เมื่อพิพิธภัณฑ์หัวแถวในประเทศฝรั่งเศสร่วมใจกันจัดนิทรรศการระลึกนักออกแบบอุตสาหกรรมคนสำคัญ

Share This Post

- Advertisement -

form follows money
โดยที่ Centre Pompidou จัดนิทรรศการระลึกถึง Pierre Paulin (ปิแยร์ โปแลง) และที่ Musee des Arts decoratifs ก็อุทิศพื้นที่ให้ Roger Tallon (โรแฌร์ ตาลง) ลอปติมัมจึงขอเกาะกระแสโดยการนำคุณผู้อ่านไปรู้จักกับเฟอร์นิเจอร์ประมูลห้าชิ้นที่เปรี้ยงที่สุดในโลกอินดัสเตรียลดีไซน์สมัยใหม่

การจัดนิทรรศการนั้นนอกจากจะทำให้เกิดกระแสต่างๆ ในวงการศิลปะอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว มันยังเป็นเครื่องมืออันทรงพลัง
ในการสื่อสารตัวตนของศิลปินผู้รังสรรค์งานเหล่านั้นอีกด้วย อาจกล่าวได้ว่า การจัดนิทรรศการงานศิลป์นั้นคืออีกวิธีการหนึ่งในการประเมินค่า (อันหมายถึงมูลค่าหรือราคา) และความหมาย (อันหมายถึงคุณค่าในเชิงศิลปะ) ที่ซ่อนไว้ในงานศิลปะชิ้นนั้นๆ อย่างเป็นรูปธรรม และในบริบทที่เราจะกล่าวถึงนั้น “งานศิลปะ” ในที่นี้ก็คือเฟอร์นิเจอร์วินเทจและลิมิเต็ดอีดิชั่นต่างๆ ที่ถูกนำออกมาสู่ตลาดและสายตาประชาชนอีกครั้งหนึ่ง และมันก็ไม่ได้มาเดี่ยวๆ แต่มาพร้อมกับประวัติและความสามารถของดีไซเนอร์ที่ออกแบบพวกมันอีกด้วย เฟอร์นิเจอร์ประเภทที่เป็นงานศิลปะด้วยนี้ได้รับความนิยมมากในช่วงก่อนยุคมิลเลนเนียม ซึ่งในยุคนั้นมีการจัดงานประมูลสินค้ากันอย่างแพร่หลาย ถือเป็นกลยุทธ์ในการขายอันแยบยล เพราะมันคือการเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อมีโอกาสกำหนดราคาด้วยตัวเอง และการจัดประมูลนั้นคือการรวบรวมสินค้าคอลเลกชั่นพิเศษต่างๆ พร้อมกำหนดหัวข้อการประมูลสุดแนวเพื่อดึงดูดกลุ่มผู้ซื้อ ไม่ว่าจะเป็นธีม Light is More หรือ Black in Domestic Landscape ที่จัดขึ้นที่โรงประมูล Artcurial (ที่สร้างขึ้นอย่างใหญ่โตในปีค.ศ. 2002 ไว้สำหรับประมูลสินค้าแนวๆ นี้โดยเฉพาะ) นอกจากนั้นยังมีการจัดนิทรรศการงานศิลป์และจัดประมูลเฟอร์นิเจอร์งานศิลป์มูลค่าสูงอย่างงาน PAD Paris ที่เพิ่งเฉลิมฉลองครบรอบปีที่ 20 ไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และงาน PAD London ที่กำลังจะฉลองครบรอบ 10 ปีในฤดูใบไม้ผลิหน้า รวมไปถึงเทศกาลแสดงงานออกแบบอย่างเทศกาล D’Days ครั้งที่ 16 จัดขึ้นตั้งแต่ 30 พฤษภาคม – 5 มิถุนายนในธีม “R/Evolution”หรือถ้าจะมองในแง่ของการตลาด การจัดงาน Art Basel

ที่เมืองบาเซล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดีอย่างหนึ่ง โดยงานจัดสองครั้งในหนึ่งปี คือในเดือนธันวาคมและเดือนมิถุนายน ถือเป็นงานที่นักสะสมทั่วโลกเดินทางไปเสาะแสวงหางานศิลปะที่ตนชื่นชอบ นอกจากนั้นยังเป็นงานรวมตัวพ่อค้า กรรมการตัดสินงานศิลป์และนักวิจารณ์ และผู้จัดเดียวกันก็จัดงาน Design Miami ที่เมืองไมอามี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา (เพื่อรองรับนักสะสมชาวอเมริกาและอเมริกาใต้) และปีค.ศ. 2013 ก็ยังจัดงาน Art Basel พิเศษขึ้นที่ประเทศฮ่องกง เพื่อรองรับนักสะสมในภูมิภาคนี้อีกด้วย และก็เป็นที่แน่นอนว่าบรรดานักสะสมต่างก็มุ่งหน้าไปที่งานนี้กันอย่างคึกคัก “สำหรับนักสะสมผลงานศิลปะแล้ว พวกเขาคงไม่อยากได้เฟอร์นิเจอร์หน้าตาธรรมดาที่หาได้ตามท้องตลาดหรอก พวกเขาก็อยากจะได้เฟอร์นิเจอร์ที่มีค่าเทียบเท่ากับคอลเลกชั่นงานศิลปะของพวกเขานั่นล่ะ” Cédric Morisset (เซดริก โมริเซ) ให้สัมภาษณ์ เขาเคยเป็นที่ปรึกษา และทำพีอาร์ให้กับดีไซเนอร์ชื่อดังอย่าง Noé Duchaufour-Lawrance (โนเอ ดูโชฟูร์-โลรองซ์) และ Paco Rabanne (ปาโก ราบาน) ในโปรเจ็กต์การออกแบบขวดน้ำหอมชุด ‘1 Million’ และเคยเป็นทำงานด้านดีไซน์ให้กับ Piasa ในปัจจุบันเซดริกเป็นผู้บริหารร่วมของแกเลอรี Carpenters Workshop ที่ตั้งขึ้นในปีค.ศ. 2006 โดยมีคอนเซ็ปต์คือ ‘ห้องที่ตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบโดยศิลปินเท่านั้น’ ปัจจุบันแกเลอรีนี้รับจัดงานนิทรรศการทั้งที่กรุงลอนดอน กรุงปารีส และกรุงนิวยอร์ก

ในขณะที่ Fabien Naudan (ฟาเบียง โนดอง) รองประธานโรงประมูล Artcurial ได้ออกความเห็นในเรื่องการได้รับการยอมรับในสังคมปัจจุบันไว้ว่า “สำหรับคนสมัยใหม่นั้น การได้เป็นเจ้าของผลงานศิลปะร่วมสมัยสักชิ้น หรือหลายๆ ชิ้นต่างก็เป็นภาพลักษณ์ที่ทุกคนยินดีที่จะแสดงให้คนรอบข้างเห็น ผู้คนที่คลุกคลีในวงการอินดัสเตรียลดีไซน์ หรือวงการศิลปะร่วมสมัยนั้นต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่า ราคาและคุณค่าของงานศิลป์เหล่านี้นั้นมีแต่จะสูงขึ้นทั้งจากปัจจัยด้านคุณค่าในตัวของมันเอง และปัจจัยแวดล้อมของสังคม” ประจักษ์พยานที่ชัดเจนนั้นก็ได้แก่ การประมูลภาพวาด “Les Femmes d’Alger” ของ Pablo Picasso (ปาโบล ปิคาสโซ) ที่ Christie’s New York เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2015 นั้นเคาะราคาไปที่ 179.365 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการทำลายสถิติการประมูลภาพ “Three Studies of Lucian Freud” โดยFrancis Bacon (ฟรานซิส เบคอน) ที่ประมูลไปเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2013 ที่ราคา 142.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และสถิติการประมูลสูงสุดในโลกของเฟอร์นิเจอร์คอลเลกชั่น “Lockheed Lounge” โดย Marc Newson (มาร์ก นิวสัน) ที่จัดประมูลที่ Phillips London ในวันที่ 28 เมษายน 2015 ในราคาถึง 4.69 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และราคาของเฟอร์นิเจอร์และงานศิลปะเหล่านี้นั้นก็รังแต่จะพุ่งสูงขึ้นไปตามวันเวลาที่ผ่านไปเซดริกสรุปจบท้ายไว้ว่า “ราคาของงานพวกนี้ไม่มีคำว่า ‘สูงเกินไป’ เพราะมันสามารถวัดได้จริงๆ ว่าราคาเหล่านั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร เพราะเรารู้กระบวนการผลิต ต้นทุนทั้งค่าวัสดุและแรงงาน ซึ่งก็รวมไปถึงคุณภาพของการผลิตชิ้นงานนั้นๆ ด้วย ยกตัวอย่างงานที่ผลิตจากแก้วมูราโน (Murano) ในยุค ’50s หรือคอลเลกชั่นเฟอร์นิเจอร์ทองสัมฤทธิ์ของ Vincent Dubourg (แวงซองต์ ดูบูรก์) ก็คงเห็นได้ชัดเจน และผมบอกได้เลยว่า นี่เป็นเพียงเสี้ยวเดียวของวงการประมูลงานศิลป์เท่านั้น และวงการนี้ก็เพิ่งจะเริ่มต้น เราคงต้องจับตากันต่อไปในระยะยาว”

226_001.pdf

-10 ชิ้นที่ผลิตจริง + 4 AP (Artist’s Proofs) และต้นแบบอีกหนึ่งชิ้น

-เคาะราคาที่ £2,434,500 เมื่อ 28 เมษายน 2015  ที่ Phillips London

-1990 ปีที่ผลิตผลงาน

MARC NEWSON (ชาวออสเตรเลีย เกิดที่ซิดนีย์ ในปีค.ศ. 1963)

เขาเป็นหนึ่งใน “100 ผู้ทรงอิทธิพลในโลก” ที่จัดอันดับโดยนิตยสาร Time

เก้าอี้เลาจน์รุ่น “Lockheed Lounge”

ทำจากแผ่นอะลูมิเนียม เชื่อมติดกันด้วยหมุดโลหะ

jean-prouve-unique-table-trapeze-dite-table-centrale-1956-artcurial-6

เคาะราคาที่ €1,241,300 เมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 ที่ Artcurial Paris

ความยาว 3.30 ม.

1956 ปีก่อตั้งมหาวิทยาลัย Antony

JEAN PROUVÉ  (ชาวฝรั่งเศส เกิดที่ปารีส ในปีค.ศ. 1901 เสียชีวิต ที่นองซีในปีค.ศ. 1984)

โต๊ะอเนกประสงค์รุ่น The “Trapéze Table” หรือ “Table Centrale”

ขาทำจากเหล็กกล้าเคลือบแล็กเกอร์ สีดำ ท็อปทำจากไม้เนื้อแข็ง

23972148_fb_a

เคาะราคาที่ $3,824,000 เมื่อ 9 มิถุนายน 2005 ที่ Christie’s New York

ขนาด 157.20 x 86 ซม.

1949 ปีที่ผลิตผลงาน

CARLO MOLLINO (ชาวอิตาเลียน เกิดที่ตูริน ในปีค.ศ. 1905 เสียชีวิต ในปีค.ศ. 1973)

UNIQUE OAK AND  GLASS TABLE

ออกแบบให้กับ Casa Orengo (เมืองตูริน)

ron-arad-bibliotheque-restless-bis-artcurial-2

เคาะราคาที่ € 373,800 เมื่อ 27 ตุลาคม 2014 ที่ Artcurial Paris

2007 ปีที่ผลิตผลงาน

ขนาด 188 x 246.40 x 43.20 ซม.

RON ARAD (ชาวอิสราเอล เกิดที่เทลอาวีฟ ในปีค.ศ. 1951)

ชั้นวางหนังสือรุ่น “RESTLESS” ทำจากเหล็กกล้าที่ไม่ขึ้นสนิม

- Advertisement -