ขอต้อนรับเข้าสู่โลกแห่งวงการแฟชั่นชาย โลกที่เต็มไปด้วยสิ่งแปลกใหม่

Share This Post

- Advertisement -

a brief history of modern men’s fashion 

1996-2006 โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ด้วยผลพวงทางเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านความคิดสร้างสรรค์ และความต้องการเป็นที่ยอมรับของมนุษย์ในสังคม

เรื่องแฟชั่น ตั้งแต่เจเนอเรชั่นเอ็กซ์ มาจนถึงปัจจุบัน

เด็กน้อยที่เกิดในยุค Baby Boom ซึ่งตอนนี้ได้เข้าสู่วัยกลางคนกันแล้วนั้น ในช่วงอายุ 20-30 ปี สมัยที่พวกเขายังเป็นหนุ่มเป็นสาวในวัยเรียน ไม่ว่าจะเป็นไฮโซปาริเซียงหรือคนฐานะปานกลางที่อาศัยอยู่ในย่านแออัดของปารีส ก็ล้วนแต่เป็นพวกติดแบรนด์ติดเทรนด์กันทั้งนั้น ทั้งเจเนอเรชั่นนี้เลยกลายเป็นผู้เสพติดการบริโภคไปโดยปริยาย พอมาถึงในช่วงที่เสื้อผ้า Ready-to-Wear ของผู้ชายก้าวเข้าสู่วงการในช่วงยุค ’90s คอลเลกชั่นเสื้อผ้าผู้ชายก็โผล่กันขึ้นมาเป็นดอกเห็ด โดยในช่วงแรกก็จะมีสไตล์ที่ชัดเจน ส่วนมากก็นำขบวนโดยดีไซเนอร์ฝั่งญี่ปุ่น แถบสแกนดิเนเวียและอิตาลี หลังจากนั้นดีไซเนอร์ประเทศอื่นๆ จึงค่อยๆ ทยอยตามกันมา เนื่องจากเป็นช่วงที่คนส่วนใหญ่ชอบใช้จ่าย มีกลุ่มแบรนด์ใหญ่หลายๆ แบรนด์รวมตัวกันเกิดขึ้น อาทิ LVMH, PPR, Prada Group และมีแบรนด์อย่าง Gucci (กุชชี่), Prada (ปราด้า) และ Ralph Lauren (ราล์ฟ ลอเรน) ควบคุมตลาดแฟชั่นเกือบทั้งหมด โดยแบรนด์เหล่านี้ได้ออกสินค้าและโปรโมททำการตลาดอย่างดีจนเป็นที่รู้จัก ลูกค้าก็ได้เรียนรู้สไตล์ต่างๆ จากการตลาดของแบรนด์พวกนี้ด้วย เลยพากันติดลม คนเริ่มสนุกกับเสื้อผ้าและเครื่องประดับ จะจับจ่ายอะไรก็ง่ายไปหมด การแต่งตัวเลยกลายเป็นเหมือน “การเล่นเกม” มีการคิดค้นคำนิยามให้กับผู้ชายที่ติดแฟชั่นว่า Metrosexual มาถึงยุคปัจจุบันเจเนอเรชั่นดังกล่าวก็ยังเป็น “ลูกค้าชั้นยอด” ที่ซื่อสัตย์กับแบรนด์พวกนี้อยู่

089

CHRONOLOGICAL ORDER

Before 1996 The Year of ‘’Minimalism’’

ในสมัยนั้นแฟชั่นผู้ชายยังเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึงกันมากนัก การแต่งกายเป็นเรื่องของคนชั้นสูงเท่านั้น ซึ่งคนเหล่านี้ก็จะมีสไตล์การแต่งตัวที่แตกต่างจากชนชั้นอื่นอย่างเห็นได้ชัดอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ผู้ชายกับแฟชั่นจะดูเป็นสิ่งที่ไม่เข้ากันในตอนแรก แต่ในเวลาต่อมาตลาดแฟชั่นผู้ชายก็เริ่มเป็นที่พูดถึงกันมากขึ้น โดยผู้บุกเบิกเรื่องเสื้อผ้าผู้ชายก็จะเป็นดีไซเนอร์แถบสแนดิเนเวียและเอเชีย โดยเฉพาะญี่ปุ่นอย่าง Yohji Yamamoto (โยจิ ยามาโมโต้), Rei Kawakubo (เร คาวาคูโบ) แห่ง Comme Des Garçons (กอม เดอ การ์ซองส์) และ Junya Watanabe (จุนยา วาตานาเบ) และจากเบลเยี่ยมอย่าง Raf Simons (ราฟ ซีโมนส์), Dries Van Noten (ดริส วาน โนเทน), Martin Margiela (มาร์แตง มาร์จิเอลา) และ Ann Dumeulemesster (ออง เดอมูเลอมิสเตอร์) ทุกคนล้วนแต่เป็นรุ่นบุกเบิกในวงการแฟชั่นเสื้อผ้าชายทั้งสิ้น

1996 the “Sexy” Year

นำโดยดีไซเนอร์ผู้กุมบังเหียนการออกแบบให้กับแบรนด์ Gucci (กุชชี่) เป็นเวลาถึง 4 ปี (1994-1998) อย่าง Tom Ford (ทอม ฟอร์ด) เขาปลุกโลกแห่งวงการแฟชั่นชายที่หลับใหลให้กลับมีชีวิตด้วยสไตล์การออกแบบที่แปลกใหม่ เติมความเซ็กซี่ให้เสื้อผ้าผสมกับการตลาดที่ดึงดูดความสนใจของคนในสมัยนั้นได้มาก เปลี่ยนโลกของแฟชั่นผู้ชายไปอย่างสิ้นเชิง แบรนด์อื่นๆ ที่มีอิทธิพลในยุคนี้ก็ได้แก่ Dolce&Gabbana (ดอลเช่แอนด์แกบบาน่า), Versace (เวอร์ซาเช่) และ Roberto Cavalli (โรแบร์โต คาวาลลี) ซึ่งรายได้ก็ไม่น้อยกว่าดีไซเนอร์อย่างทอม ฟอร์ดเลย

2000 The Year of “Mass Market”

เครื่องแต่งกายในยุคนี้เริ่มมีความเป็นชายมากขึ้น เข้าถึงตลาดกลุ่มใหญ่ ผู้ชายหันมาสนใจเรื่องการแต่งตัว เสื้อผ้าผู้ชายขายดีขึ้นมาก คนเริ่มติดแบรนด์ แบรนด์ที่เด่นๆ ก็คือ Ralph Lauren (ราล์ฟ ลอเรน), Tommy Hilfiger (ทอมมี่ ฮิลฟิเกอร์), Prada (ปราด้า), Giorgio Armani (จอร์โจ้ อาร์มานี่) และ Paul Smith (พอล สมิธ) ซึ่งเป็นแบรนด์ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองและมีความเป็นผู้ชายสูง

FASHION DICTIONARY

4 ไอเท็มสำคัญสำหรับวัย 30-50

TRAVEL SUIT

กลายเป็นผลงานโบว์แดงของแบรนด์เสื้อผ้าชั้นสูง เพื่อตอบสนองกับความต้องการของนักธุรกิจที่ต้องเดินทางบ่อยๆ ด้วยฟังก์ชั่นผ้าที่น้ำหนักเบาและยับยากเหมาะกับการเดินทาง

HYBRID

บรรดาไอเท็ม 2 in 1 ที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานหลากหลาย ทั้งเสื้อผ้า และแอกเซสเซอรีที่ใช้งานได้หลายแบบเพื่อให้รับกับชีวิตที่ดำเนินไปด้วยความเร่งรีบ

ACTIVE TAILORING

Ready–to-Wear ของผู้ชายจะเน้นไปที่การใช้ “Smart Fabrics” หรือวัสดุที่ทนทานผสมกับเทคนิคพิเศษเพื่อให้ได้เครื่องแต่งกายที่ทนกับทุกสภาพการใช้งาน อย่างแบรนด์ Eclectic (เอ็กเลกติก) ก็คิดค้นผ้าแบบพิเศษให้กับองค์การ NASA

BAGGAGE “48H”

เพราะชีวิตนั้นวุ่นวายและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา กระเป๋าใบใหญ่ๆ ที่เคยเป็น Weekend Bags ได้ถูกนำมาใช้ในช่วงวันธรรมดาด้วย เพื่อรับกับความจุตามต้องการในช่วงทำงานในเมือง กระเป๋าแบบนี้ไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะการเดินทางไปต่างเมืองอย่างเดียวอีกต่อไป มีการปรับแต่งแบบให้รับกับชุดในวันทำงานสำหรับผู้ชายมากขึ้น

—————————————

JACK IN THE BOX

แบรนด์ที่คุณอาจจะไม่ได้นึกถึง แต่ในความเป็นจริงแล้วมีสไตล์ที่เหมาะกับคุณอย่างยิ่ง แบรนด์ที่ว่าก็คือ Fendi (เฟนดิ) เพราะครีเอทีฟ ไดเร็กเตอร์ชาวอิตาเลียนของไลน์เครื่องแต่งกายชายอย่าง Silvia Fendi (ซิลวี เฟนดิ) นำเสนอสัดส่วนของผู้ชายผ่านเสื้อผ้าออกมาได้อย่างดี ทำให้เวลาสวมใส่แล้วดูเด็กลง โดยผสมลูกเล่นความร่วมสมัยที่ไม่มากและไม่น้อยเกินไปเข้าไปในเสื้อผ้า ถ้าคุณต้องการให้โลกรู้ว่าคุณมีสไตล์และอินเทรนด์ขนาดไหน แบรนด์ Fendi นี่แหละที่คุณต้องไปหาซื้อมาใส่ ลองดูภาพเป็นตัวอย่างได้

29

Look 29 

ตัวคุณ + สีสันของเสื้อผ้า

33

Look 33

ตัวคุณ + เข็มกลัดไซส์ XXL

40

Look 40

ตัวคุณ +แอกเซสเซอรีห้อยคอ

————————————

EXPERT’S THOUGHTS

3 คำถามกับ Serge Careira (แซร์เจ คาเรร่า) ผู้บริหารแบรนด์ Miu Miu และ Prada Group และหัวหน้าการประชุม Sciences-Po <<ในปัจจุบัน เจเนอเรชั่นวายอย่างเราๆ ก็ย้อนกลับไปหวนหาสไตล์ของยุคก่อน>>

1.อะไรคือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปในโลกแฟชั่นชายของทั้งสองเจเนอเรชั่นที่ผ่านมาในช่วง 20 ปี

ผมไม่คิดว่ามีอะไรที่เปลี่ยนไปเยอะนะ เจเนอเรชั่นเอ็กซ์เป็นวัยที่การแต่งกายแบบ Total Look ถูกกำจัดไปอย่างสิ้นเชิง พวกเขาได้ฉีกกฎเดิมๆ ในวงการแฟชั่นที่คนในยุคก่อนพวกเขาตั้งเอาไว้ ด้วยความที่ในวัยของพวกเขามีดีไซเนอร์หัวคิดใหม่ๆ ที่คิดค้นทั้งสปอร์ตแวร์ และไอเท็มอื่นๆ มากขึ้น น่าจะเป็นตรงนี้มากกว่าที่เปลี่ยนไป ซึ่งได้อิทธิพลมาจาก Helmut Lang (เฮลมุท แลง) และ  Jil Sander (จิล แซนเดอร์) เป็นช่วง “Minimalism” ซึ่งเป็นคู่ตรงข้ามกับนิยามคำว่า “Glamour” ในช่วงยุคปี 1980 โดยสิ้นเชิง ลดการเปิดเนื้อหนังและเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลไป สำหรับในปัจจุบัน เจเนอเรชั่นวายอย่างเราๆ ก็ย้อนกลับไปหวนหาสไตล์ของยุคก่อน เพียงแต่มีสไตล์ที่เปิดกว้างมากขึ้น แต่ผมก็ยังติดว่าเจเนอเรชั่นนี้ยังไม่กล้าเล่นกับสไตล์ยุคก่อนมากนัก พวกดีไซเนอร์อย่าง Martin Margiela (มาร์ติน มาจิเอล่า) และ Raf Simons (ราฟ ซีโมนส์) มีอิทธิพลอย่างมากในวงการแฟชั่นชาย ความแปลกใหม่ที่ดูเหมือนจะแปลกแยกในตอนแรกของพวกเขากลับอยู่ในวงการมาอย่างยาวนาน และก็กลายเป็นสไตล์ที่ทุกคนพูดถึงในวงการแฟชั่นชายมาตลอด

2.สิ่งที่เหมือนกันของสองเจเนอเรชั่นนี้คืออะไร

สองเจเนอเรชั่นนี้เค้ามีความสัมพันธ์กันนะ สิ่งที่ทั้งสองรุ่นเหมือนกันก็คือความเป็นปัจเจกนิยม การแต่งกายจะเน้นไปที่การได้แสดงความเป็นตัวเอง โดยมีการมิกซ์แอนด์แมตช์เสื้อผ้าในแบบของตัวเอง แต่ในความเป็นตัวเองนั้นก็ต้องมีการตามกระแสหลักไปด้วย เป็นกึ่งกลางระหว่างสไตล์ตัวเองและเทรนด์ การทำแบบนี้ก็เป็นอีกสไตล์หนึ่งที่เรายังไม่มีคำนิยามที่จะเรียกอย่างชัดเจน

3.แล้วสิ่งที่ต่างกันล่ะ

คนรุ่นอายุ 40 ปีในปัจจุบันเป็นรุ่นกึ่งกลางระหว่างสองยุคสมัยที่ต่างกันมาก สมัยก่อนหน้าคือเป็นช่วงที่ทุกอย่างหยุดนิ่ง ส่วนอีกยุคหนึ่งเต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลง พวกเขาเป็นรอยต่อระหว่างสองช่วงจึงเป็นวัยที่มีความไม่ชัดเจน แล้วยังต้องมาวิ่งตามยุคดิจิตอลที่หมุนเร็วอีก ปัจจุบัน เจเนอเรชั่นเอ็กซ์ไม่ได้เป็นวัยที่ขับเคลื่อนหรือมีอิทธิพลต่อสไตล์อีกต่อไป ซึ่งไม่ใช่สำหรับเจเนอเรชั่นวาย สำหรับรุ่นนี้ พวกเขาก็ยังไม่ได้มีอิทธิพลอะไรมากนักก็จริง แต่ในอนาคตก็ไม่แน่ เพราะตอนนี้การเปลี่ยนแปลงที่เมื่อก่อนต้องใช้เวลาห้าปีก็สามารถทำให้ลดลงมาเหลือแค่หกเดือนได้อย่างรวดเร็ว

—————————

YOUNG BLOODS

ถึงแม้ว่าดีไซเนอร์เหล่านี้จะยังเด็ก แต่คอลเลกชั่นของพวกเขาไม่ใช่เล่นๆ
เครื่องแต่งกายที่สรรสร้างด้วยฝีมือของพวกเขาเหล่านี้มีความคลาสสิก เรียบง่าย
และไม่หวือหวาแต่ใส่ได้ในทุกโอกาส หรือจะเรียกได้ว่าเป็นอมตะเลยก็ว่าได้

melindagloss-portrait-2-hd

PIERRE MAHEO @ Officine Generaie

portrait-paul-szczerba

PAUL SZCZERBA @ Ballbaris

ami-alexandre-mattiussi-paul-wetherell-hd__bw

ALEXANDRE  MATTIUSSI @ Ami

uriel-karsenti

URIEL KARSENTI @ Maison Standarde

4melindagloss-portrait-2-hd

MATHIEU DE MENOUVILLE & RÉMI SW LAQUINTANE @ Editions MR

Processed with VSCOcam with b5 preset

DAVID OBADIA @ Harmony

Jean-Victor Meyers et Louis Leboiteux de la marque de vêtements, Exemplaire.Photo (c) Ed Alcock / M.Y.O.P. 10/9/2014Jean-Victor Meyers and Louis Leboiteux of clothing label, Exemplaire.Photo (c) Ed Alcock / M.Y.O.P. 10/9/2014

JEAN-VICTOR MEYERS @ Exemplaire

BRANDS TO KNOW TO BE UP-TO-DATE?

ALESSANDRO SARTORI

WHY? ดีไซเนอร์คนนี้เหมือนบูมเบอแรงที่เหวี่ยงไปตามแบรนด์ต่างๆ ทั้งจาก Ermenegildo Zegna (แอร์เมเนจิลโด เซนญ่า) ไปยัง Berluti (เบอร์ลุติ) และย้อนกลับมายัง Ermenegildo Zagna อีกที

ACNE STUDIOS

WHY? ก็เพราะว่าแบรนด์สวีดิชเจ้านี้ไม่ได้เป็นแค่แบรนด์เกลื่อนๆ สำหรับวัยรุ่นเท่านั้น มันมีดีมากกว่าที่คุณ
จะคิดเยอะ สามารถหยิบจับแบรนด์นี้มาแมตช์เล่นได้เช่นกัน

VERONIQUE NICHANIAN

WHY? เวโรนิกเป็นผู้หญิงฝรั่งเศสไม่กี่คนที่เข้าใจสไตล์การแต่งกายของผู้ชายอย่างถ่องแท้

OLIVIER ROUSTEING 

WHY? การที่คุณจะมีโอกาสได้ใส่แบรนด์นี้คือตอนที่คุณจะได้ไปร่วมงานแฟชั่นวีคซึ่งเป็นอีเว้นต์ที่รวมตัวของสาวสวยหลายๆ คน คุณจะได้รู้สึกเหมือนย้อนวัยไปช่วงปี 1990 ตอนที่คุณอายุเพียง 20 ปีเท่านั้น

SIR PAUL SMITH

WHY? เซอร์พอลคร่ำหวอดในวงการมากว่าสองทศวรรษแล้ว ถึงเวลาถ่ายทอดเทคนิคไปสู่รุ่นลูกแล้วล่ะ

- Advertisement -