Posts

SPECTROSYNTHESIS II – Exposure of Tolerance: LGBTQ in Southeast Asia

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับมูลนิธิซันไพรด์ พร้อมผู้สนับสนุนหลักอย่าง บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ร่วมจัดนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยระดับภูมิภาคเอเชีย โดยนิทรรศการ ‘สนทนาสัปสนธิ (SPECTROSYNTHESIS II – Exposure of Tolerance: LGBTQ in Southeast Asia)’ นั้นเล่าถึงเรื่องราวความหลากหลายทางเพศ ผ่านผลงานศิลปะร่วมสมัยจากศิลปินกว่า 50 ชีวิตในภูมิภาคเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

REN Hang – China

REN Hang – China

งานครั้งนี้ถือเป็นนิทรรศการต่อเนื่องจากครั้งแรกอย่าง SPECTROSYNTHESIS – Asian LGBTQ Issues and Art Now ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยมูลนิธิซันไพรด์ ณ Museum of Contemporary Art กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน เมื่อค.ศ. 2017 ที่ผ่านมา โดยในครั้งนั้นมีศิลปินจากเอเชียตะวันออกเชื้อสายจีนกว่า 22 ชีวิตเข้าร่วมแสดงผลงาน

Samson YOUNG – Hong Kong

Sunil Gupta – India

ซึ่งเหตุผลในการมาจัดงานครั้งนี้ในกรุงเทพมหานคร ก็เพราะว่ากรุงเทพฯ เป็นมหานครในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับการยอมรับว่ามีความเป็นมิตรกับสังคม LGBTQ อย่างชัดเจน ดังนั้น ผลงานต่างๆ ที่เข้าร่วมจัดแสดงในครั้งนี้จะแตกต่างหลากหลาย (ตามความหลากหลายทางเพศ) ทั้งงานที่บ่งบอกประสบการณ์และมุมมองส่วนตัวของศิลปิน ไปจนถึงงานวิพากษ์สิทธิมนุษยชน และความแตกต่างหลากหลายทางเพศ

Ming Wong – Singapore

Lionel Wendt – Sri Lanka

โดยนิทรรศการ ‘สนทนนาสัปตสนธิ’ จัดแสดงในห้องนิทรรศการหลักของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครทั้งชั้น 7 และชั้น 8 ตั้งแต่วันนี้ยาวไปจนถึง 1 มีนาคม

* หอศิลป์ฯ ปิดให้บริการทุกวันจันทร์

The Visual Silence in the Dark Room

สัมผัสความเงียบ เส้นสายและแสงสีที่ถูกลดทอน ผ่านสายตาของ Renato D’Agostin ในงานนิทรรศการ Metropolis Leica Gallery Bangkok เพื่อปรับความเข้าใจในการรับรู้เสียงแห่งความจริงในชีวิตของคุณขึ้นไปอีกขั้น

จากบ้านเกิดในเมืองเล็กๆ ไม่ห่างจากกรุงเวนิซ ประเทศอิตาลี เรนาโต ดาโกสติน ได้เดินทางไปเก็บประสบการณ์การเป็นผู้ช่วยช่างภาพกับ Alfredo Sabbatini ที่กรุงมิลานอยู่ได้สักพัก ก่อนจะตัดสินใจบินข้ามทะเลไปเป็นลูกมือของ Ralph Gibson ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา อยู่กว่าสิบสามปี ในวันที่เขามาจัดแสดงนิทรรศการ Metropolis ที่ Leica Gallery Bangkok นั้น ข้าวของกว่าครึ่งชีวิตของเขากำลังลอยเรือกลับไปยังประเทศอิตาลี ที่ที่เขาเพิ่งจะได้โกดังเก่าไม่ไกลจากเมืองเวนิซนำมาทำเป็นสตูดิโอทำงาน และเริ่มต้นอาชีพช่างภาพในประเทศบ้านเกิดอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเองครับที่ผมตัดสินใจย้ายกลับไปที่อิตาลี ส่วนหนึ่งเพราะผมเพิ่งสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับแกลเลอรีสามสี่แห่งที่นั่น และอีกส่วนหนึ่งคือเมื่อหลายปีที่ผ่านมานี้ผมคิดถึงทวีปยุโรปขึ้นมากะทันหัน ประจวบกับที่ผมเพิ่งเจอโกดังเปล่าชานเมืองเวนิซ สามารถเซ็ตอัพเป็นสตูดิโอจริงจังได้ เลยคิดว่าถึงเวลาที่จะย้ายกลับไปแล้ว ซึ่งปีถัดๆ ไปผมก็จะมีโปรเจ็กต์และนิทรรศการในทวีปยุโรป ทั้งกรุงปารีสและที่อื่นๆ คงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะพอดีน่ะครับ ครั้งแรกที่เรนาโตเหยียบแผ่นดินนิวยอร์ก เมืองแห่งโอกาสนั้น เขามีอายุได้เพียง 22 ปีเท่านั้น อาชีพแรกที่เขาทำเพื่อหาเงินค่าเช่าห้องได้แก่การรับจ้างจูงหมาเดินเล่นผมเลือกมาที่กรุงนิวยอร์กเพราะพวกเขาเปิดโอกาสให้กับผมมากกว่า

ตอนที่ผมเอาโปรเจ็กต์ไปเสนอราล์ฟ (กิบสันช่างภาพที่เขาเป็นผู้ช่วยอยู่นาน) เขาไม่สนใจเลยว่าผมอายุเท่าไหร่ ดังนั้นข้อเท็จจริงที่ว่างานผมสำคัญกว่าปัจจัยอื่นใดจึงทำให้ผมตัดสินใจอยู่ที่นี่ เป็นผู้ช่วยราล์ฟไปเรื่อยๆ ทำโปรเจ็กต์ของตัวเอง จนกระทั่งได้มาเปิดสตูฯ ของตัวเองนี่ล่ะครับ นิวยอร์กเป็นเมืองที่ให้โอกาสผมจริงๆ ในตอนนี้เพียงแค่ถึงเวลาต้องขยับขยายเท่านั้นเองครับเรนาโตเดินพาเราชมภาพถ่ายจากหลากหลายโปรเจ็กต์ส่วนตัวของเขาที่คัดเลือกมาแสดงในนิทรรศการ Metropolis ครั้งนี้ ในระหว่างที่เขาบรรยายเบื้องหลังแนวคิดและกระบวนการที่ซ่อนอยู่ในแต่ละภาพนั้นเราสัมผัสได้ถึงแรงหลงใหลและความตั้งใจจริงของเขาที่ถ่ายทอดออกมาได้อย่างชัดเจน

ภาพที่นำมาแสดงนี้มาจากโปรเจ็กต์หลากหลายของผมครับเขาเริ่มเล่าล่าสุดก็โปรเจ็กต์ ‘7439’ ซึ่งก็คือจำนวนไมล์ที่ผมขี่มอเตอร์ไซค์จากกรุงนิวยอร์กไปแคลิฟอร์เนียและเก็บภาพถ่ายระหว่างทางมาน่ะครับ ตอนที่ตัดสินใจทำโปรเจ็กต์นี้ผมแค่พยายามทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ รอบตัอธิบายยังไงดีนะตัวผมงานของผมน่ะ ผมไม่ใช่คนที่จะสื่อสารอะไรออกมาตรงๆ ในหัวข้อหนักๆ อย่างการเมืองหรือสังคม แต่สิ่งที่ผมพยายามจะสื่อสารคืออะไรบางอย่างที่อยู่ในพื้นที่นั้น ตรงนั้น มันต้องปรากฏอยู่ในงานของผม ผมอาศัยอยู่ที่กรุงนิวยอร์กก็จริง แต่นั่นมันเป็นแค่ส่วนหนึ่งของอเมริกา แอลเอก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง การเดินทางข้ามประเทศก็เป็นอีกประสบการณ์หนึ่ง และการถ่ายทอดสิ่งที่เห็น ความรู้สึกที่ได้ และอะไรบางอย่างออกมาในระหว่างการเดินทางนั้น แต่ไม่ใช่สื่อสารออกมาตรงๆ แบบวิพากษ์วิจารณ์ เป็นเรื่องที่ท้าทาย มากๆ เลยครับ” 

ระยะเวลาสองเดือนกับระยะทางทั้งหมด 7,439 ไมล์ (หรือประมาณ 12,000 กิโลเมตร) เรนาโตยอมรับว่าเขาเปลี่ยนแปลงไปไม่ทางใดก็ทางหนึ่งการเดินทางครั้งนี้เป็นการสร้างแรงบันดาลใจครั้งสำคัญให้ผมครับ เพราะมันคือการผลักดันตัวเองให้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง การเดินทางบนมอเตอร์ไซค์เปิดโอกาสให้คุณได้สัมผัสสภาพบรรยากาศรอบตัวได้เต็มที่ ตอนที่คุณเดินทางผ่าน Death Valley ผิวหนังคุณสัมผัสความร้อนระอุของอากาศ ได้เข้าใกล้ความตายในหุบเขานั้น จังหวะที่คุณแทบจะยืนไม่ได้ ไม่มีแอร์เย็นๆ ในรถให้หลบไอร้อน หรือตอนที่ฝนตกหนักที่รัฐอาลาบามา คุณแทบจะสัมผัสความบาดคมของเม็ดฝนบนเนื้อตัวคุณได้เล มันคือประสบการณ์ที่แตกต่าง และโปรเจ็กต์นี้ก็ไม่ต่างจากโปรเจ็กต์อื่นๆ ที่ผมทำ คือผมพยายามผลักดันตัวเองให้ก้าวไปถึงอีกจุดหนึ่ง จุดที่ร่างกายเริ่มจะเกินขีดจำกัด ไม่สบายตัว และไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ และในจังหวะนั้นจิตใจคุณจะว่างเปล่าและจดจ่อกับงานตรงหน้าได้อย่างเต็มที่ นั่นเป็นจังหวะที่คุณจะกดชัตเตอร์ด้วยแววตาที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

เรนาโตออกตัวว่าไม่ได้ต่อต้านกระบวนการถ่ายภาพแบบดิจิตอล เพียงแต่มันไม่ใช่สิ่งที่เขาหลงใหลเท่านั้นช่างภาพทุกคนก็ควรจะเลือกใช้อุปกรณ์ที่สามารถถ่ายทอดผลงานของตัวเองออกมาให้ดีที่สุดใช่ไหมล่ะครับเขายักไหล่ สำหรับผมแล้วการได้เดินเข้าห้องมืดถือเป็นกระบวนการอันศักดิ์สิทธิ์ที่นำมาซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายที่ผมพอใจ ซึ่งผลลัพธ์นี้ไม่เกี่ยวกับคุณภาพของภาพโดยรวมนะครับ อย่างที่รู้กันว่าเทคโนโลยีดิจิตอลก้าวล้ำไปไกลมากแล้ว แต่ผมไม่สนมันไงครับ ผมเคารพวัสดุต่างๆ ในห้องอัดในกระบวนการล้างฟิล์ม ยกตัวอย่างเช่นการให้แสง ทั้งในจังหวะปล่อยชัตเตอร์ให้แสงตกกระทบฟิล์ม และจังหวะที่ปล่อยแสงลงบนกระดาษในห้องอัด ถ้าพลาดไปนิดเดียวก็จะผิดไปเลย นี่คือกระบวนการเชื่อมโยงตัวเองของผมกับงานน่ะครับ ในงานดิจิตอลนั้นการควบคุมแบบนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณ แต่ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์และปัจจัยภายนอกอื่นๆ มากมายเหลือเกิน ผมก็แค่ไม่ถนัดเท่านั้นเอง

หลังจากอธิบายกระบวนการมายาวเหยียด เราก็อดสงสัยไม่ได้ว่าเขาพึงพอใจหรือหลงใหลกับผลงานที่เขาทะนุถนอมสักแค่ไหนกันเชียวผมตอบไม่ได้หรอกครับว่ามันออกมาดีแค่ไหนเขายักไหล่นั่นเป็นสิ่งที่ผู้ชมจะเป็นคนตัดสินน่ะครับ ผมรู้เพียงว่าทุกคืนที่ล้างฟิล์มในห้องน้ำของโรงแรมผมได้เห็นสิ่งที่ผมได้ถ่ายไปในตอนนั้น ผมรู้ว่าตากล้องดิจิตอลจะเห็นงานของตัวเองทันที แต่ผมไม่ใช่แบบนั้น ผมยังอยากเห็นกระบวนการคอนโทรลต่างๆ ในการล้างอัด ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญในตอนจบของแต่ละวัน ดังนั้นทุกครั้งที่เห็นผลลัพธ์ของวันก่อนหน้า ถ้าผมรู้สึกว่ามันยังไม่พอ ขาดอะไรไปสักอย่าง ผมก็เลือกที่จะอ้อยอิ่งอยู่แถวนั้นอีกสักนิด จนกว่าผมจะโอเคกับภาพโดยรวมของหนังสือทั้งเล่มในหัว ผมถึงออกเดินทางต่อ เอาเป็นว่าผมตื่นเต้นกับสิ่งที่ผมจับและถ่ายทอดออกมาน่ะครับ ตอบไม่ได้จริงๆ ว่างานมันดีแค่ไหน

เรายิ้มเมื่อได้ยินคำตอบ และพยายามอธิบายว่าเอเลเมนต์บางประการในรูปถ่ายของเขานั้นสามารถดึงดูดเราให้เข้าไปในภาพได้จริงๆ ไม่ว่าเราจะเข้าใจสารดังกล่าวหรือไม่ แต่เรารู้สึกได้ว่าภาพของเขานั้นสั่นสะเทือนความรู้สึกเราได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เราอยากรู้ว่าความรู้สึกนี้คือสิ่งที่เขาจงใจทำให้มันเกิดขึ้นหรือเปล่า เขาดูจะตัดสินใจอะไรบางอย่าง ก่อนจะจบบทสนทนากับเราด้วยอาการนิ่งเฉยเหมือนเดิมคุณคงเห็นว่างานส่วนใหญ่ของผมจะเป็นงานเกี่ยวกับภูมิประเทศ แต่สำหรับผมคำว่าแลนด์สเคปไม่ได้หมายถึงเมือง ภูเขา หรือต้นไม้เท่านั้น มันคือการนำสภาพภูมิประเทศมาลดทอนอะไรบางประการออก ให้เปลี่ยนความหมายไปในรูปแบบที่ผมเห็น คุณคงพอจะเข้าใจว่าเวลาเรามองภาพถ่าย สิ่งที่เราได้เห็น หรือเรียกว่าได้ยินก็ได้นะครับ คือความเงียบ มันคือ ‘visual silence’ หรือความเงียบที่มองเห็นได้ ซึ่งขัดแย้งกับภูมิประเทศที่มันถูกถ่ายมา มันต้องมีเสียงอยู่แล้ว และในสภาพแวดล้อมที่รายล้อมภาพเหล่านั้นอยู่ก็มีเสียงดัง มันคือสิ่งที่เราคุ้นชินจนเป็นปกติ ดังนั้นเวลาผมมองภาพตัวเอง หรืองานอาร์ตอื่นๆ ที่ผมชอบ ผมจะพยายามหาจังหวะการหายใจใหม่ๆ ที่นำพาซึ่งความเงียบนั้น พยายามลดทอนความเป็นจริงให้อยู่ในระดับที่สบายตัว ให้ภาพหนึ่งเหลือเพียงเส้นตั้ง เส้นนอน เส้นตัดที่พาดผ่าน และเหลือเพียงเสียงเงียบที่สื่อความหมายอะไรบางประการ คุณเข้าใจผมไหมครับภาพของผมจึงเป็นการลดทอนรายละเอียดต่างๆ ที่รกรุงรังจากโลกความเป็นจริงให้เหลือเพียงเสียงเงียบและความหมายบางประการที่สามารถสื่อสารระหว่างตัวภาพกับผู้ชมได้ ผมหวังว่าจะสามารถสร้างสรรค์ความรู้สึกต่างๆ เหล่านี้ให้คนดูงานของผมได้ หรือถ้าไม่ได้ อย่างน้อยที่สุดก็ตัวผมเองล่ะครับที่อยากจะสื่อสารกับภาพของตัวเองให้ได้อย่างนั้นเขาทิ้งท้าย แต่เราเชื่อว่าในวินาทีที่เราเดินดูงานของเขาในแกลเลอรีขนาดกะทัดรัดนี้ เราและเขาต่างสื่อสารกันผ่านความเงียบได้ไม่มากก็น้อย

ศักดิ์วุฒิ วิเศษมณี กับความเชื่อว่า “ถ้าเราจะเกิดมาเป็นศิลปิน เราก็จะเป็นศิลปิน”

ศักดิ์วุฒิ วิเศษมณี-ศิลปินวาดภาพและประติมากร

“อาชีพศิลปินของผมไม่ได้เป็นแบบตามสูตร ดังนั้น เวลาใครถาม ผมจะตอบว่า ผมเชื่อเรื่อง ‘เกิดมาเป็น’ ถ้าเราจะเกิดมาเป็นศิลปิน เราก็จะเป็นศิลปิน”

นิยามคำว่าแบบศักดิ์วุฒิหน่อย

ผมชอบงานศิลปะแบบย้อนยุค ผมอยากให้ศิลปะหยุดที่ยุค ’20s – ’40s ผมชอบทุกอย่างในยุคนั้นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเพลง ศิลปะ เนื้อหา เสื้อผ้า เสน่ห์อยู่ที่ความสวยงาม ผมประหลาดใจมากที่ยุคนั้นดีทุกอย่าง รวมไปถึงงานประติมากรรมด้วยนะ ผมชอบมากจริงๆ

เริ่มต้นเป็นศิลปินเมื่อไร

อาชีพศิลปินของผมไม่ได้เป็นแบบตามสูตร ดังนั้น เวลาใครถาม ผมจะตอบว่า ผมเชื่อเรื่อง ‘เกิดมาเป็น’ ถ้าเราจะเกิดมาเป็นศิลปิน เราก็จะเป็นศิลปิน มันหลีกเลี่ยงไม่ได้หรอกครับ

รู้ตัวตอนไหนว่าอยากเข้าคณะจิตกรรม

สมัยที่ผมเรียนมัธยมที่โรงเรียนบดินเดชา ผมจะแปลกกว่าคนอื่นนิดหน่อย คือผมชอบมองหน้าคน ชอบสังเกตว่าหน้าของเขาเป็นอย่างไร มีลักษณะแบบไหน จนเพื่อนถามว่าเป็นบ้าอะไรหรือเปล่า ตอนนั้นผมไม่ได้รู้จักคณะจิตรกรรม ของมหาวิทยาลัยศิลปากรเสียด้วยซ้ำ ผมเรียนสายวิทย์มาตลอด จนกระทั่งมีญาติรุ่นพี่มาพักที่บ้านเพื่อเตรียมตัวสอบเข้าคณะนี้ ผมเลยได้รู้จักคณะ รู้ว่ามีการสอบเอนทรานซ์โดยการวาดรูปด้วย เลยมาศึกษาดูว่าคณะนี้เป็นอย่างไร ทำให้รู้ว่ามีคณะที่สอบเข้าและสอบจบด้วยการเขียนรูปอยู่บนโลกนี้ด้วย

เข้าไปแล้วเป็นแบบที่คิดไหม

เรียนยากมากเลยครับ เพราะผมไม่มีพื้นฐานเหมือนคนอื่นๆ เคยคิดจะย้ายคณะเสียด้วยซ้ำ ปัจจุบันยังคิดอยู่เลยว่าถ้าตอนนั้นสอบย้ายคณะผ่านจริงๆ ประเทศไทยคงไม่มีศิลปินชื่อ ‘ศักดิ์วุฒิ’ แน่ๆ ผมเลยยิ่งมั่นใจในความเชื่อของผมว่า ถ้าคนเราจะเกิดมา ‘เป็น’ อะไร มันก็ต้องได้เป็น ในที่สุด ผมก็กระเสือกกระสนเรียนจนจบมาได้ โชคดีหน่อยที่ผมเป็นคนวาดเส้นได้ดีโดยธรรมชาติ ครั้งแรกที่ผมเขียนฟิเกอร์ ผมก็ได้ A เลย สำหรับคนอื่นนี่อาจจะยากเย็นสาหัส แต่สำหรับผม นี่คือความชอบ และเป็นเรื่องเดียวที่ผมทำได้ดีจริงๆ

เคยทำงานอย่างอื่นมาก่อนบ้างไหม

ผมโชคดีว่าตอนเรียนจบ งานแสดงธีสิสของผมไปถูกใจฝรั่งคนหนึ่งเข้า บวกกับตัวผมเองที่เคยได้รับรางวัลศิลปินรุ่นเยาวศิลป์ พีระศรี ทำให้ผมจบออกมาพร้อมดีกรีที่ได้เปรียบคนอื่นนิดหน่อย ฝรั่งคนนั้นเลยชวนผมไปทำงานที่บริษัทโฆษณาอยู่สักพักหนึ่ง จนกระทั่งเขากลับประเทศไป ผมจึงตัดสินใจออกจากงานตรงนั้น กลับมาอยู่บ้านเฉยๆ ตอนนั้นเครียดนิดหน่อยว่าจะทำมาหากินอะไร เลยกลับมานั่งเขียนรูป รู้อยู่แก่ใจนะว่าการเขียนรูปมันทำมาหากินยาก แต่ก็ยังจะเขียน และก็เป็นดังคาด อดมื้อกินมื้อไปครับ ตอนนั้นรับจ้างวาดภาพประกอบด้วยนะครับ แต่ละเดือนที่ต้องรอเงินพันกว่าบาทเข้ามานี่ทรมานพอสมควรทีเดียว

จำได้ไหมว่าขายภาพครั้งแรกคือภาพไหน

เป็นภาพที่รับจ้างมาจากคุณปีเตอร์ บุนนาค เขียนรูปภรรยากับลูกของเขา นับได้ว่าเป็นครั้งแรกเลยครับที่ได้รับการว่าจ้างอย่างจริงจัง และผลงานชิ้นนี้ก็ทำให้มีคนรู้จักผมมากขึ้น และได้รับการว่าจ้างแบบนี้ไปเรื่อยๆ

คุณผันตัวจากจิตรกรรับงานว่าจ้างมาเป็นศิลปินได้อย่างไร

ผมทำคู่กันครับ รับงานจ้างวาดพร้อมทำงานตัวเองควบคู่กันไป มีการแสดงงานนิทรรศการบ้างเป็นครั้งคราว รับงานว่าจ้างมาเรื่อยๆ รู้ตัวอีกที ผมกลายเป็นศิลปินไปเรียบร้อยแล้วครับ

จำได้ไหมว่าเริ่มเขียนในหลวงรัชกาลที่ 9 ตอนไหน

เขียนส่งประกวดงานฉลองครบรอบ 60 พรรษามาตั้งแต่สมัยเรียนแล้ว ถือเป็นครั้งแรกที่ได้เขียนภาพท่าน สมัยนั้นงานของเราไม่เนี้ยบมาก เป็นงานตามใจฉัน มีความดิบอยู่มาก หยุดไปบ้างสักพัก ก่อนจะกลับมาเขียนช่วงที่บ้านเมืองวุ่นวาย เพราะการเขียนภาพท่านเป็นการเยียวยาและปลอบประโลมใจที่ดี

การกลับมาครั้งนั้น ฝีมือเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างไร

เรียกได้ว่าเรากลับไปสู่การวาดเส้นพื้นฐานเลยดีกว่า กลับไปเริ่มต้นที่กระดาษเปล่าๆ มีแค่เส้นและน้ำหนัก เหมือนเริ่มเรียนวาดภาพใหม่ เคยมีคนวิจารณ์นะว่า งานของศักดิ์วุฒินี่ไม่มีอะไรเลย มีแต่ฝีมือ อ้าว … แต่แปลกนะที่คนดูและนักวิจารณ์กลับชอบ อาจจะเพราะว่างานผมธรรมดาจนกระทั่งพิเศษ ในปัจจุบัน หลายคนลืมไปแล้วว่าการวาดเส้นคือพื้นฐานของการวาดรูป แต่ทุกคนพยายามหันไปหางานศิลปะสมัยใหม่กันหมด

เริ่มทำงานประติมากรรมได้อย่างไร

เกิดจากการที่ผมชอบสะสมรูปปั้น มีเต็มบ้านเลย แต่วันหนึ่งเกิดเห็นว่า รูปปั้นในแบบที่เราอยากได้ และเราชอบจริงๆ นั้นยังไม่มีใครทำ พอมารู้จักรุ่นน้องที่ปั้นได้ เลยชวนมาช่วยกันปั้นดูว่าจะออกมาเป็นอย่างไร พอได้เริ่มปั้นแล้วสนุกกับการปั้นเสียแล้วตอนนี้ เพราะบางทีก็เบื่อกับการวาดเส้น การวาดภาพสีน้ำมันบ้างน่ะ ทำซ้ำๆ การปั้นก็เหมือนกับกรจุดไฟใหม่ๆให้เราบ้าง

แฟนคลับมีอิทธิพลต่อการออกผลงานแต่ละชิ้นไหม

มีครับ เพราะเวลาไปไหนมาไหนแล้วได้ยินใครบอกว่าเป็นแฟนคลับผม หรือชอบงานผม ผมก็รู้สึกไม่กล้าที่จะทำงานไม่ดีออกมา เพราะทุกคนคาดหวังกับตัวเรา นั่นคือแรงกดดันในทางบวกครับ

เวลาทำงานมีผลต่อจิตใจในลักษณะไหน

ตอน ‘ทำงาน’ จะเครียดกว่าปกติ อันนี้เป็นเรื่องปกติ ตอนเขียนเล่นๆ หรือวาดเล่นนี่ภาพจะออกมาสวย ดังนั้น ต้องคิดว่าทำอย่างไรงานจึงออกมาสวยเหมือนงานสเก็ตช์แบบนั้น บางครั้งต้องอาศัยการปล่อยวางความคาดหวัง และการปล่อยวางหรือรู้จักพอเมื่องานมาถึงจุดที่สวยแล้ว เพราะบางครั้งก็ปฏิเสธไม่ได้หรอกว่างานฟลุ้คๆมักจะออกมาดี หลังๆ มานี่ผมดีขึ้นเยอะแล้วนะ เพราะอายุมากขึ้น เรียนรู้แล้วว่าอะไรคืองาม นอกจากนั้นรสนิยมก็เปลี่ยนไปด้วย ตอนเด็กๆงานจะแรงกว่านี้ ไม่รู้เลยว่าสิ่งวาดไปคือผิด ตอนนี้เรียกได้ว่าสุขุมมากขึ้นตามกาลเวลา แต่ข้อดีของความไม่รู้ในตอนนั้นก็คือ ทำให้งานเราออกมาเป็นลักษณะนั้น

ถ้าวันหนึ่ง เวลาของคุณหมดลง คุณอยากให้ผู้คนจดจำคุณในฐานะอะไร

ในฐานะศิลปินครับ เป็นศิลปินคนหนึ่งที่ตั้งอกตั้งใจทำงาน ผลิตผลงานที่ทุกคนชื่นชอบ ซื่อสัตย์กับอาชีพตัวเอง บางครั้งผมอาจจะเห็นอะไรบางอย่างที่ผมคิดว่าไม่ถูกต้องในวงการศิลปะ และผมก็พูดเยอะ หวังว่าให้วงการศิลปะตื่นตัวและเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่บางครั้งความหวังดีของเราอาจจะไม่ใช่สิ่งที่คนอื่นต้องการได้ ดังนั้น ผมจึงทำหน้าที่ศิลปินของผมให้ดีที่สุด สร้างมาตรฐานในการสร้างงานในแบบของผม เพื่อที่วันหนึ่งผมจากไปแล้ว โลกจะจดจำผมได้จากผลงานของผม

เมื่อพิพิธภัณฑ์หัวแถวในประเทศฝรั่งเศสร่วมใจกันจัดนิทรรศการระลึกนักออกแบบอุตสาหกรรมคนสำคัญ

form follows money
โดยที่ Centre Pompidou จัดนิทรรศการระลึกถึง Pierre Paulin (ปิแยร์ โปแลง) และที่ Musee des Arts decoratifs ก็อุทิศพื้นที่ให้ Roger Tallon (โรแฌร์ ตาลง) ลอปติมัมจึงขอเกาะกระแสโดยการนำคุณผู้อ่านไปรู้จักกับเฟอร์นิเจอร์ประมูลห้าชิ้นที่เปรี้ยงที่สุดในโลกอินดัสเตรียลดีไซน์สมัยใหม่

การจัดนิทรรศการนั้นนอกจากจะทำให้เกิดกระแสต่างๆ ในวงการศิลปะอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว มันยังเป็นเครื่องมืออันทรงพลัง
ในการสื่อสารตัวตนของศิลปินผู้รังสรรค์งานเหล่านั้นอีกด้วย อาจกล่าวได้ว่า การจัดนิทรรศการงานศิลป์นั้นคืออีกวิธีการหนึ่งในการประเมินค่า (อันหมายถึงมูลค่าหรือราคา) และความหมาย (อันหมายถึงคุณค่าในเชิงศิลปะ) ที่ซ่อนไว้ในงานศิลปะชิ้นนั้นๆ อย่างเป็นรูปธรรม และในบริบทที่เราจะกล่าวถึงนั้น “งานศิลปะ” ในที่นี้ก็คือเฟอร์นิเจอร์วินเทจและลิมิเต็ดอีดิชั่นต่างๆ ที่ถูกนำออกมาสู่ตลาดและสายตาประชาชนอีกครั้งหนึ่ง และมันก็ไม่ได้มาเดี่ยวๆ แต่มาพร้อมกับประวัติและความสามารถของดีไซเนอร์ที่ออกแบบพวกมันอีกด้วย เฟอร์นิเจอร์ประเภทที่เป็นงานศิลปะด้วยนี้ได้รับความนิยมมากในช่วงก่อนยุคมิลเลนเนียม ซึ่งในยุคนั้นมีการจัดงานประมูลสินค้ากันอย่างแพร่หลาย ถือเป็นกลยุทธ์ในการขายอันแยบยล เพราะมันคือการเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อมีโอกาสกำหนดราคาด้วยตัวเอง และการจัดประมูลนั้นคือการรวบรวมสินค้าคอลเลกชั่นพิเศษต่างๆ พร้อมกำหนดหัวข้อการประมูลสุดแนวเพื่อดึงดูดกลุ่มผู้ซื้อ ไม่ว่าจะเป็นธีม Light is More หรือ Black in Domestic Landscape ที่จัดขึ้นที่โรงประมูล Artcurial (ที่สร้างขึ้นอย่างใหญ่โตในปีค.ศ. 2002 ไว้สำหรับประมูลสินค้าแนวๆ นี้โดยเฉพาะ) นอกจากนั้นยังมีการจัดนิทรรศการงานศิลป์และจัดประมูลเฟอร์นิเจอร์งานศิลป์มูลค่าสูงอย่างงาน PAD Paris ที่เพิ่งเฉลิมฉลองครบรอบปีที่ 20 ไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และงาน PAD London ที่กำลังจะฉลองครบรอบ 10 ปีในฤดูใบไม้ผลิหน้า รวมไปถึงเทศกาลแสดงงานออกแบบอย่างเทศกาล D’Days ครั้งที่ 16 จัดขึ้นตั้งแต่ 30 พฤษภาคม – 5 มิถุนายนในธีม “R/Evolution”หรือถ้าจะมองในแง่ของการตลาด การจัดงาน Art Basel

ที่เมืองบาเซล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดีอย่างหนึ่ง โดยงานจัดสองครั้งในหนึ่งปี คือในเดือนธันวาคมและเดือนมิถุนายน ถือเป็นงานที่นักสะสมทั่วโลกเดินทางไปเสาะแสวงหางานศิลปะที่ตนชื่นชอบ นอกจากนั้นยังเป็นงานรวมตัวพ่อค้า กรรมการตัดสินงานศิลป์และนักวิจารณ์ และผู้จัดเดียวกันก็จัดงาน Design Miami ที่เมืองไมอามี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา (เพื่อรองรับนักสะสมชาวอเมริกาและอเมริกาใต้) และปีค.ศ. 2013 ก็ยังจัดงาน Art Basel พิเศษขึ้นที่ประเทศฮ่องกง เพื่อรองรับนักสะสมในภูมิภาคนี้อีกด้วย และก็เป็นที่แน่นอนว่าบรรดานักสะสมต่างก็มุ่งหน้าไปที่งานนี้กันอย่างคึกคัก “สำหรับนักสะสมผลงานศิลปะแล้ว พวกเขาคงไม่อยากได้เฟอร์นิเจอร์หน้าตาธรรมดาที่หาได้ตามท้องตลาดหรอก พวกเขาก็อยากจะได้เฟอร์นิเจอร์ที่มีค่าเทียบเท่ากับคอลเลกชั่นงานศิลปะของพวกเขานั่นล่ะ” Cédric Morisset (เซดริก โมริเซ) ให้สัมภาษณ์ เขาเคยเป็นที่ปรึกษา และทำพีอาร์ให้กับดีไซเนอร์ชื่อดังอย่าง Noé Duchaufour-Lawrance (โนเอ ดูโชฟูร์-โลรองซ์) และ Paco Rabanne (ปาโก ราบาน) ในโปรเจ็กต์การออกแบบขวดน้ำหอมชุด ‘1 Million’ และเคยเป็นทำงานด้านดีไซน์ให้กับ Piasa ในปัจจุบันเซดริกเป็นผู้บริหารร่วมของแกเลอรี Carpenters Workshop ที่ตั้งขึ้นในปีค.ศ. 2006 โดยมีคอนเซ็ปต์คือ ‘ห้องที่ตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบโดยศิลปินเท่านั้น’ ปัจจุบันแกเลอรีนี้รับจัดงานนิทรรศการทั้งที่กรุงลอนดอน กรุงปารีส และกรุงนิวยอร์ก

ในขณะที่ Fabien Naudan (ฟาเบียง โนดอง) รองประธานโรงประมูล Artcurial ได้ออกความเห็นในเรื่องการได้รับการยอมรับในสังคมปัจจุบันไว้ว่า “สำหรับคนสมัยใหม่นั้น การได้เป็นเจ้าของผลงานศิลปะร่วมสมัยสักชิ้น หรือหลายๆ ชิ้นต่างก็เป็นภาพลักษณ์ที่ทุกคนยินดีที่จะแสดงให้คนรอบข้างเห็น ผู้คนที่คลุกคลีในวงการอินดัสเตรียลดีไซน์ หรือวงการศิลปะร่วมสมัยนั้นต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่า ราคาและคุณค่าของงานศิลป์เหล่านี้นั้นมีแต่จะสูงขึ้นทั้งจากปัจจัยด้านคุณค่าในตัวของมันเอง และปัจจัยแวดล้อมของสังคม” ประจักษ์พยานที่ชัดเจนนั้นก็ได้แก่ การประมูลภาพวาด “Les Femmes d’Alger” ของ Pablo Picasso (ปาโบล ปิคาสโซ) ที่ Christie’s New York เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2015 นั้นเคาะราคาไปที่ 179.365 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการทำลายสถิติการประมูลภาพ “Three Studies of Lucian Freud” โดยFrancis Bacon (ฟรานซิส เบคอน) ที่ประมูลไปเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2013 ที่ราคา 142.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และสถิติการประมูลสูงสุดในโลกของเฟอร์นิเจอร์คอลเลกชั่น “Lockheed Lounge” โดย Marc Newson (มาร์ก นิวสัน) ที่จัดประมูลที่ Phillips London ในวันที่ 28 เมษายน 2015 ในราคาถึง 4.69 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และราคาของเฟอร์นิเจอร์และงานศิลปะเหล่านี้นั้นก็รังแต่จะพุ่งสูงขึ้นไปตามวันเวลาที่ผ่านไปเซดริกสรุปจบท้ายไว้ว่า “ราคาของงานพวกนี้ไม่มีคำว่า ‘สูงเกินไป’ เพราะมันสามารถวัดได้จริงๆ ว่าราคาเหล่านั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร เพราะเรารู้กระบวนการผลิต ต้นทุนทั้งค่าวัสดุและแรงงาน ซึ่งก็รวมไปถึงคุณภาพของการผลิตชิ้นงานนั้นๆ ด้วย ยกตัวอย่างงานที่ผลิตจากแก้วมูราโน (Murano) ในยุค ’50s หรือคอลเลกชั่นเฟอร์นิเจอร์ทองสัมฤทธิ์ของ Vincent Dubourg (แวงซองต์ ดูบูรก์) ก็คงเห็นได้ชัดเจน และผมบอกได้เลยว่า นี่เป็นเพียงเสี้ยวเดียวของวงการประมูลงานศิลป์เท่านั้น และวงการนี้ก็เพิ่งจะเริ่มต้น เราคงต้องจับตากันต่อไปในระยะยาว”

226_001.pdf

-10 ชิ้นที่ผลิตจริง + 4 AP (Artist’s Proofs) และต้นแบบอีกหนึ่งชิ้น

-เคาะราคาที่ £2,434,500 เมื่อ 28 เมษายน 2015  ที่ Phillips London

-1990 ปีที่ผลิตผลงาน

MARC NEWSON (ชาวออสเตรเลีย เกิดที่ซิดนีย์ ในปีค.ศ. 1963)

เขาเป็นหนึ่งใน “100 ผู้ทรงอิทธิพลในโลก” ที่จัดอันดับโดยนิตยสาร Time

เก้าอี้เลาจน์รุ่น “Lockheed Lounge”

ทำจากแผ่นอะลูมิเนียม เชื่อมติดกันด้วยหมุดโลหะ

jean-prouve-unique-table-trapeze-dite-table-centrale-1956-artcurial-6

เคาะราคาที่ €1,241,300 เมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 ที่ Artcurial Paris

ความยาว 3.30 ม.

1956 ปีก่อตั้งมหาวิทยาลัย Antony

JEAN PROUVÉ  (ชาวฝรั่งเศส เกิดที่ปารีส ในปีค.ศ. 1901 เสียชีวิต ที่นองซีในปีค.ศ. 1984)

โต๊ะอเนกประสงค์รุ่น The “Trapéze Table” หรือ “Table Centrale”

ขาทำจากเหล็กกล้าเคลือบแล็กเกอร์ สีดำ ท็อปทำจากไม้เนื้อแข็ง

23972148_fb_a

เคาะราคาที่ $3,824,000 เมื่อ 9 มิถุนายน 2005 ที่ Christie’s New York

ขนาด 157.20 x 86 ซม.

1949 ปีที่ผลิตผลงาน

CARLO MOLLINO (ชาวอิตาเลียน เกิดที่ตูริน ในปีค.ศ. 1905 เสียชีวิต ในปีค.ศ. 1973)

UNIQUE OAK AND  GLASS TABLE

ออกแบบให้กับ Casa Orengo (เมืองตูริน)

ron-arad-bibliotheque-restless-bis-artcurial-2

เคาะราคาที่ € 373,800 เมื่อ 27 ตุลาคม 2014 ที่ Artcurial Paris

2007 ปีที่ผลิตผลงาน

ขนาด 188 x 246.40 x 43.20 ซม.

RON ARAD (ชาวอิสราเอล เกิดที่เทลอาวีฟ ในปีค.ศ. 1951)

ชั้นวางหนังสือรุ่น “RESTLESS” ทำจากเหล็กกล้าที่ไม่ขึ้นสนิม

ห้านิทรรศการและอีเวนต์น่าสนใจในประเทศไทยและเพื่อนบ้านใกล้เคียง

galeriequyhn

WHAT: Hopscotch หรือ การเล่นตังเต
WHERE: Galerie Quynh, Ho Chi Minh City, Vietnam
BY WHOM: โด แทง ลัง และ หว่าง นัม เวียด
WHEN: 15 กันยายน – 29 ตุลาคม 2559
MORE INFO: www.galeriequynh.com
ผลงานการวาดภาพของศิลปินเลือดใหม่ชาวเวียดนามที่เกิดในยุคที่ประเทศกำลังก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจตลาดเสรี หลังจากที่ปิดประเทศมาอย่างเนิ่นนาน โดยผลงานของศิลปินทั้งคู่ต่างก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เส้นสายที่ดูโดดเด่นและลึกลับ ผ่านการนำเสนอในหัวข้อว่าด้วยความอิสระและการล่วงละเมิด ผลงานเหล่านี้อาจจะสื่อถึงความมุ่งมั่นอย่างสงบเงียบที่จะเคลื่อนไหวต่อต้านกระแสสังคมของคนหนุ่มสาวที่มีความอยากรู้อยากเห็น และฝันเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในสังคม เปรียบเสมือนการดำเนินเกมชีวิตที่ไม่ต่างจากการเล่นตังเต แม้จะไม่ง่าย แต่ก็แฝงไปด้วยความสนุกสนานและท้าทาย

img_8489
WHAT: วันถวัลย์ ดัชนี 2559
WHERE: พิพิธภัณฑ์บ้านดำ จังหวัดเชียงราย
WHEN: 27 กันยายน 2559
MORE INFO: 053-776-333 / info@thawan-duchanee.com
เพื่อเป็นการระลึกถึงความยิ่งใหญ่ของถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติผู้ล่วงลับ ในวันที่ 27 กันยายนของทุกปี ซึ่งตรงกับวันเกิดของอาจารย์ถวัลย์ พิพิธภัณฑ์บ้านดำ จังหวัดเชียงราย จัดงานใหญ่ประจำปี “วันถวัลย์ ดัชนี” ณ พิพิธภัณฑ์บ้านดำ จังหวัดเชียงราย โดยจะมีพิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุประทาน ในเวลา 9.09 น. จากนั้นจะมีพิธีและกิจกรรมการแสดงต่างๆ ตลอดทั้งวัน พิพิธภัณฑ์บ้านดำจึงขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมรำลึก ระลึกถึงอาจารย์ถวัลย์ ดัชนีใน ‘วันถวัลย์ ดัชนี’

poster-createoutline-edit 50x70 print preview size
WHAT: ปัจจุบันขณะที่ไร้กาลเวลา
WHERE: พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
BY WHOM: คามิน เลิศชัยประเสริฐ
WHEN: 25 กันยายน 2559 – 6 กุมภาพันธ์ 2560
MORE INFO: 052-081-737
นำเสนอผลงานหลากหลายรูปแบบของศิลปินในสองช่วงเวลาชีวิตที่ผ่านมา 36 ปี โดยช่วงสิบปีแรก (2522-2531) เป็นผลงานที่รังสรรค์ขึ้นระหว่างเริ่มต้นศึกษาศิลปะและใช้ชีวิตอยู่ที่มหานครนิวยอร์ก โดยมุ่งหมายที่ค้นหาความหมายและตั้งคำถามถึงการมีชีวิตอยู่ และช่วงสิบปีหลัง (2551 – 2559) เป็นความตระหนักรู้ถึงสภาวะการมีอยู่ของอดีตและอนาคตที่ส่งผลมาถึงการดำรงอยู่ใน “ปัจจุบันขณะ” อันเป็นกระบวนการเรียนรู้สำคัญที่ทำให้ศิลปินเข้าใจถึงจุดเชื่อมต่อระหว่างอดีตและอนาคต ว่าไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น ณ เวลาใด นอกจากปัจจุบันขณะเท่านั้น ก่อเป็นผลงานชุด “ปัจจุบันขณะ ที่ไร้กาลเวลา” ที่ได้จัดแสดงครั้งนี้นี่เอง

japan
WHAT: นิทรรศการภาพถ่ายการเปลี่ยนแปลงของญี่ปุ่นหลังสงคราม
WHERE: ชั้น 1 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร
BY WHOM: อิเฮ คิมุระ / ยาสึฮิโระ อิชิโมโตะ / เคน โดมอน / เอโคะ โฮโซเอะ / ฮิโรชิ ฮามายะ / คิคุจิ คาวาดะ / โชเม โทมัตสึ / ทาเคโยชิ ทานูมะ / ชิเจกิ นากาโนะ / อิคโคะ นาราฮาระ และทาดาฮิโคะ ฮายาชิ
WHEN: 17 กันยายน – 14 ตุลาคม 2559
MORE INFO: 02–224-8030 ต่อ 202
งานที่รวบรวมภาพถ่ายหลังสงครามของญี่ปุ่นทั้งสิ้น 123 ภาพ แบ่งเป็น 3 ช่วงเวลาคือ ช่วงผลจากสงคราม ช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างขนบธรรมเนียมประเพณีและความเป็นสมัยใหม่ และช่วงสู่การเป็นญี่ปุ่นยุคใหม่ โดยภาพทั้งหมดถ่ายโดยช่างภาพชาวญี่ปุ่นทั้งสิ้น 11 ชีวิต เป็นการเผยแง้มให้เห็นบันทึการเปลี่ยนแปลงทางสังคมผ่านมุมมองทางศิลปะของช่างภาพแต่ละคนที่มีบทบาทในช่วงการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญครั้งนี้ด้วย แม้ว่าแนวทางการถ่ายภาพจะแตกต่าง แต่จุดร่วมของช่างภาพแต่ละคนคือ ความพยายามที่จะสะท้อนให้เห็นถึงภาพสังคมญี่ปุ่นที่เปลี่ยนแปลงไป และการแสวงหาความเข้าใจในความซับซ้อนทางอัตลักษณ์ของญี่ปุ่นสมัยใหม่

recollectionsofbeachforest
WHAT: นิทรรศการสำรวจป่าชายหาด / Recollections of Beach Forest
WHERE: ห้องคลังข้อมูล ฝ่ายจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม และบ้านเจ้าพระยารามราฆพ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
BY WHOM: LIKAYBINDERY
WHEN: 1 ตุลาคม 2559 – 5 มกราคม 2560
MORE INFO: 032-508-443-5 / www.mrigadayavan.or.th
สตูดิโอกระดาษและเย็บสมุดชื่อดังของประเทศไทยจัดงานนิทรรศการต่อเนื่อง ซึ่งประกอบไปด้วย 3 โครงการย่อยคือ (1) Paper Botanical ผลงานชุดประติมากรรมกระดาษ (2) Visual Diary ผลงานชุดบันทึกพรรณไม้ป่าชายหาดต่างๆ ในลักษณะกึ่ง Herbarium และ (3) Plant Sculpture ผลงานชุดบันทึกรายละเอียดทางสัณฐานวิทยา (ลักษณะตัวใบ และเส้นใบ) ของพรรณไม้ป่าชายหาด โดยจัดแสดงในรูปแบบที่ผสมผสานกันระหว่างความงดงามทางศิลปะและฐานข้อมูลความรู้

MAIIAM Contemporary Art Museum พิพิธภัณฑ์ใหม่ล่าสุด ริมถนนสันกำแพง

Serenity of Light

IMG_4361

เมื่อกล่าวถึงศูนย์กลางของศิลปะร่วมสมัยของไทยแล้ว เปรียบได้กับ ‘ตลาด’ ศูนย์กลางการซื้อขาย เพราะเป็นแหล่งรวมสะสมศิลปะ และแกลเลอรีชั้นนำ แสงสีและคอกเทลปาร์ตี้เปิดนิทรรศการศิลปะมักจะอยู่ที่กรุงเทพฯ เสียส่วนใหญ่ ทว่า ‘บ้าน’ ของเหล่าศิลปินนั้นคงต้องเป็นเชียงใหม่ คงเพราะบรรยากาศของเมืองเชียงใหม่ที่แช่มช้า เหมาะกับการใช้ชีวิตชิลๆ ทำให้ศิลปินมากหน้าหลายตา ทั้งไทยและต่างประเทศ เลือกเป็นที่พำนัก สร้างสรรค์งานศิลปะอยู่อย่างเงียบเชียบมานาน แต่เมื่อพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย ‘ใหม่เอี่ยม’ เปิดตัว สปอตไลต์ก็กลับมาส่องที่เชียงใหม่แทน

IMG_4382

MAIIAM Contemporary Art Museum เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะของเอกชน ก่อตั้งโดย ฌอง มิเชล เบอร์เดอเลย์ กับภรรยาผู้ล่วงลับ พัฒศรี บุนนาค และ อิริค บุนนาค บูธ ลูกชายผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ จุดประสงค์หลักเพื่อเป็นที่จัดแสดงงานศิลปะร่วมสมัยที่ครอบครัวสะสมมานานนับทศวรรษ

IMG_4371

ตัวอาคารดัดแปลงจากโกดังเก่าริมถนนสันกำแพง อิริค บุนนาค บูธ มอบหมายให้สถาปนิกจาก all(zone) มาบูรณะ และดีไซน์โครงสร้างใหม่สวมทับเข้าไป สถาปนิกออกแบบให้ด้านหน้าอาคารเป็นผนังกระจกโมเสกนับหมื่นชิ้น ใช้เทคนิคประดับกระจกของช่างสิบหมู่ไทย สร้างเอฟเฟกต์อันน่าตื่นตา พื้นที่อาคารทั้งหมดกว่า 3,330 ตารางเมตร ประกอบไปด้วยส่วนจัดแสดงถาวร และนิทรรศการหมุนเวียน ด้านหน้าเป็นร้านอาหารและร้านค้าพิพิธภัณฑ์ คั่นกลางด้วยคอร์ต
เปิดโล่งขนาดใหญ่

IMG_4359

นิทรรศการที่เปิดตัวพร้อมพิพิธภัณฑ์คือ ‘คนกินแสง’ (The Serenity of Madness) ของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์คนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัล Palme ’dOr จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ และนี่ก็เป็นงานแรกที่รวมผลงานทั้งหนังสั้น หนังยาว ตลอดจนกระบวนการทำงานของศิลปินผู้นี้ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี โดยจะจัดแสดงถึงวันที่ 10 กันยายนนี้เท่านั้น งานนี้คอศิลปะและภาพยนตร์ไม่ควรพลาด

IMG_4385

***ที่อยู่: 122 ตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ค่าเข้าชม: 150 บาท เวลาทำการ 10.00 – 18.00 น. (ปิดวันอังคาร) www.maiiam.com***

การร่วมมือกันกับ Trek แบรนด์จักรยานยักษ์ใหญ่ กับศิลปินสายคอนเซ็ปต์ชวลชื่อก้องโลกอย่าง Damien Hirst

The come back of legend

madone_damian_hirst_artbike_mr

Butterfly Trek Madone คือชื่อของจักรยานคันนี้ เป็นการร่วมมือกันกับ Trek แบรนด์จักรยานยักษ์ใหญ่จากอเมริกากับศิลปินสายคอนเซ็ปต์ชวลชื่อก้องโลกอย่าง Damien Hirst ที่นำเอาปีกผีเสื้อจริงๆ มาประดับทั้งคันรวมไปถึงขอบล้อจักรยานและเคลือบพื้นผิวด้วยแล็คเกอร์ ดาเมี่ยน เฮิสท์ กล่าวว่า “ผมไม่ต้องการใช้รูปผีเสื้อหรือวัสดุเสมือน เพราะไม่สามารถทดแทนเอฟเฟ็คของปีกผีเสื้อยามกระทบแสงอาทิตย์จริงๆ ได้ และที่สำคัญคือเราต้องไม่เพิ่มน้ำหนักให้แก่จักรยาน” เป็นจักรยานที่ Lance Armstrong (แลนซ์ อาร์มสตรอง) ปั่นในรายการ Tour de france ปี 2009 จักรยานคันนี้จึงนับว่าเป็นทั้งพาหนะและงานศิลปะในคันเดียวกัน   จักรยานคันนี้สร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์เดียว นั่นคือเป็นเกียรติต่อการกลับมาอีกครั้งของแลนซ์หลังจากต้องรับการผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากและหยุดการแข่งขันไปหลายปี จักรยานของแลนซ์เคยถูกประมูลในนิวยอร์กไปแล้วถึง 6 คัน ซึ่งในวันที่ 1 พฤศจิกายนในปีเดียวกันนั้นเอง จักรยานคันนี้ได้ถูกประมูลไปราว 500,000 เหรียญสหรัฐและนับว่าเป็นจักรยานที่แพงที่สุดในโลกไปโดยปริยาย รายได้รวมจักรยานทั้ง 7 คันของเขามีมูลค่าสูงถึง 1,250,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งได้สมทบทุนของ Livestrong มูลนิธิโรคมะเร็งที่เขาก่อตั้งขึ้น

Content by Kornpat K.

มองผ่านเลนส์ช่างภาพสงครามในงานของแฟชั่น

At War with Dolce & Gabbana

หากคุณจะคุ้นตากับภาพโฆษณาเคมเปญของเหล่าบรรดาแบรนด์แฟชั่นที่ต่างทะยอยออกมาอวดโฉมความสวยงามและความคิดสร้างสรรค์เพื่อที่จะสื่อและเล่าเรื่องราวถึงคอนเซ็ปต์ที่แต่ละแบรนด์พยายามที่จะสื่อสารถึงกลุ่มลูกค้าของตนให้เข้าถึงความหมายและกระตุ้นความอยากที่จะให้ได้เป็นเจ้าของนั้น ในแต่ละแบรนด์ต่างงัดเอากลยุทธและวิธีการต่างๆ มากมายมาแข่งขัน เม็ดเงินจำนวนมหาศาลต่างถูกหว่านไปกับงานโปรดักชั่นที่ออกมาในแต่ละฤดูกาล ไม่รวมถึงการแย่งชิงตัวนางแบบนายแบบแถวหน้าที่กำลังเป็นกระแสโด่งดัง และที่สำคัญช่างภาพแฟชั่นที่มีชื่อเสียงที่จะมาเป็นคนลั่นชัตเตอร์และการันตีว่าภาพโฆษณาเคมเปญที่ถูกปล่อยออกไปนั้นจะถูกใจและสามารถดึงดูดเงินในกระเป๋าคุณกับเหล่าแบรนด์ได้อย่างแน่นอน

DSC_2202

แต่สูตรสำเร็จเหล่านั้นกลับถูกตีความหมายใหม่โดย Dolce & Gabbana ในภาพโฆษณาเคมเปญ คอลเลกชั่นฤดูหนาว 2016-17 ที่ได้ Franco Pagetti ช่างภาพข่าวหนังสือพิมพ์ชาวอิตาเลียนมาเป็นคนลั่นชัตเตอร์ภาพโฆษณาเคมเปญในฤดูกาลล่าสุด ถึงแม้ว่าชื่อของเขาอาจจะไม่ได้คุ้นหูในวงการแฟชั่นมากนัก แต่ Franco Pagetti เริ่มทำงานเป็นช่างภาพสายข่าวมาตั้งแต่ปี 1994 งานหลักของเขาคือ ช่างภาพข่าวสงคราม ซึ่งแน่นอนว่าเขาเคยบุกทะลุยถ่ายภาพมาแล้วทั้ง อัฟกานิสถาน โคโซโว ติมอร์ตะวันออก ปาเลสไตน์ เซียร์ราลีโอน รวมไปถึงซูดานใต้และกรุงแบกแดก ซึ่งแน่นอนว่าภาพถ่ายของเขาต่างจับความรู้สึกถึงภาวะการสูญเสีย ความโหดร้ายหวาดกลัว ความรุนแรงและความหดหู่

ผลงานของเขาที่ร่วมงานกับ Dolce & Gabbana ล่าสุดนี้ จึงเปรียบเสมือนตลกร้ายที่เหล่าบรรดานางแบบชื่อดังครบทุกเชื้อชาติอย่าง Biance Balti, Cong he, Sasha Kichigina ต่างอยู่ในอาภรณ์ที่สวยงามหรูหราบนฉากหลังของตรอกซอกซอย ข้างถนนหนทางในอิตาลี เหล่านางแบบถูกจับจ้องจากสายตาของคนเดินถนนทั่วไป บ้างหยอกล้อและตกเป็นเป้าสายตาของบรรดาหนุ่มอิตาเลียนที่แสดงถึงความแตกต่างในเรื่องของระดับชนชั้นได้อย่างชัดเจนและไม่ว่าความหมายที่แท้จริงของ Franco Pagetti ที่ต้องการจะสื่อสารและสอดแทรกจะเป็นเช่นไร สูตรสำเร็จแบบเดิมๆ ก็กำลังจะถูกตีความใหม่ในแง่ของชั้นเชิงของการนำเสนอแบบใหม่ๆ ผ่านสายตาและมุมมองของคนที่อยู่ต่างวงการกัน

Content by Chanond M.

เก็บตกจากงานสถาปนิก 59 กับเรื่องราวของสถาปนิกระดับโลก ที่มาเยือนไทย และผลงานคนไทยที่ไปยืนในเวทีโลก

architect expo 59

งานสถาปนิก 59 ปีนี้ก็น่าสนใจเหมือนเช่นเคย เป็นงานที่ได้พบกับนวัตกรรมและสัมผัสแนวคิดสร้างสรรค์มากมาย แต่สิ่งที่ผมอยากหยิบยกมาพูดถึงเป็นพิเศษก็คือการเชิญสถาปนิกต่างประเทศ
มาใน ASA International Forum ซึ่งก็มีทุกปีนะครับ แต่ปีนี้มีสถาปนิกญี่ปุ่นที่มีชื่อชั้นระดับโลกมาพูด เป็นอีกคนหนึ่งที่สถาปนิกไทยหลายคนชื่นชมผลงาน นอกเหนือจากชื่อที่เราคุ้นกันอย่างทาดาโอะ อันโดะ ในขณะที่เราเชิญระดับโลกมาได้ งานของสถาปนิกไทยก็ได้รับการยอมรับในเวทีโลกเช่นกัน ที่สำคัญเป็นโปรเจ็คต์ขนาดเล็ก แต่มีความหมายยิ่งใหญ่มาก

s03-0169-W1

SANAA

human-nature_sanaa-grace-farms-connecticut-walkways-the-river-W1

ใน ASA International Forum ครั้งนี้ ได้เชิญคู่หูสถาปนิกจาก SANAA บริษัทสถาปัตย์ญี่ปุ่นซึ่งก่อตั้งโดย 2 สถาปนิก คือคาซุโย่   เซจิม่า (Kazuyo Sejima) และ เรียว นิชาซาว่า (Ryue Nishizawa) ผู้เคยได้รับรางวัล Pritzker Prize (ซึ่งเทียบเท่ารางวัลโนเบลในวงการสถาปัตยกรรม) มาแล้ว และเป็นผู้ที่มีอายุน้อยที่สุดที่รับ รางวัลนี้ด้วย ฟังดูยิ่งใหญ่มากใช่ไหมครับ แต่ผมว่าคนไทยหลายคนน่าจะคุ้นเคยกับงานออกแบบของพวกเขาดี ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยไปเที่ยวย่านช้อปปิ้งอย่างโอโมเตะซันโดะมาแล้ว ก็ตึก Christian Dior ยังไงล่ะครับ ตึกนี้คือหนึ่งในงานสร้างชื่อของพวกเขาเลยครับ

SANAA เป็นสถาปนิกญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับใน
ระดับสากล ได้รับการว่าจ้างไปออกแบบงานที่ต่างประเทศหลายครั้ง   และส่วนใหญ่ก็ประสบความสำเร็จสูงด้วย เช่นที่ New Museum   ในนิวยอร์ก หรือ Rolex Learning Center ในโลซานน์ รวมถึงงานที่ได้รับเชิญไปออกแบบอย่างที่ Serpentine Pavilion ในลอนดอน ซึ่งจะเชื้อเชิญสถาปนิกที่กำลังมาแรงให้มาออกแบบงานในพื้นที่ เพื่อให้ ผู้คนได้เข้ามาชม สำรวจ และเรียนรู้จากผลงาน ในปี 2009 นั้น SANAA ก็ได้นำเสนอภาพสะท้อนของท้องฟ้าที่ราวกับจำลองเมฆมาไว้
ในสวน ทั้งยังดูเหมือนกับสระน้ำลอยได้ในขณะเดียวกัน ด้วยการใช้วัสดุสะท้อนเงารอบข้างให้เข้ามาอยู่ในฟอร์มอิสระเหมือนจะเคลื่อนที่ได้ 
ทำให้ผู้คนที่มาเยือนได้รับประสบการณ์ที่ดีจากงานสถาปัตยกรรม 
นี่ก็เป็น อีกงานหนึ่งที่หลายคนจดจำความเป็น SANAA

ผลงานล่าสุดของพวกเขาคือ River Building ที่ Grace Farm ซึ่งเป็น อาคารสาธารณะอยู่ในเนินเขา งานออกแบบนี้สร้างความฮือฮาด้วยฟอร์มที่เลื่อนไหลเหมือนสายน้ำ ดูเผินๆ คล้ายว่าแนวทางของพวกเขาคือการเล่น กับรูปทรงอิสระ แต่จริงๆ แล้วเขามีวิธีการเข้าถึงโจทย์ที่แตกต่างกันในแต่ละงาน ในมุมมองของผม ผมคิดว่าแก่นการออกแบบของพวกเขาคือการทำงานให้กลมกลืนเข้าหาพื้นที่ตั้ง ไม่ออกแบบข่มสภาพแวดล้อม 
แต่ให้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ ในขณะเดียวกันก็ตรึงสายตาด้วยกระบวนการ  บางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกับความต่อเนื่อง หรือการเลือกวัสดุเฉพาะสำหรับงานนั้นๆ หลายครั้งมักใช้วัสดุที่โปร่งใส โปร่งแสง หรือสะท้อนเงา ซึ่งให้ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งรอบตัว แต่ดูสะดุดตาไปพร้อมๆ กัน นี่คือเสน่ห์และตัวตนของ SANAA ที่ทำให้งานออกแบบ
ของพวกเขาเป็นมากกว่า Modern Japanese และมีความเป็นสากลมาก ผมว่าใครที่ไม่พลาดฟอรัมของ SANAA จะได้วิธีคิดและแรงบันดาลใจกลับไปมากมายเลยครับ ผมก็เช่นกัน

โรงเรียนพอดี พอดี

School por-d-W1

สถาปัตยกรรมนั้นไม่เพียงตอบโจทย์ความต้องการส่วนบุคคล 
แต่สถาปัตยกรรมจะยิ่งทวีความสำคัญยิ่งขึ้น ถ้าได้ตอบโจทย์สังคม 
เช่นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงรายเมื่อปี 2557 ซึ่งนอกจาก
บ้านเรือนจะเสียหายแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อโรงเรียนอีกหลายแห่งด้วย จึงทำให้กลุ่ม Design for Disasters จุดประกายความคิดที่จะทำโครงการ
สร้างโรงเรียนที่สามารถรับมือกับแผ่นดินไหวได้ เกิดเป็นความร่วมมือระหว่างหลายองค์กรด้วยกัน เช่น Design for Disasters สมาคมสถาปนิก
สยามในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมวิศวกรรมสถานในพระบรมราชูปถัมภ์ เอกชนต่างๆ และที่สำคัญคือสถาปนิก 9 คนที่เต็มใจมาออกแบบให้
โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด โครงการนี้วางแผนก่อสร้างโรงเรียนทั้งหมด 9 แห่ง  ในจังหวัดเชียงราย ซึ่งได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ขณะนี้ก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านห้วยส้านยาว ซึ่งเป็นผลงาน
ของ Vin Varavarn Architects และโรงเรียนบ้านหนองบัว ผลงานของ junsekinoarchitect แต่ละแห่งนั้นทีมงานได้ลงพื้นที่ไปพูดคุยถึงปัญหา การออกแบบโครงสร้างเพื่อรับมือกับแผ่นดินไหว รวมทั้งหาวัสดุในพื้นที่นำมาใช้ผสมผสานกัน ทำให้เกิดดีไซน์ที่ลงตัว ใช้การได้ดี และยั่งยืนอีกด้วย

โครงการที่มีแนวคิดเพื่อสังคมและทำออกมาได้ดีแบบนี้ ก็ได้รับ
คัดเลือกไปร่วมแสดงในนิทรรศการที่ Venice Biennale 2016 ด้วย 
ซึ่งจะเริ่มต้น 28 พฤษภาคมนี้ยาวไปถึงเดือนพฤศจิกายนเลย โดยจะนำดีไซน์ของโรงเรียนพอดี พอดีทั้ง 9 แห่งก็จะนำมาแสดงในงานที่นั่นครับ ซึ่งถ้าใครมีโอกาสก็น่าไปชมนะครับ ปีนี้มี Alejandro Aravena สถาปนิกชาวชิลีเป็นคิวเรเตอร์ ซึ่งเขาตั้งกรอบหัวข้อในปีนี้ว่า “Reporting from the Front’ ผมว่าโครงการนี้ก็สามารถตีความเข้ากับหัวข้อนี้ได้สบายๆ เลย

School por-d 2-W1

นอกจากนี้ผลงานออกแบบโรงเรียนบ้านห้วยส้านยาว ยังได้เข้ารอบเป็น Finalist สาขา Educational Architecture จาก 2016 Archdaily Building of the Year Awards ซึ่งทางเว็บไซต์ Archdaily.com จัดเป็นประจำทุกปี แม้จะไม่ได้เป็น The Winner แต่ก็น่าภูมิใจอยู่ดี เพราะเป็นโครงการเล็กๆ โครงการเดียว ท่ามกลางโครงการใหญ่ๆ อีก 4 โครงการ แสดงว่าสาระของที่นี่ก็ต้องสูสีกับโครงการที่มีสถาปนิกระดับโลกรับผิดชอบอยู่เลยทีเดียว ผมรู้สึกว่าโครงการนี้ดีมาก และจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าไม่มีความร่วมมือจากหลากหลายองค์กรแบบนี้ ซึ่งจริงๆ แล้ว วงการสถาปัตยกรรมเราก็ต้องการผู้ริเริ่ม ไม่ใช่แต่เฉพาะคนในวงการ เช่น   กลุ่ม Design for Disasters ซึ่งทำให้เกิดการรวมตัวของทุกคนขึ้นมา ผมขอชื่นชมจากใจเลยครับ

ไม่ว่าจะเป็นงานของสถาปนิกระดับโลกอย่าง SANAA หรือโครงการเล็กๆ ของกลุ่มคนไทยเราต่างก็มีคุณค่าและได้รับการยอมรับระดับสากล เช่นกัน ผมว่าทั้งหมดอยู่ที่การใส่ใจในแก่นของการออกแบบที่แสดงทั้งตัวตนของสถาปนิก และความพยายามคลี่คลายโจทย์ของแต่ละพื้นที่ให้ดีที่สุดครับ

Content by Vasu V.

Art Of Keyword

แต่ละวงการล้วนมีศัพท์ทางเทคนิกเป็นที่รู้กันในกลุ่มเฉพาะ ไม่เว้นแม้แต่วงการหนังโป๊ในอินเตอร์เน็ต ที่มีศัพท์เฉพาะเยอะแยะไม่แพ้กัน เพื่อให้ประสบการณ์ในการท่องโลกกว้างของคุณเพิ่มมากขึ้น ลอปติมัมจึงขออาสาเป็นผู้ให้ความรู้ในเรื่องนี้ เพื่อให้คุณคุ้นเคยกับวงการหนังโป๊มากขึ้น (กว่าเดิม)

เริ่มที่คำแรกที่ ‘milf’ (ย่อมาจาก Mother I’d like to Fuck) ตัวย่อสุดนิยมที่มีไว้สำหรับผู้ที่ชื่นชอบสาวสูงวัยทรงสะบึม หลายคนมองว่าคำย่อนี้แปลกประหลาดยิ่งนัก แต่ทำไมกลับกลายเป็นคำที่มีคนชื่นชอบมากมาเป็นอันดับต้นๆ เพราะมันตอบสนองต่อแฟนตาซี ที่ต้องการความอบอุ่นจากหญิงที่มีความช่ำชองเรื่องบนเตียงแบบไม่ต้องพูดพร่ำทำเพลงอะไรมาก แต่อย่าสับสนกับคำว่า ‘Cougar’ ล่ะ เพราะคำนี้ไม่ได้มีความหมายตรงกันกับคำแรกเท่าไหร่นัก คำหลังนี้เอาไว้ใช้กับภรรยาแสนสวยของเราที่ดูเรียบร้อยและอ่อนโยน แต่เธออาจจะอ่อนระทวยเมื่อเจอกับพนักงานส่งพิซซ่าหนุ่มร่างกายกำยำในขณะมาเคาะประตูหน้าบ้าน ถ้าหากหนุ่มน้อยผู้นั้นเข้าใจในสิ่งที่เธอคิดอยู่ล่ะก็ เขาและเธออาจจะเริ่มทำกิจกรรมเข้าจังหวะและมีการ POV (ย่อมาจาก Point of View) ซึ่งหมายถึงการที่ผู้ชายถือกล้องวิดีโออัดช่วงเวลาแห่งความสุขไว้ อาจจะเป็นการถ่ายจากมุมสูงในขณะที่เธอกำลังหาเงินทอนบนตัวเขา โดยทั่วไปลักษณะการถ่ายทำแบบนี้จะเป็นหมวดย่อยของ ‘Homemade’ แปลว่าวิดีโอที่ถ่ายทำเองกับมือ ซึ่งอาจเป็นภาพเคลืื่อนไหวหรือภาพนิ่งก็ได้

loptimum th sexxxxxx

หากโชคร้ายหน่อยเกิดพบภาพตัวเองบนอินเตอร์เน็ตในขณะที่ภาพนั้นกำลังแพร่ออกไปอย่างรวดเร็ว เราสามารถนับการกระทำแบบนี้ไว้อยู่ในหมวด ‘Revenge Porn’ โดยมักจะเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์แยกทางกันระหว่างคู่รัก จนสร้างความเสียใจให้กับอีกคนหนึ่งและตัดสินใจอัพโหลดทุกสิ่งอย่งไว้บนโลกออนไลน์เพื่อเป็นการแก้แค้นคนรักของตัวเอง (เราขอบอกก่อนว่าการกระทำแบบนี้เป็นการกระทำที่น่ารักเกียจและเราไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง)

อินเตอร์เน็ตเป็นสถานที่ก่อนให้เกิดคำแสลง คำย่อ หรือศัพท์เทคนิคใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งบางครั้งคำที่มีความหมายที่เราคิดว่าใช่ อาจจะทำให้เราตกใจเมื่อคลิกเข้าไปดูอย่างตั้งตัวไม่ทัน หรือบางครั้ง ความเข้าใจถูกของเราก็อาจจะมีบางอย่างคลาดเคลื่อน ตัวอย่างเช่น เมื่อเราค้นหาคำว่า ‘Threesome’ ซึ่งดูไม่น่าจะซับซ้อนอะไร แต่เดี๋ยวก่อน! สิ่งที่คุณต้องการคือแบบ FFM หรือ MMF กันแน่ ตัวย่อที่กล่าวถึงคือ จำนวนหญิงและชายที่ร่วมรักกัน ว่าอาจจะเป็นหญิง 2 ชาย 1 (Female-Female-Male) หรือ ชาย 2 หญิง 1 (Male-Male-Famale) ก็ได้

หรือถ้าหากคุณต้องการความเร้าใจแบบขาวอิึ๋ม ลองเบนเข็มไปทางเอเชียแถบประเทศญี่ปุ่นดูสิ แต่อย่าประมาทประเทศนี้ และเราขอเตือนให้คุณระวังหน่อย เพราะความหลากหลายที่เขามีอาจจะทำให้คุณต้องเหวอกับประติมากรรมใหม่ที่เขาสร้างขึ้น หรือพล็อตเรื่องแปลกๆ แบบที่จะทำให้คุณอ้าปากค้างไปเลยก็ได้ อ้อ แต่อย่างหนึ่งที่ไว้ใจได้คือคำว่า ‘Uncensored’ ที่รับประกันว่า จะไม่มีอะไรบดบัง หรือกวนใจคุณขณะดูอย่างแน่นอน ทุกอย่างชัดเจน เน้น ซูม!!

ยังไม่หมดเพียงเท่านี้แดนอาทิตย์อุทัยยังมีประเภทความเสียวให้คุณเลือกอีกหลายกระบะ เราแนะนำให้คุณลองแบบ ‘Fantasy’ ที่จะตอบสนองสิ่งที่คุณไม่กล้าทำในชีวิตจริงให้เป็นจริง ตัวอย่างเช่นแบบ ‘Fantasy Rape’ การจัดฉากที่ผู้หญิงแสดงท่าทางแบบขัดขืนได้วอย่างสมจริง เพราะมาจากนักแสดงมืออาชีพล้วนๆ หวังว่าทั้งหมดนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการท่องโลกใหม่ของคุณได้แล้วนะ

และเรามักเจอศัพท์เหล่านี้ …..
Hardcore แบบที่เรียกว่ามีความสัมพันธ์แบบลึกซึ้ง
Amateur พวกชอบโชว์
Blowjob การร่วมเพศทางปาก
Brunette หญิงผิวน้ำผึ้งสุดเซ็กซี่
Creampie การสำเร็จความใครในหลุมยุทธศาสตร์ของสาวๆ จนถึงเส้นชัย
Fetish ความหลงใหลในสิ่งของบางอย่าง บางส่วน
Ebony สาวสวย ผิวขาว แต่ผมดำ
Masturbation ง่ายๆคือด้วยตัวคุณเองนั่นแหละ
Gangbang มากกว่า 1 คนในเวลาเดียวกัน

เรียกน้ำย่อยแค่นี้พอ ….