นาฬิกาที่จะงดงามไปตลอด… นั่นคือเหตุผลที่ทำให้ Rado หันมาศึกษาพัฒนาจนเชี่ยวชาญการผลิตนาฬิกาจากไฮเทคเซรามิก (โดย Rado เป็นแบรนด์นาฬิกาแบรนด์แรกที่ใช้วัสดุนี้) เนื่องจากคุณสมบัติของเซรามิก ทั้งความแข็งแกร่ง (แกร่งกว่าสตีล 500 เปอร์เซ็นต์) น้ำหนักเบา (เบากว่าสตีล 25 เปอร์เซ็นต์) กันรอยขีดข่วน สีไม่ซีดจาง ทั้งยังปรับอุณหภูมิเข้ากับร่างกายได้ และไม่ระคายผิว
Rado นั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกในการนำวัสดุนี้มาใช้ในโลกนาฬิกา โดยประสบความสำเร็จกับการพัฒนานาฬิกาเซรามิกรุ่นแรกในชื่อ Rado Integral ในปี 1986 และจากเดิมที่มีเพียงสีดำและสีขาว ปัจจุบันสามารถสร้างสรรค์นาฬิกาเซรามิกในเท็กซ์เจอร์ต่างๆ ทั้งขัดมัน ขัดด้าน รวมทั้งพัฒนาเซรามิกเฉดสีต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น (โดยในปี 2017 เป็นต้นมา ทางแบรนด์ได้เปิดตัว True Thinline ซึ่งเป็นนาฬิกาบางที่สุดของแบรนด์ มาพร้อมกับเฉดสี sophisticated ต่างๆ)
เราได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมโรงงาน Comadur ที่เมือง Boncourt ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมืองที่ตั้งอยู่ระหว่างดินแดนสวิสเซอร์แลนด์กับฝรั่งเศส ซึ่งเป็นโรงงานภายใต้บริษัทสวอทช์กรุ๊ป โดยหนึ่งในความเชี่ยวชาญหลักก็คือการผลิตไฮเทคเซรามิกโดยเฉพาะเพื่อ Rado กระบวนการผลิตไฮเทคเซรามิกนั้นมีความซับซ้อนกว่าวัสดุอื่นๆ ที่ใช้ทำนาฬิกา โดยกินเวลานานหลายสัปดาห์… แต่ก็อย่างที่แบรนด์ได้กล่าวว่า “ถ้าเราจินตนาการได้ เราก็สามารถทำมันได้ และถ้าเราทำมันได้ เราจะทำ”
กระบวนการผลิตไฮเทคเซรามิกนั้นเริ่มจากนำผงเซอร์โคเนียมออกไซด์เม็ดละเอียดมาผสมเข้ากับเม็ดสีและสารยึดจับ binder จนเหลวเป็นเนื้อเดียว หรือที่เรียกว่า feedstock แล้วนำไปฉีดเข้าแม่พิมพ์ในรูปทรงที่ต้องการ (ซึ่งเป็นกระบวนการที่โรงงานนี้ใช้กับนาฬิกาของ Rado เท่านั้น) จากนั้นจึงถึงขั้นตอนการ debinding เพื่อนำตัวโพลีเมอร์ไบน์เดอร์ออกจากเนื้อเซรามิก และจึงนำไป sintering หรือเข้าเตาเผาด้วยความร้อนสูง 1,450 องศาเซลเซียส เพื่อเปลี่ยนอนุภาคที่มีขนาดเล็กให้เป็นวัสดุชิ้นเดียว ซึ่งกินเวลา 2-3 วัน ในขั้นตอนนี้เองที่เนื้อวัสดุในแม่พิมพ์จะหดตัวลง 23 เปอร์เซ็นต์ (การผลิตแม่พิมพ์จึงต้องมีการคำนวณไว้ล่วงหน้า ทั้งขนาด ไปจนถึงช่องต่างๆ)
เมื่อได้ชิ้นส่วนเซรามิกที่ต้องการแล้ว จึงจะนำไป machining โดยใช้อุปกรณ์หัวตัดเพชรพร้อมด้วยออยล์เพื่อเก็บรูปทรงให้ได้ตามต้องการ (ซึ่งหนึ่งชิ้นกินเวลาหนึ่งชั่วโมง) ก่อนจะนำไปผ่านกระบวนการขัดแต่งพื้นผิวให้มีความสวยงาม แต่เนื่องจากไฮเทคเซรามิกมีความแข็งแกร่งมาก จึงต้องนำไปใส่ในเครื่องที่เต็มไปด้วยลูกบอลไฮเทคเซรามิกผสมกับสบู่และน้ำเท่านั้น และเปิดเครื่องให้สั่นทิ้งไว้ กว่าจะได้ชิ้นส่วนที่มันวาวกินเวลานานนับสัปดาห์เช่นกัน แต่หากต้องการให้พื้นผิวมีความแมตต์ ก็ต้องนำมาผ่านกระบวนการขัดนี้ก่อนจะนำไปขัดแบบ satin finish ต่อไป
นอกจากไฮเทคเซรามิกสีสันใหม่ๆ แล้ว Rado ยังได้พัฒนาสีใหม่อย่างสีเมทัลลิก ซึ่งเรียกว่า plasma เพื่อให้ได้สีนี้จะต้องนำชิ้นส่วนเซรามิกสีขาวไปเข้าเตาอบพลาสม่าที่อุณหภูมิ 20,000 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 3 ชั่วโมงกว่าจะได้ชิ้นส่วนไฮเทคเซรามิกในเฉดเมทัลลิก ซึ่งกระบวนการอบนี้ไม่ได้เคลือบสีแต่เพียงพื้นผิวภายนอกเท่านั้น แต่ยังเข้าไปยังโครงสร้างภายในด้วย
เมื่อได้ชิ้นส่วนที่สมบูรณ์แล้ว จึงจะถูกส่งไปประกอบเข้ากับกลไก และผ่านกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ ก่อนจะออกมาเป็นนาฬิกาไอคอนิกหลากรุ่นที่พร้อมเป็นเพื่อนคู่ใจของคนยุคใหม่ ซึ่งจะดีขนาดไหน ต้อง feel it… ลองสัมผัสได้เลย และในปี 2024 นี้ แบรนด์ Rado ได้ คิดค้นไฮเทค เซรามิกเฉดสีต่างๆ ขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่ม ติดตามข่าวสาร และสอบถามข้อมูลได้ทาง Rado Line Official Account: @RadoThailand
Rado Captain Cook
High-Tech Ceramic Skeleton ผลิตจาก high-tech ceramic ในโทนสีเขียวมะกอก ทำงานด้วยกลไก R808 นวัตกรรมใหม่ มาพร้อมแฮร์สปริง Nivachron™ ที่ป้องกันสนามแม่เหล็ก กำลังลานสำรอง 80 ชั่วโมง
Rado True Square Automatic Open Heart
ตัวเรือนและสายไฮเทคเซรามิกสีเทอร์คอยส์ ทำงานด้วยกลไกอัตโนมัติ กำลังลานสำรอง 80 ชั่วโมง