Superheroes are bombarding Hollywood
หลังจากภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ฟอร์มยักษ์อย่างเรื่อง X-Men ที่กำกับโดย Bryan Singer (ไบรอัน ซิงเกอร์) ออกฉายในปีค.ศ. 2000 อาจจะเรียกได้ว่า ภาพยนตร์แนวซูเปอร์ฮีโร่จากฮอลลีวูดใช้เวลากว่าสิบห้าปีเพื่อกลายเป็นวัฒนธรรมร่วมสมัยที่มีเอกลักษณ์อันโดดเด่น ภาพยนตร์แนวนี้สามารถทำรายได้มหาศาลและครองตลาดภาพยนตร์ทำเงินทั่วโลกได้อย่างง่ายดาย หลังจากภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่นอกกระแสอย่าง Deadpool ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ ดูจะเป็นแนวภาพยนตร์ที่ยังคงโกยรายได้มหาศาลได้เรื่อยๆ จึงมีภาพยนตร์แนวนี้ฮีโร่จ่อคิวเข้าโรงอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็น Batman v Superman: Dawn of Justice ต่อด้วย Captain America : Civil War หรือจะเป็นเรื่อง X-Men Apocalypse
แรกเริ่มเดิมที ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่บนจอเงิน เป็นแค่หนังฮอลลีวูดธรรมดา แต่จู่ๆ Captain America ที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในฤดูร้อน ช่วงปีค.ศ. 1979 ก็เรียกเสียงฮือฮาจากผู้ชม จากนั้นหนังซูเปอร์ฮีโร่ก็เริ่มตามออกมา มีการทำการตลาดอย่างจริงจัง อย่างภาพยนตร์เรื่อง Batman ของทิม เบอร์ตัน ทุ่มทุนการโฆษณากันแบบเต็มที่ ไม่ว่าจะหันไปทางไหน ก็จะเห็นโลโก้แบทแมน หรือเปิดวิทยุก็จะได้ยินเพลงประกอบภาพยนตร์
ในช่วงยุค ’70s ความฝันที่จะเปลี่ยนการผจญภัยของเหล่าฮีโร่ในหนังสือการ์ตูนที่ขายได้เป็นจำนวนสิบล้านกว่าฉบับให้เป็นภาพยนตร์เริ่มจะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา ในยุคนั้นค่าย DC Comics ซึ่งเป็นศัตรูตัวฉกาจของค่าย Marvel ที่ผลิตภาพยนตร์ที่มาจากหนังสือการ์ตูนอย่างเรื่อง Superman มีงบการผลิตสูงถึง 55 ล้านเหรียญสหรัฐ ในยุคนั้นถือว่าเป็นงบสร้างภาพยนตร์ที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ ซึ่งมีบริษัท Warner Brothers เป็นผู้ควบคุมการผลิต และสุดท้ายภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ทำรายได้ถึง 300 ล้านเหรียญสหรัฐในบ็อกซ์ออฟฟิศและได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ถึง สามรางวัล คุณผู้อ่านอาจจะคิดว่าภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่เป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินเสมอไปหรือเปล่า คำตอบคือ ก็ไม่เสมอไป อย่างเรื่อง Superman มีสามภาคและแต่ละภาคก็ยิ่งผลิตด้วยงบ และฝีมือที่ต่ำลงเรื่อยๆ และสุดท้ายภาคสี่บริษัท Canon ก็ผลิต ออกมาได้อย่างน่าเวทนาชนิดที่ว่านักวิจารณ์หลายๆ คนลง ความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า “ห่วยแตก”
ฮีโร่คู่เกย์
ในปีค.ศ. 1989 Tim Burton (ทิม เบอร์ตัน) หันมาทำภาพยนตร์ Batman บริษัท Warner ที่ได้ร่วมมือกับบริษัท DC Comics ตั้งเป็น บริษัท Time Inc. เพื่อทำภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ให้ติดตลาด โลโก้มนุษย์ค้างคาว เพลงที่วิทยุทุกคลื่นจะต้องเปิดเพลงที่ได้ศิลปินดังอย่าง Prince มาร้องประกอบ กระพือกระแสเสื้อลายแบตแมนและของเล่น ต่างๆ เป็นการโฆษณาที่ได้ผลดีเยี่ยมและสัญลักษณ์แบตแมนก็ได้แพร่ไปทั่วโลก ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ไป 750 ล้านเหรียญสหรัฐ ชนิดที่ยังไม่ได้นับรายได้อื่นอันมาจากการขายสินค้าประเภทอื่นๆ หากวัดรายได้ภาพยนตร์เรื่องนี้จากบ็อกซ์ออฟฟิศ ทั่วทั้งโลก ภาพยนตร์เรื่องแบตแมนทำเงินไปได้ถึง 414 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นประวัติการณ์ภาพยนตร์เลยทีเดียว หนังสือพิมพ์ New York Post ถึงกับกล่าวว่า “นี่เป็นมากกว่าภาพยนตร์หรือจะเรียกว่าเป็นการตลาดขั้นเทพได้เลยทีเดียว” ภาคต่อมา Batman & Robin กำกับโดย Joel Schumacher (โจเอล ชูมัคเกอร์) ที่ปรับให้ซูเปอร์ฮีโร่ทั้งสองเป็นคู่เกย์กัน Batman แสดงโดย George Clooney (จอร์จ คลูนีย์) และ Robin แสดงโดย Chris O’Donnell (คริส โอดอนเนล) ทางฝั่งของ Marvel ก็ยังลองผิดลองถูกกับธุรกิจภาพยนตร์อยู่จะเห็นได้จากการที่ลิขสิทธิ์เรื่อง X-Men ถูกซื้อไปโดยบริษัทของ Carolco (ผลิตภาพยนตร์ดังอย่าง Terminator 2 และ Basic Instinct) อันเป็นโครงการที่ James Cameron (เจมส์ คาเมรอน) ปฏิเสธไปตอน นาทีสุดท้ายเพราะเขาอยากจะไปมุ่งดูแลการผลิตเรื่อง Spiderman เสียมากกว่า แต่สุดท้ายเจมส์ก็ไม่ได้โกยรายได้เป็นกอบเป็นกำจากเรื่อง Spiderman อย่างใด แต่โชคดีที่เขาได้สิทธิกุมบังเหียนบริษัท 20th Century Fox แทน
“ทุกครั้งที่ผมเริ่มทำอะไรสักอย่าง ผมก็จะทำมันสำเร็จเสมอ ฮอลลีวูดพยายามที่จะปรับ X-Men ให้เป็นภาพยนตร์มา 30 ปี บริษัท 20th Century Fox จะเป็นผู้ที่ทำให้สำเร็จจนได้” เมื่อตอนที่ Bryan Singer (ไบรอัน ซิงเกอร์) ได้รับหน้าที่ให้คุมการผลิตภาพยนตร์เรื่อง X-Men ช่วงปลายปีค.ศ. 1990 บริษัท Fox คาดว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะโกยรายได้ถล่มทลายได้สนับสนุนให้ไบรอันไปถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ที่แคนาดาด้วยงบอันเหลือเฟือ (75 ล้านเหรียญสหรัฐ) และระยะเวลาถ่ายอันจำกัดแค่ 5 เดือน หลังจากที่ภาพยนตร์เรื่อง X-Men ถ่ายทำเสร็จและฉายในโรงภาพยนตร์สามารถโกยเงินไปได้กว่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐทั่วโลก พร้อมกับความสำเร็จที่มาพร้อมกันกับภาพยนตร์เรื่อง Blade นักล่าแวมไพร์ที่นำแสดงโดย Wesley Snipes (เวสลีย์ สไนปส์) จากนั้นก็เริ่มเป็นกระแสภาพยนตร์ ซูเปอร์ฮีโร่มาเรื่อยๆ อย่างที่เห็นได้จากความสำเร็จจากภาพยนตร์เรื่อง Daredevil ที่นำแสดงนำโดย Ben Affleck (เบน เอฟเฟลค) (ที่สามารถโกยรายได้ทวีคูณจากทุนสร้าง) ความสำเร็จจากเรื่อง X-Men 2 และไตรภาค Spiderman ที่โกยรายได้ไปถึง 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นตัวยืนยันถึงความสำเร็จของภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ Avi Arad (อาวี อาราด) พระเอกตัวจริงผู้ช่วยชีวิตบริษัท Marvel ที่กำลังจะล้มละลายในปีค.ศ. 1996 และเป็นบิ๊กบอสของบริษัท Marvel Studios ได้กล่าวว่า “ความสำเร็จนี้เทียบเท่ากับการขุดหลุมฝังความคิดที่ว่าผู้ชมภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่มีอยู่จำกัดและพวกแฟนๆ ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่มีอยู่น้อยนิด ซูเปอร์ฮีโร่พวกนี้ถือว่าเป็นความสำเร็จของบริษัท Marvel มาเป็นเวลาสิบกว่าปีและการทำเป็นภาพยนตร์ก็เป็นเรื่องที่ทำกำไรงามมาก” ไพ่ไม้ตายอีกใบหนึ่งของ Marvel ที่มี Stan Lee (สแตน ลี) เป็นผู้ก่อตั้งร่วมกับสตูดิโอสร้างภาพยนตร์ คือการเอาสิทธิในการผลิตเรื่อง Iron Man กลับคืนจากบริษัท New Line Cinema และสิทธิการใช้ตัวละครอย่าง Black Widow จากบริษัท Lions Gate ในขณะที่บริษัท Paramount ได้ซื้อสิทธิการใช้ตัวละครอย่าง Thor คืนจาก Sony โดยอาราดได้ออกจากบริษัท Marvel Studios ในปีค.ศ. 2006
การปฏิวัติทางเทคนิค
“บางทีเป็นเพราะว่านวัตกรรมทางเทคนิคต่างๆ ทำให้ทุกอย่างที่คุณต้องการเกิดขึ้นได้ เหมือนกับภาพยนตร์คาวบอยในยุคก่อนที่ฝ่ายพระเอกขี่ม้าสู้กับผู้ร้าย นี่เป็นสิ่งที่ผู้ชมในยุคนั้นคาดหวังไว้ แต่ในยุคนี้มันเป็นไปได้หมดถ้ามีคอมพิวเตอร์ ผมไม่มีคำอธิบายอื่นที่ดูดีไปกว่านี้” Stephen McFeely (สตีเฟน แมคฟีลี) หนึ่งในผู้เขียนบทเรื่อง Captain America: Civil War ให้สัมภาษณ์ไว้ ตั้งแต่ที่ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่อย่าง The Dark Knight Rises ของ Christopher Nolan (คริสโตเฟอร์ โนแลน) จากค่าย DC โกยรายได้ไปถึงหนึ่งพันแปดร้อยล้านเหรียญสหรัฐหรือจะเป็นภาพยนตร์อย่าง The Avengers 2 จากค่าย Marvel ที่สามารถโกยเงินไปถึง 1,400 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นเรื่องที่สามารถพูดได้ว่าความสำเร็จจากเรื่อง Fantastic Four ในปีค.ศ. 2005 อาจจะไม่ได้ประสบความสำเร็จมากนักแม้จะสามารถทำเงินได้ถึง 330 ล้านดอลลาร์สหรัฐก็ตาม ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่กลายเป็นไม้เด็ดของฮอลลีวูดยุคใหม่ที่มีทั้งความเป็นตัวตนที่ไม่เหมือนใครแถมยังจะได้กำไรแบบล้นหลามอีกด้วย
ส่วนทางฝั่งค่าย Marvel Studios สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงหลังจากที่ Disney ซื้อกิจการเจ้าของการ์ตูนซูเปอร์ฮีโร่ของ Marvel ในปีค.ศ. 2009 สื่อต่างบอกว่านี่เป็นการฆ่าตัวตายชัดๆ เพราะเงินที่ลงไปนั้นเป็นจำนวน 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ นี่เป็น คำสั่งของ Robert A. Iger (โรเบิร์ต เอ. อีเกอร์) ผู้เป็นเจ้าของกิจการ Disney และนี่ก็เป็นยุคที่ Marvel เองก็ไล่ซื้อลิขสิทธิ์การใช้ตัวละคร ที่ขายไปในปีค.ศ. 1990 คืนให้หมด ตั้งแต่ Ghost Rider และ Power Man จาก Sony หรือจะเป็น The Punisher ที่ Lions Gate เอาไปปู้ยี้ปูยำซะจนเสีย หรือ แม้กระทั่ง Daredevil และแน่นอนคือ Spiderman ที่ดูท่าจะซับซ้อนกว่าตัวละครตัวอื่น ซึ่งจะต้องทำการตกลงอย่างรอบคอบระหว่าง Amy Pascal (เอมี ปาสคาล) จากค่าย Sony Pictures และ Kevin Feige (เควิน ฟีจ) นักธุรกิจพันล้านจากค่าย Marvel Studios ที่จะทำให้ตัวละครทุกตัวใน Marvel Cinematic Universe และ Captain America รวมถึง The Hulk และ Iron Man มารวมตัวกัน ส่วนบริษัท Fox ถูกฤทธิ์หนังแป้กจากการผลิตเรื่อง Fantastic Four ที่กำกับโดย Josh Trank (จอช แทรงค์) แต่กระนั้นก็กู้หน้ากลับมาได้หลังจากที่ภาพยนตร์เรื่อง Deadpool (โปรเจ็กต์ที่ได้รับการอนุมัติหลังจากที่ Tom Rothman (ทอม รอธแมน) ซึ่งเป็นผู้บริหารใหญ่ลาออกไป ตอนแกเขาไม่อนุมัติให้สร้างเรื่อง Deadpool) สามารถโกยเงินมาได้ 490 ล้านเหรียญสหรัฐหลังจากที่ฉายไปแค่ 15 วัน นั่นหมายถึงว่า ภาพยนตร์แนวซูเปอร์ฮีโร่ก็ยังไปต่อได้