เดือนกุมภาพันธ์อาจเป็นฤกษ์ดีในการยกระดับความสัมพันธ์ความรักไปสู่เลเวลที่จริงจังมากขึ้น

Share This Post

- Advertisement -

3 Things to Consider Before Co-Signing a Home Loan

เมื่อเดือนแห่งความรักโคจรมาถึงหลายๆ คู่อาจจะถือเป็นฤกษ์ดีในการยกระดับความสัมพันธ์ไปสู่เลเวลที่จริงจังมากขึ้น อาทิ ซื้ออสังหาริมทรัพย์ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นบ้านหลังเล็กๆ หรือ ห้องชุดขนาดใหญ่ ล้วนเป็นสินทรัพย์ที่มีราคาสูง ทำให้คู่รักหลายๆ คู่ต้องอาศัย “การกู้ร่วม”  จากสถาบันการเงินเพื่อให้ฝันที่จะมีบ้านร่วมกันเป็นความจริงขึ้นมาได้

การกู้ร่วมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับอนุมัติวงเงินกู้บ้าน เพราะรายได้รวมต่อเดือนที่สูงขึ้นสะท้อนถึงความสามารถในการชำระหนี้ให้กับผู้ปล่อยกู้หรือสถาบันการเงินนั่นเอง

ผู้กู้ร่วมหรือในทางกฎหมายจะเรียกว่า “ลูกหนี้ร่วม” จะต้องรับผิดชอบและต้องยอมรับในภาระหนี้ร่วมกัน ในกรณีที่ผู้กู้หลักไม่สามารถชำระหนี้ได้แต่ด้วยวงเงินกู้ที่สูง นั่นหมายความว่าผู้ที่ร่วมกู้กับคุณนั้นจะต้องร่วมหัวจมท้ายกับหนี้ก้อนโตไปเป็นระยะเวลานานหลายปี ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจกู้ร่วม คุณอาจจะต้องพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้

ความสัมพันธ์ระหว่างผู้กู้หลัก-ผู้กู้ร่วม

นอกจากความสัมพันธ์ฉันเครือญาติแล้ว คู่สมรส ไม่ว่าจะจดทะเบียนหรือไม่จดก็ตามสามารถกู้ร่วมได้ แต่จะต้องมีเอกสารที่แสดงตัวบุคคล และแหล่งที่มาของรายได้ชัดเจน โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้กู้ร่วมมักมีชื่ออยู่ในโฉนดด้วย

ภาระหนี้

หลังจากที่หักภาระหนี้ของผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมแล้ว รายได้จะต้องเหลือเพียงพอสำหรับค่าผ่อนบ้านตามหลักเกณฑ์ของธนาคาร ซึ่งปกติจะต้องไม่เกิน 40 – 50% ของรายได้ โดยธนาคารจะดูภาระผ่อนหนี้ต่อเดือนของผู้กู้จากเครดิตบูโร หากพบว่าผู้กู้และผู้กู้ร่วมมีภาระหนี้ผ่อนต่อเดือนสูงอยู่แล้ว การกู้ร่วมอาจจะไม่ได้ช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงินสักเท่าใดนัก ทั้งนี้ธนาคารส่วนใหญ่กำหนดให้มีผู้กู้ร่วมได้ไม่เกิน 2 คน

ความสามารถในการผ่อนชำระ 

หลังจากที่ธนาคารอนุมัติยอดกู้ แม้ว่าเราจะกู้ร่วม แต่ต้องคำนึงเสมอว่า หากต้องรับภาระผ่อนเพียงคนเดียวก็สามารถทำได้ ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจกู้ร่วม คุณควรคำนวณรายรับ – รายจ่ายทั้งหมดของทั้งคุณและ ผู้กู้ร่วม เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีเงินพอที่จะผ่อนชำระบ้านได้ในแต่ละเดือน รายได้บางอย่าง เช่น เงินจากการขายของหลังเลิกงานและไม่มีเอกสารแสดงที่มาของรายได้อย่างชัดเจน ซึ่งรายได้เหล่านี้ แม้สถาบันการเงินจะไม่นำมาใช้ในการพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ แต่รายได้เสริมเหล่านี้อาจช่วยให้คุณมีกำลังในการผ่อนชำระหนี้แต่ละเดือนได้ดีขึ้น สำหรับกรณีกู้ร่วมนั้น กรรมสิทธ์ในบ้าน/ คอนโดฯ มีได้ 2 แบบ ดังนี้ แบบที่ 1 การใส่ชื่อคนเดียวเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่เวลากู้มี    ผู้กู้ร่วม และแบบที่ 2 ใส่ชื่อผู้กู้ทุกคนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะเลือกกรรมสิทธิ์แบบหลังมากกว่า เพราะ    ให้สิทธิ์ในความเป็นเจ้าของที่เท่าเทียมกันไม่ว่าคุณจะเป็นผู้กู้หลักหรือ ผู้กู้ร่วม แต่ก็มีข้อพึงระวัง คือหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันหรือมีเหตุ ที่ทำให้ต้องขายบ้าน/ คอนโดฯ นั้นๆ จะต้องได้รับการยินยอมจาก   ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมก่อน จึงจะสามารถดำเนินการได้ แม้ว่าการกู้ร่วมจะเป็นหนทางที่ช่วยให้คุณมีบ้านในฝันได้ง่ายขึ้น แต่ก่อนตัดสินใจครั้งสำคัญ คุณควรพูดคุยและทำความเข้าใจกับอีกฝ่ายให้เคลียร์ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหลังได้

**FYI**

40% ของรายได้คืออัตราขั้นตำ่ที่แบงก์พิจารณาความสามารถในการผ่อนชำระของผู้กู้

50 : 50 สิทธิที่คู่รักกู้ร่วมสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีจากดอกเบี้ยที่จ่ายในการผ่อนหนี้บ้านต่อปี

100,000 คือเพดานอัตราลดหย่อนภาษีจากดอกเบี้ยผ่อนบ้านต่อปี

- Advertisement -