1980 MATERIAL REVOLUTION
ค.ศ 1980 – ค.ศ 1985
เทศกาลแห่งทุกขปัญญา ระวังให้ดี เหยื่อแฟชั่นได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว
ช่วงปี 1980s ถือว่าเป็นศตวรรษแห่งอิสรภาพอย่างไม่สามารถปฏิเสธได้ บรรยากาศของแฟชั่นในช่วงเวลานั้นถูกแนวอิเลกทริกครอบงำอย่างสนุกสุดโต่ง มีนักออกแบบคอยสร้างกระแสไฟฟ้ากระตุ้นโลกแห่งแฟชั่นโดยการสร้างเทรนด์ใหม่ๆ ของสุภาพบุรุษตลอดเวลา เราเรียกคนกลุ่มนั้นง่ายๆว่า ‘เหล่านักสร้างสรรค์’ เฉกเช่นเวลาที่เรากล่าวถึงพระเจ้าแล้วเรียกพระองค์ว่า ‘พระบิดา’ และปารีสก็กลายเป็นฉากหลังของเหล่านักคิดค้น นักออกแบบราวกับภาพ The Last Supper ของโลกแฟชั่น มี ฌอง-ปอล โกลติเยร์, โคลด มอนทานา, เคนโซ ทาคาดะ, เธียร์รี มูแกลร์ เป็นรายนามตัวอย่างให้เห็นภาพ ทุกคนล้วนเจริญรอยตามเส้นทางการออกแบบจากช่วงสิบปีก่อนหน้า พวกเขารับเทรนด์เหล่านั้นมากลั่นกรองพร้อมกับเติมแต่งตัวตนของแต่ละคนเข้าไปอีก เป็นการเริ่มต้นการเดินทางของเทรนด์ที่สืบทอดต่อเนื่อง และเกี่ยวข้องกัน
JPG หรือ ฌอง-ปอล โกลติเยร์ เจ้าของฉายา The Terrible Child เป็นหัวโจกของยุคนี้ เขาทำให้ผู้ชายต้องเปลี่ยนเสื้อผ้ายกตู้ วิ่งเข้าชนกฎเกณฑ์และข้อห้ามต่างๆนานาอย่างสนุกสนาน เสื้อผ้าเล่นน้ำหนัก เล่นสนุกกับวัตถุดิบและการหยิบยกเรื่องเพศเข้ามาใช้ ทุกอย่างถูกนำมาใช้อย่างสนุก ความสับสนปนเปและการผสมผสานของรูปแบบงานจนเป็นเรื่องที่ถูกอกถูกใจ กระแสแฟชั่นยุคนั้นทะยานสูงลิ่วในกลุ่มคนที่มองหาความสุข สนุกสังสรรค์กันในสถานที่เริงรมย์สุดฮิป ซึ่งเป็นแหล่งรวมัวของเจ้าพ่อ เจ้าแม่แห่งสไตล์ที่นับว่าสวยสง่าเลิศเลอเป็นที่สุด
ภาพแคมเปญของคอลเลกชั่นฤดูร้อน 1988 ภายใต้ชื่อ ‘Tribute to Frida Kahlo’ กำกับศิลป์โดย Jean Paul Gaulier เขียนภาพประกอบโดย Fred Langlais
Kenzo Menswear คอลเลกชั่นฤดูร้อน 2014
ทุกหนทุกแห่ง ทุกคนเป็นฝ่ายมองและฝ่ายถูกมอง องค์ประกอบบนเรือนร่าง ไม่ว่าจะเป็น โลโก้ โมโนแกรม สีสัน วัสดุสุดเว่อร์ เครื่องประดับหรือเครื่องแต่งกายส่งประกายแวววับ ทองและอื่นๆ อีกทั้งยังก่อกำเนิดกลุ่มคนที่ถูกจัดประเภทให้เป็น เหยื่อแฟชั่น เมื่อใครก็ตามเดินผิดกฎเกณฑ์แฟชั่น พวกเขาจะถูกนำมาพูดต่อหรือเขียนถึงในหน้านิตยสาร นอกจากนี้สังคมชาวรักร่วมเพศในยุคนั้นก็กลายเป็นกลุ่มคนที่ลุกขึ้นมามีบทบาท ทำอะไรต่อมิอะไรกันมากที่สุด ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญของเทรนด์ในยุคนี้ก็ว่าได้
สีสันสดใสวัสดุที่หรูหราและรูปทรงที่ก้าวร้าว แสดงถึงความเป็นผู้นำแฟชั่นในขณะนั้นของ Claude Montana
ค.ศ 1985 – ค.ศ 1990
ช่วงเวลาแห่งการทดลองสิ่งใหม่ และพื้นที่ของผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตเครื่องแบบ
ถึงคราวที่ชนชาติแห่งความละเอียดอ่อนอย่างญี่ปุ่นและความจุกจิกเริ่มบุกเข้ามาในเมืองหลวงของแฟชั่น โยจิ ยามาโมโตะ, เร คาวาคูโบ (แห่ง Comme des Garcons) อิซเซ มิยาเกะ… ชื่อที่ออกเสียงยากเหล่านี้เริ่มเดินสวนสนามกันเข้าออกแมกกาซีนแฟชั่น พวกเขานำทรวดทรงแปลกตาเข้ามาครอบงำโลกแฟชั่นทั่วทุกหนทุกแห่ง การตัดเย็บชุดที่มีทรวดทรงแปลกใหม่ การวางน้ำหนัก การทิ้งตัวของชิ้นผ้าที่สัดส่วนผิดแปลกไป สีดำบนสีดำและทุกอย่างเป็นสีดำ พวกเขาคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับชุดกิโมโน ซึ่งนำจิตวิญญาณของงานแนวสตรีท ที่หยิบยืมงานห่มและเดรปมาใช้ด้วยวิธีการเหนือชั้น
ด้วยดีไซน์แปลกตา แต่ยืนอยู่บนพื้นฐานของความคิดที่ไม่ซับซ้อน พวกเขาต้องการทำเสื้อผ้าที่สวมใส่สบายและใช้งานได้จริง เป็นศิลปะอันสวยงามเปรียบดังหีบเพลงที่เป็นผลงานจากจินตนาการกับความมัธยัสถ์ ความพอเพียงระหว่างจินตนาการกับประโยชน์ใช้สอยอันชาญฉลาด และไม่เพิ่มเติมอะไรที่เกินความจำเป็น นี่คือแนวคิดจริงแท้ มีปากมีเสียงจุดยืนอย่างชัดเจนของศิลปินยุคนั้น นักโฆษณา เจ้าของแกลลอรี นักหนังสือพิมพ์ นักวิจารณ์ หรือนักแสดงหน้าใหม่ที่เคยชื่นชอบการแต่งกายด้วยสีขาวสะอาดตา กลับรับวัฒนธรรมการแต่งกายกายด้วยสีดำไปใช้ และไม่คิดวิจารณ์แต่อย่างใด เพียงรับไปโดยรู้แค่ว่า นี่คือโยจิ หรือ นั่นคือกอมม์ เดส์ การ์ซองส์ ภายในเวลาอันสั้น งานออกแบบของทั้งสองกลายมาเป็นเครื่องแบบสุดเท่ของสุภาพบุรุษที่เรียกได้ว่า ‘ช่างคิด’ เหล่าแมกกาซีนนำเรื่องราวเหล่านี้มาตกผลึกและสรุปได้ว่า มันคือการกลับมาของแฟชั่นไม่ระบุเพศในเวลาต่อมา ซึ่งนักวิจารณ์คนดังอย่าง ซูซี เมงเคส เคยกล่าวไว้เมื่อไม่นานมานี้ว่า สีดำ ยังคงเป็นเครื่องแบบของคนแฟชั่นมาถึงปัจจุบัน
เจ้าพ่อชุดดำ Yohji Yamamoto Photo by Flickr