BB-8 is real!!!
หลังจากปล่อยตัวอย่างที่สองออกมา ก็ถูกยกมาเป็นกระแสแรงแห่งปีสำหรับมหากาพย์หนังฟอร์มยักษ์ Star Wars 7 ‘The Force Awakens’ อาจเป็นเพราะว่าแฟนๆตั้งหน้าตั้งตารอคอยกันมานาน และก็ต้องรอกันต่อไปอีกสักระยะเพราะว่ามีกำหนดเข้าฉายจริง 17 ธันวาคม
ในภาคนี้นอกจากจะเห็น Lightsaber จอมป่วนแล้ว ยังได้เห็นหุ่นมาสคอตตัวใหม่ที่น่ารักไม่แพ้กันอย่างเจ้า BB-8 ที่สำคัญไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิคในการแสดงแต่อย่างใด เพราะเจ้าตัวนี้ ‘มีอยู่จริง’ และปรากฎตัวครั้งแรกในงาน Star Wars Celebration ณ California ทำเอาผู้มาร่วมงานตะลึงไปตามๆกัน
ภาพยนต์หลายเรื่อง เช่น Real Stee หรือ Interstellar ก็มีการสร้างหุ่นยนต์ขึ้นมาจริงเพื่อความสมจริงและนักแสดงที่เข้าฉากด้วยสามารถเห็นเพื่อนร่วมฉากได้โดยไม่ต้องจินตนาการเอา
ว่าแต่เจ้า BB-8 ทำงานอย่างไร (วิเคราะห์โดย Thairoborotics)
– เคลื่อนที่ด้วยลูกบอลด้านล่าง
– สามารถเคลื่อนที่ได้รอบทิศทาง
– หัวเเอียงไปมาได้
– หัวหันได้เป็นอิสระกับลูกบอลส่วนตัว
ด้วยการเคลื่อนที่แบบลูกบอลกลิ้งไปมา กลไกขับเคลื่อนสามารถทำได้ 2 แบบ
1. มีล้อขับเคลื่อนจากด้านนอกคล้ายแมลงกลิ้งขี้ เช่น BallBot
2. มีล้อขับเคลื่อนจากด้านในคล้ายหนูแฮมสเตอร์ปั่นลูกกรงเช่น Sphero
จังหวะที่หัวหมุนไปพร้อมตัวถ้าขับเคลื่อนด้วยหัวจะไม่สามารถทำได้ เพราะจะต้องมีการเคลื่อนที่สัมพันธ์กันระหว่างหัวกับตัวเสมอจึงจะเกิดการเคลื่อนที่ขึ้นได้ ดังนั้นการขับเคลื่อนน่าเกิดภายในลำตัวทรงกลม
‘ระบบขับเคลื่อนภายในลำตัวทรงกลมเป็นอย่างไร’ สามารถทำได้ 2 แบบ
– holonomic คือ การเคลื่อนที่ได้ทุกทิศทาง สามารถเปลี่ยนทิศไปมาได้รวดเร็ว สามารถทำได้โดยการใช้ล้อ omni อย่างน้อย 3 ล้อขับเคลื่อน (คล้าย BallBot)
– non-holonomic คือ การเคลื่อนที่ที่ไม่สามารถไปได้ทุกทิศทางในขณะใด ๆ ถ้าจะเปลี่ยนทิศต้องทำการเลี้ยวก่อน ทำได้โดยการใช้ล้อธรรมดา 2 ล้อขับเคลื่อน (differential drive แบบ Sphero)
หากสังเกตการโยกเยกของหัว BB-8 ตอนที่วิ่งตรงๆ จะพบว่ามีการโยกเยกตามแนวการเคลื่อนที่ แสดงว่ากลไกการขับเคลื่อนน่าจะเคลื่อนที่โดยมีแกนหมุนหลัก 1 แกนซึ่งเป็นแกนเดียวกับที่หัวโยกเยก (นึกถึงลูกตุ้มนาฬิกาหรือชิงช้าที่โยกไปกลับในแนวเดียวเพราะมีแกนหมุน 1 แกน) ดังนั้นกลไกขับเคลื่อนส่วนตัวน่าจะใช้ล้อขับเคลื่อนแบบปกติ 2 ล้อ (differential drive) ไม่ใช่การใช้ล้อ omni ขับเคลื่อน เพราะล้อ omni สามารถขับเคลื่อนได้ทุกทิศทาง จึงไม่มีแกนใดเป็นแกนหลักให้เกิดการโยกเยกอย่างชัดเจน (นึกถึงลูกตุ้มที่ห้อยด้วยเชือกเส้นเดียว จะแกว่งไปมาแบบไร้ทิศทาง)
‘หัวเคลื่อนที่อย่างไร’ มี 2 องค์ประกอบ
1. การเอียงหัวและการหันหัว หากสังเกตดูจะพบว่าหัวจะเอียงไปในทิศที่ BB-8 วิ่งไป รูปแบบที่เป็นไปได้คือแกนกลางของกลไกการเคลื่อนที่ในลำตัวทรงกลมน่าจะมีแม่เหล็กดูดให้ส่วนหัวเอียงไปตามการเคลื่อนที่ของลำตัว
2. การหันหัวไปมาก็ทำได้โดยการติดตั้งมอเตอร์อีก 1 ตัวไว้ในหัว
‘สรุปว่าวิธีที่เป็นไปได้คือ’
มีมอเตอร์ขับล้อ 2 ล้อขับด้านในของลูกบอลส่วนตัวแบบ differential drive
หัวกับตัวยึดด้วยแม่เหล็ก
หัวเอียงตามการเอียงของกลไกการขับเคลื่อนในลำตัว
หัวหันได้ด้วยมอเตอร์ 1 ตัว