ชวนคุยกับ ‘ตรี ภรภัทร’ กับคำพูดที่ว่า “ไม่เป็นที่หนึ่งก็ได้ ไม่อยู่ที่สุดท้ายก็พอ”

Share This Post

- Advertisement -

ตึกแกรมมี่เต็มไปด้วยคนที่มีฝัน จากยุคที่ศิลปินโนเนมต้องอัดเดโม่มาส่งครั้งแล้วครั้งเล่า และเฝ้ารอการเรียกตัวเพื่อหวังว่าจะได้ออกเทปสักอัลบั้ม ปัจจุบันตึกแกรมไปด้วยนักแสดงหน้าใหม่หลายชีวิต ยังไม่รวมเทรนนีหรือเด็กฝึกอีกจานวนมากที่ไม่มีอะไรมาการันตีว่าความทุ่มเทของพวกเขาจะนาพาให้ชีวิตเติบโตในวงการบันเทิงได้อย่างสุขสบาย ในช่วงต้นของภาพยนตร์เรื่อง Catch Me If You Can (2545) มีวรรคทองที่ตัวละครคนหนึ่งกล่าวว่า มีหนูเล็กๆ สองตัวตกลงไปในถังใส่ครีม หนูตัวแรกยอมแพ้ปล่อยให้ตัวเองจมลงไป ส่วนหนูตัวที่สองไม่ยอมแพ้ มันตะเกียกตะกายสุดชีวิต จนในที่สุดก็ปั่นให้ครีมกลายไปเป็นเนยแล้วก็ปีนออกไป – หนูหลายตัวอาจได้รับโอกาสจากรูปทรัพย์ที่มีเสน่ห์ และประเมินในเชิงพาณิชย์แล้วว่าน่าจะสร้างมูลค่าให้ตึกแห่งนี้ต่อไปได้ แต่ไม่ใช่หนูทุกตัวที่จะตะเกียกตะกายสุดแรงจนเอาชีวิตรอดจากครีมถังนี้ได้

“ไม่มีเป้าหมายครับ” เขาตอบสวนกลับมาทันทีหลังฟังคาถามเสร็จ เหมือนยังไม่ได้ผ่านกระบวนการคิดอะไรมาก “ไม่มีเลย” เขาย้ำคำตอบตัวเองหลังจากที่เราถามว่ามีเป้าหมายก่อนอายุ 30 ไหม “เรตติ้งละครเรื่องล่าสุดสูงมาก ก็ถือว่าถึงเป้าหมายแล้ว เพราะมีคนดูผลงานของเราเยอะ แค่อยากเล่นละครและใช้ชีวิตให้มีความสุขนี่ล่ะ” เขาตอบในท่าผ่อนคลายอิริยาบถขณะที่กำลังนั่งแต่งหน้าเพื่อถ่ายแฟชั่นเซ็ตและชวนเราเข้าไปคุยด้วยเพื่อใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตรี – ภรภัทร ศรีขจรเดชา ไม่ใช่นักแสดงหน้าใหม่ เพราะเขามีผลงานเรื่องแรกมาตั้งแต่ปี 2559 ภายใต้สังกัดช่อง ONE31 แต่หลายคนอาจจะยังไม่คุ้นหน้าเขาเพราะผลงานส่วนใหญ่ของตรีคือละครทีวีเท่านั้น กว่า 8 ปีในฐานะนักแสดงที่ต้องปั่นครีมให้เป็นเนยเพื่อเอาตัวรอดและหาจุดยืนในวงการให้กับตัวเอง เขาเคยให้สัมภาษณ์ว่ารู้สึกน้อยใจที่ไม่มีใครรู้จักเขาเลยในช่วงแรก และไม่อยากออกงาน นั่นน่าจะเป็นบทเรียนสำคัญอันแรกที่สอนเขาว่าอาชีพนี้ไม่ง่าย ยิ่งนิสัยที่ไม่ชอบเอา
ใจใคร และไม่ชอบเป็นจุดสนใจของผู้คน ทำให้เขาต้องเรียนรู้และปรับตัว อย่างน้อยก็เพื่อรักษาอาชีพนี้ไว้เพื่อสร้างรายได้ให้กับตัวเอง “ถ้ามองย้อนกลับไป 8 ปีก่อนตอนเข้ามาก็นึกว่างานนี้ง่ายๆ ร้องไห้ก็ได้ตังค์ อยู่ในจอทีวีก็ดังแล้ว แต่ความจริงมันไม่ใช่ ต้องมีความตั้งใจ ความมุ่งมั่น และอีกหลายอย่าง กว่าจะถึงเป้าหมายที่อยากไปถึง”

Catch Me If You Can เป็นภาพยนตร์ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากเรื่องจริง เล่าถึงชีวิตของแฟรงค์ อบาเนล (รับบทโดยลีโอนาร์โด ดิแคพรีโอ) เด็กหนุ่มผู้ค้นพบว่าตัวเองมีพรสวรรค์ในเรื่องการหลอกลวงคนอื่น เขาปลอมเป็นนักบิน หมอ ทนายความ จนชื่อเขาติดอยู่ในบัญชีอาชญากรของเอฟบีไอ แฟรงค์ตัดสินใจออกจากบ้านหลังจากที่พ่อกับแม่ของเขาหย่าร้างกัน แต่ระหว่างที่เขาก่ออาชญากรรมจนสร้างความเสียหายไปทั่ว เขาก็ไม่ลืมเขียนจดหมายกลับไปหาครอบครัว บอกพ่อกับแม่ว่ามีชีวิตแสนสุขสบาย ไม่ต้องเป็นห่วง “พ่อกับแม่ของผมไม่ได้อยู่ด้วยกัน แต่ก็ไม่รู้สึกว่าขาดความอบอุ่น” ตรีเริ่มเล่าเรื่องชีวิตส่วนตัว พาเราไปหาจุดตั้งต้นที่ประกอบสร้างเขาให้เราเห็นจนทุกวันนี้ “ผมมีพี่ชายอีกสองคนที่เปรียบเสมือนพ่อ อายุเราห่างกันมาก และยังมียายที่ช่วยเลี้ยงผมมา ผมโตมาในสังคมที่ไม่ได้แย่ แม่ค่อนข้างตามใจ มีพี่ชายที่จะเป็นคนดุ แต่เขาก็ดูแลเราตั้งแต่เล็กจนโต ผมเป็นคนติดบ้าน และรักแม่มาก จริงๆ แล้วการเป็นนักแสดงนี่คือความฝันของแม่ ภาพที่จำได้คือหลังสองทุ่มแม่จะนั่งอยู่หน้าทีวีเตรียมดูละครแล้ว คิดว่าถ้าเป็นลูกของตัวเองอยู่ในทีวีก็คงจะน่าภูมิใจ”

หลังจากผลงานเรื่องแรกในปี 2559 เขาเริ่มเป็นที่พูดถึงในละครเรื่อง ‘สงครามนักปั้น’ (2561) จากบท ‘ปีย์แสง’ ลูกชายของ ‘แอล’ (รับบทโดยลูกเกด – เมทินี กิ่งโพยม) และการรับบทเป็นพระเอกในเรื่อง ‘พนมนาคา’ (2566) รวมถึงจุดเปลี่ยนสาคัญในปีนี้ของตรีที่เขารับบท ‘ทนายวิน’ ในเรื่อง ‘สงครามสมรส’ ละครแนวดราม่าบีบคั้นซึ่งทาสถิติเป็น ‘ละครเรตติ้งสูงที่สุด ประจำปี 2567’ ไปแล้ว เราเลยอยากรู้ว่าทักษะด้านไหนที่ตรีคิดว่าตัวเองมีมากที่สุดตลอด 8 ปีที่ผ่านมา “ก็ต้องเป็นการแสดงสิ” เขาตอบกลับทันที แต่ดูเหมือนจะไม่ใช่สิ่งที่เราคาดหวัง เพราะการแสดงเป็นศาสตร์ของการสื่อสารซึ่งมีอยู่ในตัวทุกคนทว่าไม่เท่ากัน นักแสดงถือว่าเป็นตัวกลาง หรือ ‘ร่างทรง’ ของตัวละครซึ่งศิลปินแต่ละคนอาจมีวิธีการทาความรู้จักหรือเข้าถึงที่ต่างกัน แปรผันตามประสบการณ์ส่วนตัว องค์ประกอบของการแสดงมีหลายส่วน ไม่แปลกหากนักแสดงจะรู้สึกว่ามีพัฒนาการอันโดดเด่นในบางเรื่องในบางช่วงเวลา “ถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป คุณ
ไม่สามารถเป็นนักแสดงที่ดีได้” ตรีเน้นย้ำว่าเขานั้นพัฒนาทุกองค์ประกอบของการแสดงมาได้อย่างเสมอภาคราวกับการหารเท่า อาจเป็นเพราะนิสัยส่วนตัวที่เขายอมรับว่าเป็นคนชอบเอาชนะ เป็นคนไม่ยอมคน ถ้าเล่นเกมแล้วแพ้ก็ต้องพยายามใหม่จนกว่าจะชนะ ต้องเอาสิ่งที่ต้องการมาให้ได้ ถ้าทำแล้วไม่ได้ ต้องมีเหตุผลบอกตัวเองเสมอว่าเพราะอะไร คุณสมบัติชอบเอาชนะอย่างนี้น่าจะเป็นแรงผลักดันให้เขากวดขันพัฒนาการของตัวเองเพื่อความเก่งกาจในทุกด้าน เป็นหนูที่ปั่นครีมให้เป็นเนย และต้องกระโดดออกมาจากถังครีมใบนั้นให้ได้

“ผมเป็นนักแสดงที่ดีตั้งแต่แรกอยู่แล้ว” ตรีตอกย้ำถึงสถานะของตัวเอง “ถ้ามีคนตั้งคาถามมา ผมก็จะตอบแบบนี้ หรือไม่ก็ต้องถามกลับไปว่านักแสดงที่ดีในความหมายของเขาคืออะไร เพราะในฐานะนักแสดง ผมทำทุกหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้ดีแล้ว ผมทำการบ้านในทุกบทที่ได้รับมา ไม่เคยมีบทที่เล่นสบายเลย เราไม่สามารถทำตัวสบายๆ กับบทที่มีภูมิหลังลำบากได้ เช่น พี่ชายตาย แม่ตาย หรือพ่อตาย อารมณ์ที่สื่อออกไปมันไม่ง่าย ไม่มีคำว่าสบาย ผมต้องอ่านบทซ้ำๆ เพื่อให้เห็นภาพตัวละคร อยู่กับมันนานพอจนคิดว่าสามารถเล่นตัวนั้นออกไปได้จริงๆ” เขาเล่าให้เห็นถึงกระบวนการทางานของตัวเอง เป็นอย่างที่เขาว่า ตลอด 8 ปีในวงการเขายังไม่เคยได้รับบทละครเบาสมอง อาจเป็นเพราะทุกคนมีความเชื่อว่าตรีสามารถแบกรับความจริงจังของเรื่องราวได้ดี และวาดฝันว่าเขาน่าจะเป็นพระเอกเจ้าบทบาทเบอร์ต้นของช่องในเร็ววันนี้ “แต่ก็อยากได้บทที่เล่นสบายบ้างนะ พวกแนวโรแมนติกคอมเมดี้ ที่ผ่านมามันจะเป็นดราม่าหนักซะเยอะ ผม
เล่นแต่ตัวละครที่มีภูมิหลังหนัก เช่น รอคอยความรักมาพันปี ต้องเสียสละหัวใจให้น้อง แม่ทิ้งตั้งแต่เด็ก พ่อเป็นสาวประเภทสอง แต่ละเรื่องที่เจอมามันค่อนข้างจะหนัก อยากลองเล่นสบายๆ บ้าง แต่สิ่งที่ต้องการจริงๆ คืออยากได้บทท้าทาย ที่โลกแห่งความเป็นจริงอาจจะไม่มี เช่น คนโรคจิต มีอีกหลายอย่างที่ยังไม่ได้ลอง”

เขาทิ้งท้ายการพูดคุยวันนี้ด้วยน้ำเสียงมุ่งมั่นตั้งใจ เพราะรู้ว่าตัวเองกำลังว่ายวนอยู่ในมหาสมุทรของการแข่งขัน พระเอกในละครหลังข่าวที่แม่เคยดูอาจมีชะตากรรมไม่เหมือนเขา จากสมัยก่อนที่ดารามักมีงานป้อนเข้ามาอยู่เสมอ ตอนนี้เหล่าศิลปินหน้าใหม่อาจต้องฝึกฝนให้ฝีมือไม่ตก ทำตัวอยู่ในกระแส และเอนเตอร์เทนแฟนคลับให้ดี ไม่มีอะไรมาการันตีว่าพวกเขาจะไม่โดนดองหรือพร้อมจะหายจากหน้าจอไปในทุกเมื่อ ขณะเดียวกัน ผู้ลงทุนในตัวของพวกเขาก็คาดหวังให้ทรัพย์สินของตัวเองมีทักษะในหลายด้าน ทั้งร้อง เล่น เต้น พร้อมรับงานอย่างหลากหลาย ขยับเพดานความสามารถให้โดดเด่นขึ้นไปอีก จริงอยู่ที่ปัจจุบันการเป็นศิลปินอิสระอาจมีช่องทางโปรโมทตัวเองโดยไม่ต้องง้อค่าย แต่นั่นไม่ใช่สนามของคนไม่พร้อมรับผิดชอบทุกอย่างด้วยตัวเอง สำหรับตรี – ภรภัทร ยังมีความท้าทายให้ทำอีกมากอย่างที่เขาบอก อยู่ที่ว่าเขาจะยังสามารถหล่อเลี้ยงไฟในตัวให้ยังส่องสว่างจนกว่าวันแห่งโอกาสจะเข้ามาหาเขาได้ไหม

Photographer: Pannatat Aengchuan
Stylist: Napat Roongruang
Author: Neeraj Kim
Model: Porapat Srikajorndecha / Make Up & Hair: Kampanat Wongsalung
Assistant Stylists: Natthapon Samakkepilom / Phasawie Chutrakul
Assistant Photographers: Tewin Manajit / Nuttapon Mansukphol / Kridsanapol Petjarus

- Advertisement -