คุยกับเอก ทองประเสริฐ ว่าด้วยอัตลักษณ์ เทรนด์ และการขยับตัวของโลกแฟชั่น เมื่ออินเตอร์เนตหลอมทุกอย่างเป็นเนื้อเดียว

Share This Post

- Advertisement -

Fashion is Dead! We have to invent new ideas

อินเตอร์เนตส่งผลต่อการใช้ชีวิตของคนยุคนี้มานานแล้ว และนับวันก็ยิ่งทำให้เกิดกระแสใหม่ๆ ขึ้นชนิดแทบคาดเดาไม่ถูก

FU7A8833

ทว่า ก็มีเทรนด์มากมายที่เกิดและดับไปเพียงชั่วข้ามคืน ในสายตาของเอก ทองประเสริฐ เจ้าของแบรนด์ Ek Thongprasert และ Curated by Ek Thongprasert เห็นว่า บริบทที่แตกต่างกันโลกแฟชั่นยุคก่อนและยุคปัจจุบัน ทำให้แฟชั่นต้องปรับตัวกันขนานใหญ่ และทำให้เกิดความเคลื่อนไหวใหม่ที่น่าสนใจมากทีเดียว

“แฟชั่นดีไซเนอร์ยุคก่อนกับยุคปัจจุบันมีแรงขับเคลื่อนในการทำงานต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะบริบทสังคมเปลี่ยนไป ปัจจัยในการทำธุรกิจต่างกัน เมื่อก่อนมันช้ากว่านี้ ใช้เวลาพัฒนา ค่อยๆ สร้างภาษาของแบรนด์ขึ้นมาอย่างช้าๆ แต่มีผลกระทบสูง อย่างเช่นชาแนล หรือดิออร์  จะมีความเป็นตัวตนสูงมาก แต่ปัจจุบันด้วยโลกาภิวัตน์ทำให้เกิดการหลอมรวมกันของวัฒนธรรม ความเชื่อ และสังคมต่างๆ งานของ ดีไซเนอร์หลายประเทศจึงกลายเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อก่อนดีไซเนอร์ไทยออกแบบเป็นไทย ดีไซเนอร์ ฝรั่งเศสออกแบบเป็นฝรั่งเศส แต่ปัจจุบันอัตลักษณ์ มันเริ่มเบลอ เราอาจไม่เคยเห็นงานของดีไซเนอร์ บางคนเลย แต่เรากลับออกแบบงานเหมือนกัน เป็นเพราะเราเสพข้อมูลเดียวกัน สิ่งที่อยู่ในอินเตอร์เนตคนทั่วโลกเข้าถึงได้ ทุกอย่างจึง    ถูกกระทบหมด ไม่ว่าจะเป็น Fast Fashion หรือข้อมูลต่างๆ เรียกได้ว่าล้นตลาด ทำให้หาความเป็นอัตลักษณ์ได้ยากในปัจจุบัน”

“สิ่งที่ทำได้คือการมองเข้ามาในตัวเองให้มากขึ้น พยายามตัดปัจจัยภายนอกออกไป เพราะ ข้อมูลภายนอก ใครๆ ก็เสพเหมือนกัน เพราะมัน เป็นสาธารณะ แต่สิ่งที่ใครๆ ก็ไม่สามารถเผชิญได้ก็คือสิ่งที่อยู่ภายในตัวเอง มองกลับไปหาสิ่งที่เป็นมรดกของสิ่งที่เราอยู่ บริบทที่เราอยู่”

สำหรับเอก ทองประเสริฐ เขาหันกลับไปค้นหาภายในตน และพบว่าสิ่งนั้นคือ ความหลงใหลในงานศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ Ek Thongprasert ที่กลับสู่มรดกของความเป็นเอเชียน แล้วตีความออกมาเป็นแฟชั่น หรือแบรนด์ Curated by Ek Thongprasert ที่ว่าด้วยแพชชั่นต่องานศิลปะร่วมสมัย และการเสียดสีสถานการณ์สังคม ต่างมีส่วนผสมระหว่าง    ความสร้างสรรค์เฉพาะตน และตรรกะตามประสาอดีตนักเรียนสถาปัตย์ ผู้อยู่ในธุรกิจแฟชั่นระดับนานาชาติมาโดยตลอด

การย้อนกลับไปสู่มรดก หรือจังหวะชีวิต ที่ช้าลง ก็กำลังเป็นเทรนด์ใหม่ที่สวนทางกับความเร็วของข้อมูลมหาศาลที่คนเราเสพทุกวัน

“เมื่อก่อนคอลเลกชั่นมีผลต่อเทรนด์และอยู่ได้ยั่งยืนกว่า แต่ตอนนี้เทรนด์ไม่มีความยั่งยืน อีกต่อไปแล้ว ทำให้เกิดคำถามว่าเทรนด์แฟชั่นยังมีผลอยู่หรือเปล่า? ตอนนี้จึงมีหลายแบรนด์ที่เริ่มกลับไปสู่สิ่งที่ยั่งยืน กลับไปหางานฝีมือประณีต และแนวกูตูร์ โดยใช้เวลากับมันบางแบรนด์ไม่พูดถึงเทรนด์ หรือซีซั่นเลย แต่ทำ   ในสิ่งที่ต้องการทำและรักษาไปเรื่อยๆ โดยมีการเชื่อมกันระหว่างดีไซเนอร์และผู้บริโภคกลุ่มเล็กลง แต่ชัดขึ้น สร้างสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ตอนนี้หลายแบรนด์เริ่มสร้างจังหวะของตัวเองขึ้นมาแล้ว”

FU7A8838

โซเชียลมีเดียคือสิ่งหนึ่งที่ทำให้แฟชั่นมีความเปลี่ยนแปลงสูง เพราะสื่อนี้ได้สร้างค่านิยมในการใช้ชีวิตใหม่ขึ้นมา

“โซเชียลมีเดียเป็นโอกาสและอุปสรรคในเวลาเดียวกัน ดีไซเนอร์สามารถสื่อสารตัวตนต่อผู้บริโภคได้ง่ายกว่ายุคก่อน แต่ความที่ใครๆ ก็ทำได้ จึงทำให้ตลาดเสื้อผ้าล้นเกิน และค่อนข้างตายสนิท ผมว่าปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ คนจะใช้จ่ายกับประสบการณ์มากกว่าการซื้อเสื้อผ้า ถ้ามีเงินหนึ่งก้อนแทนที่จะซื้อแจ๊กเก็ตหมื่นห้าแต่เอาไปซื้อตั๋วเครื่องบินไปเที่ยวดีกว่า เพราะสังคมเน้นที่ไลฟ์สไตล์มากกว่าการบริโภคแฟชั่นแล้ว ระหว่างถือกระเป๋าใบแพงๆ กับการถ่ายรูปแชร์ว่าไปเที่ยวในที่ที่คนไม่ค่อยไป หรือไปทานอาหารมีดีไซน์ การแชร์ประสบการณ์มันเก๋กว่า ทุกคนชอบ ในขณะที่ธุรกิจเสื้อผ้าตกลงมาก แต่ธุรกิจท่องเที่ยว หรือประเภท Experienced Service กลับโตมาก เพราะคนให้คุณค่ากับไลฟ์สไตล์มากกว่า

“Greyhound Café เป็นตัวอย่างที่
ชัดเจนมาก ประสบความสำเร็จสูงยิ่งกว่าตัวแฟชั่น และผมมองว่า Greyhound Café 
จะเป็นเชนอาหารเชนแรกของไทยที่สามารถขยายไปทั่วโลกได้ หลายๆ แบรนด์ก็ขยับแล้ว อย่าง Kloset ก็มีเครื่องเขียนและคาเฟ่ แบรนด์ Asava ก็มี Sava Dining ถ้าแฟชั่นแบรนด์ อยู่กับที่ก็เริ่มตาย เพราะคนหันไปบริโภคอย่างอื่นมากกว่า

“ทาง Curated เอง ผมยังไม่ยืนยันว่ามีหรือไม่ แต่จะมี Experienced Service ขึ้นมา โดยใช้ศิลปะเป็นตัวตั้ง เมื่อก่อนเรานำศิลปะ
มาจับกับแฟชั่น ตอนนี้เราก็ตั้งคำถามว่าถ้า ‘เอาศิลปะมาจับกับอาหารล่ะจะเป็นอย่างไร?’ โดยไม่ใช่แค่จัดจานสวยๆ แต่เพิ่มประสบการณ์พิเศษลงไป ผมกำลังอยู่ในช่วงดูความเป็นไปได้ ถ้าสำเร็จ Curated ก็จะขยับไปเป็น Experienced Brand ที่ผสานศาสตร์การออกแบบอื่นๆ เข้ามา ไม่ว่าจะเป็น Art, Architecture, Interior Design, Performance หรือ Food Design เพราะผมเห็นว่าดีไซน์ทุกอย่างมันมีแก่นเดียวกัน ต่างที่เปลือกหุ้มเท่านั้น ถ้าดึงดีไซเนอร์หลายแขนง เข้ามา ให้เขาทำอะไรที่ไม่ได้อยู่ในกรอบ เขาจะสามารถทำอะไรที่สดใหม่จากคำถามนอกกรอบ เพราะสิ่งที่ผมอยากเห็นที่สุด และเป็นสิ่งที่ผลักดัน การทำงานมาตลอด ก็คือการสร้างผลลัพธ์ใหม่ๆ ที่เกิดจากการตั้งคำถามนี่แหละครับ”

- Advertisement -