ทางลอฟฟีเซียลออมส์ได้มีโอกาสเข้าร่วมงานเปิดตัวภาพยนตร์เรื่อง “หลานม่า” ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้จัดทำโดย GDH ในงานพบกับนักแสดงหลักอย่าง บิวกิ้น พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล ปะทะบทบาทกับ ดู๋ สัญญา คุณากร, เผือก พงศธร จงวิลาส และนักแสดงหน้าใหม่ แต๋ว อุษา เสมคำ วัย 76 ปี โดยหนังเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวคนจีน เล่าเรื่องราวผ่านตัวละครหลักกับ เอ็ม (บิวกิ้น) ที่ดร็อปเรียนตอนปีสี่ เพื่อมาเอาดีทางด้านแคสต์เกม แต่ทำอย่างไรก็ไม่ปัง เอ็มเลยคิดหาหนทางรวยด้วยการทำงานสบายๆ แบบ มุ่ย (ตู ต้นตะวัน) ลูกพี่ลูกน้องที่รับดูแลอากงที่ป่วยระยะสุดท้าย และกลายเป็นทายาทคนเดียวที่ได้รับมรดกเป็นบ้านราคากว่าสิบล้าน เอ็มจึงอาสาไปดูแล อาม่า (แต๋ว อุษา) ที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง และน่าจะมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่เกินปี ต้องมาดูกันว่าเรื่องราวจะเป็นเช่นไร เอ็มจะได้สิ่งที่เขาต้องการไหม แล้วระหว่างทางจะเจอกับอะไรบ้าง? พบกันทุกโรงภาพยนตร์ 4 เมษานี้ครับ
บรรยากาศภายในงานพบกับคนสำคัญที่ขาดไม่ได้อย่างผู้กำกับรุ่นใหม่ ‘พัฒน์ บุญนิธิพัฒน์‘ ที่มีผลงานดังอย่างซีรีส์ “ฉลาดเกมส์โกง” อำนวยการสร้างโดย ‘เก้ง จิระ มะลิกุล‘ และ ‘วัน วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์‘ เรามาพบกับพวกเขากันเลยครับ
แรงบันดาลใจจนเกิดเป็นภาพยนตร์เรื่อง “หลานม่า”
“จำกันได้ไหมครับเมื่อปี 2020 ที่ผ่านมากรุงเทพนั้นล็อกดาวน์ ประมาณ 20 วัน ผมเนี่ยก็ปฎิบัติอย่างเคร่งครัดเลยฮะ ก็คืออยู่บ้านไม่ออกไปไหน แล้วก็พยายามทำกับข้าวทำทุกสิ่งทุกอย่างในตู้เย็นก็เอามาทำเป็นการอยู่บ้านที่นานที่สุดครั้งนึงในชีวิตเลย คืออยู่ต่อเนื่องไม่ออกไปไหน ในช่วงเวลานั้นอะฮะ ในช่วงบรรยากาศตอนนั้นเนี่ย น้องเขียนบทคนนึงของเราเนี่ยคือ’น้องเป็ด’ น้องเป็ดได้ส่งเนื้อเรื่องย่อเรื่องอาม่ามาให้ผมกับพี่วัน ความยาวประมาณ3-4 หน้า ผมอ่านเรื่องนี้ในบรรยากาศของการที่ถูกล็อกดาวน์ตอนนั้น อยู่บ้านนานๆ จำได้ว่าพออ่านบรรรทัดสุดท้ายจบเนี่ย ผมอึ้งไปเป็นเวลานานเลยฮะ ขณะที่ผมอ่านเรื่องอาม่าเนี่ยผมเห็นยายอยู่ที่บ้าน เห็นยายของผมผมอยู่บ้านฝั่งธน อาม่าในเรื่องเนี่ยเขาอยู่ตลาดพลู ผมอยู่คลองสาน อาม่ามีต้นทับทิมหน้าบ้าน ผมก็มีต้นทับทิมหน้าบ้าน คือทุกสิ่งทุกอย่างเนี่ย เอ๊ะ.. ทำไมผมอ่านเรื่องอาม่าแล้วผมได้ความรู้สึกอันนั้นอะกลับมาแล้วมันดีมากเลยครับ
จากนั้นเนี่ยพี่วันก็ ไปชวนคุณ ‘พัฒน์ บุญนิธิพัฒน์‘ ผู้กำกับวัยรุ่นของเราคนนึงมาทำ สี่คนเนี่ยเรามาเขียนบทด้วยซูมครั้งแรกในชีวิต ซึ่งมันอึนอัดมากในฐานะคนเขียนบท การเขียนบทคือเรากำลังสร้างสิ่งที่ไม่เคยมีอยู่ ให้มันมีอยู่แล้วมันต้องเห็นหน้าแล้วก็ต้องแบบ “ไม่ชอบบทอันนี้” ปรากฎว่าเราใช้ซูมแล้วมันก็แบบมีการดีเลย์ แต่กลับเป็นช่วงเวลาที่ผมมีความสุขมากเลยนะฮะ ได้ฟังน้องๆ ทั้งเป็ดทั้งพี่วัน ทั้งพัฒน์ คุยกันเรื่องอาม่า แชร์กันเรื่องอาม่าของตัวเอง เข้าไปในเรื่องนี้ ยิ่งเขาคุณกันผมยิ่งนึกถึงเรื่องคุณยายที่บ้านมาก คุยกันจนถึงขนาดว่า ผมพบว่าวันเวลามันผ่านไป เด็กๆ ก็เติบโตขึ้น ผู้ใหญ่ก็แก่ลง ทารกก็เกิด คนแก่ก็ตาย แต่สิ่งที่มันตายมันไม่เคยตายไปไหน มันอยู่ในความทรงจำของเรา บ้านแล้วก็ความทรงจำในบ้านเนี่ยมันรอคอยคนทำหนังมาทำเรา แล้วเราก็ก็คิดว่าจะตั้งใจทำเรื่องนี้อย่างดีให้คนที่ได้ดูหนังเรื่องนี้รู้สึกเหมือนกับที่ผมเคยรู้สึก ตอนที่ได้ทำตอนที่ได้อ่านบทหนังเรื่องนี้ คือดูอาม่าแต่คิดถึงครอบครัวตัวเอง ซึ่งมันเป็นความสุขมาก” กล่าวโดยโปรดิวเซอร์ของเรื่องอย่างคุณ “เก้ง จิระ มะลิกุล“
โดยคุณวัน วรรณฤดี อยากจะเล่าถึงแรงบันดาลใจในการทำภาพยนตร์เรื่องนี้
“หลายคนอาจดูเทรลเลอร์หนังไปแล้ว แต่ว่าอยากจะใช้เวลานี้ ในการถึงความสัมพันธ์ของคนสองคนที่นอกจากพี่เก้งที่เป็นโปรดิวเซอร์เรื่องนี้แล้ว ปกติหนังที่ GDH นี้อะค่ะเราจะเริ่มต้นบทหนังเนี่ยจากไม่ผู้กำกับก็โปรดิวเซอร์ คือเป็นแบบว่าโปรดิวเซอร์มีไอเดียแล้วก็ชวนผู้กำกับมาทำ แล้วค่อยชวนคนเขียนบทหรือบางทีผู้กำกับก็มีไอเดียแล้วมาคุยกับโปรดิวเซอร์ แล้วก็ค่อยไปชวนคนเขียนบท แต่ว่าเรื่องเนี้ยแปลกไม่เหมือนเรื่องที่ผ่านมา อย่างที่บอกอะค่ะเรากำลังพุดถึงแฟมิลี่ที่บางที่ก็ถูกหลงลืม ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีไอเดียเริ่มต้นมาจากคนเขียนบท ซึ่งมักจะเป็นตำแหน่งที่แบบไม่ค่อยเห็นโดยหน้าตา คนก็จะไปโฟกัสนักแสดง ผู้กำกับเยอะ แต่จริงๆ เรื่องนี้เริ่มต้นมาจากคนเขียนบท ก็คือน้องเป็ดทำงานกับเรามา 10 ปี เรื่องเล่าที่เคยทำคือ “Suckseed”, คิดถึงวิทยา, เฟรนโซน แล้วก็บุพเพสันนิวาส ซึ่งทุกเรื่องก็จะเป็นหนังโรแมนติกคอมแมนดี้บ้าง หนังวัยรุ่นมั่ง แต่ตลอดเวลาที่ทำงานด้วยกัน แต่วันยังรู้สึกตลอดเวลาว่า ทุกครั้งที่เป็ดเขาเขียนถึงเรื่องครอบครัวเนี่ย เหมือนเขาเป็นมาสเตอร์เรื่องครอบครัวเลย เราก็รอมากเลยอะวันไหนวันนึงเราจะมีไอเดียให้เป็ดได้ทำหนังครอบครัวของเขา พอครบ 10 ปี ซึ่งโอกาสนั้นก็ยังไม่มาสักทีจนพอถึงวันที่ 10 ปี วันก็คุยกับเขาว่า เขาอยากจะเติบโตไปเป็นอะไร เพราะเป็นคนเขียนบทเป็น 10 ปีละ เป็นคนเขียนบทต่อไป หรือจะเป็นโปรดิวเซอร์ไหม หรือขึ้นเป็นผู้กำกับไหม ปรากฎสิ่งที่เป็ดตอบ เป็ดตอบว่า “ผมแค่อยากเป็นคนเขียนบทที่เก่งขึ้น อยากเป็นคนเขียนบทที่ได้มีไอเดียเริ่มต้นเป็นของผม” พี่ก็เลยบอกว่าได้เลย เป็ดลองหยุดไปเลยเดือนนึง แล้วเป็ดไปลองหาไอเดียที่เป็ดอยากจะเริ่มต้นเป็นคนแรก ไม่ได้มาจากโปรดิวเซอร์ หรือผู้กำกับ ซึ่งแล้วเป็ดก็กลับมาพร้อมไอเดียเรื่องเนี้ย
สิ่งนี้เกิดจากที่เขาได้มีโอกาสได้ไปดูแลอาม่า ที่ตอนเด็กๆ เขาได้ไปใช้เวลาร่วมกัน ช่วยอาม่าขายโจ๊ก ตอนเย็นต้องไปแบบไปรอแม่กลับบ้านที่ร้านโจ๊กอาม่า ก็ช่วยอาม่าที่ร้านโจ๊ก ล้างจาน อะไรแบบเนี้ย เค้าโตแยกบ้านมาแล้วไม่กี่ปีมานี้อามาเขาป่วย เขาก็เลยเป็นคนที่กลับไปดูแลอาม่า แล้วก็เกิดแรงบันดาลใจที่จะเอาเรื่องนี้มาเสนอ ก็คือแทบจะเป็นเรื่องได้ว่า ประสบการณ์แันล้ำค่าที่สุด ที่เป็นประสบการณ์ของชีวิตเขา เขาก็เอามาให้กับพี่เก้งแล้วเราก็ชอบกันมาก ก็เลยตัดสินใจผลักดันแล้วทำเรื่องนี้
คนที่สองที่อยากจะพูดถึงคือผุ้กำกับของเรื่อง ว่าน้องพัฒน์ เนี่ยทำซีรีส์มาแล้วสามเรื่อง คือน้องพัฒน์เขาเติบโตมาจากการเป็นช่างภาพมาก่อน เพราะฉะนั้นงานแรกที่เขาทำก็คือโคไดเรกเตอร์ของซีรีส์ไดอารี่ตุ๊ดซี่ ซีซี่น 1 ก็คือไปช่วยรับผิดชอบงานภาพทั้งหมด ให้ผู้กำกับเสร็จแล้วก็มากำกับเรื่องที่สองคือ “SOS Skate ซึม ซ่าส์” ที่เป็นเรื่องเด็กเป็นโรคซึมเศร้า แล้วก็วันกับพี่เก้งชอบงานเขามากตั้งแต่สมัยเรียน คือชอบเขาในฐานะฝีมือช่างภาพ ตอนนั้นเขาจะถ่ายภาพอย่างเดียวเป็นหลัก แล้วเราก็ชอบน้องคนนี้มาก เพราะเราเห็นการซัพพอร์ทเรื่องราวที่ดีของช่างภาพคนนี้ แล้วเรารู้สึกว่าเขาอาจจะมีเซ้นต์เป็นผู้กำกับได้ แล้ววันนึงพอเขาลุกขึ้นมากำกับซีรีส์ สิ่งจริงๆตอนแรกเขาทำงานกับบ้านนาดาว แล้วก็ทำงานกับบ้านภาพฟิล์ม แล้วพี่เก้งเนี่ยอยากทำงานกับเขามาก ก็เลยไปชวนเขามาทำซีรีส์ “ฉลาดเกมส์โกง” ด้วยกันเขาเนี่ยเป็นเหตุผลนึงเลยที่ทำให้เราลุกขึ้นมาทำฉลาดเกมส์โกงซีรีส์ เพราะว่าอยากรู้จักน้องคนนี้ คือเวลาเรากับพี่เก้งทำงานแล้วอยากจะรู้จักน้องคนนึงเนี่ย แค่การนั่งคุยกันมันไม่ทำให้รู้จักมันต้องทำงานด้วยกันเลย เรื่องนึงเลย แล้วเราก็จะรู้ว่าเค้าเป็นผู้กำกับแบบไหน แล้วท่ามกลางความเป็นทริลเลอร์ของฉลาดเกมส์โกงซีรีส์เนี่ย ปรากฎว่าเราพบว่าเขาเป็นคนที่มีเมจิกในการกำกับนักแสดงมาก เขาอ่อนโยนเรื่องการกำกับนักแสดงทุกคนมาก อย่างไม่น่าเชื่อนะคะ ว่าเป็นผู้กำกับรุ่นใหม่ พอวันที่เราได้ไอเดียของเรื่องหลานม่ามาเนี่ย ก็เลยนึกถึงเขา แล้วก็ชวนเขามากำกับ ณ วันนี้ เดี๋ยวก่อนที่จะเปิดเทรลเลอร์ก็อยากจะชวนน้องพัฒน์ มาพูดอะไรสักนิดนึง”
‘พัฒน์ บุญนิธิพัฒน์‘ “เหมือนกับที่พี่เก้งพี่วันเล่าไปหมดแล้ว ว่าโปรเจคต์เนี้ยเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2020 ตอนนั้นผมอายุประมาณ 31 ตอนนี้ผมกำลังจะ 34 แล้วก็คือใช้เวลา 3 ปีเต็มๆ ในการทำเรื่องนี้ ซึ่งพี่เก้งพี่วันในฐานะโปรดิวเซอร์ของที่นี่ เขาก็จะสามารถดูโปรเจกต์ได้หลายๆโปรเจกต์ 3 ปีที่ผ่านมา เขาดูไม่รู้กี่สิบ กี่ร้อยโปรเจกต์ ที่พัฒนาไปพร้อมๆ กันแต่ส่วนผมทำแค่โปรเจกต์นี้โปรเจกต์เดียว 3 ปี ไม่ได้ทำอย่างอื่นเลย แต่ว่ามันก็ดีกว่าโปรเจคต์อื่นตรงที่ว่า ปกติผมทำงานอะก็ที่บ้านผมก็จะอยู่กับอาม่า มีอาม่า มีแม่ มีกู๋ เวลาทำงานเราก็จะทำงานไม่ได้เจอเขาเลยต่อให้อยู่บ้านเดียวกัน ห้องผมอยู่ชั้นล่าง พวกเขาอยู่ชั้นบน เวลาผมออกตอนเช้าไม่ได้ขึ้นไปไหว้ ไม่ได้เจอกัน ทำงานเสร็จก็กลับมา ก็ไม่ได้ทักทาย เข้านอนเลย สามารถไม่เจอกันได้เป็นเดือนๆ แบบครึ่งปีได้เลยโดยที่แบบทำงานอยู่บ้านเดียวกันอะไรอย่างงี้ แต่โปรเจคต์นี้มันต่างออกจากโปรเจคต์กันที่ว่าเรื่องของมันก็คือ เรื่องอาม่า ทำให้ผมจำเป็นต้องเดินขึ้นไปชั้นบน เพื่อไปดูว่าอาม่าทำอะไรอยู่ เอาเรื่องราวหรือว่าบุคลิกบางอย่างหรือวิธีการพูดที่เป็นแบบของเขา ที่เราคิดเองไม่ได้ เอามาใส่ในบทซึ่งมันทำให้ขั้นตอนช่วงทำบทอะ มันกินเวลาแบบ 2 ปีไรแบบนี้ คือเราจะพยายามจะเติมดีเทลของบทให้มันเต็ม ให้มันรู้สึกว่ามันจริง ให้มันเกี่ยวข้องกับทุกคนมากที่สุด ซึ่งผมรู้สึกว่าดีใจมากที่ได้เลือกใช้เวลาของตัวเองกับเรื่องนี้ ผมคิดว่าแบบเวลาเราเลือกใช้เวลาของเรากับใคร เราให้ความสำคัญกับสิ่งนั้น อย่างแบบวันนี้ที่พวกเราแบบเลือกใช้เวลามาดูเทรลเลอร์ มาอยู่ด้วยกันตรงนี้ ผมก็สัญญาว่าจะไม่ทำให้ทุกคนเสียวลาที่มีค่าแล้วก็อยากให้ 3 ปีที่ผมใช้เวลากับตรงนี้ เป็นงานที่ทุกคนได้ดู ขอบคุณครับ”
ส่วนทางบทสัมภาษณ์พิเศษของบิวกิ้นจะมีให้ติดตามเร็วๆ นี้ครับ