Thriller Museum

Share This Post

- Advertisement -

ปลายตุลาคมทุกคนคงกำลังวุ่นอยู่กับการหาเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตาย ผี และวิญญาณใส่หัว เผื่อจะได้อินในวันฮาโลวีน ไม่ว่าตุ๊กตาผีสุดหลอน แคมเปญโฆษณาที่ได้แรงบันดาลใจมาจากหนังผี ขนมหน้าผี รวมไปถึงปาร์ตี้แต่งผี อันหลังนี่น่าจะง่ายสุด แค่เปลี่ยนจากเทคนิกการแต่งหน้าขั้นเทพเป็นล้างหน้าให้เกลี้ยงที่สุด ใส่เสื้อสีขาว…บรึ๋ย หลอนกว่าอีก เราจะจึงขอแหวกแนว (ที่ไม่เรียกว่าสวนกระแสเพราะเรื่องที่จะนำมาเล่าต่อจากนี้มีกลิ่นความเป็นความตายอยู่เช่นกัน ที่สำคัญหลอนกว่า The Orphanage สถานรับเลี้ยงผี เสียอีก)

loptimum thailand ddd11

ย้อนกลับไปเมื่อ 140 ปีที่แล้ว The Crime Museum หรือ Black Museum พิพิธภัณฑ์ที่บันทึกเรื่องราวลึกลับที่สุดแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์อาชญากรรมของกรุงลอนดอน โดย Scotland Yard หรือ ตำรวจนครบาลลอนดอน (Metropolitan Police Service) จุดเริ่มต้นมาจากความคิดของสารวัตร Neame ผู้ที่มีหน้าที่เก็บรวมรวบหลักฐานเกี่ยวกับคดีต่างๆ เพื่อส่งต่อความรู้และเป็นประโยชน์ในการศึกษาของตำรวจรุ่นหลัง ซึ่งในช่วงแรกถูกสร้างให้เป็นโกดังมากกว่าพิพิธภัณฑ์ เพราะไม่ได้มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ และไม่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม เน้นเพียงด้านการศึกษาของนักเรียนตำรวจเท่านั้น

loptimum thailand ddd10

loptimum thailand ddda

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รับความสนใจจากบุคคลที่สนใจด้านนี้มากมาย ทั้ง เจ้าชายแห่งเวลล์ (ผู้เป็นกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 7 ในภายหลัง) เซอร์ อาเธอร์ โคนัน ดอยล์ ผู้เป็นตำนานของนิยายสืบสวนสอบสวน เชอร์ล็อก โฮล์ม, แฮรี่ ฮูดินี่ นักมายากลผู้โด่งดังแห่งยุค และราชวงค์อังกฤษอีกมากมาย ในปี ค.ศ. 1890 พิพิธภัณฑ์อาชญากรรมแห่งลอนดอน ได้ถูกย้ายไปตั้งอยู่บนพื้นที่ใหม่ พร้อมกับกรมตำรวจนครบาลลอนดอน และถูกย้ายอีกครั้งในปี ค.ศ. 1967 สู่อาคารใหม่ของกรมตำรวจที่ถูกเรียกว่า New Scotland Yard ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ปัจจุบัน ชื่อ Black Museum ภายหลังได้ถูกเปลี่ยนเป็น The Crime Museum เพื่อความเหมาะสมและเพื่อหลีกเลี่ยงประเด็นด้านสีผิวและชาติพันธุ์

loptimum thailand ddd1

loptimum thailand ddd12

ภายใน The Crime Museum แบ่งออกเป็น 2 ห้องหลัก ห้องแรก ห้องที่จำลองบรรยากาศของพิพิธภัณฑ์ดั้งเดิม และรวบรวมเอาอาวุธฆาตกรรมเอาไว้ทุกรูปแบบ ตกแต่งด้วยตู้ที่ภายในเต็มไปด้วย ปืนสั้น ปืนยาว รวมไปถึง ไม้เท้า ร่ม และมีดพับ ทั้งหมดล้วนแต่เป็นปืนดัดแปลง เพื่อไว้สังหารฆาตรกร บนท้องถนนของกรุงลอนดอนมาแล้ว อาวุธชิ้นหนึ่งที่น่าหวาดหวั่นพอๆ กับน่าสนใจคือดาบ ที่ชื่อว่า “Cop Killer” หรือ “ดาบฆ่าตำรวจ” ดาบนี้ดูเผินๆ เป็นดาบยาวธรรมดา แต่ด้ามดาบสามารถแยกส่วนออกมาเป็นดาบสั้น เรื่องราวของดาบด้ามนี้ คือมันถูกใช้ในการต่อสู้ในผับสมัยก่อน และเมื่อตำรวจเข้าจับกุมและยืดดาบ ผู้ต้องหาได้ทำทีเป็นยินยอมมอบตัวและยื่นดาบนี้ให้กับเจ้าหน้าที่ แต่ในขณะรับอาวุธ ผู้ต้องหาก็ได้ปลดดาบสั้นที่ซ่อนอยู่ และตำรวจอย่างรวดเร็วแบบที่ไม่ทันได้ตั้งตัว

loptimum thailand ddd3

loptimum thailand ddd4

ทุกอย่างในห้องนี้ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับความตาย แต่ละชิ้นเคยสัมผัสกับมนุษย์ที่ยังมีชีวิตและได้ทำให้คนผู้นั้นหมดลมหายใจกลายเป็นร่างที่ไร้วิญญาณ บ่วงเชือกสำหรับแขวนคอนักโทษประหารคนสุดท้ายของอังกฤษ รวมไปถึง death mask หรือ รูปหล่อใบหน้านักโทษที่ถูกประหารชีวิตไปแล้ว ถูกรวบรวมมาไว้ที่ห้องนี้ รวมไปถึงกระดาษแผ่นเล็กๆที่ทำให้ทุกคนต้องขนลุก “จดหมายจากนรก” ที่ถูกเขียนโดย แจ็ค เดอะริปเปอร์ ฆาตกรต่อเนื่องที่โด่งดังที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก

National_Museum_of_Crime_and_Punishmen_-_Hangman_Rope_from_Don_Jail_1915_(2869481808)

loptimum thailand ddd7

ห้องที่สอง รวบรวมคดีอาชญากรรมต่างๆ ในศตวรรที่ 20 เอาไว้หลากหลายรูปแบบ ทั้งสองคดีแรกในประวัติศาสต์ที่ถูกคลี่คลายด้วยการสืบหาลายนิ้วมือ, หม้อต้มศพของ เดนนิส นีลเซน ฆาตกรโรคจิตผู้คลั่งไคล้ศพ ที่หั่นและต้มศพของเหยื่อในครัวของเขาเอง, ร่ม ที่เป็นอาวุธยิงกระสุนพิษไรซินสังหารนาย Georgi Markov นักข่าว BBC, เครื่องยิงจรวดของ IRA ที่ถูกใช้ยิงตึก MI6 เมื่อปี 2000, หน้าไม้ของ The Krays ฝาแฝดอันธพาลแห่งลอนดอน, คดีฆาตกรรมอ่างอาบน้ำกรด, ขวดใส่ยาพิษแบบต่างๆ, ภาพถ่ายทางนิติเวชศาสตร์, อาวุธเปื้อนคราบเลือด ตลอดจน คดีฆาตกรรมตำรวจ, การปล้นธนาคาร, การจับตัวประกัน, การจี้เครื่องบิน และประวัตินักโทษอุกฉกรรจ์มากมาย

loptimum thailand ddd6

loptimum thailand ddd9

loptimum thailand ddd8

The Crime Museum แห่งนี้ไม่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม แต่ใช้สำหรับการเรียนการสอนของนักเรียนตำรวจเท่านั้น เพราะบรรยากาศที่ครุกกรุ่นไปด้วยความน่าหดหู่ของความชั่วร้ายที่มนุษย์สามารถกระทำต่อกันได้ ซึ่งแม้แต่นักเรียนตำรวจบางคน เมื่อได้เข้าไปยังพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังถึงกับต้องขนลุก ทางกรมตำรวจจึงคิดว่าไม่เหมาะสมสำหรับบุคคลธรรมดา แต่ด้วยเสียงเรียกร้องจากแฟนๆ ผู้คลั่งไคล้คดีอาชญากรรมซึ่งได้ส่งคำร้องเข้าไปมากมาย ขณะนี้ทางกรมตำรวจจึงกำลังพิจารณาในการเปิดพิพิธภัณฑ์แห่งนี้สู่สาธารณะในอนาคต

รายละเอียด www.museumsiam.com

- Advertisement -