ในอดีตกางเกงที่ถือว่าเป็นเครื่องแต่งกายของเหล่าคนงานเหมืองแร่ร่อนทองมีมูลค่าเพียงสิบกว่ายูโร ปัจจุบันแบรนด์ดังทั้งหลายต่างผลิตกางเกงยีนส์กันถ้วนหน้า นายแบบนางแบบใส่เดินกันให้ว่อนบนทุกรันเวย์ อีกทั้งผู้ผลิตยีนส์ชั้นนำต่างประกาศก้องถึงความสูงส่งของแบรนด์ตนเอง ด้วยป้ายยี่ห้อโชว์หราอยู่ที่ด้านหลังยีนส์ทุกตัว ลอปติมัม จึงพลิกทุกตะเข็บธุรกิจเครื่องแต่งกายอมตะของมนุษยชาติชิ้นนี้ เพื่อมาเล่าให้คุณฟัง
เห็นได้ชัดว่าธุรกิจกางเกงยีนส์นั้นมีมานานและยืนยงจวบจนปัจจุบัน เหล่าผู้ผลิตแบรนด์กางเกงยีนส์ชั้นนำ อย่าง Levi’s, Lee Cooper หรือ Wrangler ผลิตยีนส์กันจนเป็นอุตสาหกรรม รองรับทุกสรีระที่แตกต่างของผู้สวม วางขายในราคาลดกระหน่ำ เมื่อเครื่องจักรเข้ามาทุ่นแรงการผลิตจนเกิดเป็นอุตสาหกรรมยีนส์ขนาดมโหฬาร ก็เกิดพายุอันบ้าคลั่งของแฟชั่นกางเกงชนิดนี้ซึ่งมี เจมส์ ดีน เป็นไอดอน การสวมใส่ยีนส์กลายเป็นแฟชั่นการแต่งกายของมนุษย์ที่ใครหน้าไหนก็ทำได้ สินค้าแฟชั่นชิ้นนี้จึงบูมอย่างไม่ลืมหูลืมตา และไม่กี่ปี่ให้หลังวงการแฟชั่นก็เริ่มจับทางได้
เมื่อโลกแห่งแฟชั่นอ้าแขนรับ ทุกคอลเลกชั่นทุกรันเวย์จึงต้องมีกางเกงยีนส์เริ่มต้นที่ดีไซเนอร์ เอดี สลิมาน ครั้งกุมบังเหียนห้องเสื้อ Dior Homme ในปี 2000 จากนั้นก็ถึงคราว ราล์ฟ ลอเรน, คริส วาน อาสซ์ ทุกคนมียีนส์ในคอลเลกชั่น ไม่เว้นแม้แต่ Bottega Veneta, Zegna หรือ Berluti โดย อเลสซานโดร ซาร์โตรี รวมไปถึง ซานโดรที่ปีนี้ทำยีนส์ออกมาได้สวยเหลือเกิน แน่นอนว่าห้องเสื้อเกิดใหม่และเหล่าผู้ผลิตเสื้อผ้าหน้าใหม่ต่างก็กระโดดเข้าสู่ตลาดการแข่งขันนี้ ออกแบบและวางขายแข่งกับผู้ผลิตยีนส์ยักษ์ใหญ่กันถ้วนหน้า
The Manual of Jean
คุณมียีนส์ คนอื่นก็มียีนส์ ถือเป็นเอกลักษณ์ของใครของมัน ยีนส์อาจเป็นกางเกงที่พวกคุณกระโดดสวมได้ทั้งหลับตาก็จริง แต่รู้หรือไม่ว่ามียีนส์แบรนด์อื่นๆ อีกมากมาย มีรายละเอียดสัญลักษณ์จำเพาะเจาะจงลงไปในแบบของเขา มีคัทติ้งแบบของเขา หลักเกณฑ์แบบของเขา ข้อห้ามและชิ้นที่ขายดีของพวกเขา กางเกงยีนส์สีน้ำเงินของคุณมีมูลค่ามากกว่าที่คุณคิด
รายละเอียดที่ควรมองให้ลึกซึ้ง
1. ซิป ก่อนหน้าที่จะเกิดเป็นซิป ส่วนหน้าของกางเกงยีนส์ีกระดุมที่เรียงเป็นเส้นตรงลงมาห้าเม็ด กระทั่งซิปถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งของยีนส์โดยแบรนด์ลี ในปี 1926 เพื่อใช้กับกางเกงยีนส์ที่แนบเนื้อโดยเฉพาะซึ่งส่วนมากเป็นกางเกงยีนส์สำหรับผู้หญิง
2. เนื้อผ้า ยิ่งดิบ เข้ม หยาบ แข็งเท่าไหร่ยิ่งดี สีฟอกและสีย้อมสีอื่นๆ ไม่เหมาะกับผู้ชาย ควรใส่สีน้ำเงิน ดำ เทา และขาวเท่านั้น
3. รูเข็มขัด ห่วงทั้งห้า ต้องมีขนาดพอให้เข็มขัดลอดได้ แม้ว่าเทรนด์เวลานี้จะไม่มีใครใส่ใจนัก
4. กระเป๋ากาเกง นับทั้งหมดได้ห้าใบโดยแต่ละมุมจะต้องมีรอยเย็บด้นเพื่อเพิ่มความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ยิ่งมีกระเป๋าซ่อนทั้งข้างหน้าและข้างหลังแล้วละก็ยิ่งเจ๋งไปใหญ่
5. หมุด หมุดนั้นขาดไม่ได้อย่างยิ่ง ไม่ใช่แค่เหตุผลด้านความสวยงามเท่่านั้นแต่หมุดเป็นตัวชี้ให้เห็นถึงแรงบันดาลใจที่ได้มาจากชุดคลุมม้า ซึ่งใช้หมุดเป็นตัวยึดสร้างความแข็งแรงในส่วนของงานเย็บ ผ้าเดนิมหมุดทองถือว่าดีที่สุด
6. การตัดเย็บ นี่คือสิ่งแรกที่บอกถึงคุณภาพของผ้าเดนิม วิธีการเลือกที่ดีที่สุดคือ การกลับตะเข็บด้านในออกมาดู ยิ่งการตัดเย็บสวยๆ สะอาด เป็นระเบียบ และเย็บอย่างแน่นหนาแข็งแรงเท่าไร ยิ่งเป็นการการันตีคุณภาพงาน หรือจะใช้ขอบที่เรียกว่า Selvedge เป็นตัวบอกระดับคุณภาพก็ได้
คัตติ้งของยีนส์ในอุดมคติ
มาดูกันว่าทั้ง 3 แบบนี้ แบบไหนเหมาะกับคุณ
1. Baggy
ยีนส์แบบใส่หลวมๆ หนึ่ง สอง หรือจะให้ดีสามไซส์ใหญ่กว่าเอวจริงไปเลย การใส่กางเกงประเภท you pants กลายมาเป็นสัญลักษณ์การแต่งกาย ที่เห็นกันบ่อยเสียแล้วในเวลานี้ ควรใส่ให้ต่ำ และรัดเข็มขัดไว้ที่สะโพกแต่ส่วนมากก็มักจะปล่อยให้ขอบลงต่ำไปกว่านั้นกันเยอะ หากใส่สไตล์นี้ ควรจะเลือกเนื้อผ้าที่หนาและดิบหยาบ ดีไซน์เรียบเท่ ไม่มีลูกเล่น เพื่อปล่อยให้จุดเด่นอยู่ที่ความยาวของขา ใส่คู่กับรองเท้าผ้าใบหน้าร้อนสักคู่จะเป็นสีขาวสะอาดตา หรือสีอื่นก็ได้ทั้งนั้น
2. Straight
เป็นยีนส์สำตล์คลาสสิก หยิบมาใส่ได้ทุกโอกาส แต่ยีนส์ทรงนี้จะเปลี่ยนไปทันที เมื่อพับขากางเกงขึ้นสักสองทบและเสริมเครื่องประดับชิ้นอื่นเข้าไปเล็กน้อย ควรจับคู่กับรองเท้าหนังส้นเตี้ย หรือรองเท้าบู๊ตทะเลทราย พร้อมกับเข็มขัดหนังหรือผ้าใบ ชายใดที่แต่งกายสไตล์นี้ขอให้สันนิษฐานว่า จะเป็นผู้ดูแลคนอื่นได้ไม่หาเรื่องใส่ตัว เป็นมิตรกับคนทั่วไป
3. Slim
ยีนส์ทรงนี้ไม่เคยปรานีใคร เป็นข้อต้องห้ามสำหรับใครก็ตามที่หนักเกิน 65 กิโลกกรัม ยกเว้นในกรณีที่หุ่นดีจริงๆ ใส่แล้วไม่รัดตัว ดูเป็นทรงสวยงามและเน้นว่าบริเวณเป้ากางเกงต้องเย็บมาอย่างดีเพื่อเวลาสวมใส่ตะเข็บจะได้ไม่ต้องทำงานหนักจนเกินไป ไม่มีอะไรที่เลวร้ายไปกว่ากาเกงที่สลิมจนเกินเหตุ
แล้วภาษากางเกงยีนส์ล่ะ คุณรู้หรือเปล่า ถ้ายังมาทำความรู้จักกัน!
Atari… คำนี้ได้อิทธิพลมาจากชาวญี่ปุ่น หมายถึงการออกแบบความช้ำตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นมาตรฐานการวัดคุณภาพของยีนส์
Back-cinch… แปลตรงตัวว่า บังเหียน หรือ Buckle back ซึ่งในที่นี้หมายถึงหัวเข็มขัด
Bartak… ศิลปะแห่งการตอกย้ำความแข็งแรงของการตัดเย็บด้วยการเย็บด้น ไม่ว่าจะเป็นที่ตะเข็บระหว่างขาหรือที่ลายเย็บกระเป๋า จะด้นชิกแชกเป็นชื่อของจักรผลิต
Big E’s… สัญลักษณ์ของกางเกงยีนส์ลีวายส์ทุกตัว ซึ่งผลิตก่อนปีคริสตศักราช 1971 ทุกวันนี้ถืเป็นงานเก็บขึ้นหิ่งที่ต้องสะสม โดดเด่นสะดุดตาด้วยตัวอักษร E ตัวใหญ่บนป้ายเล็กๆที่ขอบกระเป๋าหลัง
Branding-patch… ป้ายหนังชื่อแบรนด์ด้านหลังมีช่องพอให้เข็มขัดลอดผ่านลอยอยู่เหนือกระเป๋าขวาหลังป้ายหนังบ่งบอกชื่อแบรนด์ ขนาด หมายเลขชุดผลิต และข้อมูลเกี่ยวกับรุ่นกางเกง
Dead stock… สต็อคเก็บกางเกงยีนส์ซึ่งเป็นที่ต้องการมากที่สุด ออกแบบเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่เคยวางขายไม่เคยมีใครสวมใส่ แล้วยังมีป้ายแบรนด์ออริจินัลติดอยู่
Raw denim… เนื้อผ้าสีน้ำเงินเข้ม บริสุทธิ์ แข็งหยาบ เป็นผ้าเดนิมดิบที่ไม่เคยผ่านกระบวนการฟอกใดๆ
Selvedge… การเย็บเก็บขอบตะเข็บที่ละเอียดและประณีต ใช้สีสันมาเพิ่มเติมสร้างความสวยงามของเนื้อผ้าเดนิมด้านในตะเข็บ แต่ละแบรนด์ออกแบบด้านในส่วนนี้ของกางเกงยีนส์แตกต่างกันไปและเวลานี้ได้กลายมาเป็นลายเซ็นต์ของพวกเขา
Watch-pocket… กระเป๋าใบที่ห้าอันโด่งดังปรากฎอยู่บนกระเป๋าขวาอีกที ในสมัยก่อนกระเป๋าใบนี้มีไว้สำหรับนาฬิกาพกเวลานี้มักใช้สำหรับใส่ของมีค่า
Yoke… การตัดเย็บเพิ่มพื้นที่ส่วนหลังของกางเกงยีนส์ จะอยู่บริเวณเหนือกระเป๋าหลังทั้งสอง มีลักษณะคล้ายกับตัว V เพื่อเพิ่มส่วนเว้าของกางเกงให้ได้รูปเวลานั่ง