เพื่อนำประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนของพื้นที่แสดงงานศิลปะทางเลือกในกรุงโซลและความตั้งใจสะท้อนภาพลักษณ์ของGucciผ่านคอนเซ็ปต์ Eterotopia งานแสดงศิลปะในครั้งนี้จึงเกิดขึ้นมาเพื่อนำเสนอนิยามใหม่ของคำว่า“other space” ที่หมายถึง“สถานที่สร้างอนาคตที่แตกต่างที่น่าถวิลหา ทางเลือกใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งรอบตัว”สิ่งนี้จะกลายเป็นรากฐานมุมมองใหม่ให้กับ“การอยู่ร่วมกัน” ของเราอย่างไม่โดดเดี่ยวอีกต่อไป แต่ละโปรเจคที่จัดแสดงจะเชื่อมโยงกับธีมภายใต้ไอเดียพื้นที่ทางเลือกนี้เหมือนเป็นยูโทเปียดินแดนแห่งจินตนาการ ที่ที่เรากำหนดเรื่องราวขึ้นมาใหม่ อาศัยอยู่บนความเข้าใจซึ่งกันและกัน เสาะหาอัตลักษณ์แต่ของกลุ่มคนที่เล็กกว่าและมีระบบการเมืองที่แปลกแตกต่างออกไป
นิทรรศการNo Space, Just A Placeอยู่ภายใต้การดูแลของMyriam Ben Salahภัณฑารักษ์ ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักกันดีในด้านสุนทรียะและวิสัยทัศน์ในการมองสิ่งต่างๆของเธอ การผลักดันด้านความคิดอันลึกซึ้งและจริงจังของ Alessandro Michele ด้านคุณค่าทางจริยธรรมและสุนทรียศาสตร์เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างภาพเขียนผู้คนและเพศ ความเชื่อเรื่องภูมิทัศน์แห่งการเรียนรู้ การแสดงตัวตนผ่านงานศิลปะ และสภาวะมานุษยวิทยาอันไร้กาลเวลา มาเป็นธีมหลักของงาน อันสะท้อนให้เห็นภารกิจและความทะเยอทะยานที่พื้นที่งานแสดงศิลปะทางเลือกนี้พยายามนำเสนอ


พื้นที่แสดงศิลปะทางเลือกนี้เป็นสถานที่ underground ที่มีประวัติศาสตร์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของร้านค้า คลังสินค้า และสถานที่ประกอบการอื่นๆอีกมากมายที่โดนทิ้งร้างจากวัฒนธรรมกระแสหลัก พื้นที่เหล่านี้ต้องเผชิญหน้าแข่งขันกับพื้นที่“กล่องสีขาว” แกลลอรี่ทางการค้าที่ให้ความเป็นกลาง โดยต้องโปรโมทผลงานที่บ่อยครั้งเกี่ยวข้องกับการเมือง การทดลอง และการโต้เถียงทางศิลปะมากกว่าผลงานที่มีคุณค่าเชิงพาณิชย์
งานแสดงศิลปะในครั้งนี้เลือกเชิญพื้นที่ศิลปะที่ดำเนินงานเป็นอิสระเช่น Audio Visual Pavilion, Boan 1942, D/P, Hapjungjigu, OF, Post Territory Ujeongguk, Space illi, Space One, Tastehouse, White Noise เข้าร่วมแสดงผลงานที่พิพิธภัณฑ์แทลิม(Daelim Museum) บนพื้นที่แสดงงานที่จัดไว้ให้ถึง3ชั้น แต่ละชั้นนำเสนอโครงการที่ผลิตผลงานโดยทีมงานของตนเองผ่านการพูดคุยกับผู้จัด รวมถึงผลงานของศิลปินเดี่ยวและอีกหลายท่านที่มาร่วมนำเสนอหรือให้ความช่วยเหลือ
Martine Syms นำเสนอโครงการที่ตั้งคำถามอย่างสนุกสนานแก้วาทกรรมเชิงบรรทัดฐานที่มีมุมมองแคบ ด้วยวิสัยทัศน์ร่วมสมัยที่แปลกใหม่และสมบูรณ์แบบของGucciผ่านธีมเรื่องการพลัดถิ่น เทคโนโลยีชีวภาพ ความประหลาดพิลึก และการผสมแบบไฮบริด เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการเล่าเรื่องและนิยายบอกเล่าเรื่องราวของ “ความแปลกที่แตกต่าง”

Meriem Bennani นำเสนอParty on the Caps (2018 – 2019) งานแสดงผลงานติดตั้งวิดีโอที่ตามมาด้วยประชากรในจินตนาการของCAPS เกาะกลางมหาสมุทรแอตแลนติก ที่ผู้อพยพและบุคคลย้ายถิ่น “อย่างผิดกฎหมาย” ข้ามเขตแดนเข้ามาถูกกักตัวBennaniจินตนาการถึงโครงสร้างการย้ายถิ่นฐานในรูปแบบใหม่ (ทั้งทางร่างกายและจิตใจ) ที่เกิดขึ้นกับคนย้ายถิ่นในอนาคต สร้างชุมชนใหม่ที่มีจุดหมายปลายทางทางภูมิศาสตร์ มีสถานะของความเป็นพลเมือง อายุ และเพศให้เกิดขึ้น

งานติดตั้ง What The Heart Wants ของ Cécile B. Evansแสดงให้เห็นการแลกเปลี่ยนระหว่างบุคคลและเครื่องจักร ที่กลายมาเป็นตัวกำหนดสภาพของมนุษย์ในโลกสมัยใหม่ การเจรจาท่ามกลางความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ว่าใครหรืออะไรเป็นส่วนประกอบของคนหนึ่งคน และระบบสร้างเงื่อนไขการเป็น “มนุษย์” อย่างไร

ผลงานการติดตั้ง Covers (QueerArch)ของKang Seung Leeพุ่งความสนใจไปที่คอลเลคชั่นผลงานของ QueerArchที่แสดงมุมมองทางเลือกชุมชนแปลกประหลาดและประวัติศาสตร์ประเทศเกาหลีใต้ในช่วงสี่สิบปีที่ผ่านมา โดยยังคงให้ความเคารพเรื่องเล่าส่วนบุคคลที่จากหายไปจากประวัติศาสตร์กระแสหลัก

ผลงานเหนือจริงIda, Ida, Ida!ของ Olivia Erlangerแปลงพื้นที่ของพิพิธภัณฑ์มาเป็น laundromatสถานที่ที่เกือบจะไม่ใช่สถานที่ อุทิศเพื่อการรอและมองดูเวลาที่ผ่านไปLaundromatเป็นที่อยู่อาศัยของนิทานนางเงือก สะท้อนให้เห็นถึงการปรากฏตัวสิ่งมีชีวิตลูกผสมที่ไม่ระบุเพศ ทำให้เกิดคำถามมากมายเรื่องการเคลื่อนย้าย การผสม และรูปแบบทางเพศ
