Omega Seamaster: Exceptional precision

Share This Post

- Advertisement -

Author: Sethapong Pawwattana

Photography: Courtesy of Omega

เรื่องราวความเที่ยงตรงเหนือระดับท่ามกลางความลึกเกินหยั่ง และความเที่ยงตรงของกลไกที่ถูกคิดค้นขึ้นมาอย่างไม่มีข้อจำกัด แต่อีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้นาฬิกาทรงประสิทธิภาพก็คือการเอาชนะอนุภาคอย่างผงฝุ่น เพราะอนุภาคเหล่านี้ถ้าหลุดรอดเข้าไปสามารถทำร้ายกลไกให้เสียหายได้

จากชิ้นส่วนของนาฬิกาจักรกลซึ่งประกอบด้วยชิ้นส่วนขยับหลายร้อยชิ้นนั้นไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหากชิ้นส่วนเล็กๆ แต่ละชิ้นนั้นไม่ได้ถูกปกป้องจากสภาพแวดล้อมภายนอก ในปัจจุบัน ไม่มีทางที่น้ำจะได้ทำอันตรายนาฬิกา Omega Seamaster รุ่นใดก็ตาม ซึ่งนั่นก็เป็นผลมาจากความพยายาม   ที่จะพิชิตและสามารถเอาชนะอนุภาคอย่างผงฝุ่นลงได้

ในการป้องกันฝุ่นผง ตัวเรือนจึงควรปิดแนบสนิท อนุภาคฝุ่นขนาดเล็กนั้นสามารถก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงกับกลไกนาฬิกาที่ละเอียดอ่อน โดยเฉพาะเมื่อมีน้ำมันและสารหล่อลื่นต่างๆ ที่ช่างนาฬิกาใช้กับชิ้นส่วนหลัก การขึ้นลานและการตั้งเวลาด้วยเม็ดมะยมเองก็เป็นขั้นตอนสำคัญ เช่นเดียวกับกรรมวิธีในการติดตั้งกระจกแซฟไฟร์เข้ากับตัวเรือนแบบใหม่ที่แข็งแรงมากกว่าที่เคย

แล้วนาฬิกาป้องกันฝุ่นนั้นสามารถป้องกันน้ำได้หรือไม่ ไม่นานนักบรรดาช่างนาฬิกาก็ได้ข้อสรุปที่แน่นอน ด้วยการเปิดตัวนาฬิกากันน้ำรุ่นแรก: Waltham ‘Field and Marine’ ในปี 1918 ด้วยตัวเรือนแบบสองชั้น และชื่อที่เหมาะสมอย่างยิ่งของ Omega ‘Marine’ ปี 1932 นั้นถูกเรียกว่านาฬิกาดำน้ำมานานหลายทศวรรษก่อนหน้าที่จะมีนาฬิกามาตรฐาน ISO ในปัจจุบัน การออกแบบนั้นเรียบง่ายทว่าทรงประสิทธิภาพ ตัวเรือนด้านนอกจะมอบความแข็งแรงและคอยปกป้องตัวเรือนด้านในที่มีการติดตั้งกลไก หน้าปัด และชุดเข็ม ระหว่างการทดสอบที่ทะเลสาบเจนีวาเมื่อปี 1936 นาฬิกา ‘Marine’ ยังสามารถทำงานได้กระทั่งที่ความลึก 73 เมตร หลังจากนั้นไม่นาน เครื่องบอกเวลานี้ก็ผ่านการทดสอบในห้องปฏิบัติการที่ความลึกถึง 135 เมตร

การวางจำหน่ายประสบความสำเร็จอย่างงดงาม นาฬิกาดำน้ำรุ่นแรกของ Omega ยังถูกใช้งานโดยสองนักบุกเบิกใต้ทะเลผู้ยิ่งใหญ่: อีฟ เลอ พรีเยอร์ (Yves Le Prieur) ผู้ที่ประดิษฐ์อุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจระบบเปิดแบบแรกของโลก และชาร์ลส์ วิลเลียม บีบี (Charles William Beebe) นักสำรวจชาวอเมริกันผู้คิดค้น ‘Bathysphere’ ยานใต้น้ำทรงกลมที่ทำให้มนุษย์สามารถลงไปสัมผัสกับความลึกของสมุทร นาฬิกา ‘Marine’ ทำหน้าที่รับใช้บีเบได้อย่างยอดเยี่ยมตลอดการดำน้ำครั้งประวัติศาสตร์ของเขาที่ลึก 14 เมตร ในทศวรรษ ’30s

เมื่อความต้องการนาฬิกากันน้ำและนาฬิกาดำน้ำเพิ่มขึ้น Omega ก็ตอบรับด้วยนาฬิกากันน้ำแบบมาตรฐานรุ่นแรกของแบรนด์ นาฬิกา ‘Naiad’ ถูกผลิตระหว่างปี 1937 ถึง 1943 ขับเคลื่อนด้วยกลไกแบบแรกของ Omega ที่มีเข็มวินาทีกลาง รวมถึงใช้ฝาหลังแบบขันเกลียว ซึ่งกลายเป็นมาตรฐานสำหรับนาฬิกากันน้ำในปัจจุบันหลากหลายรุ่น

ช่วงก่อนสงคราม Omega ได้พัฒนาเทคโนโลยีด้านความทนทานโดยผลิตนาฬิกาสนามให้กับกองทัพสวีเดนในชื่อรุ่น ‘The Officer’ ซึ่งนอกจากจะมีคุณสมบัติกันน้ำแล้วยังมาพร้อมกับคุณสมบัติป้องกันสนามแม่เหล็กและการกระแทก สำหรับคำสั่งซื้อนาฬิกาทหารของกระทรวงกลาโหมอังกฤษ Omega ได้ส่งมอบนาฬิกาเป็นจำนวนมหาศาลกว่า 110,000 เรือน ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 นาฬิกาที่โดดเด่นย่อมหนีไม่พ้น CK2444 ที่มีหน้าปัดที่อ่านเวลาได้สะดวก ฝาหลังแบบขันเกลียว และคุณสมบัติป้องกันสนามแม่เหล็ก

ปี 1948 ปีหลังสงครามที่เปี่ยมไปด้วยการมองโลกในแง่ดี การเดินทางเฟื่องฟูขึ้น และระบบโซ่อุปทานที่เสรีกว่าเดิม ตามมาด้วยมหกรรมกีฬาโอลิมปิกที่กรุงลอนดอน ซึ่งแบรนด์ OMEGA ได้ทำหน้าที่ในฐานะผู้บอกเวลาอย่างเป็นทางการ เพื่อตอบสนองกับความต้องการนาฬิกาสปอร์ตหรูสำหรับ ‘เมือง ทะเล และชนบท’ Omega จึงผสานรวมเทคโนโลยีจากสนามรบลงไปในสุดยอดนาฬิกาสำหรับพลเรือน นั่นคือ Seamaster

เรื่องราวของ Seamaster ได้ถูกเล่าขานถึงความสร้างสรรค์ ในปี 1957 

ชื่อเสียงของ Omega ก็โด่งดังมากขึ้นจากเทคโนโลยีท้าทายความลึกที่เหนือระดับจากการเปิดตัว Seamaster 300 นั้นอัดแน่นด้วยนวัตกรรมการดำน้ำมากมาย การจับเวลาที่ใช้ไปใต้น้ำอย่างแม่นยำคือสิ่งที่สำคัญ นาฬิกามีขอบตัวเรือนที่หมุนได้สองทิศทางซึ่งป้องกันการหมุนโดยที่ไม่ได้เจตนาด้วยการกดก่อนทำการหมุน กระจกแซฟไฟร์ยังใช้วงแหวนเพื่อทำการขันเกลียวและติดตั้งด้วยเม็ดมะยมป้องกันน้ำแบบ Naiad

นาฬิกา Seamaster รุ่นแรก รหัสอ้างอิง CK2518 ได้ยกคุณสมบัติการกันน้ำไปสู่ระดับใหม่ด้วยการเพิ่มชิ้นส่วนซีลยางเหมือนที่ใช้ในเรือดำน้ำซึ่งเรียกกันในชื่อ O-Ring นวัตกรรมขนาดจิ๋วดังกล่าวของ Omega ได้สร้างแรงบันดาลใจให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีนาฬิกาดำน้ำ สอดผสานไปในทางเดียวกับความสนใจของโลกที่กำลังมุ่งไปยังการสำรวจใต้ทะเล

เมื่อนักผจญภัย วิคเตอร์ เวสโคโว (Victor Vescovo) สามารถนำยานใต้น้ำ Limiting Factor ไปยังร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนาได้สำเร็จเมื่อต้นปี 2019 การลงไปที่ระดับความลึก 10,928 เมตร ถือเป็นสถิติโลกใหม่ พร้อมเรือนเวลาที่ร่วมทาง – และทำงานได้อย่างไร้ที่ติในห้วงลึกอย่างนาฬิกา Omega Seamaster Planet Ocean Ultra Deep Professional ความจริงคือมีนาฬิกาถึงสามเรือน! สองเรือนถูกติดตั้งบนแขนหุ่นยนต์ของยานใต้น้ำ อีกหนึ่งเรือนอยู่บนหุ่นวิจัยที่มีชื่อว่า Lander

นาฬิกาคอนเซ็ปต์ทั้งสามเรือนคือความมหัศจรรย์โดยแท้จริง ทั้งขอบตัวเรือน ตัวเรือน ฝาหลัง และเม็ดมะยมถูกผลิตจากโลหะที่นำมาจากยานใต้น้ำ กระบวนการติดตั้งกระจกแซฟไฟร์เข้ากับตัวเรือนก็ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการออกแบบของหน้าต่างบนเรือดำน้ำซึ่งจะช่วยกระจายแรงไปยังขอบโดยรอบ ในขณะที่ Liquidmetal® ซึ่งทำหน้าที่เป็นผนึกที่แข็งแกร่งทว่ายืดหยุ่น ในการนำบทเรียนที่ได้รับและเทคโนโลยีมาผสมผสานให้กับเหล่านักผจญภัยในชีวิตประจำวัน Omega จึงเผยคอลเลกชั่นนาฬิกา Ultra Deep พร้อมคุณสมบัติการกันน้ำอันน่าทึ่งที่ 6,000 เมตร

ภายในเวลาไม่ถึงทศวรรษ Omega ก็เปิดตัว Seamaster 120 ‘Big Blue’ ในปี 1972 นาฬิกา Seamaster ที่มีระดับการกันน้ำเดียวกันถูกบันทึกลงในหนังสือประวัติศาสตร์ภายในไม่ถึงสิบปีให้หลังในปี 1981 เมื่อนักดำน้ำแบบฟรีไดฟ์ ฌาคส์ มาโยล (Jacques Mayol) สูดหายใจจนเต็มปอดก่อนจะดิ่งลงไปและทำลายสถิติการดำที่ความลึก 101 เมตร พร้อมกับ Seamaster 120 บนข้อมือ

เรื่องราวของ Seamaster ได้ถูกเล่าขานถึงความสร้างสรรค์ ในปี 1957 ชื่อเสียงของ Omega ก็โด่งดังมากขึ้นจากเทคโนโลยีท้าทายความลึกที่เหนือระดับจากการเปิดตัว Seamaster 300 นั้นอัดแน่นด้วยนวัตกรรมการดำน้ำมากมาย

จากหน้าประวัติศาสตร์ Omega ที่เต็มไปด้วยการออกแบบที่เหนือชั้น แบรนด์ย่อมไม่พลาดที่จะรังสรรค์นาฬิกาที่เปี่ยมด้วยเทคโนโลยีดำน้ำในสไตล์ที่สะกดสายตา ตัวอย่างชั้นยอดถึงเรื่องดังกล่าวคือ Seamaster Diver 300M ที่เผยโฉมในปี 1993 ความสง่างามถูกเผยลงบนนาฬิกาสำหรับนักผจญภัยผ่านในส่วนของสเกลดำน้ำ ฮีเลียมวาล์ว เข็มนาฬิกาแบบฉลุ และหลักชั่วโมงยกนูน

อีกหนึ่งตัวอย่างคือ Seamaster Planet Ocean 600M ที่เปิดตัวในปี 2005 ซึ่งนำการออกแบบหลายด้านมาจาก Seamaster 300 รุ่นดั้งเดิม คอลเลกชั่น Planet Ocean คือนาฬิกา Seamaster แบบแรกที่ติดตั้งด้วยระบบปล่อยจักรแบบ Co-Axial อันโด่งดังของ Omega ซึ่งเผยโฉมครั้งแรกในกลไก calibre 2500 โดยในปี 2019 นาฬิกาดำน้ำจาก Omega ได้ผ่านการพิสูจน์แล้วว่าสามารถผจญได้กระทั่งจุดที่ลึกที่สุดของโลก มอบความเที่ยงตรงได้อย่างสมบูรณ์ท่ามกลางระดับความลึกที่มากเกินกว่าจะจินตนาการถึง รวมถึงอยู่ภายใต้แรงดันน้ำมหาศาล ตั้งแต่นาฬิกาดำน้ำรุ่นแรกสำหรับสวมใส่ในชีวิตประจำวัน Omega ได้ผลักดันขีดจำกัดในความเป็นไปได้มาอย่างต่อเนื่อง และอย่างไม่มีจุดสิ้นสุด พร้อมทั้งคำว่า ‘ดีกว่า’ ที่ยังจะมีต่อไปและทำลายทุกขีดจำกัดของงานสร้างสรรค์แห่งเครื่องบอกเวลา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรือนเวลา OMEGA Seamaster ได้ที่ 

สาขา เซ็นทรัล เอ็มบาสซี โทร. 02-160-5959, สาขา สยามพารากอน โทร. 02-129-4878

สาขา เซ็นทรัลภูเก็ต ฟอเรสตา โทร. 076-510-818

- Advertisement -