A Century of Perfect Guitars
ในวงการเครื่องดนตรีนั้น เครื่องหมายแสดงความชั้นเลิศก่อนที่จะได้ฟังการบรรเลงก็คือแบรนด์ที่ประทับอยู่บนเครื่องดนตรีจำเพาะชิ้นนั้นๆ นั่นเอง ในส่วนของเปียโนก็คงไม่มีใครสู้ Pleyel (เพลย์เยล) ได้ ในขณะที่กีตาร์เองนั้น Gibson (กิ๊บสัน) ก็ครองตำแหน่งแชมป์มานานกว่าศตวรรษแล้ว และเราก็ได้ไปเยือนเมืองแนชวิลล์ แหล่งผลิตเครื่องดนตรีในตำนานของชาวร็อก และถิ่นกำเนิดของแบรนด์ Gibson นั่นเอง
[av_slideshow size=’no scaling’ animation=’slide’ autoplay=’false’ interval=’5′ control_layout=’av-control-default’ av_uid=’av-20mcucp’]
[av_slide id=’15435′ av_uid=’av-jeiroix’][/av_slide]
[av_slide id=’15436′ av_uid=’av-j05buo9′][/av_slide]
[av_slide id=’15437′ av_uid=’av-ipky0a1′][/av_slide]
[av_slide id=’15438′ av_uid=’av-i7ucgtl’][/av_slide]
[av_slide id=’15439′ av_uid=’av-hw14okp’][/av_slide]
[av_slide id=’15440′ av_uid=’av-1pu8d3d’][/av_slide]
[av_slide id=’15441′ av_uid=’av-gpcl6jt’][/av_slide]
[/av_slideshow]
เดือนธันวาคม อากาศหนาวเย็นและท้องฟ้าแจ่มใส ณ เมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี รถเปิดประทุนคันเก่าของผมแล่นผ่านย่านโรงงานบนถนนหินกรวดที่หลุดร่อนและเต็มไปด้วยรอยแตกจากน้ำหนักมหาศาลของรถบรรทุกและรถไฟที่วิ่งผ่านมาหลายสิบปี รอบๆ มีโกดังตั้งเรียงรายกันอยู่ ผมมองเห็นป้ายเล็กๆ ที่มีรูปโลโก้อันเป็นเอกลักษณ์ของ Gibson อยู่บนคำคำหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจน “Custom” ทำให้รู้ว่าผมได้มาถึงสถานที่ที่ผลิตกีตาร์ที่แพงและเป็นที่ต้องการมากที่สุดในโลกแล้ว
[av_slideshow size=’no scaling’ animation=’slide’ autoplay=’false’ interval=’5′ control_layout=’av-control-default’ av_uid=’av-g8cb015′]
[av_slide id=’15442′ av_uid=’av-g020tyh’][/av_slide]
[av_slide id=’15443′ av_uid=’av-fik22rt’][/av_slide]
[av_slide id=’15444′ av_uid=’av-eyfltvt’][/av_slide]
[av_slide id=’15445′ av_uid=’av-elvnokp’][/av_slide]
[av_slide id=’15446′ av_uid=’av-e5qigzt’][/av_slide]
[av_slide id=’15447′ av_uid=’av-dpn5k89′][/av_slide]
[av_slide id=’15448′ av_uid=’av-dbhxiix’][/av_slide]
[/av_slideshow]
Gibson Custom ทำฝันของคนรักกีตาร์ให้เป็นจริง เนื่องจากกีตาร์ที่ผลิตโดย Gibson ระหว่างช่วงต้น ’20s จนถึงกลางยุค ’60s กลายเป็นสุดยอดผลงานของช่างทำเครื่องดนตรีอเมริกัน ทั้งในแง่ของคุณภาพและเทคโนโลยี กีตาร์บางรุ่น อย่าง Les Paul Standard นั้นออกมาแล้วก็แป้กในทันที เพราะผู้คนตามไม่ทันผลงานที่ล้ำสมัยไปมากของ Gibson จึงเป็นที่น่าตกใจและไม่คาดคิดเมื่อบรรดาวงดนตรีร็อกในยุค ’70s ต่างหันมาฮิตใช้กีตาร์รุ่นนี้กันอย่างถล่มทลาย ดังนั้น บรรดากีตาร์รุ่นนี้จำนวน 1,700 ตัวที่ถูกผลิตในระหว่างปีค.ศ. 1958 – 1960 จึงกลายมาเป็นของวินเทจราคาแพงลิ่ว ซึ่งก็รอดชีวิตมาถึงปัจจุบันเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น
[av_slideshow size=’no scaling’ animation=’slide’ autoplay=’false’ interval=’5′ control_layout=’av-control-default’ av_uid=’av-1900sy1′]
[av_slide id=’15449′ av_uid=’av-c79olih’][/av_slide]
[av_slide id=’15450′ av_uid=’av-bnt5z55′][/av_slide]
[av_slide id=’15451′ av_uid=’av-b44o59l’][/av_slide]
[av_slide id=’15452′ av_uid=’av-12pd2y1′][/av_slide]
[/av_slideshow]
ทุกวันนี้ กีตาร์ Les Paul เป็นกีตาร์วินเทจที่มีมูลค่าสูงที่สุดในตลาด โดยเฉพาะรุ่นปี 1959 ซึ่งเป็นรุ่นที่ Jimmy Page (จิมมี่ เพจ) แห่ง Led Zepplin และ Billy Gibbons (บิลลี่ กิบบอนส์) แห่ง ZZ Top ใช้นั้น มีราคาสูงถึง 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในปัจจุบัน Gibson Custom รับหน้าที่ผลิตกีตาร์รุ่นใหม่ที่มีต้นแบบมาจากรุ่น Les Paul ในยุคทองนั้น และทำออกมาได้เหมือนจนน่าตกใจ Mal Koehler (มาล เคอห์เลอร์) ต้อนรับผมที่ประตูทางเข้าสตูดิโอทำกีตาร์ เขาตัวสูง ผอม และใส่แว่น ชื่อตำแหน่งของเขาคือ “ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์” ซึ่งเขาอธิบายว่าเป็น “ภาษาหรูๆ ที่แปลว่าผมคลั่งไคล้กีตาร์แบบสุดๆ” สำหรับนักกีตาร์หลายคน งานของเขาเป็นงานในฝันจริงๆ เขาพาผมเดินผ่านโรงเก็บไม้ ที่นี่เป็นที่ที่กีตาร์แต่ละตัวถือกำเนิดขึ้น
มีกองไม้มะฮอกกานีซึ่งต่อไปจะกลายเป็นตัวของกีตาร์รุ่น Les Paul ในไม่ช้า “เราทุ่มเงินซื้อไม้ชนิดนี้มากกว่าที่ไหนๆ” มาลกล่าว “ไม้มะฮอกกานีของเรามาจากฟิจิ เป็นพันธุ์เดียวกับมะฮอกกานีฮอนดูรัสที่เราใช้ทำรุ่นดั้งเดิม” ไม้มะฮอกกานีชนิดนี้ทำให้กีตาร์มีน้ำหนักเบากว่าและให้เสียงก้องกว่า น้ำหนักของไม้ถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมาก จึงถือเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการคัดชิ้นไม้ที่จะนำมาผลิตเป็นกีตาร์
[av_slideshow size=’no scaling’ animation=’slide’ autoplay=’false’ interval=’5′ control_layout=’av-control-default’ av_uid=’av-acfw8a1′]
[av_slide id=’15453′ av_uid=’av-a11mfbd’][/av_slide]
[av_slide id=’15454′ av_uid=’av-995el9l’][/av_slide]
[av_slide id=’15455′ av_uid=’av-94qma89′][/av_slide]
[av_slide id=’15456′ av_uid=’av-8iwyocp’][/av_slide]
[/av_slideshow]
หลังจากนั้น ลูกค้าก็จะเลือกสีและน้ำหนักของไม้ได้ตามใจชอบ โดยเนื้อไม้ที่ผลิตตัวกีตาร์อาจจะเป็นสีเดียวกัน หรือคนละสีกับไม้ที่ผลิตคอกีตาร์ สำหรับ Les Paul รุ่นพื้นฐาน รุ่นจูเนียร์ และรุ่นพิเศษ จะติดไม้เมเปิ้ลเข้ากับไม้มะฮอกกานีในส่วนบนของกีตาร์ การเลือกไม้เมเปิ้ลก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน “Edwin Wilson (เอ็ดวิน วิลสัน) เขาได้ชื่อว่าเป็นผู้ชุบชีวิตให้กับกีตาร์รุ่นนี้ในช่วงยุค ’80s ออกเดินทางไปทั่วสหรัฐอเมริกาเพื่อหาไม้เมเปิ้ลชนิดพิเศษโดยเฉพาะ” มาลกล่าว “เวลามีเจ้าหน้าที่ป่าไม้โทรมาบอกว่าเจอไม้อย่างที่เขาอยากได้ เขาจะรีบบึ่งไปขึ้นเครื่องบินเที่ยวแรกที่หาได้” ลูกค้าส่วนใหญ่มักสั่งให้เขาทำกีตาร์ให้เหมือนกับตัวที่เป็นประวัติศาสตร์ หรือทำตามรุ่นที่นักดนตรีคนใดคนหนึ่งใช้ และแบรนด์ก็ต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้กีตาร์ตัวใหม่นี้เหมือนรุ่นดั้งเดิมมากที่สุด โดยมีการสแกนกีตาร์อย่างละเอียดลออเพื่อวิเคราะห์ทุกส่วน ตั้งแต่ขนาดไปจนถึงคุณสมบัติเฉพาะต่างๆ “เราศึกษาและวิเคราะห์กีตาร์ของเราอย่างละเอียดถี่ถ้วน” เขาอธิบาย “ตอนนี้เรากำลังศึกษากีตาร์รุ่น Slash (ของวง Guns N’ Roses) ตัวที่ผลิตในปีค.ศ. 1958 อยู่อย่างละเอียดลออ เราเอากีตาร์เข้าเครื่องสแกนเลเซอร์และดูวิวัฒนาการตามธรรมชาติของไม้” กีตาร์รุ่น Slash เป็นตัวอย่างศึกษาที่ดี การที่ Les Paul ประสบความสำเร็จจนกลายเป็นกีตาร์ที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดในโลกนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีศิลปินคนดังนำออกแสดงในปลายยุค ’80s ทุกวันนี้ Les Paul เป็นกีตาร์รุ่นที่ผลิตมากที่สุดในบริษัท ตามด้วยแมนโดลิน หรือเครื่องดนตรีที่ทำให้บริษัท Gibson เป็นที่รู้จักกันในฐานะผู้ผลิตเครื่องดนตรี
[av_slideshow size=’no scaling’ animation=’slide’ autoplay=’false’ interval=’5′ control_layout=’av-control-default’ av_uid=’av-7vlhhe1′]
[av_slide id=’15468′ av_uid=’av-7p7sg7d’][/av_slide]
[av_slide id=’15467′ av_uid=’av-77rsfbd’][/av_slide]
[av_slide id=’15466′ av_uid=’av-6hen6q1′][/av_slide]
[av_slide id=’15465′ av_uid=’av-mhu4y1′][/av_slide]
[/av_slideshow]
เราเดินผ่านช่างที่กำลังทำแมนโดลินอยู่ ก่อนจะหยุดหน้าเครื่องจักรขนาดใหญ่สองเครื่อง “เครื่องพวกนี้ใช้แกะไม้ เป็นเครื่องที่ใช้ที่เมืองคาลามาซูในยุค ’30s ใช้ผลิตกีตาร์รุ่น Byrdland ทุกตัวที่แบรนด์เคยผลิตมา ไม่ว่าจะเป็นตัวที่ Billy Byrd (บิลลี่ เบิร์ด) Hank Garland (แฮงค์ การ์แลนด์) หรือ Ted Nugent (เท็ด นูเก็นต์) ใช้เล่น ล้วนแล้วแต่ผ่านเครื่องนี้มาทั้งนั้น รวมไปถึงรุ่น L5 อย่างที่ Wes Montgomery (เวส มอนท์โกเมอร์รี่) ใช้ด้วยนะ สุดยอดไปเลยว่าไหม” มาลพูดเสียงดังแข่งกับเสียงเครื่องแกะไม้รุ่นใหม่กว่าที่ตั้งอยู่ข้างๆ เครื่องนี้เรียกว่าเครื่อง CNC ซึ่งในขณะนั้นกำลังแกะไม้เพื่อทำกีตาร์รุ่น Les Paul อยู่พอดี เจ้าเครื่องตัวนี้สามารถผสมผสานระหว่างความสมบูรณ์แบบของเครื่องจักรเข้ากับความละเอียดอ่อน ของช่างฝีมือไว้ได้อย่างลงตัว และที่สำคัญ สามารถทำตามแผ่นสแกนกีตาร์ต้นแบบได้แบบไม่ตกรายละเอียดใดๆ เลย “ในช่วงยุค ’50s กีตาร์ทุกตัวทำด้วยมือ แต่ละตัวจึงมีเอกลักษณ์ของตัวเอง บางคนอาจจะบอกว่า การใช้เครื่องจักรผลิตกีตาร์ทำให้เสน่ห์ตรงนี้ขาดหายไป แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าเครื่องนี้ทำให้เราได้ชิ้นงานที่ออกมาใกล้เคียงกับกีตาร์ทำมือในยุคนั้นจริงๆ” หลังจากใช้เครื่องขัดตัวกีตาร์ให้เรียบกริบแล้ว (ซึ่งเครื่องจักรนี้ก็ควบคุมด้วยคน ทำให้ต้องอาศัยประสบการณ์สูงในการควบคุมให้เครื่องจักรขัดออกมาให้เรียบที่สุด) ก็เป็นหน้าที่ของช่างในการประกอบมือทั้งหมด ตั้งแต่ส่วนคอ ไปจนถึงส่วนหัว “พวกเราก็ช่างไม้ดีๆ นี่แหละ” มาลพูดแข่งกับเสียงเครื่องควบคุมความชื้นในอากาศ เพื่อรักษาความชื้นสัมพัทธ์ให้เหมาะสมกับเนื้อไม้ และป้องกันฝุ่นเกาะผิวหน้าไม้ “พนักงานทุกคนที่นี่ก็คือช่างไม้ฝีมือเยี่ยม”
[av_slideshow size=’no scaling’ animation=’slide’ autoplay=’false’ interval=’5′ control_layout=’av-control-default’ av_uid=’av-5nbjf0p’]
[av_slide id=’15465′ av_uid=’av-5drpl61′][/av_slide]
[av_slide id=’15464′ av_uid=’av-4zqnkp5′][/av_slide]
[av_slide id=’15463′ av_uid=’av-4csc27d’][/av_slide]
[av_slide id=’15462′ av_uid=’av-3x0xyp5′][/av_slide]
[/av_slideshow]
หลังจากทาสีและลงแล็กเกอร์แล้ว กีตาร์ส่วนใหญ่ต้องผ่านกระบวนการที่ทำให้ดูเก่าขึ้นอีกเป็นสิบๆ ปี ขั้นตอนนี้ถือเป็นความลับในการผลิต ผมจึงไม่มีโอกาสได้เข้าไปดู แต่เดาได้ว่าคงต้องเป็นกระบวนการที่รุนแรงไม่น้อย ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งที่หลังจากแต่ละขั้นตอนที่บรรจงทำอย่างประณีตเพื่อสรรสร้างกีตาร์ที่สมบูรณ์แบบที่สุดต้องมาจบที่ขั้นตอนอะไรอย่างนี้ “ก็ตกใจกันทุกคนนั่นแหละ” มาลหัวเราะชอบใจ และการทำให้เก่านั้นมีหลายระดับ ตั้งแต่ริ้วรอยที่เกิดขึ้นบนสีและแล็กเกอร์ที่ลงไว้ ไปจนถึงส่วนที่เป็นโลหะอย่างปิ๊กอัพหรือลูกบิดที่ถูกทำให้เป็นรอย หรือทำให้เป็นเหมือนสนิม เขาชี้ให้ดูกีตาร์ของ Mike McCready (ไมค์ แม็คครีดี้) มือกีตาร์วง Pearl Jam ที่เขาสั่งทำให้ชิ้นส่วนบางชิ้นเป็นสนิมอย่างตั้งใจเพราะเหตุผลส่วนตัวด้านจิตใจ ดังนั้น ทุกส่วนของกีตาร์ไม่ว่าจะชิ้นเล็กแค่ไหนต่างก็มีความสำคัญ และส่งผลต่อคุณภาพและเสียงของกีตาร์ทั้งสิ้น ทั้งปิ๊กอัพตัวเล็กที่ต้องทำตามกีตาร์ต้นแบบ (แต่อาจจะปรับตามความต้องการของลูกค้าได้) ตัวพ็อตขนาดจิ๋วที่ใช้คุมเสียงก็มาจากแหล่งเดียวกับที่ใช้ในการผลิตยุค ’50s ในขณะที่ส่วนประกอบอื่นๆ ก็ถูกผลิตขึ้นเป็นพิเศษเพื่อให้เหมือนกีตาร์ต้นแบบ แม้กระทั่งกาวที่ใช้เชื่อมชิ้นส่วนก็เช่นกัน “เราใช้กาวหนังสัตว์แบบโบราณที่ใช้กันมาตั้งแต่เริ่มผลิตกีตาร์ตัวแรกๆ เพราะเป็นกาวที่แข็ง ยึดติดแน่น แต่มีความยืดหยุ่น ทำให้ได้เสียงที่มีพลังมากขึ้น”
[av_slideshow size=’no scaling’ animation=’slide’ autoplay=’false’ interval=’5′ control_layout=’av-control-default’ av_uid=’av-3b1r0w9′]
[av_slide id=’15461′ av_uid=’av-2swi7yh’][/av_slide]
[av_slide id=’15460′ av_uid=’av-2r5ozmx’][/av_slide]
[av_slide id=’15459′ av_uid=’av-21qnw09′][/av_slide]
[/av_slideshow]
ในที่สุด เราก็เดินมาจนบริเวณที่พิเศษที่สุดในสตูดิโอนี้ นั่นคือ โต๊ะทำงานของ Bruce Kunkel (บรูซ แคนเคล) ดีไซเนอร์ของโปรเจ็กต์ อาร์ทิสติก เขาเป็นช่างฝีมือตัวจริง ตอนที่เขาอายุได้แปดขวบ เขาทำเบนโจเป็นชิ้นแรกในชีวิต เขาเป็นช่างทำกีตาร์มาเกือบ 50 ปีแล้ว และเมื่อผมเดินไปถึงโต๊ะทำงานของเขา เขาก็อวดกีตาร์ที่เขาเพิ่งทำเสร็จให้ผมดู มีทั้งรุ่น Super 400 ที่มีเอกลักษณ์แบบยุค ’20s และรุ่น Les Paul ที่มีรูป Les Paul พร้อมลายเซ็นและคำนิยมสลักไว้ว่า “ขอบคุณทุกอย่างที่ทำให้มี Les Paul”
[av_slideshow size=’no scaling’ animation=’slide’ autoplay=’false’ interval=’5′ control_layout=’av-control-default’ av_uid=’av-1oihedl’]
[av_slide id=’15458′ av_uid=’av-13wepzd’][/av_slide]
[av_slide id=’15457′ av_uid=’av-inj549′][/av_slide]
[/av_slideshow]
ปิดท้ายด้วยเรื่องที่น่าประทับใจที่สุดของวัน เมื่อมาลกับบรูซนำกีตาร์ Les Paul True Historic ปี 1959 ที่ผลิตใหม่มาให้ผมลองสัมผัส ซึ่งกีตาร์ตัวนี้ราคาแพงกว่ากีตาร์ของผมกว่าสิบเท่า ผมใช้เวลาสักพักกว่าจะชินมือ และผมก็สัมผัสได้ถึงความละเอียดอ่อน ความทุ้มลึกของเสียง และสัมผัสที่เบาสบาย ผมรู้สึกได้ทันทีว่าวิถีการเล่นของผมเปลี่ยนไปอย่างมหาศาล