‘Astro boy’ รู้จักกันในชื่อ เจ้าหนูปรมาณู หรือเจ้าหนูอะตอม มังงะญี่ปุ่นในช่วงปี 1951 จากอาจารย์ผู้บุกเบิกวงการมังงะของญี่ปุ่น ‘เทซูกะ โอซามุ’ ผลงานของอาจารย์สร้างอิทธิพลในการกำหนดแนวคิดให้กับเด็กๆชาวญี่ปุ่น หลังสงครามโลกที่เจอกับการสูญเสีย ปลุกพลังพร้อมความฝัน แถมเปลี่ยนแนวคิดของวงการการ์ตูนญี่ปุ่น พลิกโฉมหน้าวรรณกรรมและหนังภาพยนต์ทั่วโลก ผสมผสานแนวใหม่ๆ เกิดมิติการเล่าเรื่องที่ซับซ้อนกลายมาเป็น ‘การ์ตูนแบบเรื่อง’
ในครั้งแรกเจ้าหนูอะตอมเริ่มต้นจากมังงะก่อนได้นำมาแปลงเป็นแอนิเมชันเรื่องภายใต้ชื่อเดียวกันในปี 1963 เสนอเป็นตอนแรก เป็นช่วงเวลาหลังการเกิดสงครามโลกครั้งที่สองไปไม่ถึง 7ปี แต่สามารถพลิกฟื้นอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง กลายเป็นการ์ตูนสุดฮิตทั่วโลกเป็นเรื่องแรกของประเทศ ถือว่าเป็นแอนิเมชันญี่ปุ่นสร้างชาติกันเลย
เรื่องราวเกี่ยวกับ ตัวละครดอกเตอร์เทนมะที่ได้สูญเสียลูกชายไปจึงได้ทำการ สร้างหุ่นยนต์เด็กชายมาทดแทนลูกตัวเอง ใส่พลังวิเศษและความสามารถต่างๆเข้าไปเช่น แขนขาที่ยิงจรวด พร้อมความสามารถในการบิน! มาพร้อมภารกิจกู้สันติภาพในช่วงสงครามของโลกคู่ขนานพร้อมฐานะทูตสันติภาพไปในตัว สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดว่าเจ้าหนูอะตอมของเรามีความเป็นมนุษย์อย่างลึกซึ้ง ไม่เหมือนหุ่นยนต์ทั่วไป เห็นอารมณ์และมิติการใช้ชีวิต ที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากต่างๆ พร้อมการเติบโตขึ้นมาด้วยการเอาชนะปัญหาที่เขาเผชิญ
เจ้าหนูอะตอมได้บุกตีตลาดโลกและกระแสตอบรับเป็นอย่างดีมาก จนได้ออกฉายในโทรทัศน์สหรัฐอเมริกาหลังจากเปิดตัวไม่นาน ประเทศไทยก็เคยนำมาฉายผ่านสถานีโทรทัศนไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม แพร่กระจายอิทธิพลในวงกามังงะและแอนิเมชัน ไม่ว่าจะเป็นแนวเรื่องแนวไซไฟ วิทยาศาสตร์ แนวเรื่องแบบไร้กาลเวลา หรือลักษณะการวางภาพแบบสตอรี่บอร์ดของหนังภาพยนต์ พร้อมใส่คำบรรยายเสียงต่างๆทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายผิดกับก่อนหน้านี้ที่ญี่ปุ่นจะวาดภาพเป็นภาพประกอบไปเลย ได้รับความนิยมอย่างมากจนกลายมาเป็นแนวการวาดมังงะในปัจจุบัน กับลายเส้นการวาดเห็นได้ชัดจากลายเส้นดวงตากลมโตสุดน่ารัก จากเรื่อง โดเรม่อน ที่ได้รับอิทธิพลเป็นต้น เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สร้างแรงบันดาลใจพร้อมทั้งยังจุดประกายจินตนาการให้เด็กๆทั่วโลกในสมัยนั้นจนถึงปัจจุบัน แฟนๆ การ์ตูนเรื่องนี้ ถ้าคิดถึงเจ้าหนูอะตอมกันห้ามพลาด! ณ ตอนนี้ได้มีงานของเจ้าหนูอะตอมร่วมมือกับสยามดิสคัฟเวอรี่ จัดถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567 นี้เท่านั้น