จับเข่าคุยกับชาคริต จันทร์รุ่งสกุล หรือที่รู้จักในวงการว่า ‘ไวท์’ ผู้ก่อตั้งบริษัท FireOneOne

Share This Post

- Advertisement -

Change Agent
ชาคริต จันทร์รุ่งสกุล 
ครีเอทีฟเอเจนซี่ที่เชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยี ให้บริการปรึกษาด้านแบรนด์ และการออกแบบ จะมีสักกี่คนที่หลงใหลทั้งเรื่องเทคโนโลยีและการออกแบบพร้อมทั้งสามารถนำทั้งสองสิ่งที่รักมาประยุกต์ทำเป็นอาชีพ และประสบความสำเร็จในระดับใหญ่ได้  คุณชาคริตคือคนที่ทำได้ ดีเสียด้วย

Low_8L1A0884

Prologue

เราไม่ค่อยแน่ใจว่านี่คือบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีหรือสำนักงานออกแบบ เพราะไม่บ่อยครั้งนักที่เราจะเจอเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเด็ดของ Moooi อยู่ในออฟฟิศคนทำงานด้านเทคโนโลยี แมกกาซีนดีไซน์วางเป็นตั้งๆ อาจเพราะชาคริต จันทร์รุ่งสกุล หรือที่รู้จักในวงการว่าไวท์ผู้ก่อตั้ง FireOneOne บริษัทดาวรุ่งเนื้อหอมที่เรามาเยือนแห่งนี้ มีความชื่นชอบเรื่องดีไซน์เป็นการส่วนตัว นอกจากนี้เขาเป็นทั้งครีเอทีฟ นักคิด นักปฏิบัติ นักลงทุน (Venture Capitalist) และผู้เชี่ยวชาญด้านอัญมณี ที่เป็นแฟนคลับของ Steve Jobs (สตีฟ จอปส์)  คงเพราะที่เป็นสาวกคอมพิวเตอร์แมคอินทอชมาตั้งแต่ยุคแรกๆ ทำให้เขาหลงใหลทั้งเรื่องเทคโนโลยีและการออกแบบไปพร้อมๆ กัน

จุดเริ่มต้นของ FireOneOne เริ่มต้นด้วยความบังเอิญ
วันหนึ่งชาคริตได้พูดคุยกับพนักงานในร้านแอปเปิ้ลตามประสาคนสนิทสนม พนักงานปรับทุกข์กับเขาว่า รีสอร์ตสุดหรูแห่งหนึ่งเพิ่งสั่ง Apple TV ไปใช้ในวิลล่าเกือบร้อยเครื่อง แต่เกิดปัญหาคือคนซื้อเข้าใจว่า Apple TV แต่ละเครื่องนั้นสามารถเชื่อมต่อเป็นเน็ตเวิร์กเดียวกัน แต่จริงๆ แล้ว Apple TV รุ่นแรก นั้นเป็นระบบสแตนอโลน ซึ่งขัดกับวัตถุประสงค์ของโรงแรมที่ต้องการให้บริการหนังนับพันเรื่องให้แขกแบบไม่อั้น หลังจากที่ได้ฟัง ชาคริตได้เสนอตัวเข้าไปลองแก้ปัญหา เขาบายพาสระบบเดิมของ Apple ทั้งหมด แล้วใช้ซอฟท์แวร์ (Open Source) เข้ามาเป็นระบบปฏิบัติการใหม่ สุดท้ายก็ได้ระบบเอ็นเตอร์เทนเมนต์ในแบบที่เจ้าของต้องการ ทั้งหมดนี้ใช้เวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง! ไม่เพียงเท่านั้น เขายังทำให้ระบบใหม่สามารถเชื่อมโยงกับเซอร์วิสของโรงแรมได้ เช่นการใส่วิดีโอการทำอาหาร ระบบคอมเมนต์ และเรตติ้งเชฟก็สนุก ทำคลิปใส่เข้ามาในระบบกันใหญ่ ผลคือยอดขายรูมเซอร์วิสของโรงแรมเพิ่มขึ้นชาคริตเล่าถึงความหลัง ปรากฏว่าทำให้เจ้าของเครือโรงแรมดังกล่าวต้องการซื้อเทคโนโลยีนี้ไปใช้กับโรงแรมในเครือทั่วโลก จากโปรเจ็กต์ที่ทำเอามันกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งบริษัท FireOneOne (ได้แรงบันดาลใจมาจากหมายเลขฉุกเฉิน 911)

เมื่อเราเริ่มบทสนทนา ชาคริตเล่าถึงจุดเปลี่ยนสำคัญของเทคโนโลยีครั้งสำคัญ คือตอนที่ iPhone รุ่นแรกออกวางตลาดในปีค.. 2007 เขามองว่านี่คือนวัตกรรมเปลี่ยนโลก (ตอนนั้น) ชาคริตเชื่อว่าในอนาคต ธุรกิจต่างๆ ก็จะต้องถ่ายโอนไปยังสมาร์ทโฟน จะเป็น
การย้าย (Migration) ครั้งสำคัญจาก 50  ปีที่แล้ว เราย้ายจากกระดาษไปยังคอมพิวเตอร์[ตั้งโต๊ะ] และคราวนี้ก็จากคอมพิวเตอร์
ตั้งโต๊ะ มายังสมาร์ทโฟนที่คนสามารถถือไปไหนมาไหนได้ตลอดเวลา

Next Innovation

อย่างไรก็ดี ชาคริตเชื่อว่าสมาร์ทโฟนถึงจุดสูงสุดแล้ว อะไรคือนวัตกรรมเปลี่ยนโลกชิ้นต่อไป? หรือจะเป็น Apple Watch ตามที่ Tim Cook (ทิม คุก) ซีอีโอของแอปเปิ้ลหมายมั่นหรือไม่ผมมองว่าคอนเซ็ปต์น่ะใช่ แต่อาจจะไม่ใช่ Apple Watch รุ่นแรกที่ครองโลกชาคริตมองว่า แนวคิดนั้นมาถูกทาง แต่ยังไม่ถึงจุดเปลี่ยนพฤติกรรม เขามองยาวๆ ว่าสุดท้ายแล้ว นาฬิกาทุกยี่ห้อจะมีบลูทูธที่เชื่อมกับโทรศัพท์มือถือเป็นอย่างต่ำสุดท้ายแล้วก็เป็นเรื่องความจำเป็นเริ่มมีแบรนด์หลายแบรนด์ที่ทำ อย่าง Bulgari หรือ IWC ก็เริ่มพัฒนาสมาร์ทวอตช์ของตัวเองนาฬิกาลักชัวรีตัวท็อปสุด ผมคิดว่า ยังไงก็จะยังเป็นเรื่องกลไกแบบเดิม แต่เชื่อว่าทุกแบรนด์จะมีรุ่นที่เป็นสมาร์ทวอตช์ ผมว่า TAG Heuer ฉลาด ที่ลองออกรุ่น Connected มาลองตลาด ซึ่งก็ขายได้ เป็นการสร้างลูกค้าอีกกลุ่มขึ้นมา

Next Chapter

ลูกค้าของ FireOneOne มีทั้งบริษัทยักษ์ใหญ่หลายหมื่นล้าน แบรนด์ระดับโลก ไปจนถึงธุรกิจ SME เราได้ทราบมาสักพักใหญ่ๆ แล้วว่าชาคริตทำงานให้กับ แสนสิริ บริษัทอสังหารายใหญ่ของเมืองไทย และแสนสิริต้องการซื้อกิจการของ FireOneOne ให้ชาคริตเข้าไปช่วยดูแลเรื่องนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัยของแสนสิริทั้งหมด หลังจากที่คุยอยู่นาน ชาคริตก็ตัดสินใจขายธุรกิจบางส่วนให้ นั่นก็คือส่วนที่เรียกว่า Property Tech ที่ FireOneOne ทำมากว่า  7 ปี โดยมีข้อตกลงว่า ชาคริตจะเข้าไปนั่งเป็นซีอีโอของบริษัท ดูแลกองทุนมูลค่ากว่า 200 ล้านบาทที่เป็นการร่วมทุนระหว่าง แสนสิริ และ ธนาคารไทยพาณิชย์ โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะขยายเป็นขนาดหมื่นล้านบาทภายในห้าปี ซึ่งกองทุนนี้จะเข้าไปลงทุนในสตาร์ทอัพที่เกี่ยวกับเรื่องที่อยู่อาศัย เช่น สมาร์ทโฮม, Internet of Things, AI (ปัญญาประดิษฐ์) และ Fintech ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอยู่อาศัย เช่น เรื่องรีไฟแนนซ์

ชาคริตเผยว่า ปีค.. 2017 แสนสิริจะมุ่งหน้าสู่สมาร์ทโฮมเต็มรูปแบบ โดยโครงการแรกคือ Wireless ที่ปัจจุบันเป็นคอนโดที่มีราคาขายต่อตารางเมตรสูงที่สุดในประเทศ และในอนาคตจะรวมถึงโครงการทุกระดับ บ้านหรือคอนโดราคา 2-3 ล้าน เพราะเขาได้เข้าไปลงทุนในสตาร์ทอัพไทยที่สามารถผลิตระบบสมาร์ทโฮมได้ในราคาถูกกว่าต่างประเทศหลายเท่าตัวเรียบร้อยแล้วนี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งในการจัดตั้งกองทุนนี้ขึ้นมาชาคริตมองว่าคนไทยเก่ง แต่ถูกมองข้าม ส่วนหนึ่งเพราะสตาร์ทอัพเหล่านี้ยังไม่มีช่องทางในการเข้าถึงลูกค้ารายใหญ่ๆ ได้พอเป็นสตาร์ทอัพรายเล็กๆ ก็ไม่มีใครสน แต่พออยู่ภายใต้แบรนด์ของผม ผมเชื่อว่าทุกเจ้ายอมรับ

ตอนนี้กระแส Fintech กำลังมาแรง สถาบันการเงินใหญ่ๆ หลายรายเริ่มหันมาลงทุนใน Fintech มากขึ้นเทคโนโลยีนั้นไม่มีพรมแดน คุณไม่สามารถไปขวาง Application ได้ ใครก็สามารถดาวน์โหลด AliPay ได้ หรือถ้าวันหนึ่ง Facebook ทำตัวเป็นกระเป๋าเงิน (Wallet) แล้วจะเกิดอะไรขึ้นชาคริตเชื่อว่างานของธุรกิจการเงินการธนาคารที่มีรูปแบบซ้ำๆ จะถูกแทนที่ด้วย AI โดยบริษัทใหม่ที่เขาจะไปนั่งตำแหน่งซีอีโอนั้น ได้หมายตาสตาร์ทอัพไทยที่ทำเรื่องรีไฟแนนซ์ไว้เรียบร้อยแล้ว

Startup Thailand?

นอกจากจะมีบริษัทของตัวเองอีกหนึ่งบริษัทแล้ว ชาคริตยังเจียดเวลาไปก่อตั้งโรงเรียนสำหรับฟูมฟักผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีชื่อว่า Wecosystem อีกด้วย เขาเป็นคนวงในที่รู้จักวงการสตาร์ทอัพของไทยถึงไส้ถึงพุง เมื่อเราถามถึงกระแสเห่อสตาร์ทอัพของรัฐบาล ชาคริตเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่รัฐควรเข้ามาสนับสนุนอย่างเข้าใจและถูกจังหวะเราอาจแบ่งขั้นตอนพัฒนาของธุรกิจสตาร์ทอัพออกเป็น 4 ขั้น คือ Idea (คิด) Start (เริ่ม) Survive (รอด) และ Scale (ขยาย) สตาร์ทอัพกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ตายตั้งแต่ Start ไป Survive เหตุผลหลักก็เพราะเงินไม่มี ทรัพยากรไม่พอ ถ้าเงินมีน้อยก็ไปจ้างคนเก่งๆ มาทำไม่ได้ ถ้าไปจ้างคนเก่งๆ ก็ค่าตัวแพงๆ แล้วเงินหมดก่อนที่จะหาลูกค้าได้ หลายประเทศใช้วิธีสนับสนุนทางการเงิน สตาร์ทอัพที่มีไอเดียดี ทีมที่ดี ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ผลักให้เขาไปสู่ขั้น Survive ให้ได้ หลายประเทศเข้ามาช่วยให้สตาร์ทอัพนั้นอยู่รอด เช่นในอิสราเอล หรือชิลี ที่รัฐให้เงินเปล่าแบบไม่ถือหุ้น หรือถ้ารัฐไม่ลงทุน ก็ให้นายทุนกิจการ (Venture Capitalist) เข้ามาลงทุน โดยที่รัฐให้ความเชื่อมั่นว่าจะซื้อคืนหุ้นในอนาคตเพราะเอกชนส่วนใหญ่มองแค่เรื่องผลตอบแทน บางไอเดียคิดว่าดี แต่ยังไม่ให้เงินสนับสนุน รอให้สตาร์ทอัพโตหน่อยค่อยมาลงทุน  ซึ่งบางครั้งสตาร์ทอัพไปไม่ถึงจุดนั้น ตรงนี้รัฐช่วยได้ และอีกอย่างหนึ่งคือ รัฐสามารถเป็นลูกค้าของสตาร์ทอัพไทยได้ เช่น iTax เป็นสตาร์ทอัพที่ทำเรื่องภาษีมานานแล้ว เก่งมาก กรมสรรพากรควรจะสนับสนุน แทนที่จะมาลงทุนทำแอพพลิเคชั่นเอง ซึ่งพอทำเองคนก็ไม่ไว้ใจอีก

ปัญหาใหญ่ของสตาร์ทอัพในประเทศไทยคือเรามีวิศวกรน้อยไป ผลิตออกมาปีละ 7-8 พันคน ซึ่งไม่พอ ปัจจุบันวิศวกรจำนวนมากไปทำงานที่เป็นรูทีนอย่างทำเว็บไซต์ แทนที่จะไปคิดสิ่งใหม่ๆ เช่นเรื่อง Wearable Tech ในประเทศอินโดนีเซียปีนึงผลิตวิศวกรกว่า 2 แสนคน ผมไม่อยากเห็นภาพว่าวันหนึ่งเราต้องอิมพอร์ตวิศวกรมาจากอินโดนีเซียนั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ชาคริตเกิดแนวคิดสร้างห้องเรียนเขียนโค้ดออนไลน์ต้องการสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่หันมาเรียนเขียนโค้ดกันมากขึ้นโดยเฉพาะนักเรียนสายอาชีวะ

Epilogue

หลังจากที่พูดคุยกันมาสักพักใหญ่จนคิดว่าใกล้ถึงปลายทางการสัมภาษณ์ เราถามถึงหนังสือกองโตกองในห้องทำงานของเขา
มีตั้งแต่ Non-Fiction เรื่องจิตวิทยา วิทยาศาสตร์ ไปจนถึงแมกกาซีนด้านการออกแบบตอนนี้สนใจเรื่อง Customer Behaviour (พฤติกรรมของผู้บริโภค) ซึ่งจะพาไปสู่ความเข้าใจเรื่อง AI ผมเคยข้ามไปอ่านหนังสือที่สอนเรื่องทำ AI โดยตรง แต่ไม่ได้ชุดข้อมูลที่ดี เพราะ AI จำเป็นต้องมีชุดข้อมูลมาให้เรียนรู้ ผมจึงคิดว่าเราควรเรียนรู้เรื่องพฤติกรรมผู้บริโภคก่อน แล้วเราถึงจะทำ AI สำเร็จ

- Advertisement -