โควิดก็หยุดไม่อยู่! ธุรกิจการซื้อขายศิลปะยังคงทำเงินต่อเนื่องถึง 300 ล้านเหรียญในปีนี้

แม้ว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะสร้างผลกระทบอย่างหนักแก่ธุรกิจแฟชั่น และทำให้บางบริษัทถึงขั้นต้องปิดตัวไปหรือเข้าสู่ภาวะล้มละลาย แต่ดูเหมือนว่า ธุรกิจการซื้อขายผลงานศิลปะจะไม่ได้รับผลกระทบในห้วงเวลานี้มากเท่าไรนักครับ 

แม้ว่าจะไม่สามารถจัดกการประมูลแบบปกติได้ เนื่องจากต้องปฏิบัติตามการรักษาระยะห่างทางสังคม แต่ในปี 2020 ตัวแทนจัดจำหน่ายงานศิลปะรายต่าง ๆ ที่ได้ย้ายไปจัดการประมูลทางออนไลน์นั้น สามารถทำเงินได้กว่า 300 ล้านเหรียญฯ (หรือประมาณ 9,000 ล้านบาท) จนถึงขณะนี้ 

ดูโพสต์นี้บน Instagram

150,000 people tuned into our #RembrandtToRichter Evening Auction tonight…were you watching? 🙋‍♀️ The grand finale of Sotheby’s global sales series, the auction totalled £150 million, led by Joan Miró’s cobalt ‘dream painting’, which sparked an 11-minute bidding battle before selling for £22.3 million, and Rembrandt’s 1632 self-portrait, which set a new record for a self-portrait by the artist at £14.5 million. The sale saw five lots sell for more than $10 million, and brought Sotheby’s flagship global summer series beyond the billion dollar mark. Watch our stories or head to the link in bio to re-live the highlights 💥 The four concurrent day sales are still open for bidding…head to our website to view the catalogues! – @ob1london @newmanhelena @cladwek

โพสต์ที่แชร์โดย Sotheby’s (@sothebys) เมื่อ

ตัวอย่างเช่น Sotheby’s บริษัทรับประมูลสัญชาติอังกฤษ-อเมริกันรายใหญ่ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 1744 ได้เปิดเผยว่า มีผลงานศิลปะ 17 ชิ้นที่ขายประมูลได้เป็นมูลค่ารวมกว่า 10 ล้านเหรียญฯ (300 ล้านบาท) และมีผลงานภาพวาดปี 1927 Femme au chapeau rouge ของ Joan Miró ที่เป็นผลงานที่มีราคาประมูลสูงที่สุดของบริษัทในซีซั่นนี้ ด้วยราคากว่า 28.7 ล้านเหรียญฯ (หรือประมาณ 860 ล้านบาท) ในเวลาเพียง 11 นาทีหลังจากเปิดประมูลและมีคนเข้ามาชมการประมูลสูงถึง 150,000 คน

 Femme au chapeau rouge ของ Joan Miró

นอกจากนี้ ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ยังมีผลงานภาพวาดปี 2005 Antipodal Reunion ของ George Condo ที่ถูกประมูลไปในราคา 1.3 ล้านเหรียญฯ (39 ล้านบาท) และการประมูลผลงานการออกแบบสมัยศตวรรษที่ 20 (20th Century Design online auction) ที่ทำรายได้รวมกว่า 4 ล้านเหรียญฯ (120 ล้านบาท) 

Antipodal Reunion ของ George Condo

“ตลาดการประมูลในลอนดอนและทั่วโลกนั้นยังไม่หยุดนิ่งไปแต่อย่างใด” Oliver Barker ประธานฯ ของ Sotheby’s กล่าว “ช่วงเวลาที่ไม่มีใครคาดคิดนั้นมักเป็นแรงกระตุ้นสำหรับการเปลี่ยนแปลง ที่เรียกร้องความยืดหยุ่นและการคิดใหม่ทำใหม่”  

ในเร็ว ๆ นี้ บริษัทคู่แข่งอย่าง Christie’s จะมีการจัดการประมูลผลงานศิลปะร่วมสมัยสายสตรีทของ KAWS, Banksy และอื่น ๆ ทางออนไลน์ ซึ่งประเมินกันว่าจะมีผลงานที่อาจทำเงินสูงสุดถึง 200,000 เหรียญฯ (6 ล้านบาท) 

Jack and Jill ของ Banksy

ถือเป็นอีกหนึ่งในไม่กี่วงการที่ได้รับผลกระทบไม่มากนักในช่วงโควิด-19 นี้ แต่ในอนาคตจะเป็นอย่างไรนั้น ต้องติดตามชมกันต่อไปครับ!  

ดูโพสต์นี้บน Instagram

“At the arts and crafts center in Pittsburgh, I started to do printmaking,’ explained Keith Haring. ⠀ .⠀ ‘Around this time, 1977, I had a real obsession with paper. As I started to expand and do bigger things, I had this real aversion to canvas. I didn’t want to do things on canvas. I wanted to work on paper, partly because paper was inexpensive, but partly because it was interesting.’⠀ .⠀ Keith Haring (1958-1990), ‘Medusa Head’, aquatint on Hahnemühle paper, 1986. Estimate: $60,000 – 80,000.⠀ .⠀ Contemporary Edition — 16 July – 30 July, online.⠀ .⠀ #art #artist #contemporaryart #haring #keithharing #medusa #nielsborchjensen

โพสต์ที่แชร์โดย Christie’s (@christiesinc) เมื่อ

เรื่อง Peerachai Pasutan

เรียบเรียง rhunrun

ไม่หวั่นกระแสโลก! Hermès สามารถเติบโตได้ในภาวะวิกฤตโควิด-19 ด้วยจากการเจาะตลาดจีน!

ธุรกิจและแบรนด์แฟชั่นต่าง ๆ ต่างได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ไปไม่มากก็น้อย ทว่า มีเพียงไม่กี่แบรนด์เท่านั้นที่สามารถเติบโตขึ้นได้ในภาวะการณ์เช่นนี้ หนึ่งในนั้นคือแบรนด์หรูจากฝรั่งเศสอย่าง Hermès ที่เติบโตขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีนครับ  

ก่อนหน้านี้ ช่วงระหว่างการแพร่ระบาดของโรคฯ นั้น Hermès มียอดขายตกลงเพียง 7.7% เท่านั้น น้อยกว่าที่บริษัท Morgan Stanley ประเมินไว้ว่าจะตกลงที่ 13% กว่าครึ่งนึง แต่เมื่อสามารถเปิดทำการร้านค้าได้อีกครั้ง บูติกของแบรนด์ในเมืองกว่างโจว สามารถทำเงินได้มากถึง 2.7 ล้านเหรียญฯ (ประมาณ 83 ล้านบาท) ภายในวันเดียว อีกทั้งมูลค่าหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ปารีสของ Hermès เองก็เพิ่มสูงถึง 13% ระหว่างเดือนมกราคมถึงกรกฎาคม 2020 กลายเป็น 1 ใน 8 แบรนด์หรูที่มีราคาหุ้นสูงขึ้น 

ดูโพสต์นี้บน Instagram

Relaxing backstage. #Carefreeexpression #Timelessinrealtime #SpringSummer #Hermes #HermesHomme

โพสต์ที่แชร์โดย Hermès (@hermes) เมื่อ

มีการวิเคราะห์กลยุทธ์ของ Hermès ที่สามารถเติบโตขึ้นได้ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ ซึ่งหลายรายได้มองว่า ทางแบรนด์ได้เจาะตลาดกลุ่มลูกค้าชาวจีนเป็นหลัก ซึ่งกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้มองว่า Hermès เป็นสัญลักษณ์ของความหรูหราอีกระดับที่ไม่ได้อิงกับผลงานคอลแลป กระแสต่างๆที่มาไวไปไว แคปซูลคอลเลคชั่นสำหรับคน Gen-Z และระบบแฟชั่นที่มีโลโก้หรือลายโมโนแกรมเป็นแก่นกลางหรือจุดขายสำคัญ ประกอบกับผลงานผลิตภัณฑ์เด่นๆของแบรนด์นั้นบางส่วนไม่อ้างอิงกับซีซั่น ทำให้เกิดความคลาสสิกและมนต์สเน่ห์ในตัวเองแบบไม่ตามใคร 

ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่บริษัทให้คำปรึกษา McKinsey & Company นิยามว่า “Silent Luxury” ซึ่งเป็นการกลับมาของกระแสความหรูหราที่มีแก่นสารแห่งความสง่างามและความสงบ นอกจากนี้ การเจาะตลาดลูกค้าชาวจีนผ่านช่องทางออนไลน์หรือดิจิตอลนั้นก็ช่วยไม่ให้ยอดขายของแบรนด์ตกลงไปมากนัก ทั้งนี้เพราะชาวจีนเองก็เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีแนวโน้มในการซื้อสินค้าระดับหรูผ่านออนไลน์ด้วยเช่นกัน คาดว่ากลยุทธ์ในลักษณะนี้อาจทำให้รายได้ที่มาจากประเทศจีนของผลิตภัณฑ์หรูต่าง ๆ มีส่วนแบ่งที่ 50% ภายในปี 2025 

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเกี่ยวกับกระเป๋า Birkin ที่ตั้งชื่อตามนักร้องนักแสดงชาวอังกฤษอย่าง  Jane Birkin อันเป็นไอเท็มชิ้นไอคอนิกของแบรนด์มาตั้งแต่ยุค 80 (และบางครั้งก็ได้รับการมองว่าเป็นการลงทุนที่ดีกว่าทองเสียอีก) คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Hermès มีความยืดหยุ่นในการดำเนินงานไม่ว่าจะช่วงก่อนหรือหลังโควิด

Jane Birkin และกระเป๋า Hermes Birkin

นอกจากนี้ ยังมีอีกแบรนด์หนึ่งที่เติบโตขึ้นอย่างสูงในประเทศจีน คือ Li-Ning แบรนด์เครื่องแต่งกายกีฬาภายในประเทศที่ก่อตั้งโดยนักกีฬาโอลิมปิกเหรียญทองปี 1989 อย่าง Li Ning ที่ได้รับอิทธิพลจากกระแสชาตินิยมของชาวจีน การโฆษณาผ่านสื่อต่าง ๆ อย่างหนัก การปรากฏตัวในการแข่งขัน NBA (สวมใส่โดยตำนานนักบาสอย่าง Dwyane Wade) และ Paris Fashion Week ที่เป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับสินค้า Made in China เป็นที่ยอมรับมากขึ้น  

เรียกได้ว่าทั้งหมดนี้เป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาทางธุรกิจที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งเลยทีเดียวในยามนี้ครับ 

เรื่อง Peerachai Pasutan

เรียบเรียง rhunrun

ยังไม่ฟื้นตัว! LVMH เผยผลประกอบการประจำไตรมาส 2/2020 โดยมีรายได้ตกลงไปมากถึง 38%

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทเจ้าของแบรนด์หรูหลากหลายหมวดหมู่ LVMH ได้ออกมาประกาศผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2/2020 ของบริษัท ซึ่งมีรายละเอียดสำคัญว่า รายได้ของบริษัทในไตรมาสนี้ลดลงไปถึง 38% และยอดขายของผลิตภัณฑ์แฟชั่นและเครื่องหนังต่าง ๆ – ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ดังอย่าง Louis Vuitton – ตกลงไป 37% อันเป็นผลมาจากการปิดร้านค้ากับบูติกในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่หยุดชะงักไป อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเหล่านี้ถือว่าน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์เอาไว้ที่ 42% และ 38% ตามลำดับ 

“แม้ว่าจะมีสัญญาณการฟื้นตัวเกิดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายนจากการดำเนินงานต่าง ๆ ของบริษัท แต่รายได้ในสหรัฐฯ และทวีปยุโรปยังคงตกลงอยู่ในไตรมาสนี้” LVMH ออกมาชี้แจง “อย่างไรก็ตาม ในทวีปเอเชียนั้นมีสถานการณ์ที่ดีขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะจากการกลับมาเติบโตในประเทศจีน” ส่วนกำไรของหกเดือนแรกของบริษัทในปี 2020 นี้อยู่ที่ 1.67 พันล้านยูโร (ประมาณ 61.8 พันล้านบาท) น้อยกว่าที่ประเมินไว้ที่ 2.32 พันล้านยูโร (85.8 พันล้านบาท) แต่ “การกำไรของแบรนด์ Louis Vuitton Christian Dior และ Moët Hennessy นั้นยังอยู่ในระดับที่สูง” ทางบริษัทกล่าวเสริม 

แผนผังแบรนด์ในกลุ่ม LVMH

ด้านรายได้จากทางออนไลน์นั้น LVMH กล่าวว่า “ยอดขายจากออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญนั้น มีผลต่อรายได้เพียงเล็กน้อยหลังจากการปิดร้านค้าเป็นเวลาหลายเดือน” ซึ่งข้อมูลล่าสุดที่เคยประกาศไปเมื่อปี 2018 นั้น บ่งบอกว่าบริษัทมียอดขายจากช่องทางออนไลน์อยู่ที่เพียง 8% ผู้ลงทุนจึงยังคงจับตาดูว่า การแพร่ระบาดของโรคฯ จะเร่งให้บริษัทปรับตัวสู่โลกดิจิตอลมากขึ้นหรือไม่ 

นอกเหนือจากนี้ ยังมีการวิเคราะห์จาก Credit Suisse ออกมาว่า Louis Vuitton – ที่โดงดังจากลวดลายโมโนแกรมอันเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ – ได้ปรับราคาของกระเป๋าไอคอนิกรุ่นต่าง ๆ ขึ้นอีก 5% ในตลาดสำคัญเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งสวนทางกับสถานการณ์ในขณะนี้ 

ต้องจับตากันดูต่อไปครับว่า ผลประกอบการของบริษัทแฟชั่นอื่น ๆ ในไตรมาสนี้ – ที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์กันไว้ว่าจะเป็นไตรมาสที่เลวร้ายที่สุดจากโรคระบาด – จะเป็นเช่นไรต่อไป ยังไงเราก็เป็นกำลังใจให้นะครับ!  

เรื่อง Peerachai Pasutan

เรียบเรียง rhunrun

ปรับเปลี่ยนอย่างหนักเพื่อความอยู่รอด! The Row แบรนด์หรูจากพี่น้องตระกูล Olsen ลดพนักงานมากถึง 50% จากปัญหาทางการเงิน

The Row เป็นแบรนด์จากคู่แฝดแห่งฮอลีวูดอย่าง Ashley และ Mary-Kate Olsen ที่มีชื่อเสียงจากสไตล์มินิมอลสุดหรูและไอเทมของแบรนด์อย่าง กระเป๋า Ascot และรองเท้า Velvet Furlane อีกทั้งตัวสองพี่น้องตระกูล Olsen เองก็ได้รับการยอมรับและได้รับรางวัลจากสถาบันต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน ทว่าตอนนี้ The Row ก็ไม่ต่างจากแบรนด์อื่น ๆ ที่กำลังอยู่ในภาวะที่ยากลำบากในยามนี้ครับ  

Ashley และ Mary-Kate Olsen

มีรายงานเปิดเผยว่า The Row ได้ปลดพนักงานในแผนกต่าง ๆ ออกไปถึงครึ่งหนึ่งเนื่องจากประสบปัญหาทางการเงินระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยิ่งไปกว่านั้นแล้ว ยังมีการปลดหัวหน้าแผนกออกแบบฝ่ายสตรี Anna Sophia Hövener และผู้ก่อตั้งแผนกเครื่องแต่งกายบุรุษ Paul Helbers ซึ่งบางรายได้มองว่า การออกจากบริษัทของ Helbers นั้นถือเป็นจุดสิ้นสุดของแผนกสำหรับผู้ชายแบบเราๆที่เปิดตัวไปตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2018 ทว่าไม่ได้มีผลการดำเนินงานที่ดีมากเท่าที่ควรในช่วงที่ผ่านมา 

ดูโพสต์นี้บน Instagram

May 2020 | Playlist on Spotify

โพสต์ที่แชร์โดย The Row (@therow) เมื่อ

ขณะนี้ ทางแบรนด์เองก็เป็นเจ้าหนี้ของ Barneys New York – ดีพาร์ทเมนท์สโตร์ของแบรนด์หรูต่าง ๆ ที่ตอนนี้ตกอยู่ในภาวะล้มละลาย และยังติดหนี้แก่ The Row เป็นเงินกว่า 3.7 ล้านเหรียญฯ (ประมาณ 114 ล้านบาท) กระนั้นก็ดี The Row เองก็ไม่ได้ผลักดันการจัดจำหน่ายสินค้าของตนผ่าน e-commerce มากนัก จึงอาจเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้แบรนด์ต้องประสบปัญหาทางการเงินเช่นกัน 

ดูโพสต์นี้บน Instagram

Pre Fall 2020 Collection

โพสต์ที่แชร์โดย The Row (@therow) เมื่อ

อย่างไรก็ตาม ทางแบรนด์ก็ไม่ได้ออกมาให้ความเห็นหรือตอบโต้ต่อข่าวที่ออกมา อีกทั้งออกแถลงการณ์กับทางเว็บไซต์ WWD ว่า The Row ยังคงทำงานในคอลเลคชั่นต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้ง Pre-Fall และ Fall 2020, Spring 2021 รวมไปถึงคอลเลคชั่นอื่น ๆ ในอนาคต  

นอกจากปัญหาทางการเงินแล้ว ยังมีข่าวออกมาว่า The Row ประสบปัญหาเรื่องความหลากหลายทางเชื้อชาติภายในบริษัท โดยไม่มีการจ้างพนักงานระดับสูงชาวผิวสีใน HQ ต่าง ๆ และมีพนักงานชาวเอเชียจำนวนน้อย โดยทางแบรนด์ไม่ได้ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้แต่อย่างใด 

ดูโพสต์นี้บน Instagram

Mary-Kate Olsen Ashley Olsen ° ° ° #ashleyolsen #marykateolsen #olsenstyle #olsentwins #therow #mka_ph

โพสต์ที่แชร์โดย Mary-kate & Ashley Olsen (@mystylemkaolsen) เมื่อ

แม้จะมีปัญหาต่าง ๆ เช่นนี้ แต่ก็มีรายงานข่าวออกมาว่า ทั้ง Ashley และ Mary-Kate (ผู้ซึ่งเป็นซีอีโอและผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ตามลำดับนั้น) ยังคงใช้จ่ายอย่างไม่ระมัดระวัง ทั้งซื้อเตียงขนเฟอร์ที่ไม่มีผู้ใดใช้มาตั้งไว้กลางสตูดิโอออฟฟิศ หรือตัว Mary-Kate ที่ใช้เงินไปจำนวนมากจากการหย่ากับสามี Olivier Sarkozy และจากการพักร้อนหนีโควิดในย่าน The Hamptons ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า The Row และสองพี่น้อง Olsen จะปรับตัวอย่างไรต่อไปครับ ทางเราก็ขอเป็นกำลังใจให้ครับเพราะผลงานดีไซน์ในสไตล์มินิมอลเรียบหรูสง่างามของสองซุปเปอร์สตาร์ชาวอเมริกันก็ถือว่าทำออกมาได้ดีตลอดครับ  

เรื่อง Peerachai Pasutan

เรียบเรียง rhunrun

รับผลกระทบไปทั้งย่าน! ยอดการเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ในแมนฮัตตันและย่านหรูอย่าง Fifth Avenue ตกลงไปสูงสุดถึง 30% เนื่องจากโควิด-19

นิวยอร์กถือเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการแพร่ระบาดของช่วงโควิด-19 ช่วงสี่เดือนหลังที่ผ่านมา แม้ว่าตอนนี้สถานการณ์ของโรคในมหานครแห่งนี้จะบรรเทาลงไปบ้างแล้ว ทว่ายังมีผลกระทบทางลบที่ร้ายแรงต่อประชาชนและผู้ประกอบการต่าง ๆ โดยเฉพาะในเขตที่มีชื่อเสียงด้านแฟชั่นและการชอปปิ้งของเมืองอย่าง แมนฮัตตัน ครับ 

Fifth Avenue
ห้างสรรพสินค้าชื่อดัง Saks Fifth Avenue (ตั้งอยู่ที่ 611 Fifth Ave.)

ย่านการค้าต่าง ๆ ในแมนฮัตตันนั้นได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงไตรมาส 2/2020 ที่ผ่านมา ทำให้ยอดการเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ในย่านต่าง ๆ ตกลงไป โดย Lower Fifth Avenue – ย่านที่เป็นที่ตั้งของบริษัทยักษ์ใหญ่ภายในประเทศเจ้าต่าง ๆ กินพื้นที่ตั้งแต่ถนนสาย 42 ถึง 49 – มียอดการขอเช่าพื้นที่ลดลงสูงสุดถึง 30% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อนหน้า, ย่าน Soho และ Madison Avenue มียอดลดไป 14% และ ย่าน Upper Fifth Avenue – ที่เป็นที่ตั้งของสโตรแบรนด์หรูระดับโลกหลายราย – มียอดตกไป 6.6%  

มีสัญญาเช่าเพียงไม่กี่ฉบับที่ได้ตกลงลงนามไปในไตรมาสนี้ หนึ่งในนั้นคือสัญญาของบริษัท Aritzia Inc. – แบรนด์เสื้อผ้าที่ Meghan Markle สวมใส่ – ที่จะมาแทนที่ร้าน flagship ของคาเฟ่ดัง Dean & DeLuca ในย่าน Soho ส่วนย่านที่ไม่ได้รับผลกระทบมากนักหรือไม่ได้รับผลกระทบเลย ได้แก่ ย่าน Lower Manhattan (หรือ Downtown Manhattan) ที่มียอดการเช่าเพิ่มขึ้นถึง 8.7% และ ย่าน Meatpacking District ที่มียอดการเช่าฯ ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมสวนสาธารณะ High Line อันโด่งดังในละแวกนั้นก่อนการแพร่ระบาดฯ อยู่พอสมควร 

ก่อนหน้าการแพร่ระบาดของโรคฯ เจ้าของอสังหาริมทรัพย์รายต่าง ๆ ก็ต้องประสบกับพื้นที่ให้เช่าที่ว่างลงมกาขึ้นเรื่อง ๆ เนื่องจากกระแสของ e-commerce และผู้ประกอบการเจ้าใหญ่ ๆ บางรายที่เข้าสู่ภาวะล้มละลายไป เมื่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 เข้ามาในมหานครแห่งนี้ ทำให้ร้านค้าที่ดำเนินการอยู่ต้องปิดตัวไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงเป็นเชื้อที่ทำให้สถานการณ์เช่นนี้เลวร้ายลงไปอีกตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา 

ต้องติดตามกันต่อไปครับว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะสร้างผลกระทบอย่างไรต่อไป และธุรกิจต่าง ๆ จะรับมือกับปัญหาดังกล่าวอย่างไรต่อไปครับ 

เรื่อง Peerachai Pasutan

เรียบเรียง rhunrun

เพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ! Ted Baker ประกาศลดจำนวนพนักงานใน UK กว่า 1 ใน 4 จากภาวะโควิด-19

แม้ว่าตอนนี้สโตร์ของแบรนด์ดังต่าง ๆ จะกลับมาเปิดบริการได้บ้างจากมาตรการคลายล็อกดาวน์ แต่ทุกแบรนด์ยังคงดำเนินการการปฏิรูปแผนธุรกิจเพื่อลดภาระและค่าใช้จ่ายให้ได้มากที่สุดในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ ซึ่งวันนี้ Ted Baker แบรนด์เครื่องแต่งกายชื่อดังจากสหราชอาณาจักรจะลดพนักงานออกไปถึงหนึ่งในสี่เลยทีเดียวครับ 

จากรายงานของ Sunday Times มีรายละเอียดว่า จะมีการลดจำนวนพนักงานออกไป 500 จาก 2,000 ตำแหน่งในอังกฤษภายในสิ้นปีนี้ โดยจะเลิกการจ้างงานที่สำนักงานใหญ่ของแบรนด์ที่กรุงลอนดอนกว่า 200 ตำแหน่ง ในขณะที่อีก 300 ตำแหน่งที่เหลือจะเป็นการลดพนักงานจากช็อปและบูธต่าง ๆ ในประเทศกว่าหลายสิบแห่ง คาดว่าการลดจำนวนพนักงานครั้งนี้จะทำให้ Ted Baker ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 7.5 ล้านเหรียญฯ (ประมาณ 230 ล้านบาท)  

ดูโพสต์นี้บน Instagram

Trying to work out if summer’s back. It’s a maybe. @stayfancyj (Snake print cotton T-shirt: PORTION)

โพสต์ที่แชร์โดย Ted Baker Menswear (@ted_baker_menswear) เมื่อ

“เราเชื่อว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปแบรนด์ และสร้างธุรกิจที่มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้นในอนาคต” ทางแบรนด์ได้ออกแถลงการณ์ผ่านทางอีเมลเกี่ยวกับการลดจำนวนพนักงานครั้งนี้ ก็ต้องมาติดตามกันต่อไปครับว่า ทาง Ted Baker และแบรนด์แฟชั่นอื่น ๆ จะปรับตัวต่อสถานการณ์โลกที่ท้าทายนี้อย่างไรครับ 

เรื่อง Peerachai Pasutan

เรียบเรียง rhunrun

ใจเย็นก่อนพ่อหนุ่ม! Elon Musk ยังคงสนับสนุน Kanye West ให้ลงสมัครชิงตำแหน่งปธน. สหรัฐฯ แต่แนะนำให้รอลงสมัครปี 2024 แทน

หลังจากที่ออกมาให้การสนับสนุนผ่านทวิตเตอร์เมื่อช่วงวันชาติอเมริกันที่ผ่านมา Elon Musk ซีอีโอคนดังของ Tesla ก็ยังคงมีศรัทธาในตัวของแรปเปอร์-นักธุรกิจพันล้านอย่าง Kanye West อยู่ในการลงชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา เพียงแต่ว่า Musk อยากให้ West รอจนถึงปี 2024 จะดีเสียกว่าครับ 

ดูโพสต์นี้บน Instagram

Better utility than a pick-up. More performance than a sports car.

โพสต์ที่แชร์โดย Tesla (@teslamotors) เมื่อ

แม้ว่า Musk อาจลังเลไปบ้างว่าจะมีทัศนคติที่แตกต่างไปจาก Kanye หลังจากที่รายหลังได้ออกมาให้สัมภาษณ์ผ่านนิตยสาร Forbes ว่าเขาเป็นพวกต่อต้านการทำแท้งและการใช้วัคซีน แต่สุดท้ายแล้วทั้งสองคนดังก็ได้ทำความเข้าใจร่วมกันใหม่ จนทำให้ Musk ยังคงหนุนหลัง Kanye อยู่ โดย Musk ได้ออกมายืนยันด้วยตนเองจากการให้สัมภาษณ์แก่เว็บไซต์ Page Six 

“แต่ผมคิดว่าเขาควรลงสมัครตอนปี 2024 ดีกว่าในปี 2020 นี้นะ” Musk พูดขึ้นมาระหว่างการสัมภาษณ์ โดยให้เหตุผลอย่างคลุมเครือว่า “ระยะเวลาที่สั้นก็เหมือนกับปลาโซลกระทะ (sole meunière) คลุกแป้งสาลี” ซึ่งอาจหมายถึงการประกาศลงชิงชัยในศึกเลือกตั้งสหรัฐฯ 2020 อย่างปุ๊บปั๊ปเกินไปของ Kanye นั่นเอง 

อย่างไรก็ดี Redfield & Wilton Strategies ได้มีการทำโพลระดับประเทศ โดยสอบถามผู้เข้าร่วมกว่า 2,000 คนว่าจะเลือกใครให้เป็นประธานาธิบดีในสมัยถัดไป ปรากฎว่า West ได้รับความนิยมเพียงแค่ 2% เท่านั้น ยังคงห่างไกลจาก Joe Biden (48%) และ Trump (39%) อยู่มากเลยทีเดียว นอกจากนี้ เขายังขาดการลงคะแนนเสียงรับรองคุณสมบัติในรัฐฟลอริดาเพื่อให้ลงสมัครรับเลือกตั้งได้ทันก่อนเดดไลน์ – แม้จะได้มืออาชีพมาจัดการให้แล้วก็ตาม – ทำให้แรปเปอร์จาก Chicago น่าจะต้องรอการลงเลือกตั้งไว้เป็นสมัยหน้าจริง ๆ อย่างที่ Musk ได้แนะนำไว้ครับ  

เรื่อง Peerachai Pasutan

เรียบเรียง rhunrun

เพื่ออนาคตของดีไซเนอร์รุ่นหลัง! Virgil Abloh มอบเงินบริจาค 1 ล้านเหรียญฯ เพื่อเป็นกองทุนทางการศึกษาแก่นักศึกษาชาวผิวสี

หลังจากที่ได้นำเสนอความสามารถของคนผิวสีผ่านผลงานต่าง ๆ และได้แรงบันดาลจากการประท้วงของ Black Lives Matter เพื่อเป็นกระบอกเสียงต่อไปนั้น Virgil Abloh – ผู้ก่อตั้งแบรนด์สตรีทลักซ์ชัวรี่อย่าง Off-White และ artistic director เครื่องแต่งกายบุรุษแห่ง Louis Vuitton – ได้มอบเงินบริจาค 1 ล้านเหรียญฯ (ประมาณ 31 ล้านบาท) และร่วมมือกับ Fashion Scholarship ในระยะยาวเพื่อก่อตั้ง Virgil Abloh “Post Modern” Scholarship Fund ที่จะให้กองทุนแก่นักศึกษาด้านแฟชั่นชาวผิวสี, แอฟริกัน-อเมริกัน หรือแอฟริกันจำนวน 100-200 ราย 

Heron Preston (ซ้าย) และ Virgil Abloh (ขวา)

สาเหตุที่ดีไซเนอร์ชาวอเมริกันคนนี้ตั้งชื่อกองทุนว่า “Post Modern” นั้น เนื่องจากเขาอยากให้ผู้ที่ได้รับทุนได้มีโอกาสเข้าถึงการสนับสนุนและคำแนะนำในสายอาชีพต่อไป โดยเพื่อน ๆ ดีไซเนอร์ เช่น Heron Preston ก็ได้ออกมาเสนอตัวที่จะเข้ามามีส่วนร่วมผ่านการสอนใน master class ต่าง ๆ แก่เหล่านักศึกษาอีกด้วย 

ดูโพสต์นี้บน Instagram

anyone that’s ever been in a meeting with me or a creative brainstorm or even a random iMessage chat knows that i’m forever fighting for the “17-year-old-version” of myself. ⁣ ⁣ what that specifically means is… all i want is for any young black kid to achieve a shorter path to their career goals, and if i can help with an open source approach to opening doors or messaging "how-i-did-it" along the whole way, then i've done my real job, not my actual job.⁣ ⁣ i'm putting money, my resources, and my rolodex where my mouth is… just keeping it “Two Virgil’s” or more accurately “That many Virgil’s” in the slideshow above: i've started a scholarship fund for black students and raised $1 million so far, pre-announcement with the same manic creative brainstorm that got me here with the support of some of my collaborators and the @fashionscholarshipfund it’s called the Virgil Abloh™ "POST-MODERN" scholarship fund. ~ link in bio for more details. email me there.⁣ ⁣ the goal is to make sure i'm not one of the few, but one of many in my industry…

โพสต์ที่แชร์โดย @ virgilabloh เมื่อ

“ในฐานะที่ผมเป็นดีไซเนอร์ชาวผิวสี ผมค้นหาเส้นทางในอาชีพผ่านโรงเรียนและโปรเจกต์ครีเอทีฟต่าง ๆ และต้องสร้างชื่อเสียงด้วยตัวของผมเอง โดยต้องใช้เวลาหลายปี ผ่านหลายการพบปะและหลายงานรันเวย์โชว์ ผมจึงอยากเปิดประตูให้แก่คนในรุ่นหลัง ๆ รับรู้ว่ายังมีโอกาสเปิดรอพวกเขาอยู่” Alboh ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ในงานเลี้ยงค็อกเทลของ LV family home ในเขต Asnières แถบชานเมืองของปารีสอันเป็นสำนักงานสาขาใหญ่ของ Louis Vuitton   

“ผมเคยเป็นนักศึกษาในวิทยาเขตที่ไม่ได้มีความหลากหลายเท่ากับโลกภายนอก จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องก่อตั้งมูลนิธินี้สำหรับนักศึกษาชาวผิวสีที่มีความสนใจในอุตสาหกรรมแฟชั่นโดยเฉพาะ” ดีไซน์เนอร์จาก Illinois กล่าวเสริม 

กองทุนนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากเงินบริจาคส่วนตัวของดีไซเนอร์คนอื่น ๆ และพาร์ทเนอร์ของ Abloh ที่เคยร่วมโปรเจ็กต์งานกัน อาทิ Louis Vuitton, Evian, Farfetch และ New Guards Group อีกทั้ง การสนับสนุนครั้งนี้ได้เพิ่มเงินบริจาคขึ้นเป็นสองเท่าแก่ FSF – องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1937 เพื่อสนับสนุนหนทางสู่อาชีพแก่นักศึกษาด้านแฟชั่นผู้โดดเด่นจากสายต่าง ๆ เช่น ดีไซน์, การตลาด, การวิเคราะห์, การทำสินค้า และอื่น ๆ ด้วย 

ดูโพสต์นี้บน Instagram

⁣ the past 4 months of doing perceivably doing nothing gave me a lot of time to think. 𝓛𝓸𝓾𝓲𝓼 𝓥𝓾𝓲𝓽𝓽𝓸𝓷 or Off-White™ are the concept cars. it’s the pinnicale place to place my most forward ideas. ⁣⁣ ⁣⁣ the film released yesterday is a fashion week offering is a prequel of things to come. it’s a messages at surface level but it’s the nuance that foreshadows the future which is the most important part. it describes my start at the house with my motley crew of characters that make up my team. starting from the literal home of Mr. Louis Vuitton where the film starts to my “home office” on Pont Neuf, then eventually elsewhere.⁣⁣ ⁣⁣ all seasons i’ve done at LV now collapse in to one, one-long-season, a continual story. the newest isn’t necessarily the most valuable just because it’s “new”. it also allows the narrative between seasons to be the foundation, not just the event of another fashion show. ⁣⁣ as the creative head of my studio this film features esteemed black talent. Sa-Ra, REGGIE KNOW, Kamasi Washington, Black Anime and Ibrahim Karma each amplify my vision and showcase the creative impact diversity can have in all industries. ⁣⁣ that WWD article lays out the vision in detail, but in short i’ve crafted a new system that abides by my whole new logic about fashion, fashion shows etc. that article spells it out further. ⁣⁣ ⁣⁣ on that note “Stay there, well come to you…”⁣⁣ ⁣⁣ film titled “Message in a Bottle” directed by @virgilabloh⁣⁣ c/o @louisvuitton ⁣⁣ illustrations REGGIKNOW @fashionfigureinc⁣⁣ ⁣⁣ animation BLACK ANIME @BLACKANIMEX⁣⁣ ⁣⁣ music SA-RA @SaRaCreativePartnersinfo @TazArnold @ShafiqHusayn @OmmasKeith @KamasiWashington @ThunderCatmusic @TerranceMartin⁣⁣ ⁣⁣ music director @_BenjiB⁣⁣ ⁣⁣ production⁣⁣ @PlayLabInc & @Beg00dStudios⁣⁣ ⁣⁣ ⁣⁣ ⁣⁣

โพสต์ที่แชร์โดย @ virgilabloh เมื่อ

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมของโครงการนี้ได้ทางเว็บไซต์ ถือเป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวแก่วงการแฟชั่นที่เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนผู้ที่มีความสามารถให้ได้รับโอกาสดี ๆ ต่อไปครับ 

เรื่อง Peerachai Pasutan

เรียบเรียง rhunrun

ทนพิษโควิดไม่ไหว! G-Star RAW ขอยื่นล้มละลายต่อศาลในสหรัฐฯ เนื่องจากการแพร่ระบาดส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อยอดขาย

เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่ต้องประสบกับปัญหายอดขายเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ครับสำหรับ G-Star RAW แบรนด์ดัชซ์ที่โดดเด่นจากแฟชั่นยีนส์และผ้าเดนิมและก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989 ที่ตอนนี้ต้องยื่นคำร้องขอคุ้มครองธุรกิจจากภาวะล้มละลายต่อศาล (ตามกฏหมายมาตรา 11) ในสหรัฐอเมริกา 

แม้ว่าจะสามารถจำหน่ายสินค้าได้บ้างทางออนไลน์ แต่แบรนด์นั้นยังคงมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้านปกติที่ถูกปิดหน้าร้านไป จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ G-Star RAW ต้องขอยื่นล้มละลายกับศาลอเมริกา โดยตัวแทนของแบรนด์ได้ออกมาแถลงว่า การยื่นล้มละลายในสหรัฐฯ ครั้งนี้ “เป็นไปได้และมีทางรอด” เพราะมียอดหนี้สินจำนวนไม่มากนัก 

“เพื่อเป็นการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เราจำเป็นต้องปรับแผนการเปิดร้านค้าในหลายภูมิภาค อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่การปิดกิจการในภูมิภาคต่าง ๆ ไป เรากำลังปรับสมดุลระหว่างร้านค้าแบบปกติ หุ้นส่วนด้านกลยุทธ์ และช่องทางออนไลน์ โดยขณะนี้ เรากำลังปรับแผนการเปิดร้านค้าในสหรัฐฯ และยุโรป เรามีความตั้งใจที่จะดำเนินธุรกิจ (ในอเมริกา) ผ่านแผนการจัดจำหน่ายที่เล็กลง มั่นคง และเข้ากับสถานการณ์ของตลาดในตอนนี้ได้เหมาะสมกว่า ส่วนในสวีเดนและยุโรปนั้น เรายังคงจะรับใช้ลูกค้าของเราผ่านช่องทางอื่น ๆ ต่อไป” ตัวแทนของของแบรนด์กล่าว 

ทางเราก็ขอส่งกำลังใจให้แบรนด์ที่เคยโด่งดังในยุค 90’s ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ครับ และต้องติดตามกันต่อว่า โควิด-19 จะส่งผลกระทับต่อธุรกิจและวงการแฟชั่นอย่างไรต่อไปครับ 

เรื่อง Peerachai Pasutan

เรียบเรียง rhunrun

เผยแล้ว! กำหนดการ Paris Fashion Week Men’s SS21 ที่จะจัดขึ้นในเดือนกรกฏาคมนี้ในรูปแบบออนไลน์

Fédération de la Haute Couture et de la Mode ผู้จัดงาน Paris Fashion Week ได้ออกมาประกาศตารางการจัดงาน PFW คอลเลคชั่นชาย Spring/Summer 2021 ที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์หน้า ระหว่างวันที่ 9-13 กรกฎาคมนี้ทางแพลตฟอร์มออนไลน์แล้วครับ ซึ่งการจัดงานครั้งนี้ถือเป็นการเฉลิมฉลองวงการแฟชั่นประจำปีผ่านทางช่องทางออนไลน์แบบเต็มตัวเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 โดยได้รับการช่วยเหลือในการจัดงานจากบริษัทโซเซียลมีเดียต่าง ๆ ทั้ง Launchmetrics, Google, Facebook, YouTube, Instagram และ Hylink (ในประเทศจีน) ครับ 

ดูโพสต์นี้บน Instagram

The #FHCM is organizing a @parisfashionweek online event. Dedicated to the presentation of Menswear Spring/Summer 2021 collections, it will take place from July 9th to July 13th 2020. This event will be structured around a dedicated platform. The principle of the official calendar is maintained. Each House will be represented in the form of a creative film/video. Additional content will be included in an editorialized section of the platform. All of this will be widely shared on the main international media networks. SPHERE – Paris Fashion Week Showroom dedicated to emerging brands will take the form of a virtual showroom. This event, intended for professionals, will be made available to a wide audience. It will also allow to showcase Paris and the creativity of the Houses listed on the calendar of the #ParisFashionWeek in all its unity and diversity.

โพสต์ที่แชร์โดย FHCM (@fhcm) เมื่อ

นอกจากนี้ยังมีหลายหน่วยงานและสถาบันที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมใน PFWM ครั้งนี้ในมิติต่าง ๆ อย่างสถาบันการศึกษาแฟชั่น Français de la Mode จะเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนของการสัมภาษณ์รวม, คลิปเบื้องหลัง และวีดิโอคอลสนทนาผ่าน Zoom ร่วมกับดีไซเนอร์ แบรนด์ และองค์กรที่เข้าร่วม ส่วน official partner ต่าง ๆ เช่น L’Oréal Paris จะดูแลเรื่องในของการสนทนา คอนเสิร์ต และการเยี่ยมชมทางวัฒนธรรม 

และยังมีองค์กรอื่น ๆ อีกครับ อาทิ โชว์รูมที่ช่วยเหลือบรรดาแบรนด์ใหม่ ๆ Sphère ที่จะมาจัดแสดงผลงานต่าง ๆ ทางออนไลน์, กลุ่มสื่อในฝรั่งเศส Canal+ ที่จะเป็นช่องถ่ายทอดหลักของงาน, หนังสือพิมพ์ The New York Times ที่จะเป็นผู้เผยแพร่วีดิโอต่าง ๆ และ ผู้ผลิตรายการวิทยุและพอตแคสในฝรั่งเศส Radio Nova ที่จะมาดูแลคอนเทนต์ editorial และอีเวนต์ต่าง ๆ อีกทั้งยังมีสถาบันทางด้านวัฒนธรรมที่เคยร่วมงานมาสนับสนุน PFW ด้วย เช่น พิพิธภัณฑ์ลูฟว์ (Musée du Louvre) และพิพิธภัณฑ์ Musée des Arts décoratifs ในปารีสครับ 

ติดตามกำหนดการฉบับเต็มของงานครั้งนี้ได้ทาง เว็บไซต์ Paris Fashion Week  

ส่วน PFW สำหรับคอลเลคชั่นหญิง SS21 ที่จะจัดขึ้นในเดือนกันยายนนี้จะกลับมาจัดแบบ physical show อีกครั้งควบคู่กับทางออนไลน์อย่างที่เราได้นำเสนอข่าวไปแล้วครับ  

เรื่อง Peerachai Pasutan

เรียบเรียง rhunrun