ปะการังเทียม เทคโนโลยีเพื่อการอนุรักษ์ทะเลไทย
จากโครงการ Seiko “Save The Ocean” ที่จัดขึ้นทุกปี ปีนี้เป็นครั้งที่ 5 ที่ไปทำบ้านปลาปล่อยลงทะเลเพื่อเป็นที่ให้ปลาได้วางไข่ ปีนี้ได้มีการปล่อยปะการังเทียมที่มีรูปทรงคล้ายปะการังจริงอีกด้วย แต่หลายคนอาจจะสงสัยว่าปะการังเทียมมาจากไหน มีประโยชน์เช่นไร และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ เรารวบรวมคำตอบมาให้ตรงนี้ แน่นอนว่าท้องทะเลไทยมีชื่อเสียงเรื่องความสวยงามของธรรมชาติระดับ โดยเฉพาะทางภาคใต้ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติทางทะเลที่สมบูรณ์ของประเทศไทย และมีเกาะมากมายที่สวยงามระดับโลก โดยเฉพาะหมู่เกาะพีพี ความสวยงามที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ผลที่ตามก็หนีไม่พ้นมลพิษทางทะเลทั้งขยะและการทำลายแนวปะการังจากเรือท่องเที่ยวรวมถึงนักดำน้ำไซโก ได้ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี ในการเสริมสร้างแนวปะการังเทียมเพิ่มเติม เพื่อฟื้นฟูปะการังเดิมที่ถูกทำลายไป และเพื่อเปลี่ยนแปลงธรรมชาติให้กลับมาสวยงามอีกครั้ง โดยปะการังเทียมทั้งหมดนี้ถูกผลิตขึ้นจากซีเมนต์พิเศษขึ้นรูปโดยการใช้เทคโนโลยี 3D Printing (อ่านเรื่อง SEIKO Save the Ocean 2022 ที่ https://hommesthailand.com/2022/03/seiko-save-the-ocean-2022/) ปะการังเทียมที่ใช้ในการปล่อยลงสู่ทะเลในครั้งนี้มีแบบสวยงามเสมือนปะการังจริงกลมกลืนไปกับธรรมชาติ โดยวัสดุที่ใช้ผลิตจากปูนนั้นเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตในท้องทะเล โดยทาง SCG พัฒนาแบบพื้นผิวให้เหมาะสมกับการยึดเกาะตัวอ่อนปะการังและดีไซน์ให้โครงสร้างมีความซับซ้อนเพื่อให้เหมาะสำหรับสิ่งมีชีวิตเข้าไปอยู่อาศัย พร้อมช่วยฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลได้อย่างยั่งยืนและยาวนานย้อนไปถึงการเริ่มต้นโครงการการทำปะการังเทียมหรือนวัตปะการังเกิดจากความร่วมมือของเอสซีจี โดยธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือในการพัฒนาวัสดุ Advanced Materials ด้วยเทคโนโลยี 3D Cement Printing สำหรับเป็นฐานลงเกาะของตัวอ่อนปะการังและการปลูกปะการังธรรมชาติ […]