สุดเจ๋ง! กับผลงานจากแป้นคีย์บอร์ดเหลือใช้แห่งแบรนด์ Button Network โดยนักออกแบบชาวอินโดนีเซีย

เชื่อเหลือเกินว่า งานออกแบบ สามารถหยิบยกแรงบันดาลใจใหม่ๆ ได้จากสิ่งรอบตัวที่เราอาจจะมองข้าม เขาคนนี้ก็เป็นอีกหนึ่งคนครับ Alfaz Syam นักออกแบบชาวอินโดนีเซีย วัย 26 ปี ที่ได้สร้างสรรค์ผลงาน ผ่านแบรนด์ที่มีชื่อว่า Button Network ด้วยการนำแป้นคีย์บอร์ดเหลือใช้ มารังสรรค์ผลงานผ่านไอเท็มแฟชั่นให้ออกมาในรูปแบบแปลกตา ไม่ว่าจะเป็น สนีกเกอร์ที่เราคุ้นตา นำมาเพิ่มลูกเล่นด้วยการใส่แป้นคีย์บอร์ดและตัวต่อเข้าไป หรือจะเป็นไอเท็มแว่นตา ที่เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งชิ้นที่เรียกสายตาของคนรอบข้างได้ไม่น้อย วันนี้เราได้นำผลงานสุดสร้างสรรค์ มาฝากหนุ่มๆ กันแล้วครับ เราไปชมกันดีกว่าครับ ว่าแต่ละชิ้นจะโดดเด่นเพียงใด สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้จริงหรือไม่ เราไปชมกันเลยครับ!

 
 
 
 
 
ดูโพสต์นี้บน Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

โพสต์ที่แชร์โดย Alfaz (@skatesuckers)

 
 
 
 
 
ดูโพสต์นี้บน Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

โพสต์ที่แชร์โดย Button Network (@buttonetwork)

 
 
 
 
 
ดูโพสต์นี้บน Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

โพสต์ที่แชร์โดย Alfaz (@skatesuckers)

 
 
 
 
 
ดูโพสต์นี้บน Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

โพสต์ที่แชร์โดย Alfaz (@skatesuckers)

 
 
 
 
 
ดูโพสต์นี้บน Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

โพสต์ที่แชร์โดย Alfaz (@skatesuckers)

 
 
 
 
 
ดูโพสต์นี้บน Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

โพสต์ที่แชร์โดย Button Network (@buttonetwork)

 
 
 
 
 
ดูโพสต์นี้บน Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

โพสต์ที่แชร์โดย Button Network (@buttonetwork)

 
 
 
 
 
ดูโพสต์นี้บน Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

โพสต์ที่แชร์โดย Alfaz (@skatesuckers)

 
 
 
 
 
ดูโพสต์นี้บน Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

โพสต์ที่แชร์โดย Alfaz (@skatesuckers)

 
 
 
 
 
ดูโพสต์นี้บน Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

โพสต์ที่แชร์โดย Alfaz (@skatesuckers)

 
 
 
 
 
ดูโพสต์นี้บน Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

โพสต์ที่แชร์โดย Alfaz (@skatesuckers)

จุดเริ่มต้นจากความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตของตน ‘Yayoi Kusama’

Yayoi Kusama ศิลปินร่วมสมัยชาวญี่ปุ่นที่โด่งดังไปทั่วโลกในฐานะเจ้าของผลงาน ผู้หลงใหลคลั่งไคล้ในลวดลายจุด (Polka Dot) จนนำมาถ่ายทอดออกมาเป็นงานศิลปะ ด้วยกระแสงานศิลปะ avant-garde ที่เต็มไปด้วยความน่าพิศวงของสีสัน และลวดลายอันละลานตา เอกลักษณ์ของงานออกแบบเติมเต็มทุกอณูของพื้นที่อย่างไม่รู้จบ จึงเปรียบได้กับลายเซ็นเฉพาะตัวให้กับผลงาน

Yayoi Kusama ได้มุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตของตนสู่งานศิลป์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ พร้อมกันนั้นได้ร้อยเรียงเรื่องราวที่เธอประสบและแปรเปลี่ยนเป็นพลังบนชิ้นงาน ด้วยค่านิยมทางสังคมของญี่ปุ่นในสมัยนั้น ครอบครัวที่ไม่ยอมรับ ทั้งสังคมยังปฏิเสธงานศิลปะ ทำให้การเดินทางจากกรุงโตเกียวสู่มหานครนิวยอร์กตลอดสองทศวรรษระหว่างช่วง 1950s – 1960s ตัวเธอนั้นได้สรรสร้างผลงานมากมาย เพื่อระบายความอึดอัดภายในจิตใจและยังนับเป็นส่วนนึงของการบำบัดอาการป่วยของเธอด้วย ด้วยมิติอันไร้ที่สิ้นสุดบนผลงาน หลังจากเผยโฉมตัวตนให้โลกภายนอกได้รับรู้ถึงฝีมือ ในช่วงทศวรรษที่ 1970s ตัวเธอนั้นได้ตัดสินใจเดินทางกลับสู่บ้านเกิด ณ ประเทศญี่ปุ่น เธอได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินเอกของศตวรรษที่ 21 ผู้เปี่ยมด้วยพรสวรรค์อันหาตัวจับได้ยากและ ยังถือเป็นศิลปินหญิงที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดขณะที่ยังมีชีวิตอยู่

cr pictures : Louis Vuitton Official

จากผลงาน “INFINITY DOTS” ลวดลายจุดที่ระบายด้วยมือนั้นถือเป็นเอกลักษณ์ของยาโยอิที่เราต่างคุ้นเคยและจดจำกันได้กันเป็นอย่างดี ลวดลายจุดแห่งความอนันต์นี้คือสัญลักษณ์สำคัญที่แสดงถึงแรงบันดาลใจจากความทรงจำที่มีในวัยเด็ก เธอเรียกการปลดปล่อยพัฒนาการของตัวเองจากความกลัวที่จะต้องเห็นภาพหลอนแบบไม่สิ้นสุดนี้ว่า “การลบเลือนตัวตน (Self-Obliteration)” ของตัวเธอ “ความปรารถนาของฉันคือการทำนายและชั่งวัดความอนันต์ของจักรวาลที่ไร้ขอบเขต จากตำแหน่งที่ตัวฉันเองดำรงอยู่ด้วยลวดลายจุด” ยาโยอิกล่าวผ่านหนังสืออัตชีวประวัติเรื่อง Infinity Net ชื่อเสียงของศิลปินหญิงถูกกล่าวขานในอเมริกานับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960s พร้อมทั้งสมญานาม ‘เจ้าหญิงแห่งลวดลายจุด’ ที่ถึงแม้ว่าตัวยาโยอิจะเรียกตนเองว่าเป็น ‘ศิลปินผู้หมกมุ่น’ ก็ตาม หรืออย่าง “PSYCHEDELIC FLOWER” ซึ่งได้กลายเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของศิลปิน จากผลงานในปีค.ศ. 1993 อีกหนึ่งความหลงใหลของตัวเธอนั้นได้เผยตัวผ่านลวดลายดอกไม้ รูปทรงที่งดงามและแตกต่างไปจากแนวคิดเกี่ยวความอนันต์และไร้จุดสิ้นสุด

cr pictures : Louis Vuitton Official

ย้อนกลับไปยังโปรเจ็คความสร้างสรรค์ครั้งแรกระหว่างหลุยส์ วิตตองกับยาโยอิ คุซามะในปี 2012 มิตรภาพอันดีระหว่างกันยังคงต่อเนื่องไม่สิ้นสุด แม้จะล่วงเลยมาถึงปีที่สิบ บทสนทนาที่เปี่ยมด้วยความน่าอัศจรรย์ยังคงนำมาขยายและพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง สำหรับหลุยส์ วิตตองการร่วมทำงานกับเหล่าศิลปินถือเป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์อันยาวนานของเมซง นับตั้งแต่เกือบร้อยปีก่อนในยุคของ Gaston-Louis Vuitton หลานชายผู้สืบสายเลือดของผู้ก่อตั้ง ได้เชื้อเชิญเหล่าศิลปินมาร่วมออกแบบผลงานสำหรับโชว์บริเวณหน้าต่างและภายในร้านสาขาต่างๆ ของหลุยส์ วิตตอง ความร่วมมือนี้ถูกผลักดันตลอดหลายปีจนเปรียบได้กับการเดินทางผ่านห้วงเวลายาวนาน ขณะเดียวกันก็ผสานไปกับเหตุการณ์ร่วมสมัย นับตั้งแต่ 1988 เมซงได้ร่วมทำงานกับศิลปินและนักออกแบบผู้มีชื่อเสียง อาทิ Sol LeWitt ศิลปินแนวคอนเซ็ปชวลอาร์ตชาวอเมริกัน Richard Prince จิตรกรและช่างภาพชาวอเมริกัน ทาคาชิ มุราคามิ ศิลปินร่วมสมัยชาวญี่ปุ่นและ Jeff Koons ประติมากรกระแสป๊อปอาร์ตชาวอเมริกัน สำหรับยาโยอิ วัตถุงานศิลป์ ลวดลายและจินตนาการเกี่ยวกับความอนันต์อันไร้สิ้นสุดหลอมรวมไปกับสุนทรียศาสตร์ของหลุยส์ วิตตอง โดยถ่ายทอดผ่านไอเท็มหมวดต่างๆ ตั้งแต่กระเป๋าถือ เครื่องแต่งกายสำหรับสุภาพบุรุษ เสื้อผ้าของเหล่าสุภาพสตรี แว่นตา น้ำหอม รองเท้าและเครื่องประดับ ในขณะเดียวกันการแนวทางการออกแบบของเมซงเองก็ถูกนำเสนอผ่านชิ้นงานที่เปรียบได้กับสัญลักษณ์ของเมซง ควบคู่ไปผลงานของยาโยอิที่ดัดแปลงจินตนาการสู่โลกความเป็นจริง

POP ART : Keep The Distance

Author: MutAnt

Photography: Courtesy of The Gallery

ที่ผ่านๆ มา เมื่อเราเอ่ยถึงศิลปะนามธรรม (abstract art) คนทั่วไปมักจะคิดว่าเป็นงานศิลปะที่เข้าถึงและเข้าใจยากจนต้องปีนกระไดดู หรือไม่ก็พานคิดว่าเป็นงานศิลปะของคนมักง่าย ที่ทำอะไรมั่วๆ ขึ้นมาก็ได้ จนบางคนอาจถึงกับกล่าวว่า “ลูกอายุสามขวบที่บ้านก็ทำได้” ก็ยังมี จนทำให้เกิดระยะห่างขวางกั้นระหว่างงานศิลปะนามธรรมกับคนทั่วไปจนไกลโขทั้งๆ ที่ผลงานเหล่านี้ปรากฏให้เห็นจะแจ้งอยู่ข้างหน้า เช่นเดียวกับนิยามและความหมายที่ปรากฏในชื่อของนิทรรศการหนึ่งที่มีชื่อว่า Distance and Existence

นิทรรศการที่พยายามนำเสนอบทสนทนาเพื่อลดระยะห่างที่คั่นกลางระหว่างผู้ชมกับงานศิลปะนามธรรม และพยายามนำเสนอแนวความคิดและการรับรู้ใหม่ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจต่อผู้ชมให้เข้าถึงภาษาของศิลปะนามธรรมร่วมสมัยยิ่งขึ้น จากการรวมตัวกันของ 5 ศิลปินหลายรุ่นที่น่าจับตาอย่างเกศ ชวนะลิขิกร, กิติก้อง ติลกวัฒโนทัย, จิรัชยา พริบไหว, อ้อ สุทธิประภา และอมรเทพมหามาตร กับผลงานจิตรกรรม ประติมากรรม และศิลปะจัดวางหลากชนิด ที่ถูกคัดสรรโดยภัณฑารักษ์หนุ่มหน้ามน ชล เจนประภาพันธ์

ไม่ว่าจะเป็นผลงานจิตรกรรมนามธรรมของเกศ ชวนะลิขิกร ที่มุ่งเน้นในการนำเสนอกระบวนการทำงานจิตรกรรมผ่านผลงานภาพวาดสีเอกรงค์อันเคร่งขรึม แต่แอบซ่อนชั้นสีสดใสหลากสีสันที่ถูกทับซ้อนกันหลายชั้นข้างใต้พื้นผิวด้านบน หากเผยให้เห็นเป็นคราบไคลหลากสีที่ไหลย้อยด้านข้างเฟรมผ้าใบ โดยไม่บอกเล่าเรื่องราวใดๆ ปล่อยให้ผู้ชมตีความและจินตนาการถึงความหมายที่ซุกซ่อนอยู่ตามใจปรารถนา

หรือผลงานจิตรกรรมนามธรรมของกิติก้อง ติลกวัฒโนทัย ที่เล่นกับมิติของความแบนและความลึก ความแตกต่างระหว่างพื้นผิวทั้งเรียบ ด้าน และมันเงาการจับคู่เปรียบของวัสดุต่างชนิด และการจับคู่ความขัดแย้งแตกต่างระหว่างบางสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเป็นขั้วตรงข้ามกันอย่างแสงสว่างในยามกลางคืน แสงอาทิตย์ในยามฝนตก หรือความร้อนของน้ำแข็ง ด้วยงานจิตรกรรมที่เป็นส่วนผสมของสีอะคริลิก การคอลลาจ (ตัดแปะ) กระดาษสี และการเคลือบแล็กเกอร์บนแคนวาส

ผลงานของจิรัชยา พริบไหว ได้แรงบันดาลใจจากสวนหลังบ้านของเธอที่เป็นเสมือนหนึ่งพื้นที่ทางจิตวิญญาณ และกิจกรรมการทำสวนที่เปรียบดังการทำสมาธิ จิรัชยาสังเกตปรากฏการณ์ในสวนอย่างแสงแดด สายลม หรือร่องรอยการบินของผีเสื้อ ออกมาเป็นผลงานจิตรกรรมนามธรรมสีอะคริลิกบนผ้าใบ ที่สะท้อนถึงการให้คุณค่ากับเวลาในปัจจุบันขณะของชีวิต

หรือผลงานของอ้อ สุทธิประภา ในรูปของศิลปะจัดวางจากเซรามิกที่ผสานสองขั้วระหว่างความแกร่งและบอบบางของเซรามิก ด้วยรูปทรงที่โค้งมนและอ่อนช้อย ราวกับรูปทรงกำลังพลิ้วไหวไปตามกระแสของธรรมชาติ และความแข็งแกร่งของดินเหนียวที่นำเสนอได้อย่างลื่นไหล กลายเป็นเสน่ห์ที่ทำให้ผู้ชมเคลิบเคลิ้มในผลงาน

และผลงานของอมรเทพ มหามาตร ที่สื่อสารถึงความเป็นอดีตและปัจจุบันในพื้นที่ภาคอีสานตอนบน ที่เขาเข้าไปสัมผัสกับแหล่งอารยธรรมเก่าก่อนประวัติศาสตร์ ทั้งโบราณสถาน โบราณวัตถุสิ่งของในยุคก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่ ที่ส่งแรงบันดาลใจให้เขาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเซรามิกนามธรรม ที่สื่อถึงการอยู่ร่วมกับธรรมชาติด้วยความเคารพและสัมผัสด้วยใจ รวมถึงผลงานที่ได้แรงบันดาลใจจากอักขระภาษาธรรมโบราณทับซ้อนกันจนกลายเป็นงานสุนทรียะแบบนามธรรมในแบบของเขาเอง

ชล เจนประภาพันธ์ ภัณฑารักษ์ กล่าวถึงแรงบันดาลใจเบื้องหลังนิทรรศการครั้งนี้ว่า “นิทรรศการครั้งนี้เริ่มต้นจากความสนใจของผมเกี่ยวกับงานศิลปะนามธรรม ผมมองว่าก่อนหน้านี้เคยมีสิ่งที่เรียกว่า ‘ยุคทองของศิลปะนามธรรม’ ในประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2500 – 2520 มีศิลปินนามธรรมในประเทศไทยเกือบ 100 คน หลังจากนั้นมา ศิลปะนามธรรมก็ค่อยๆ เสื่อมความนิยมลง แต่อันที่จริงแล้วก็ไม่ได้หายไปไหน ศิลปินที่ทำงานศิลปะนามธรรมก็ยังคงทำอยู่อย่างต่อเนื่อง เพียงแต่ศิลปินบางคนอาจเปลี่ยนทิศทางไปทำงานในแนวทางอื่นๆ ผมก็เลยตั้งคำถามถึงความแตกต่างในปัจจุบัน ระหว่างศิลปินนามธรรมผู้ยังคงยืนยันแนวทางเดิม ที่ได้รับอิทธิพลจากกระแสเคลื่อนไหวของศิลปะนามธรรมจากตะวันตกหรืออเมริกันในช่วงยุคสงครามเย็น กับศิลปินนามธรรมเจนเนอเรชันใหม่ๆ ที่ไม่มีความเชื่อมโยงกับกระแสเคลื่อนไหวของตะวันตกเลย หากแต่ทำงานในแนวคิดแบบร่วมสมัย ทำให้นิยามของศิลปะนามธรรมเกิดความเปลี่ยนแปลงไป นับจากยุคทองที่ศิลปะนามธรรมถูกนำเสนอผ่านผลงานจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์เท่านั้น แต่ในปัจจุบัน สื่อทางศิลปะอื่นๆ อย่างงานเซรามิก หรือศิลปะจัดวาง (installation art) ก็เริ่มเข้ามามีบทบาทในงานศิลปะนามธรรมมากขึ้น”

“ผมเลยรู้สึกว่าอยากจะทำนิทรรศการที่สร้างบทสนทนาระหว่างศิลปินสองยุคสมัย โดยเริ่มต้นจากศิลปินรุ่นใหญ่อย่างเกศ ชวนะลิขิกร ที่ถือว่าเป็นศิลปินชั้นครูของงานนามธรรมคนหนึ่งที่ทำงานมาอย่างยาวนานมาก กับผลงานจิตรกรรมนามธรรมบนผืนผ้าใบที่ใช้ฝีแปรงและสีสันอย่างเป็นอิสระในการแสดงออก ตามมาด้วยศิลปินรุ่นกลางอย่างอมรเทพ มหามาตร ที่ทำเซรามิกเป็นงานศิลปะนามธรรมที่มีความโดดเด่นในประเด็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ศิลปินเซรามิกอีกคนอย่างอ้อ สุทธิประภา ที่ทำงานเซรามิกในแบบนามธรรมในประเด็นเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์และการหันมาทำความเข้าใจกับสภาวะภายในของตนเอง ผมมองว่ากระบวนการทำงานเซรามิกมีความสอดคล้องกับงานศิลปะนามธรรมตรงที่การทำงานเซรามิกมักจะมีเรื่องของความไม่คาดหมายและเหตุบังเอิญในกระบวนการทำงาน เช่นเดียวกับการทำงานศิลปะนามธรรม”

“หรือศิลปินรุ่นใหม่ขึ้นมาหน่อยอย่างกิติก้อง ติลกวัฒโนทัย ที่ทำงานจิตรกรรมและภาพพิมพ์แบบนามธรรมเชิงทดลอง ที่นำเสนอผ่านเทคนิคการคอลลาจ (ตัดแปะ) ลงบนผืนผ้าใบ และศิลปินรุ่นใหม่อย่างจิรัชยา พริบไหว ที่ทำงานจิตรกรรมนามธรรมด้วยแนวคิดอันเรียบง่าย แต่แฝงความซับซ้อนและเปี่ยมเสน่ห์เฉพาะตัวบางอย่างอยู่”

“การทำนิทรรศการครั้งนี้เป็นความพยายามในการค้นหาความเป็นไปได้อื่นๆ ของความเป็นศิลปะนามธรรมในกระแสเคลื่อนไหวของงานศิลปะร่วมสมัย ต่อไปอาจมีคนทำงานศิลปะดิจิทัลหรือวิดีโอจัดวางเป็นงานศิลปะนามธรรมก็ได้ เอาจริงๆ ในปัจจุบันเราอาจจะพ้นยุคของการนิยามความหมายของศิลปะแบบต่างๆ แล้วก็เป็นได้ ศิลปินบางคนก็ไม่อยากนิยามว่าตัวเองทำงานแบบไหน ในอนาคตการทำงานในลักษณะนี้อาจไม่ถูกเรียกว่าศิลปะนามธรรมก็เป็นได้”

ชลยังเสริมท้ายถึงที่มาที่ไปของชื่อนิทรรศการที่ได้แรงบันดาลใจจากสื่อศิลปะต่างแขนงว่า “ชื่อนิทรรศการ Distance and Existence ผมได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์เรื่อง The Secret Life of Walter Mitty (2013) ในฉากหนึ่งที่ตัวละครวอลเตอร์ มิตตี้ เดินทางตามหาช่างภาพระดับตำนาน ฌอน โอ’คอนเนล จนไปเจอเขาซุ่มรอถ่ายภาพเสือดาวภูเขา แต่พอเสือดาวเดินออกมาผ่านเลนส์ ฌอนกลับไม่กดชัตเตอร์ แล้วปล่อยให้มันเดินผ่านไปเสียอย่างงั้น มิตตี้ถามฌอนว่าทำไมไม่ถ่ายภาพเอาไว้ ฌอนตอบว่า ‘ความงามที่แท้จริงไม่เรียกร้องความสนใจ’ ผมชอบประโยคนี้มาก ผมรู้สึกว่าประโยคนี้สามารถใช้นิยามสุนทรียะของความเป็นศิลปะนามธรรมได้”

“ในขณะที่ในยุคหนึ่งที่คนส่วนใหญ่รู้สึกว่าศิลปะนามธรรมเข้าถึงและเข้าใจยาก หรือเป็นเหมือนงานที่ดูมักง่าย ใครๆ ก็ทำได้ แต่ในปัจจุบัน คนเริ่มเรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจและชื่นชมกับงานในลักษณะนี้มากขึ้น ทั้งในแง่ของทัศนธาตุ กระบวนการทำงาน หรือสุนทรียะของสี การจัดวาง ซึ่งเป็นการรับรู้ด้วยประสบการณ์ตรง ผมเลยเลือกใช้คำว่า distance เพื่อสื่อถึงระยะห่างระหว่างผู้ชมกับศิลปะนามธรรม ส่วนคำว่า existence ซึ่งแปลว่าการดำรงอยู่ หมายถึงการดำรงอยู่ของความงามในศิลปะนามธรรม เหมือนในฉากที่ฌอน โอ’คอนเนล ไม่กดชัตเตอร์ แล้วพูดประโยคนั้นออกมา ผมเลยอยากจะชวนผู้ชมมาสร้างบทสนทนาและตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับนิยามของงานศิลปะนามธรรมกัน นี่เป็นเหตุผลที่ผมไม่อธิบายเกี่ยวกับแนวคิดเบื้องหลังของผลงานของศิลปินแต่ละคนมากนัก เพราะผมคิดว่าถ้าอธิบายจนหมดก็คงไม่เหลืออะไรให้จินตนาการหรือคิดต่อแล้ว”

นิทรรศการ ‘Distance and Existence’ จัดแสดง ณ บริเวณหอศิลป์ 

ชั้น 1 เอส เอ ซี แกลเลอรี (SAC Gallery)

POP ART : The Nurtured Nature

สำรวจความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นและการกีดกันความหลากหลายทางเพศผ่านศิลปะการจัดดอกไม้ของนรภัทร ศักดิ์อาธรทรัพย์

Photography: Courtesy of The Gallery

ดอกไม้ นอกจากจะใช้ประดับ ตกแต่ง เติมแต้มสีสันบรรยากาศมอบความสวยงาม กลิ่นหอมจรุงใจแก่ผู้คนได้แล้ว ในหลายครั้งดอกไม้ยังสามารถใช้แทนสัญลักษณ์ที่สื่อสารบอกเล่าประเด็นต่างๆทางสังคม ทั้งความหวัง เสรีภาพ สันติภาพ ความเท่าเทียม หรือแม้แต่ความหลากหลายทางเพศ ดังเช่นที่ปรากฏในนิทรรศการศิลปะ ที่มีชื่อว่า Nature versus Nurture โดยนรภัทร ศักดิ์อาธรทรัพย์ศิลปินภาพถ่ายและศิลปะจัดวาง ผู้นำเสนอประเด็นเกี่ยวกับการถูกกีดกันเพศสภาพและความไม่เท่าเทียมกันในสังคมผ่านภาพของ ‘ดอกไม้’ หลากรูปแบบและแนวทางอย่างต่อเนื่องจริงจัง

“นิทรรศการ Nature versus Nurture ได้แรงบันดาลใจจากทฤษฎีทางจิตวิทยาที่ว่าด้วยเรื่องของธรรมชาติและการเลี้ยงดูว่าอะไรที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของมนุษย์มากกว่ากันระหว่างการถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือวิธีการเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อม ว่าตัวเรานั้นเป็นผลผลิตจากธรรมชาติหรือการเลี้ยงดูกันแน่ ผลงานในนิทรรศการนี้ ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน โดยแทนค่าด้วยการเจริญเติบโตตลอดช่วงชีวิตของดอกไม้ 3 ช่วงเวลา ตั้งแต่ช่วงที่ดอกไม้ถูกเลี้ยงดูอยู่ในฟาร์มเพาะมาจนถึงช่วงที่ถูกตัดส่งขายไปยังตู้แช่ดอกไม้ในประเทศต่างๆ และจบลงที่ผู้คนซื้อไปใช้จัดดอกไม้ตามบ้าน กระบวนการผลิตเช่นนี้สะท้อนช่วงชีวิตที่ถูกควบคุมและจัดการ เช่นเดียวกับกระบวนการจำกัดสิทธิเสรีภาพของคน ด้วยการดัดแปลง ทำลาย หรือกีดกันตัวตนและเพศสภาพให้เป็นไปตามที่สังคมยอมรับ เป้าหมายของนิทรรศการครั้งนี้จึงเป็นการสะท้อนให้ผู้คนตระหนักถึงความไม่เท่าเทียมและไร้เสรีภาพที่เกิดขึ้นผ่านสิ่งธรรมดาสามัญอย่างดอกไม้ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวี่วัน

“ส่วนแรกเป็นผลงานชุด Cut Chrysanthemum Production เป็นเรื่องของดอกเบญจมาศที่ถูกปรับแต่งพันธุกรรมและได้รับการเลี้ยงดูในฟาร์มเพาะจนกลายเป็นเพียงผลิตผลที่สวยงาม ด้วยความที่ผมไปค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับฟาร์มเพาะดอกเบญจมาศแล้วพบว่า ดอกเบญจมาศในฟาร์มส่วนใหญ่ถูกปลูกแบบควบคุมแสง ลดช่วงเวลากลางคืนให้สั้นลง (break night) เพื่อให้ดอกเบญจมาศมีก้านยาวและดอกโตขึ้น จึงทำให้ดอกเบญจมาศที่ปลูกขายกันทุกวันนี้เป็นดอกไม้ที่ถูกทำลายตัวตนเดิมที่เคยมีในอดีตลงไป จนกลายเป็นสินค้าอย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเศร้ามาก เพราะเราไม่สามารถสืบค้นได้ว่าดอกเบญจมาศยุคดั้งเดิมมีหน้าตาเป็นอย่างไร เพราะมันถูกปรับเปลี่ยนพันธุกรรมมาอย่างยาวนานมาก หรืออย่างดอกลิลี่ สมัยก่อนก็เป็นดอกไม้ที่บานคว่ำ แต่ด้วยความที่ดอกไม้ส่วนใหญ่มักถูกจัดในช่อ พอดอกบานคว่ำก็จัดเข้าช่อได้ยาก ดอกลิลี่เลยถูกดัดแปลงสายพันธุ์ให้กลายเป็นดอกไม้ที่บานหงายจะได้ถูกจัดช่อได้ง่ายขึ้น

“เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเราเองในแต่ละช่วงวัน ผมรู้สึกว่ามีข้อจำกัดบางอย่างทำให้เราไม่สามารถเป็นตัวเองได้อย่างเต็มที่ ไม่แตกต่างอะไรกับดอกไม้เหล่านี้ที่ถูกจำกัดตัวตนจากการเป็นสิ่งที่ตลาดต้องการคนเราเองก็ถูกสังคมจำกัดด้วยการเป็นสิ่งที่สังคม ณ เวลานั้นต้องการเหมือนกัน ผมก็เลยตั้งคำถามว่า แล้วคนเรา ณ ปัจจุบันหลงเหลือความเป็นตัวตนที่แท้จริงอยู่มากน้อยแค่ไหนกันแน่

“ด้วยความที่ผมสั่งดอกเบญจมาศจากฟาร์มหนึ่งเพื่อมาจัดแสดงในนิทรรศการนี้ แต่ปรากฏว่าวันที่ต้องนำดอกไม้มาแสดง ทางฟาร์มโทรมายกเลิกการส่ง เพราะเจอพายุเข้าจนทำให้ดอกไม้ในแปลงเสียหายเละเทะ ไม่สามารถตัดส่งมาให้ได้ ผมเลยรู้สึกว่านี่แหละคือชีวิตที่เราไม่สามารถควบคุมอะไรได้ เมื่อดอกไม้ถูกสภาพแวดล้อมทำลาย ก็ต้องกลายเป็นขยะที่ฟาร์มคัดทิ้ง ไม่มีโอกาสเจริญเติบโตได้เลย ไม่ต่างอะไรกับสิ่งที่เราเผชิญในการถูกบังคับให้เป็นคนในแบบที่สังคมต้องการ ไม่มีโอกาสได้เป็นตัวของตัวเองตามที่เราต้องการได้เลย เราต้องพยายามเป็นเหมือนดอกไม้ที่สมบูรณ์แบบ เพื่อให้สังคม ณ เวลานั้นยอมรับเรา

“ผมจึงซื้อดอกไม้มาจากอีกที่หนึ่ง เพื่อทำงานศิลปะจัดวางที่จำลองแปลงดอกไม้ของฟาร์มที่ผมสั่งจองเอาไว้ ให้เห็นว่าแปลงดอกไม้ที่ถูกพายุเข้ามีสภาพเป็นอย่างไร ส่วนดอกไม้ที่สมบูรณ์แบบก็จะถูกตัดก้านวางบนแท่นแสดงงาน เพื่อให้เห็นว่ามีดอกไม้ส่วนหนึ่งที่สวยงามถูกตัดเพื่อนำไปขายเป็นสินค้า ในขณะเดียวกัน ดอกไม้ที่ไม่สมบูรณ์แบบก็ถูกปล่อยทิ้งให้ตายคาต้นไป

“ส่วนที่สองคืองานชุด Flower Refrigerator เป็นภาพของดอกไม้ที่ถูกจัดวางไว้ในตู้แช่ ผมต้องการเล่าประเด็นเกี่ยวกับการที่บางประเทศการเป็นเพศทางเลือกเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ผมคิดว่าสิ่งที่มนุษย์เราไม่สามารถเลือกได้คือเรื่องของเพศ ครอบครัว ชนชั้นและประเทศที่เราถือกำเนิด เมื่อเราเกิดขึ้นมาในพื้นที่ที่เราถูกกฎหมายหรือแม้แต่ศาสนาจำกัดสิทธิเสรีภาพต่างๆ เช่นเดียวกันกับดอกไม้เมื่อถูกเพาะเลี้ยงเพื่อตัดดอกส่งออกไปยังหลายประเทศ เพื่อไปวางขายอยู่ในตู้แช่ตามร้านขายดอกไม้ต่างๆ ดอกไม้ที่ถูกเลี้ยงดูในฟาร์ม เมื่อถูกตัด แล้วถูกนำไปอัดแน่นไว้ในพื้นที่จำกัดอย่างตู้แช่ ก็ไม่ต่างกับการที่ดอกไม้เหล่านั้นถูกจำกัดเสรีภาพเช่นกัน

“ผมทำการค้นคว้าเกี่ยวกับร้านดอกไม้ในประเทศต่างๆ ที่มีกฎหมายที่ไม่ยอมรับความหลากหลายทางเพศว่าเขาขายดอกไม้ชนิดไหนบ้าง แล้วก็ใช้ดอกไม้เหล่านั้นมาจัดเรียงสีสันให้คล้ายกับธงชาติของประเทศที่ว่า ดอกไม้บางส่วนอาจเป็นดอกไม้ท้องถิ่นในประเทศเหล่านั้น บางส่วนอาจเป็นดอกไม้ที่ถูกนำเข้ามา เหมือนกับคนเราที่พอเดินทางไปต่างประเทศก็จะถูกกฎหมายของประเทศเหล่านั้นมาจำกัดสิทธิเสรีภาพหรือตัวตนของเรา เช่นเดียวกับดอกไม้เหล่านี้ที่ไม่ได้มีสิทธิเลือกอะไรให้ตัวเอง

“หลังจากตามหาดอกไม้ตามฤดูกาลที่มาเรียงให้ตรงตามสีธงชาติของประเทศเหล่านั้นแล้ว ผมก็บันทึกภาพดอกไม้เหล่านั้น ด้วยกระบวนการ scanography หรือการสแกนด้วยเครื่องสแกนขนาดใหญ่เพื่อให้เกิดเป็นภาพที่ดูเหมือนดอกไม้ถูกอัดแน่นอยู่ในตู้แช่และไฟของเครื่องสแกนเองก็ดูคล้ายกับไฟของตู้แช่ที่มีแสงสว่างส่องอยู่ที่ระยะด้านหน้าและทิ้งความมืดไว้ในระยะด้านหลัง ส่วนโครงของตู้แช่ผมให้ร้านกรอบรูปผลิตขึ้นมาให้ดูใกล้เคียงกับตู้แช่แต่มีขนาดเล็กลง และนำมาวางทับบนภาพดอกไม้อีกที ส่วนป้ายชื่อบนตู้แช่ผมใช้ชื่อของดอกไม้ประจำประเทศที่ความหลากหลายทางเพศเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เพื่อเป็นสัญญะบอกใบ้ให้ผู้ชมตีความโดยไม่บอกชื่อประเทศเหล่านั้นตรงๆ เมื่อพลิกดูภาพในแนวนอน ผู้ชมก็อาจจะพอเดาออกว่าเป็นสีของธงชาติประเทศใดบ้าง

“ส่วนที่สามคืองานชุด The Other Side of Flower Arrangement ที่พูดเรื่องการจัดดอกไม้ ซึ่งผมไปค้นคว้ามาว่า ในอดีตการจัดดอกไม้ถูกสงวนเอาไว้สำหรับชนชั้นสูงเท่านั้น ผมรู้สึกสงสัยว่าทำไมการจัดดอกไม้ถึงถูกจำกัดเอาไว้แค่สำหรับคนเฉพาะกลุ่มเท่านั้น หรือเราถูกแบ่งแยกชนชั้นผ่านสิ่งเล็กๆ น้อยๆ อย่างการจัดดอกไม้มาตั้งแต่สมัยโบราณ ผมอยากสมมติตัวเองว่า ถ้าตัวผมเกิดในยุคสมัยนั้น ผมจะสามารถจัดดอกไม้ออกมาเป็นแบบไหนได้บ้าง ด้วยความที่ผมเกิดมาในครอบครัวชนชั้นกลาง ผมก็เลยอยากเอาวัตถุในชีวิตประจำวันของชนชั้นกลางอย่างขันน้ำ ชามใส่อาหารแมว กะละมังล้างผัก หรือครกมาเป็นภาชนะแทนแจกันใบหรูที่คนร่ำรวยชนชั้นสูงใช้จัดดอกไม้กันเพราะผมอยากลดความสูงส่งของการจัดดอกไม้ในอดีตลงด้วยการใช้ความเป็นชนชั้นกลางของตัวเองสร้างผลงานชุดนี้ขึ้นมา เพื่อแสดงให้เห็นว่านี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในบ้านของชนชั้นกลางที่ค่อนมาทางล่าง ที่ใช้ขันอาบน้ำโดยไม่ได้ใช้ฝักบัวด้วยซ้ำไป

“ผมเลือกใช้เทคนิคการจัดดอกไม้แบบอิเคบานะ เพราะที่บ้านผมมีหนังสือสอนจัดดอกไม้ที่พิมพ์มาหลายสิบปีแล้ว ในหนังสือบอกเอาไว้ว่าการจัดดอกไม้แบบอิเคบานะเป็นที่นิยมในประเทศไทย เพราะใช้ดอกไม้จำนวนน้อย ทำให้ใช้เงินไม่เยอะ ผมคิดว่านี่เป็นรูปแบบการจัดดอกไม้ที่เหมาะกับผมมาก เพราะผมเองก็ไม่ได้ร่ำรวยขนาดที่จะซื้อดอกไม้มากมายมาจัด ในขณะเดียวกัน การเรียนอิเคบานะในยุคปัจจุบันกลับเป็นสิ่งที่มีราคาแพงมาก ผมจึงอยากลดความสูงส่งลงด้วยการใช้การจัดดอกไม้

แบบอิเคบานะที่ผมฝึกฝนเองโดยไม่ได้ไปเรียนมาจากที่ไหน

“ดอกไม้ที่จัด ผมก็ซ่อนสัญลักษณ์บางอย่างด้วยการดัดใบและดอกไม้ให้เป็นคำหยาบ (ภาษาอังกฤษ) เพราะผมมองว่า พอคนเห็นว่าเป็นคำหยาบปุ๊บ ก็จะมองว่าเป็นของต่ำ ผมรู้สึกว่านี่เป็นอีกสิ่งที่คนเราให้คุณค่าความเป็นชนชั้นให้กับมัน ทั้งๆ ที่ก็เป็นภาษาเหมือนๆ กันผมก็เลยอยากใส่คำหยาบเหล่านี้ลงไปในการจัดดอกไม้ในครั้งนี้ เพราะอยากลดทอนความสูงส่งของการจัดดอกไม้ที่มีมาแต่อดีต หรือตัวดอกไม้เอง บางดอกก็มีคนมองว่าเป็นดอกไม้ราคาถูก ไม่ควรเอามาจัดช่อ เพราะคนที่ได้รับไปคงไม่ชอบ ผมกลับมองว่าดอกไม้แต่ละชนิดควรมีความเท่าเทียมกัน ไม่ควรถูกมนุษย์เอาไปแบ่งแยกชนชั้นเป็นของต่ำ-ของสูง หรือผ้าที่ใช้ทำฉากถ่ายรูปก็เป็นผ้าราคาถูกที่หาซื้อได้ในท้องตลาดทั่วไป กล้องที่ใช้ถ่ายภาพก็เป็นกล้องดิจิทัลที่ผมใช้ถ่ายรูปมาเป็นสิบปีแล้ว ภาพที่พิมพ์ออกมาผมใช้เทคนิคทำพื้นผิวให้ดูเหมือนเป็นภาพเก่าๆ ในสมัยก่อน เพราะผมค้นคว้ามาว่าสมัยก่อนคนชอบถ่ายภาพการจัดดอกไม้ในลักษณะนี้

“งานชุดนี้ผมใช้ทุกสิ่งอย่างที่อยู่ในชีวิตของผมจริงๆ ไม่ได้เสแสร้งปลอมแปลงหรือพยายามทำให้ดูสูงส่ง สำหรับผม ภาชนะใส่ดอกไม้จะเป็นอะไรก็ได้ ขอแค่เพียงสามารถใส่น้ำแล้วก็หล่อให้ดอกไม้มีชีวิตยืนยาวต่อไปได้ก็เพียงพอแล้ว ตอนเด็กๆ ผมเองก็ไม่กล้าใช้แจกันถูกๆจัดดอกไม้ เพราะผมรู้สึกว่าดูไม่ดี แต่พอโตขึ้นมา ผมก็รู้ว่านั่นคือสิ่งที่สังคมพยายามบอกว่าต้องเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ สิ่งนี้ราคาถูก ราคาแพง สิ่งนี้ของต่ำ ของสูง ผมมองว่าแค่เราได้มีโอกาสใช้เวลาในการจัดดอกไม้เท่านั้นก็เพียงพอแล้ว

“ดอกไม้เป็นสิ่งที่ผมชอบมาตั้งแต่เด็ก ในอัลบั้มภาพถ่ายที่แม่เก็บเอาไว้มักจะเป็นรูปตัวผมไปดมดอกไม้ในที่ต่างๆ สมัยเด็ก ทุกๆ ปีผมจะไปอยู่กับป้าที่จังหวัดสุรินทร์ บ้านป้าจะมีหนังสือเกี่ยวกับดอกไม้เยอะมากผมก็ชอบไปเปิดอ่าน จนสามารถจำได้ว่านี่คือดอกอะไร ชื่ออะไร เวลาที่ผมไปตลาดต้นไม้ดอกไม้กับแม่ ผมรู้จักชื่อดอกไม้แทบทุกชนิด จนแม่ผมตกใจว่าทำไมถึงรู้จักดอกไม้เยอะขนาดนี้ สมัยเด็กๆ ผมยังเคยเอาดอกไม้มาทำเป็นมงกุฎสวมหัวเดินรอบบ้าน ผมรู้สึกว่าดอกไม้เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้ผมรู้จักตัวตนของตัวเองมากขึ้น

“สำหรับผม ดอกไม้ไม่ต่างอะไรกับมนุษย์ มันมีอวัยวะคล้ายคลึงกับมนุษย์ มีชีวิต เติบโต มีตูม มีบาน มีเหี่ยวเฉา และโรยรา ใกล้เคียงกับชีวิตมนุษย์ ผมคิดว่าดอกไม้กลายเป็นสิ่งที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวที่ผมเคยเผชิญมาได้แทนคำพูด ผมแค่อยากเอาตัวตนของผมใส่เข้าไปในงานศิลปะ โดยมีดอกไม้เป็นตัวกลาง

“สมัยเด็ก ผมไม่กล้าบอกใครว่าตัวเองเป็นเพศทางเลือก เพราะกลัวว่าสังคมจะไม่ยอมรับ ความกลัวนี้เองที่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผมต้องปิดบังตัวเองมาโดยตลอด ผมเลยรู้สึกว่าในช่วงเวลาที่ผมปิดบังซ่อนเร้นตัวเองมาหลายสิบปีนี่ผมสูญเสียอะไรไปบ้าง แล้วผมจะเรียกคืนสิ่งที่สูญเสียเหล่านั้นกลับมาได้อย่างไร ผมอยากใช้ดอกไม้บอกเล่าเรื่องราวเหล่านี้ผ่านงานศิลปะที่ผมทำขึ้นมา”

– Author: MutAnt –

ผลงานล่าสุดของ Banksy ศิลปินสตรีทอาร์ตชื่อดังชาวอังกฤษได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นในเมือง Borodyanka ประเทศยูเครน!

ผลงานล่าสุดของ Banksy ศิลปินสตรีทอาร์ตชื่อดังชาวอังกฤษได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นบนซากตึกที่ถูกทำลายจากสงครามในเมือง Borodyanka ทางตอนตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศยูเครนครับ ไปชมภาพเด็กสาวเล่นยิมนาสติกที่กำลังเป็นที่พูดถึงไปทั่วโลกศิลปะและดีไซน์ยี้กันได้เลย!

rhunrun เรียบเรียง

KAWS ได้จับมือกับ Museum of Graffiti แจกกล่องซีเรียลลิมิเต็ด เฉพาะวันฮาโลวีนนี้

KAWS จับมือ Museum of Graffiti แจกกล่องซีเรียลลิมิเต็ดสำหรับนักสะสม

ไม่ว่าจะเป็นงานแกะสลักหรือรูปแกะสลักงานของ Brian Donnelly หรือที่รู้จักในชื่อ KAWS ยังคงกลิ่นอายความสนุกสนานที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองไว้ ตอนนี้ตัวศิลปินได้ร่วมมือกับ Museum of Graffiti เพื่อแจกกล่องซีเรียลลายลิมิเต็ดสำหรับนักสะสม

เฉพาะวันหยุดสุดสัปดาห์ฮาโลวีนนี้ Museum of Graffiti จัดเตรียมกล่องซีเรียลที่ออกแบบโดย KAWS ฟรีสำหรับผู้เยี่ยมชมที่ซื้อตั๋วทั้งหมด กล่องซีเรียลมี 4 รสชาติ ได้แก่ Count Chocula ของ General Mills, Boo-Berry, Franken Berry และ Frute Brute Monster พร้อมสไตล์วินเทจของรุ่นดั้งเดิม กล่องสำหรับนักสะสมรุ่นลิมิเต็ดอิดิชั่นมาในกล่องอะครีลิกใส

Saint Laurent เตรียมหยิบเอาหนังสยองขวัญสุดคลาสสิคจากยุค 60’s กลับมาฉายใหม่พร้อมปล่อยไอเท็มชวนหลอนสุดเอ็กซ์คลูซีฟรับฮาโลวีนปีนี้!

Saint Laurent Rive Droite เฉลิมฉลองเทศกาลฮาโลวีนในช่วงเย็นของวันที่ 31 ตุลาคม 2022 ที่จะถึงนี้ด้วยการฉายภาพยนต์เรื่องพิเศษคัดเลือกโดย Gaspar Noé และ Anthony Vaccarello

โดยภาพยนตร์สองเรื่องที่ถูกคัดเลือกมาคือ Roman Polanski’s Rosemary’s Baby (1968) และ Michael Powell’s Peeping Tom (1960) โดยจะถูกฉายขึ้นที่โรงละคร Max Linder Panorama ซึ่งเป็นโรงละครอันเก่าแก่ตั้งอยู่ในเขตการปกครองย่อยที่ 9 ณ กรุงปารีส

เพื่อเป็นการต้อนรับเทศกาลฮาโลวีนที่จะมาถึงนี้ ครีเอทีฟไดเร็กเตอร์ Anthony Vaccarello ได้คัดเลือกสินค้าลิมิเต็ดอิดิชันสุดเอ็กซ์คลูซีฟต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เสื้อฮูดดี้ พวงกุญแจ รวมถึงหนังสยองขวัญแนววินเทจในรูปแบบวิดีโอเทป VHS ให้เลือกมากมาย โดยจะวางจำหน่ายที่ร้าน Rive Droite สาขากรุงปารีส และลอสแองเจลลิส และทางเว็บไซต์ YSL.COM/RIVE-DROIT. 

rhunrun เรียบเรียง

“FOREVER VALENTINO” A PERSPECTIVE

เนื่องในโอกาสงานขับเคลื่อนทางวัฒนธรรมแห่งชาติประจำปีหรือ Qatar Creates พิพิธภัณฑ์แห่งชาติกาตาร์ Qatar Museums และ Maison Valentino จะจัดแสดงนิทรรศการครั้งสำคัญในชื่อ “Forever Valentino” เพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ก่อตั้งแบรนด์อย่าง Valentino Garavani และเปิดเผยมรดกแห่งความเป็นเลิศทางโอต์กูตูร์ ณ ศูนย์ศิลปะนวัตกรรมและเทคโนโลยี M7 ที่ตั้งอยู่ในเอ็มชีเร็บ ดาวน์ทาวน์ เมืองโดฮา โดยจะเปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2022 จนถึงวันที่ 1 เมษายน 2023 ร่วมตื่นตาตื่นใจกับการสำรวจสัญลักษณ์แห่งโอต์กูตูร์ของเมซงและการเดินทางผ่านกรุงโรมสถานที่ที่เป็นดั่งบ้าน จุดเริ่มต้นและตัวตนของ Valentino


“Forever Valentino” นับเป็นนิทรรศการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ Valentino เคยจัดมาและยังเป็นนิทรรศการครั้งแรกที่จัดในตะวันออกกลาง งานนิทรรศการนี้ถือเป็นการนำเสนอประวัติศาสตร์ของเมซงและเมืองอันเป็นจุดเริ่มต้นนับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นในปี 1959 ด้วยมุมมองรอบด้านเช่นเดียวกับนิทรรศการวันครบรอบ 90 ปีของ Valentino Garavani และการเปิดตัวคอลเล็กชันโอต์กูตูร์ประจำฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวปี 2022 ที่ผ่านมา ณ ใจกลางกรุงโรม เมืองอันเป็นนิรันดร์ “Forever Valentino” ถูกออกแบบให้มีลักษณะราวกับกรุงโรม โดยจะนำผู้เข้าชมเดินทางผ่านอาคาร จัตุรัสและลานขนาดใหญ่ในกรุงโรมสู่พื้นที่อันเต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวและประวัติศาสตร์ของเมซง อย่างอเตลิเยร์และห้องลองชุดในสำนักงานใหญ่ของเมซงที่จัตุรัส Piazza Mignanelli

นิทรรศการนี้แสดงให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมของเมืองที่เต็มไปด้วยตำนานการสร้างสรรค์ของ Valentino รวมถึงแรงบันดาลใจเบื้องหลังผลงานอันตระการตาของ Valentino Garavani และ Pierpaolo Piccioli ผ่านการเปรียบเทียบกันระหว่างความแตกต่างของบรรยากาศและเรื่องเล่า นิทรรศการในครั้งนี้ได้รวบรวมอารมณ์ความรู้สึกและเรื่องราวต่างๆ ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปะแบบคาปริชโชแห่งศตวรรษที่ 18 ที่ผสมผสานมุมมองที่แตกต่างกันของเมืองและสถาปัตยกรรมโดยจินตนาการใหม่ให้เป็นสถานที่อันน่าค้นหา โดยเหล่าอัจฉริยะของบาโรกอย่าง Giovanni Antonio Canaletto และ Giovanni Battista Piranesi เชื่อว่าศิลปะแบบคาปริชโชได้เปลี่ยนทิวทัศน์อันน่าอัศจรรย์ของอิตาลีสู่ภาพฝันอันน่าหลงใหลที่สร้างสัญลักษณ์และตำนานมากมายให้มีอิทธิพลทั่วประเทศอิตาลีและประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวมถึงในโลกของแฟชั่นเองที่เต็มไปด้วย คาปริชโช หรือความไม่แน่นอนทั้งในเรื่องของจินตนาการ แรงบันดาลใจ วัสดุ ศิลปะ ดนตรีและวัฒนธรรมที่แปรเปลี่ยนพัฒนามาเป็นเสื้อผ้า


เสื้อผ้าทั้งแบบโอต์กูตูร์และ pret-à-porter กว่า 200 ชุดจะถูกจัดแสดงบนหุ่นที่ออกแบบโดย La Rosa พร้อมด้วยเครื่องประดับทั้งหมดในบรรยากาศอันชวนหลงใหล “Forever – Valentino” ถูกถักทอด้วยลวดลายอันวิจิตรและภาพวาดอันงดงามของกรุงโรมที่ถูกจารึกไว้ซึ่งในความทรงจำ เมืองแห่งจุดเริ่มต้นอันล้ำค่ำกว่าหกทศวรรษของเมซง พบกับชุดที่ถูกออกแบบให้เหล่าศิลปินอย่าง Elizabeth Taylor, Jacqueline Kennedy และ Zendaya พร้อมด้วยผลงานอันน่าทึ่งอีกมากมายที่เรียกได้ว่าเป็นตำนานของ Valentino นิทรรศการนี้ยังได้รวบรวมผลงานคอลเล็กชันส่วนตัวของชีคเคาะห์ โมซา บินท์ นัสเซอร์แห่งกาตาร์ ซึ่งเป็นลูกค้าประจำของ Valentino อีกด้วย สัญลักษณ์ของ Valentino และหลักการของโอต์กูตูร์ได้แต่งเติมทุกพื้นที่ของการสร้างกรุงโรมในจินตนาการครั้งใหม่นี้ ผลงานการออกแบบเสื้อผ้าตลอดช่วงอายุของ Maison Valentino นั้นทั้งสะท้อนและขัดแย้งกับสภาพแวดล้อม เสื้อผ้าเหล่านี้ทั้งน่าดึงดูดและโดดเด่นไปพร้อมๆ กันเช่นเดียวกันกับกรุงโรม แทนที่จะจัดแสดงภายในกำแพงของพิพิธภัณฑ์ Valentino กลับเลือกที่จะสร้างสรรค์เรื่องราวของตนเองขึ้นมาใหม่และทำให้เกิดบริบทของตนเอง โดยการนำร่องรอยของสถานที่อันเป็นจุดเริ่มต้นของจินตนาการร่วมเดินทางไปกับผลงานของเมซง ทำให้ผลงานเหล่านี้ถูกเสื้อผ้าทั้งแบบโอต์กูตูร์และ pret-à-porter กว่า 200 ชุดจะถูกจัดแสดงบนหุ่นที่ออกแบบโดย La Rosa พร้อมด้วยเครื่องประดับทั้งหมดในบรรยากาศอันชวนหลงใหล


นิทรรศการ “Forever – Valentino” ถูกถักทอด้วยลวดลายอันวิจิตรและภาพวาดอันงดงามของกรุงโรมที่ถูกจารึกไว้ซึ่งในความทรงจำ เมืองแห่งจุดเริ่มต้นอันล้ำค่ำกว่าหกทศวรรษของเมซง พบกับชุดที่ถูกออกแบบให้เหล่าศิลปินค้นพบภายในสถานที่ที่อันเป็นบ้านเกิดที่คุ้นเคย ชิ้นงานที่ถูกคัดสรรโดยสัญชาตญาณ อารมณ์ และความรู้สึกที่เพลิดเพลินไปกับสีสัน ความสง่างามของสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์ ความรักที่ถูกถักทออยู่ในทุกๆ รอยเย็บ แว่วเสียงสะท้อนที่เป็นเป็น raison d’etre (จุดเริ่มต้น) ของโอต์กูตูร์ เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์แห่งแฟชั่น เป็นวัฒนธรรมและเป็นส่วนหนึ่งของกรุงโรม และการสร้างสรรค์ของ Valentino นั้นได้หยั่งรากและปรากฏอยู่บนมรดกที่สืบผ่านต่อกันมาของเมซงและสถานที่อันเป็นจุดเริ่มต้น มีเพียงไม่กี่แบรนด์ที่ได้สร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับสถานที่บ้านเกิดอย่างที่ Valentino สร้างขึ้นร่วมกับกรุงโรม การปลูกฝังความรักที่ไม่มีวันสิ้นสุดกับเมืองอันเป็นนิรันดร์ที่ซึ่ง Valentino Garavani ได้ก่อตั้งเมซงขึ้นในปี 1959 และเปิดสำนักงานใหญ่ในใจกลางเมืองอันเป็นประวัติศาสตร์บน Dolce vita ในขณะที่

Pierpaolo Piccioli ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจาก Valentino Garavani ได้ลดบทบาทของกรุงโรมในฐานะเมืองแห่งสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง หากแต่นำเสนอด้วยความมีชีวิตชีวาและความหลากหลายทางวัฒนธรรมซึ่งหล่อหลอมความคิดและเสียงที่แตกต่างของชุมชนโดยแปรเปลี่ยนเป็นโครงสร้างอันซับซ้อนในมุมมองที่กว้างใหญ่ขึ้นและความผูกพันธ์ที่แน่นแฟ้นของผู้คน
“Forever Valentino” จะนำเสนองานป๊อปอัพที่มีบรรยากาศเสมือนอยู่ในเมืองแห่งความฝันอย่างกรุงโรม ชวนให้น่าหลงไหลและน่าสนใจมากขึ้นเมื่อถูกจัดแสดงที่เมืองโดฮา เมืองที่อดีตและอนาคตมาบรรจบกันอย่างรวดเร็ว
“Forever Valentino” จะถูกดูแลและจัดการโดย Massimiliano Gioni ผู้กำกับศิลป์ของ พิพิธภัณฑ์ New Museum New York รวมถึงผู้เชี่ยวชาญและนักวิจารณ์ด้านแฟชั่นอย่าง Alexander Fury ซึ่งทั้งคู่จะทำงานใกล้ชิดกับผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ของ Valentino อย่าง Pierpaolo Piccioli นี่จึงเป็นอีกหนึ่งนิทรรศการที่ควรค่าไปชมเป็นอย่างยิ่ง หากมีใครได้มีโอกาสไปเยือนโดอา ในช่วงเวลาดังกล่าว

Versace ประกาศเปิดตัวแฟล็กชิพสโตร์ใหม่ ณ เมืองสำคัญในหลายทวีปพร้อมทั้งฟื้นฟูและปรับปรุงบูติกทุกสาขาทั่วโลก

เวอร์ซาเช่ (VERSACE) ประกาศเปิดตัวแฟล็กชิพสโตร์ใหม่ ณ เมืองสำคัญหลายแห่งทั่วโลก ควบคู่ไปกับการปรับปรุงบูติกทุกสาขาทั่วโลก เพื่อผลักดันการเติบโตของแบรนด์ในปี 2022 อย่างต่อเนื่อง

เวอร์ซาเช่ (VERSACE) เปิดตัวแฟล็กชิพสโตร์ ที่เปิดให้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ได้อย่างเต็มรูปแบบ ณ เมืองสำคัญอาทิเช่น เซี่ยงไฮ้ ปารีส และโตเกียว  ตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป โดยสาขาเหล่านี้เป็นร้านเวอร์ซาเช่ (Versace) ที่เปิดใหม่ล่าสุด อีกทั้งยังเป็นสาขาที่ได้รับการปรับโฉมใหม่ โดยมีความตั้งใจที่จะนำไปปรับปรุงบูติกทุกสาขาจำนวน 212 แห่งทั่วโลก รวมถึงสาขาที่กำลังจะเปิดตัวเร็วๆนี้ ที่เมืองลอสแองเจลิส และเมืองนิวยอร์กภายในปลายปีนี้

เอ็มมานูเอล กินซ์เบอร์เกอร์ (Emmanuel Gintzburger) CEO ของเวอร์ซาเช่ (Versace) กล่าว

“การที่เราได้เปิดตัวร้านค้าแห่งใหม่ ณ เมืองสำคัญและหรูหรา อย่างเซี่ยงไฮ้ ปารีส โตเกียว อีกทั้งเร็วๆ นี้ที่เมืองลอสแองเจลิส และเมืองนิวยอร์ค จะทำให้ตำแหน่งทางการตลาดของแบรนด์มีความแข็งแกร่งมากอย่างขึ้น และผมรู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่จะนำกลยุทธ์นี้สานต่อในปี 2023 และปีถัดๆ ไปอีกด้วย”

การออกแบบพื้นที่ภายในร้านถูกออกแบบด้วยแนวคิดใหม่ เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมสัมผัสได้ถึงเอกลักษณ์ของเวอร์ซาเช่ (VERSACE) ได้อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งบูติกจะตกแต่งด้วยหินอ่อน และเซรามิก ที่เน้นสีทองเป็นหลัก เพื่อคงเอกลักษณ์ของแบรนด์ และเน้นความหรูหรา การปรับปรุงการออกแบบในครั้งนี้จะช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์ของเวอร์ซาเช่(VERSACE)ทั้งหมดมีความสมบูรณ์อีกทั้งให้ลูกค้าสัมผัสประสบการณ์อย่างทั่วถึง และครบถ้วนมากยิ่งขึ้น

rhunrun เรียบเรียง

Blue Fantasy: The Imaginary Narrative

Author: MutAnt

Photography: Courtesy of The Artist / The Gallery

ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ชนชั้นนำและผู้มีอำนาจในสังคม มักใช้ ‘เรื่องเล่า’ในรูปแบบต่างๆ อย่างตำนาน พงศาวดาร หรือแม้แต่ประวัติศาสตร์ เป็นเสมือนหนึ่งเครื่องมืออันทรงอำนาจในการควบคุม กำหนดความรู้สึกนึกคิดและชะตาชีวิตของผู้อยู่ใต้ปกครองโดยไม่มีข้อโต้แย้ง แต่ในทางกลับกัน สามัญชนผู้ถูกปกครองในหลายยุคสมัย ต่างก็ท้าทายอำนาจของเหล่าบรรดาชนชั้นนำและผู้มีอำนาจ ด้วยการสร้างเรื่องเล่าของตัวเองเพื่อรื้อถอน ปลดปล่อยตนเองให้สามารถโต้แย้ง ตั้งคำถาม หรือแม้แต่ต่อรองกับอำนาจปกครองเหล่านั้นอยู่เสมอมา ไม่ว่าจะในรูปแบบของนิทาน นิยาย เพลงพื้นบ้านหรือแม้แต่งานศิลปะในรูปแบบต่างๆ เช่นเดียวกับที่ปรากฏในผลงานของ กมลลักษณ์ สุขชัย ศิลปินช่างภาพชาวไทยที่มีผลงานโดดเด่นจากการสร้างสรรค์ศิลปะภาพถ่ายแบบคอลลาจ ผู้มักหยิบตำนานพื้นบ้านมาถ่ายทอดผ่านภาพถ่าย เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของเรื่องเล่าพื้นถิ่นที่ส่งผลต่อความเป็นหญิงในสังคมวัฒนธรรมแบบอนุรักษนิยม

ในนิทรรศการภาพถ่ายชุดล่าสุดของเธออย่าง ‘Blue Fantasy: ประวัติศาสตร์เพ้อฝัน’ กมลลักษณ์ท้าทายอำนาจของชนชั้นนำ ด้วยการใช้เรื่องเล่าที่เคยเป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจ มาแทรกแซงและดัดแปลงเพื่อสร้างประวัติศาสตร์สามัญของตนเองขึ้นมาใหม่ ในฐานะ ‘ศิลปินผู้ตัดต่อประวัติศาสตร์’ 

กมลลักษณ์สร้างเรื่องราวในแบบฉบับของเธอเอง โดยแทนที่ตัวละครที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์พงศาวดารด้วยใบหน้าของสมาชิกในครอบครัว การตัดปะประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นใหม่ในแบบฉบับของเธอจึงเป็นการผสมผสานภูมิหลังของครอบครัว จินตนาการของชาวบ้านในท้องถิ่น วรรณกรรม ความฝันของสมาชิกในบ้าน ตลอดจนเรื่องราวเก่าแก่ของสิ่งของดั้งเดิมภายในบ้าน โดยเธอได้เน้นย้ำและยกย่องถึงคุณค่าของครอบครัว เพื่อให้ความหมายแก่สิ่งที่ครั้งหนึ่งเคยถูกมองข้ามไปกมลลักษณ์พัฒนาผลงานชุดนี้ขึ้นในระหว่างการเป็นศิลปินในพำนัก (residency) ที่บ้านเกิดของเธอในจังหวัดราชบุรี โดยให้สมาชิกครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมา เพื่อเป็นการก้าวข้ามกรอบอำนาจแห่งเรื่องเล่าที่ผู้อยู่ใต้อำนาจอย่างเราถูกทำให้เชื่อ ด้วยความจริงชุดใหม่ที่ถูกตีความผ่านจินตนาการ การสร้างภาพ ความเพ้อฝัน และประวัติศาสตร์ส่วนตัว เพื่อให้สามัญชนสามารถเป็นเจ้าของเรื่องเล่าของตัวเองได้ในท้ายที่สุด

“นิทรรศการนี้พูดถึงเรื่องราวของแฟนตาซี เรามองแฟนตาซีในแง่ของความปรารถนา เหมือนเวลาเราชอบอะไรบางอย่างเราก็สร้างแฟนตาซีของตัวเองขึ้นมา ในงานชุดนี้เราสร้างแฟนตาซีส่วนตัวขึ้นมาผ่านแฟนตาซีของพงศาวดารเขมร เรื่องพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ และบังเอิญว่าในพงศาวดารเรื่องนี้มีดอกบัว ที่เราเคยทำงานเรื่องนี้อยู่แล้ว ก็เลยคิดว่าเหมาะกับการนำมาเล่าในครั้งนี้ แต่เราไม่ได้เล่าเรื่องพงศาวดารนี้แบบตรงไปตรงมา แต่จะเล่าผ่านประวัติของครอบครัวเรามากกว่า งานชุดนี้จึงเริ่มจากการกลับไปบ้านที่ราชบุรี เพื่อกลับไปค้นคว้าประวัติ กับเรื่องราวของที่บ้าน

“อย่างเรื่องของป้าคนหนึ่งของเราที่เขาเคยถูกครอบครัวหนึ่งอุปการะเลี้ยงดูมา แล้วเขาถูกครอบครัวนั้นกระทำบางอย่างจนรู้สึกรับไม่ไหวเขาก็เลยหนีออกมาด้วยการแกล้งทำเหมือนฆ่าตัวตาย โดยเอาผ้าถุงไปพาดริมบ่อ เหมือนกระโดดน้ำตาย พอคนที่บ้านไปงมก็ไม่เจอไปดูหมอดูก็บอกว่าดวงนี้เป็นดวงของคนที่ยังไม่ตาย เราก็ใช้เรื่องราวเหล่านี้เชื่อมโยงกับพงศาวดาร โดยให้ป้าคนที่แกล้งฆ่าตัวตายเย็บดอกบัวประดิษฐ์จากถุงน่องเพื่อจำลองเป็นสระเบญจปทุมชาติขึ้นมา ซึ่งเป็นการจำลองเรื่องราวในพงศาวดารที่ฤๅษีเจอเด็กทารกในดอกบัวในสระ ที่ต่อมากลายเป็นพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์

“หรือเรื่องของดอกบัวที่งอกในสระเบญจปทุมชาติ แล้วมีเด็กอยู่ข้างใน เราก็แทนค่าด้วยภาพของดอกบัว 8 ดอกในไหเรามองว่าไหคือตัวแทนของสระ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนมดลูกของย่าของเรา ดอกบัวจำนวน 8 ดอกในไห แทนลูก 8 คนของย่า

“หรือมีป้าอีกคนที่เล่าให้เราฟังว่า ตอนเด็กๆ เขายากจน ไม่ค่อยมีเสื้อผ้าใส่ ก็เลยทำให้เขาอยากเป็นช่างตัดผ้า เพื่อจะได้เย็บเสื้อผ้าให้น้องสาวใส่ เราก็ให้ป้าคนนี้คัดลอกพงศาวดารลงกระดาษหนังสือเรียนแล้วนำมาพิมพ์ลงบนผ้าที่ป้าคนนี้เย็บจากเศษผ้าเหลือๆ ต่อกันเป็นผ้าปูที่นอน หรือในพงศาวดารจะมีตอนที่ฤๅษีบวงสรวงเทพยดาเพื่อให้มีน้ำนมไหลออกจากนิ้วมือเพื่อเลี้ยงทารก เราก็ให้ป้าที่เป็นช่างเย็บผ้าทำหยดน้ำนมจากผ้าขึ้นมา

“หรือในตอนหนึ่งของพงศาวดารที่ฤๅษีฝันว่าพระอินทร์มาบอกให้เดินทางไปยังทิศตะวันออก แล้วจะเจอบ้านเมืองที่เด็กคนที่เลี้ยงดูจะกลายเป็นกษัตริย์ครองราชย์ที่เมืองนั้นเราจัดฉากถ่ายที่เล้าไก่หลังบ้าน แล้วให้คนที่บ้านสวมบทเป็นฤๅษี โดยไม่ได้ยึดว่าจะต้องเป็นเพศไหนโดยเฉพาะเจาะจง “หรือในช่วงตอนที่ฤๅษีเดินทาง เราก็เอาเรื่องของพ่อตอนที่เคยบวชแบบมอญแล้วต้องสวมชฎา ขี่ม้าด้วยความเชื่อทางพิธีกรรมที่รำลึกถึงเจ้าชายสิทธัตถะที่ขี่ม้าออกไปบวชเราก็จำลองภาพกระบวนการบวชแบบมอญของพ่อขึ้นมาใหม่ โดยอ้างอิงจากสมุดบันทึกของก๋งที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของทางบ้าน ที่เราบังเอิญไปเจอ ซึ่งก๋งเป็นคนเขียนกำหนดการอุปสมบทด้วยลายมือของตัวเอง เราก็เลยหยิบเอาประวัติศาสตร์ส่วนตัวนี้มาเล่าผ่านภาพถ่ายเพื่อแสดงฉากการเดินทางของฤๅษีขึ้นมา “หรืองานวิดีโอจัดวาง เราก็ทำเลียนแบบละครโฆษณาชวนเชื่อของแนวคิดชาตินิยม ที่เล่าเรื่องราวของจิตวิญญาณที่เหมือนจะตายไปแล้ว แต่ถูกปลุกขึ้นมาด้วยการโหมประโคมความโรแมนติกของละครโฆษณาชวนเชื่อแบบชาตินิยม

“ชื่อนิทรรศการอย่าง Blue Fantasy มีความหมายถึงเลือดสีน้ำเงินที่เป็นตัวแทนของชนชั้นสูง ซึ่งเราแทนด้วยเรื่องราวจากพงศาวดารของกษัตริย์เขมร แต่พอเราเอาประวัติส่วนตัวของครอบครัวเราแทรกลงไป ก็เหมือนเป็นการลดทอนความศักดิ์สิทธิ์ของเรื่องราวเดิมลง เพราะเรามองว่าความศักดิ์สิทธิ์เป็นเหมือนแฟนตาซีของความปรารถนา เราต้องการเล่นล้อกับแนวคิดในการคัดเลือกคัดสรร เติมแต่ง และสร้างประวัติศาสตร์ส่วนตัวขึ้นมา เพื่อเป็นการช่วงชิงพื้นที่บางอย่างในเชิงสัญญะ เพราะโดยปกติ ผู้มีอำนาจมักใช้เรื่องเล่า (อย่างตำนานหรือพงศาวดาร) เป็นเครื่องมือในการกุมอำนาจ เราก็สร้างอำนาจของสามัญชนขึ้นมาใหม่ผ่านเรื่องเล่าของเราเอง”

‘Blue Fantasy ประวัติศาสตร์เพ้อฝัน’ นิทรรศการแสดงเดี่ยวโดย กมลลักษณ์ สุขชัย และภัณฑารักษ์ สิริมา ไชยปรีชาวิทย์ จัดแสดงที่ HOP PHOTO GALLERY ชั้น 3 ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์