษฐ์) และ Fintech ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอยู่อาศัย เช่น เรื่องรีไฟแนนซ์

ชาคริตเผยว่า ปีค.. 2017 แสนสิริจะมุ่งหน้าสู่สมาร์ทโฮมเต็มรูปแบบ โดยโครงการแรกคือ Wireless ที่ปัจจุบันเป็นคอนโดที่มีราคาขายต่อตารางเมตรสูงที่สุดในประเทศ และในอนาคตจะรวมถึงโครงการทุกระดับ บ้านหรือคอนโดราคา 2-3 ล้าน เพราะเขาได้เข้าไปลงทุนในสตาร์ทอัพไทยที่สามารถผลิตระบบสมาร์ทโฮมได้ในราคาถูกกว่าต่างประเทศหลายเท่าตัวเรียบร้อยแล้วนี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งในการจัดตั้งกองทุนนี้ขึ้นมาชาคริตมองว่าคนไทยเก่ง แต่ถูกมองข้าม ส่วนหนึ่งเพราะสตาร์ทอัพเหล่านี้ยังไม่มีช่องทางในการเข้าถึงลูกค้ารายใหญ่ๆ ได้พอเป็นสตาร์ทอัพรายเล็กๆ ก็ไม่มีใครสน แต่พออยู่ภายใต้แบรนด์ของผม ผมเชื่อว่าทุกเจ้ายอมรับ

ตอนนี้กระแส Fintech กำลังมาแรง สถาบันการเงินใหญ่ๆ หลายรายเริ่มหันมาลงทุนใน Fintech มากขึ้นเทคโนโลยีนั้นไม่มีพรมแดน คุณไม่สามารถไปขวาง Application ได้ ใครก็สามารถดาวน์โหลด AliPay ได้ หรือถ้าวันหนึ่ง Facebook ทำตัวเป็นกระเป๋าเงิน (Wallet) แล้วจะเกิดอะไรขึ้นชาคริตเชื่อว่างานของธุรกิจการเงินการธนาคารที่มีรูปแบบซ้ำๆ จะถูกแทนที่ด้วย AI โดยบริษัทใหม่ที่เขาจะไปนั่งตำแหน่งซีอีโอนั้น ได้หมายตาสตาร์ทอัพไทยที่ทำเรื่องรีไฟแนนซ์ไว้เรียบร้อยแล้ว

Startup Thailand?

นอกจากจะมีบริษัทของตัวเองอีกหนึ่งบริษัทแล้ว ชาคริตยังเจียดเวลาไปก่อตั้งโรงเรียนสำหรับฟูมฟักผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีชื่อว่า Wecosystem อีกด้วย เขาเป็นคนวงในที่รู้จักวงการสตาร์ทอัพของไทยถึงไส้ถึงพุง เมื่อเราถามถึงกระแสเห่อสตาร์ทอัพของรัฐบาล ชาคริตเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่รัฐควรเข้ามาสนับสนุนอย่างเข้าใจและถูกจังหวะเราอาจแบ่งขั้นตอนพัฒนาของธุรกิจสตาร์ทอัพออกเป็น 4 ขั้น คือ Idea (คิด) Start (เริ่ม) Survive (รอด) และ Scale (ขยาย) สตาร์ทอัพกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ตายตั้งแต่ Start ไป Survive เหตุผลหลักก็เพราะเงินไม่มี ทรัพยากรไม่พอ ถ้าเงินมีน้อยก็ไปจ้างคนเก่งๆ มาทำไม่ได้ ถ้าไปจ้างคนเก่งๆ ก็ค่าตัวแพงๆ แล้วเงินหมดก่อนที่จะหาลูกค้าได้ หลายประเทศใช้วิธีสนับสนุนทางการเงิน สตาร์ทอัพที่มีไอเดียดี ทีมที่ดี ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ผลักให้เขาไปสู่ขั้น Survive ให้ได้ หลายประเทศเข้ามาช่วยให้สตาร์ทอัพนั้นอยู่รอด เช่นในอิสราเอล หรือชิลี ที่รัฐให้เงินเปล่าแบบไม่ถือหุ้น หรือถ้ารัฐไม่ลงทุน ก็ให้นายทุนกิจการ (Venture Capitalist) เข้ามาลงทุน โดยที่รัฐให้ความเชื่อมั่นว่าจะซื้อคืนหุ้นในอนาคตเพราะเอกชนส่วนใหญ่มองแค่เรื่องผลตอบแทน บางไอเดียคิดว่าดี แต่ยังไม่ให้เงินสนับสนุน รอให้สตาร์ทอัพโตหน่อยค่อยมาลงทุน  ซึ่งบางครั้งสตาร์ทอัพไปไม่ถึงจุดนั้น ตรงนี้รัฐช่วยได้ และอีกอย่างหนึ่งคือ รัฐสามารถเป็นลูกค้าของสตาร์ทอัพไทยได้ เช่น iTax เป็นสตาร์ทอัพที่ทำเรื่องภาษีมานานแล้ว เก่งมาก กรมสรรพากรควรจะสนับสนุน แทนที่จะมาลงทุนทำแอพพลิเคชั่นเอง ซึ่งพอทำเองคนก็ไม่ไว้ใจอีก

ปัญหาใหญ่ของสตาร์ทอัพในประเทศไทยคือเรามีวิศวกรน้อยไป ผลิตออกมาปีละ 7-8 พันคน ซึ่งไม่พอ ปัจจุบันวิศวกรจำนวนมากไปทำงานที่เป็นรูทีนอย่างทำเว็บไซต์ แทนที่จะไปคิดสิ่งใหม่ๆ เช่นเรื่อง Wearable Tech ในประเทศอินโดนีเซียปีนึงผลิตวิศวกรกว่า 2 แสนคน ผมไม่อยากเห็นภาพว่าวันหนึ่งเราต้องอิมพอร์ตวิศวกรมาจากอินโดนีเซียนั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ชาคริตเกิดแนวคิดสร้างห้องเรียนเขียนโค้ดออนไลน์ต้องการสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่หันมาเรียนเขียนโค้ดกันมากขึ้นโดยเฉพาะนักเรียนสายอาชีวะ

Epilogue

หลังจากที่พูดคุยกันมาสักพักใหญ่จนคิดว่าใกล้ถึงปลายทางการสัมภาษณ์ เราถามถึงหนังสือกองโตกองในห้องทำงานของเขา
มีตั้งแต่ Non-Fiction เรื่องจิตวิทยา วิทยาศาสตร์ ไปจนถึงแมกกาซีนด้านการออกแบบตอนนี้สนใจเรื่อง Customer Behaviour (พฤติกรรมของผู้บริโภค) ซึ่งจะพาไปสู่ความเข้าใจเรื่อง AI ผมเคยข้ามไปอ่านหนังสือที่สอนเรื่องทำ AI โดยตรง แต่ไม่ได้ชุดข้อมูลที่ดี เพราะ AI จำเป็นต้องมีชุดข้อมูลมาให้เรียนรู้ ผมจึงคิดว่าเราควรเรียนรู้เรื่องพฤติกรรมผู้บริโภคก่อน แล้วเราถึงจะทำ AI สำเร็จ

มาเร็ว เคลมเร็ว ต้อง Justin O’Shea ในบทบาทครีเอทีฟไดเร็คเตอร์ จาก Brioni

เก้าอี้ยังไม่ทันอุ่นดี ก็ได้เวลาอำลาเสียแล้วสำหรับ Justin O’Shea ในบทบาทของครีเอทีฟ ไดเร็กเตอร์ของ Brioni โดยคำสั่งสายฟ้าฟาดเปรี้ยงกลางฤดูฝนนี้ก็ไม่ได้มาจากใครที่ไหน ก็คือ Kering บริษัทแม่ของ Brioni นั้นเอง ซึ่ง Justin O’Shea เข้านั่งเก้าอี้ตัวนี้เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ด้วยความคาดหวังว่าจะรื้อและพลิกฟื้นตัวแบรนด์เหมือนที่ Gucci และ Saint Laurent เคยทำได้อย่างถล่มทลายมาแล้ว แต่ไม่ใช่กับ Brioni แบรนด์เครื่องแต่งกายสำหรับสุภาพบุรุษที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ปี 1945

fot. Szymon Brzoska - Style Stalker / EAST NEWS Street Fashion podczas Stockholm Fashion Week SS 2016

เสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมายเริ่มตั้งแต่ที่ Kering คัดเลือก Justin O’Shea เข้ามารับตำแหน่ง โดยที่เขาไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการออกแบบมาก่อนเลย ยาวเรื่อยไปจนถึงการโละทิ้งโลโก้อันเป็นเอกลักษณ์ ล้างภาพลักษณ์เก่าในสื่อทั้งหมด จนถึงการเลือกเปลี่ยนภาพลักษณ์แบรนด์เป็นหนุ่มร็อคเกอร์เฮฟวี่ เมทัลรุ่นใหญ่ อย่างการเลือกศิลปินรุ่นคุณปู่อย่าง Metallica มาเป็นมิวส์ในฤดูกาลล่าสุด นั้นยังไม่นับคำวิจารณ์อย่างดุเดือดสำหรับคอลเลกชั่นฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว 2016-17 ที่ผ่านมา นี่อาจจะเป็นการส่งสัญญาณเตือนจากกลุ่มลูกค้าและเทรนด์เซ็ตเตอร์ทั้งหลายว่าการช็อกผู้บริโภคสามารถทำได้และประสบความสำเร็จ แต่อาจไม่ได้มีสูตรสำเร็จแค่สูตรเดียว ต้องรอดูกันยาวๆ สำหรับกรณีของ Brioni ว่าจะถูกพาไปในทิศทางใดอีกหรือจะสามารถตีความใหม่ดึงเอาจุดแข็งแรงของตัวเองนำสำหรับอนาคตของตัวเอง

  • Raf Simons

  • Maria Grazia Chiuri

  • Hedi Slimane

  • Demna Gvasalia

  • Dao-Yi Chow&Maxwell Osbotne

เรียกได้ว่าปีนี้เป็นปีทองอีกครั้งสำหรับการโยกย้ายถ่ายเปลี่ยนครั้งใหญ่ เพราะนอกจาก Brioni แล้ว Hedi Slimane ผู้พลิกชีวิตของ Saint Laurent จนไม่เหลือเค้าเดิมก็ได้โบกมืออำลาพร้อมส่งไม้ต่อให้กับ Anthony Vaccarello ดีไซเนอร์หนุ่มคนล่าสุดมารับตำแหน่งบังคับหางเสือต่อ ไปจนถึง Raf Simons ที่ระเห็จออกจาก Dior แบบที่เรียกว่า ‘จบไม่สวย’ สักเท่าไรก็ได้เข้านั่งรับตำแหน่งครีเอทีฟ ไดเร็กเตอร์ที่ Calvin Klein เป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมไปถึงการลาจากตำแหน่งครีเอทีฟ ไดเร็กเตอร์จาก Canali ด้วย สำหรับ Andrea Pompilio ที่ตอนนี้ยังคงไม่เปิดเผยว่าใครจะมารับช่วงต่อแทน

  • Bouchra Jarrar

  • Andrea Pompilio

  • Alexander Wang

  • Alber Elbaz

  • Anthony Vaccarello

ยัง! ยังไม่หมด กับข่าวใหญ่ในช่วงนี้สำหรับดีไซเนอร์หนุ่ม Demna Gvasalia ผู้มากุมบังเหียนบ้าน Balenciaga แทน Alexander Wang ที่ช่วงหลังทำผลงานได้ไม่เข้าตากรรมการสักเท่าไรนัก นั้นยังไม่รวมถึงการอำลาของ Alber Elbaz ในแบรนด์ลูกรักตัวเองอย่าง Lanvin โดยล่าสุดได้ Bouchra Jarrar มารับไม้ต่อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อกันที่ฝั่งนิวยอร์คอย่าง DKNY ที่ได้ 2 คู่หูดีไซเนอร์ สุดคูล Dao-Yi Chow กับ Maxwell Osbotne มาร่วมพลิกฟื้นแบรนด์ให้สนุกและท้าทายยิ่งขึ้น ปิดท้ายกันที่ Dior หลังจากที่เก้าอี้ตำแหน่งตรีเอทีฟ ไดเร็กเตอร์ว่างมาหลายซีซั่นก็ได้ 1 ในคู่หูดีไซเนอร์จากบ้าน Valentino อย่าง Maria Grazia Chiuri สักทีโดยประเดิมคอลเลกชั่นฤดูใบไม้ผลิ/ฤดูร้อน 2017 เป็นคอลเลกชั่นแรก โดยอนาคตใครจะย้ายเข้าย้ายออกอย่างไร ลอปติมัมขอทำหน้าที่อัพเดทให้คุณได้ทราบเป็นคนแรก เพราะใดที่โลกกลมๆ นี้ยังคงหมุน เกมเก้าอี้ดนตรีของวงการแฟชั่นนี้ยังคงดำเนินต่อไปอย่างแน่นอน